คิดต่างกระบวนการ Food Safety ไทย

อาจกล่าวได้ว่าเมืองไทยเป็นเมืองหรือครัวของโลกในการผลิตอาหารป้อนชาวโลก ดังนั้นเรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร
หรือ Food Safety จึงเป็นเรื่องสำคัญโดยเฉพาะที่ส่งออกยังต่างประเทศ ในเมืองไทยเองยังมีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับมาตรการ
ดังกล่าว รวมทั้งการกำหนดมาตรการวิธีการดำเนินงานและตรวจสอบติดตามใหม่ๆออกมาเสมอ แต่เรายังมีข้อบกพร่องอยู่แม้จะมีหลาย
จะบอกว่าเราเป็นผู้นำเรื่องดังกล่าว แต่ต้องมองย้อนให้ลึกจะพบว่าเราได้ปกปิดอะไรบ้างหรือเปล่า            
    มาตรการด้าน Food Safety ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็น GAP,GMP,HACCP และข้อกำหนดของคู่ค้าต่างประเทศ ไม่
ว่าจะเป็น EUROGAP,BRC หรือเฉพาะคู่ค้าที่สำคัญ ล้วนมีข้อปลีกย่อยแตกต่างออกไป เราจะพบว่าเมื่อถึงฤดูกาลถูกตรวจสอบ หรือ
การ Audit จากตัวแทนรัฐบาลต่างประเทศ โรงงานที่จะถูกตรวจสอบจะมีการเตรียมการทั้งสถานที่ และเอกสารใหม่ๆอย่างเสมอ เพื่อ
ให้การตรวจสอบประเมินผ่านการรับรอง แล้วความจริงคืออะไร เราพร้อมที่จะเป็นครัวของโลกที่จะมีความปลอดภัยจริงอย่างที่กล่าว
อ้างจริงหรือไม่ เรายั่งยืนในกระบวนการอาหารปลอดภัยจริงหรือ                        
    ปัญหาและอุปสรรคของแต่ละโรงงาน แต่ละแห่งที่ดำเนินการตามมาตรฐานต่างๆที่มีอยู่แต่ยังไม่สามารถทำได้ตามที่ระบุนั้น
มีมูลเหตุอะไรบ้างเป็นประเด็นที่ต้องมาทบทวนและพิจารณา ซึ่งพอสรุปเบื้องต้นได้ดังนี้                
1    เน้นลดต้นทุนก่อนเน้นเรื่องคุณภาพ
2    เน้นเรื่องผลผลิตก่อนเน้นเรื่องคุณภาพ
3    บุคลากรไม่มีความสามารถเพียงพอ
4    หน่วยราชการไม่มีความสามารถเพียงพอและขาดความตั้งใจ
5    ข้อกำหนดต่างๆมีความขัดแย้งกันเอง
6    ขาดความร่วมมือตั้งแต่ต้นจนปลายน้ำ
7    การบริหารการจัดการภายในหน่วยงานมีความขัดแย้งกัน
        
I    เน้นลดต้นทุนก่อนเน้นเรื่องคุณภาพ
    การอยู่รอดขององค์กรก็คือ การทำกำไร ถ้าจะกำไรได้นั่นคือ ราคาขายสูง ต้นทุนต่ำ ดังนั้นจึงมีหลายองค์กรที่นำความคิด
เรื่องการบริหารการจัดการต่างๆออกมาโดยเน้นเรื่องการลดต้นทุนการผลิต แต่มักพ่วงท้ายว่าคุณภาพเหมือนเดิม คำถามคือจริงหรือ
ไม่ ใช่หรือไม่ที่ทำกันอยู่ในปัจจุบัน
    รูปแบบบริหารที่มีชื่อเรียกกันอยู่เช่น Productivity Management ,Total Productivity Maintenance(TPM),KEIZEN,TQM
หรืออีกหลายรูปแบบแล้วแต่จะเรียกกัน แต่โดยหลักการจะพูดเรื่องคุณภาพมาก่อน,วิธีการแก้ปัญหา,การนำไปปฎิบัติและการตรวจสอบ
ให้เป็นแบบยั่งยืนหรือที่เรียกว่า PDCA ( Plan Do Check Action ) จะด้วยวิธีใดก็ตามขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งานอย่างถูกต้องและเข้า
ใจถึงแก่นแท้ไม่ใช่เพียงรู้จักและนำเครื่องมือเหล่านี้ไปใช้หรือเพียงเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริหารองค์กร แต่มีผลกระทบ
กับคุณภาพสินค้าเสมอ ดังนั้นการใช้เครื่องมือเหล่านี้ต้องเน้นที่ความมีจริยะรรมขององค์กรด้วยว่าใส่ใจจริง มิใช่เพียงแค่ให้ดูว่าองค์กร
มีเรื่องทำมากมายแต่เน้นต้นทุนและละเว้นคุณภาพ รวมทั้งผู้บริโภค การให้ข้อมูลเท็จกับสาธารณชนก็เป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจแม้จะเจ็บ
ปวดกับความจริงในเบื้องต้น แต่สุดท้ายแล้วความจริงเป็นสิ่งยั่งยืนเสมอที่จะทำให้องค์กรกลับมาเป็นผู้นำที่มีความจริงใจอย่างแท้จริง
        
