สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
นับจากสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์..........ไทยอ้างสิทธิคุ้มครองเหนือรัฐมลายูทั้ง 4 คือ ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู
และปะลิส โดยใช้วิธีปกครองแบบเมืองประเทศราช.............ให้สุลต่านของแต่ละรัฐปกครองกันเอง แต่จะต้อง
ส่งบรรณาการมาถวายพระมหากษัตริย์ไทย.........ตามกำหนดเวลา 3 ปีต่อครั้ง โดยที่ฝ่ายไทยมีอำนาจควบคุม
การต่างประเทศ และให้ความช่วยเหลือแก่รัฐเหล่านี้ในกรณีที่ถูกรุกรานจากชาติอื่น..............ในระยะเวลาก่อน
พ.ศ. 2443 รัฐบาลอังกฤษซึ่งเริ่มเข้ามามีอำนาจทางแหลมมลายูก็ยอมรับสิทธิของไทย..............ดังปรากฏใน
สนธิสัญญาระหว่างไทยกับอังกฤษหลายฉบับ เช่น สนธิสัญญาเบอร์นี พ.ศ. 2369 ......ปฏิญญาลับ พ.ศ. 2440
และข้อตกลงปักปันเขตแดน พ.ศ.2442 อย่างไรก็ตามปรากฏว่า........ได้เกิดการโต้แย้งขึ้นในบรรดาข้าราชการ
อังกฤษในมลายู และข้าราชการอังกฤษที่กรุงลอนดอน........เกี่ยวกับสิทธิของไทยเหนือดินแดนมลายูอยู่เสมอ
ทั้งนี้เพราะกระทรวงอาณานิคมของอังกฤษ มีนโยบายจะขยายอำนาจของตนในแถบนั้น.........และในระยะเวลา
ระหว่าง พ.ศ. 2404 - 2423 ได้เกิดกรณีพิพาทระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลอินเดียของอังกฤษ......เรื่องมลายู
หลายครั้งที่รุนแรงมาก เช่น กรณีเรือรบอังกฤษระดมยิงตรังกานู เรื่องวิวาท.........กรณีเขตแดนเประและรามันห์
และเรื่องการปราบผู้ร้ายข้ามแดน พวกกบฏในปะหัง หนีเข้ามากลันตัน ตรังกานู.........อังกฤษได้ส่งกำลังเข้ามา
ปราบถึงในเขตไทย แต่เหตุการณ์ต่างๆ สงบลงได้ เพราะกระทรวงการต่างประเทศที่กรุงลอนดอน.......ต้องการ
คบไทยเป็นมิตร จึงไม่ต้องการละเมิดสิทธิของไทยในมลายู........แต่ไทยตระหนักดีว่าสิทธิของไทยเหนือมลายู
ยังไม่มีหลักประกันที่แน่นอน ฉะนั้น ปัญหาทั้งสามประการดังกล่าวมาข้างต้น คือ...........ที่มาของการเจรจาทาง
การทูตระหว่างไทยกับอังกฤษ...อันเป็นผลให้ไทยต้องสูญเสียดินแดนมลายูทั้ง 4 รัฐ รวมพื้นที่ประมาณ 40,000
ตารางกิโลเมตรให้กับอังกฤษ........โดยเอ็ดเวิร์ด เอช. สโตรเบล ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินชาวอเมริกัน เสนอให้
ไทยแลกหัวเมืองมลายู.......พร้อมกับขอกู้เงิน 4 ล้านปอนด์ ในอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อนำไปสร้างทางรถไฟสายใต้
แก่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) และบรรดาเสนาบดีในสมัยนั้น.......ว่าการยกดินแดน
มลายูให้อังกฤษนั้น จะทำให้ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับดินแดนเหล่านี้หมดไปโดยอัตโนมัติ.....จริงอยู่การเสียดินแดน
ถือเป็นการเสียเกียรติภูมิของชาติ แต่รัฐบาลไทยควรตระหนักถึงความจริงที่ว่า..ดินแดนเหล่านี้จะหลุดพ้นไปจาก
อำนาจของไทยแน่ๆ ไม่วันใดก็วันหนึ่ง เพียงแต่ช้าหรือเร็วเท่านั้น และยิ่งนานวันไป.........ก็อาจจะสูญเสียไปโดย
ไม่ได้รับอะไรตอบแทนเลย เอ็ดเวิร์ด เอช. สโตรเบล ให้เหตุผลธรรมดาๆ ว่า......เปรียบเสมือนคนที่เป็นโรคร้ายที่
แขนขา ก็ควรจะตัดเนื้อร้ายออกไปเสียก่อนที่เชื้อโรค..............จะลุกลามแพร่ไปตามส่วนอื่นของร่างกาย ทันทีที่
เอ็ดเวิร์ด เอช. สโตรเบล ทูลเสนอ..........พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ก็ทรงเห็นชอบ
ด้วย เพราะถ้าพูดกันโดยจริงๆ แล้ว.........พระองค์ไม่ได้ทรงเสียดายดินแดนเหล่านี้มากมายนัก ถ้าจะต้องทรงคิด
อย่างหนัก...ก็จะเห็นเป็นเพียงแต่ทรงเกรง "การเสียหน้า" เช่น...เคยทรงปรารภว่า
.......เราไม่มีความประสงค์อันใด นอกจากที่จะให้หัวเมืองมลายูเป็นพระราชอาณาเขตชั้นนอก.............ติดกับฝรั่ง
อีกประการหนึ่ง เมืองเหล่านี้ปรากฏว่าอยู่ในเขตของไทยจะตกไป แต่อังกฤษเข้ามาบำรุง....เราก็ไม่ขาดทุนอันใด
ชั่วแต่ไม่ได้ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง ไม่เป็นราคากี่มากน้อย แต่ยังรู้สึกว่าเป็นการเสียเกียรติยศอยู่.......
และได้ทรงชี้แจงให้เอ็ดเวิร์ด เอช. สโตรเบล ทราบว่า..............สำหรับกลันตัน และตรังกานูนั้น ฉันไม่รู้สึกว่ามีผล
ประโยชน์อะไรด้วย ขอให้ท่านจัดการอะไรไปตามความประสงค์ได้......หลังจากข้อเสนอยกดินแดนมลายูดังกล่าว
รัฐบาลสองประเทศ ได้เริ่มเปิดเจรจากันอีกครั้ง และได้นำเรื่องต่างๆ ที่ยังเจรจาคั่งค้างอยู่.....มาพิจารณาพร้อมกัน
รวม 4 เรื่อง คือ
1. การโอนรัฐไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิส ให้อังกฤษ
2. การยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตของคนในบังคับอังกฤษในประเทศไทย
3. การสร้างทางรถไฟสายใต้
4. การยกเลิกปฏิญญาลับ ค.ศ. 1897 (พ.ศ. 2440)
การเจรจาสำเร็จลุล่วงและได้มีการลงนามใน "สนธิสัญญากรุงเทพฯ" เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2451 เป็นผลให้
ไทยต้องเสียหัวเมืองมลายู อันได้แก่ ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิส ให้กับอังกฤษ โดยอังกฤษยอมรับให้คน
ในบังคับอังกฤษทั่วประเทศไทยมาขึ้นตรงต่อศาลไทย....นับเป็นการยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตโดยสมบูรณ์
การสร้างทางรถไฟสายใต้ จากเมืองเพชรบุรีลงไปจนจดชายแดนมลายู ภายใต้เงื่อนไขว่า...กรมรถไฟใต้ ในความ
ควบคุมของชาวอังกฤษจะต้องเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง...และที่สำคัญที่สุด คือ การยกเลิกปฏิญญาลับระหว่างไทย
กับอังกฤษ ค.ศ. 1897 (พ.ศ. 2440) เพราะตามสัญญานี้ไทยยอมให้อังกฤษมีสิทธิ์เหนือดินแดนภาคใต้ตั้งแต่ตำบล
บางสะพาน (จังหวัดประจวบคีรีขันธ์) ลงไปจดสุดแหลมมลายู...ซึ่งถ้าพิจารณาในเชิงปฏิบัติ ไทยได้สูญเสียดินแดน
ภาคใต้ทั้งหมด...ให้กับอังกฤษไปแล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2440
................................................................
การยินยอมยกดินแดนหัวเมืองมลายูทั้ง 4 อันได้แก่ ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิส...ให้อังกฤษในครั้งนั้นของ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) นับว่าเป็นการยอมเสียดินแดนส่วนน้อย เพื่อรักษาดินแดน
ส่วนใหญ่เอาไว้ เพื่อให้ไทยมีอธิปไตยเหนือดินแดนภาคใต้โดยสมบูรณ์ และยังผลให้ประเทศไทย..ยังเป็นดินแดน
ด้ามขวานทอง...มาจนถึงทุกวันนี้ >>ii<<
และปะลิส โดยใช้วิธีปกครองแบบเมืองประเทศราช.............ให้สุลต่านของแต่ละรัฐปกครองกันเอง แต่จะต้อง
ส่งบรรณาการมาถวายพระมหากษัตริย์ไทย.........ตามกำหนดเวลา 3 ปีต่อครั้ง โดยที่ฝ่ายไทยมีอำนาจควบคุม
การต่างประเทศ และให้ความช่วยเหลือแก่รัฐเหล่านี้ในกรณีที่ถูกรุกรานจากชาติอื่น..............ในระยะเวลาก่อน
พ.ศ. 2443 รัฐบาลอังกฤษซึ่งเริ่มเข้ามามีอำนาจทางแหลมมลายูก็ยอมรับสิทธิของไทย..............ดังปรากฏใน
สนธิสัญญาระหว่างไทยกับอังกฤษหลายฉบับ เช่น สนธิสัญญาเบอร์นี พ.ศ. 2369 ......ปฏิญญาลับ พ.ศ. 2440
และข้อตกลงปักปันเขตแดน พ.ศ.2442 อย่างไรก็ตามปรากฏว่า........ได้เกิดการโต้แย้งขึ้นในบรรดาข้าราชการ
อังกฤษในมลายู และข้าราชการอังกฤษที่กรุงลอนดอน........เกี่ยวกับสิทธิของไทยเหนือดินแดนมลายูอยู่เสมอ
ทั้งนี้เพราะกระทรวงอาณานิคมของอังกฤษ มีนโยบายจะขยายอำนาจของตนในแถบนั้น.........และในระยะเวลา
ระหว่าง พ.ศ. 2404 - 2423 ได้เกิดกรณีพิพาทระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลอินเดียของอังกฤษ......เรื่องมลายู
หลายครั้งที่รุนแรงมาก เช่น กรณีเรือรบอังกฤษระดมยิงตรังกานู เรื่องวิวาท.........กรณีเขตแดนเประและรามันห์
และเรื่องการปราบผู้ร้ายข้ามแดน พวกกบฏในปะหัง หนีเข้ามากลันตัน ตรังกานู.........อังกฤษได้ส่งกำลังเข้ามา
ปราบถึงในเขตไทย แต่เหตุการณ์ต่างๆ สงบลงได้ เพราะกระทรวงการต่างประเทศที่กรุงลอนดอน.......ต้องการ
คบไทยเป็นมิตร จึงไม่ต้องการละเมิดสิทธิของไทยในมลายู........แต่ไทยตระหนักดีว่าสิทธิของไทยเหนือมลายู
ยังไม่มีหลักประกันที่แน่นอน ฉะนั้น ปัญหาทั้งสามประการดังกล่าวมาข้างต้น คือ...........ที่มาของการเจรจาทาง
การทูตระหว่างไทยกับอังกฤษ...อันเป็นผลให้ไทยต้องสูญเสียดินแดนมลายูทั้ง 4 รัฐ รวมพื้นที่ประมาณ 40,000
ตารางกิโลเมตรให้กับอังกฤษ........โดยเอ็ดเวิร์ด เอช. สโตรเบล ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินชาวอเมริกัน เสนอให้
ไทยแลกหัวเมืองมลายู.......พร้อมกับขอกู้เงิน 4 ล้านปอนด์ ในอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อนำไปสร้างทางรถไฟสายใต้
แก่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) และบรรดาเสนาบดีในสมัยนั้น.......ว่าการยกดินแดน
มลายูให้อังกฤษนั้น จะทำให้ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับดินแดนเหล่านี้หมดไปโดยอัตโนมัติ.....จริงอยู่การเสียดินแดน
ถือเป็นการเสียเกียรติภูมิของชาติ แต่รัฐบาลไทยควรตระหนักถึงความจริงที่ว่า..ดินแดนเหล่านี้จะหลุดพ้นไปจาก
อำนาจของไทยแน่ๆ ไม่วันใดก็วันหนึ่ง เพียงแต่ช้าหรือเร็วเท่านั้น และยิ่งนานวันไป.........ก็อาจจะสูญเสียไปโดย
ไม่ได้รับอะไรตอบแทนเลย เอ็ดเวิร์ด เอช. สโตรเบล ให้เหตุผลธรรมดาๆ ว่า......เปรียบเสมือนคนที่เป็นโรคร้ายที่
แขนขา ก็ควรจะตัดเนื้อร้ายออกไปเสียก่อนที่เชื้อโรค..............จะลุกลามแพร่ไปตามส่วนอื่นของร่างกาย ทันทีที่
เอ็ดเวิร์ด เอช. สโตรเบล ทูลเสนอ..........พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ก็ทรงเห็นชอบ
ด้วย เพราะถ้าพูดกันโดยจริงๆ แล้ว.........พระองค์ไม่ได้ทรงเสียดายดินแดนเหล่านี้มากมายนัก ถ้าจะต้องทรงคิด
อย่างหนัก...ก็จะเห็นเป็นเพียงแต่ทรงเกรง "การเสียหน้า" เช่น...เคยทรงปรารภว่า
.......เราไม่มีความประสงค์อันใด นอกจากที่จะให้หัวเมืองมลายูเป็นพระราชอาณาเขตชั้นนอก.............ติดกับฝรั่ง
อีกประการหนึ่ง เมืองเหล่านี้ปรากฏว่าอยู่ในเขตของไทยจะตกไป แต่อังกฤษเข้ามาบำรุง....เราก็ไม่ขาดทุนอันใด
ชั่วแต่ไม่ได้ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง ไม่เป็นราคากี่มากน้อย แต่ยังรู้สึกว่าเป็นการเสียเกียรติยศอยู่.......
และได้ทรงชี้แจงให้เอ็ดเวิร์ด เอช. สโตรเบล ทราบว่า..............สำหรับกลันตัน และตรังกานูนั้น ฉันไม่รู้สึกว่ามีผล
ประโยชน์อะไรด้วย ขอให้ท่านจัดการอะไรไปตามความประสงค์ได้......หลังจากข้อเสนอยกดินแดนมลายูดังกล่าว
รัฐบาลสองประเทศ ได้เริ่มเปิดเจรจากันอีกครั้ง และได้นำเรื่องต่างๆ ที่ยังเจรจาคั่งค้างอยู่.....มาพิจารณาพร้อมกัน
รวม 4 เรื่อง คือ
1. การโอนรัฐไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิส ให้อังกฤษ
2. การยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตของคนในบังคับอังกฤษในประเทศไทย
3. การสร้างทางรถไฟสายใต้
4. การยกเลิกปฏิญญาลับ ค.ศ. 1897 (พ.ศ. 2440)
การเจรจาสำเร็จลุล่วงและได้มีการลงนามใน "สนธิสัญญากรุงเทพฯ" เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2451 เป็นผลให้
ไทยต้องเสียหัวเมืองมลายู อันได้แก่ ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิส ให้กับอังกฤษ โดยอังกฤษยอมรับให้คน
ในบังคับอังกฤษทั่วประเทศไทยมาขึ้นตรงต่อศาลไทย....นับเป็นการยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตโดยสมบูรณ์
การสร้างทางรถไฟสายใต้ จากเมืองเพชรบุรีลงไปจนจดชายแดนมลายู ภายใต้เงื่อนไขว่า...กรมรถไฟใต้ ในความ
ควบคุมของชาวอังกฤษจะต้องเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง...และที่สำคัญที่สุด คือ การยกเลิกปฏิญญาลับระหว่างไทย
กับอังกฤษ ค.ศ. 1897 (พ.ศ. 2440) เพราะตามสัญญานี้ไทยยอมให้อังกฤษมีสิทธิ์เหนือดินแดนภาคใต้ตั้งแต่ตำบล
บางสะพาน (จังหวัดประจวบคีรีขันธ์) ลงไปจดสุดแหลมมลายู...ซึ่งถ้าพิจารณาในเชิงปฏิบัติ ไทยได้สูญเสียดินแดน
ภาคใต้ทั้งหมด...ให้กับอังกฤษไปแล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2440
................................................................
การยินยอมยกดินแดนหัวเมืองมลายูทั้ง 4 อันได้แก่ ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิส...ให้อังกฤษในครั้งนั้นของ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) นับว่าเป็นการยอมเสียดินแดนส่วนน้อย เพื่อรักษาดินแดน
ส่วนใหญ่เอาไว้ เพื่อให้ไทยมีอธิปไตยเหนือดินแดนภาคใต้โดยสมบูรณ์ และยังผลให้ประเทศไทย..ยังเป็นดินแดน
ด้ามขวานทอง...มาจนถึงทุกวันนี้ >>ii<<
แสดงความคิดเห็น
ไทรบุรี หรือ เคดาห์ ในมาเลเซีย ควรจะเป็นของไทย หรือเปล่าคะ