        
II    เน้นเรื่องผลผลิตก่อนเน้นเรื่องคุณภาพ
    ส่วนใหญ่แล้วเมื่อ Concept การลดต้นทุนถูกนำขึ้นมาก่อนการเพิ่มผลผลิตจากเดิม 100% ให้เป็น 120% 130 % ก็จะตามมา
หลักการที่ว่าค่าใช้จ่ายคงที่ไม่มีเพิ่มขึ้น ดังนั้นยิ่งเพิ่มการผลิตมากเท่าไหร่ ต้นทุนต่อหน่วยยิ่งลดลง แค่ยังให้คุณภาพคงเดิม ทั้งที่ใน
ความจริงแล้วโรงงานได้รับการออกแบบไว้สำหรับการผลิตในระดับหนึ่ง เมื่อเกินไปกว่านั้นคุณภาพจะมีปัญหาตามมา ทุกวันนี้จึงเห็น
หลายแห่งแก้ไขโดยการเพิ่มหรือปรับปรุง Line การผลิต แต่กลับไม่ได้ตรวจสอบว่าจริงๆแล้ว การปรับปรุงนั้นใช้ได้จริงหรือไม่ เพียงแค่
ตรวจสอบแล้วเห็นว่าคุ้มค่ากับการลงทุน ความผิดพลาดของสินค้าจึงตกเป็นกรรมของโรงงานผู้ผลิตไป ในแง่ที่ว่าควบคุมดูแลไม่ดี
รวมทั้งการไม่คิดให้ครบกรอบของปัญหา มีหลายแห่งมองเพียงว่าตรงไหนเป็นคอขวดของกระบวนการผลิต ก็จะทะลายตรงจุดนั้นเสีย
ทำให้เกิดปัญหาตามมาอีกจุดหนึ่ง เนื่องจากความสามารถของFรงงานได้ออกแบบมาเพียงเท่านั้น กรณีนี้ที่เห็นชัดเจนน่าจะได้แก่กรณี
น้ำมันรั่วไหลของบริษัท BP
    หลายองค์กรจึงมีเครื่องมือต่างๆดังที่กล่าวมาแล้วในการเพิ่มผลผลิตให้ได้มากที่สุด แต่สุดท้ายผลกระทบจะมาลงที่ผู้บริโภค
อยู่ดี ยังไม่เคยพบว่ามีการลดราคาสินค้าลงมาได้เพื่อให้ผู้บริโภคได้ราคาที่เหมาะสม มีเพียงราคาที่ปรับตัวตามสภาพการณ์และการ
กำหนดราคาของผู้ครอบครองแต่ละตลาดนั้นๆ อาจต้องทบทวนกระบวนการความคิดต่างๆว่าที่คิดมานั้นใช่แนวทางหรือไม่ และในปัจ
จุบันกำลังมีกระแสเรื่องของความยั่งยืน ( Sustainability ) เกิดขึ้น ซึ่งกลายเป็นตัวนำการตลาดไปแล้ว แต่คำว่ายั่งยืนนั้นได้ตีความกัน
อย่างไร บริษัทยั่งยืน หรือสินค้ายั่งยืน และยั่งยืนนี้มีความหมายลึกซึ้งเพียงใด  ต่อผู้บริโภค หรือต่อโลกของเรา เป็นคำถามที่รอคำตอบ
จากผู้เกี่ยวข้อง    
III    บุคลากรไม่มีความสามารถเพียงพอ                            
    ในโรงงานผลิตอาหารปัจจุบัน มีหลากหลายวิชาชีพที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ได้แก่ วิศวกร นักวิทยาศาสตร์ด้านอาหาร ด้านเคมี    
สัตวแพทย์ ประมง หรือแม้แต่เศรษฐศาสตร์ คหกรรมศาสตร์ โดยมีบทบาทหน้าที่แตกต่างกันไป แล้วอะไรคือปัญหาที่กล่าวว่า บุคลากร
ไม่มีความสามารถเพียงพอ ในหลายกรณีมักจะเป็นปัญหาที่ตัวผู้บริหาร เช่น ผู้จัดการโรงงาน ถ้าเป็นวิศวกรก็จะเน้นทางด้านเครืองจักร
แต่ไม่เข้าใจลึกซึ้งเพียงพอ กับกระบวนการควบคุมคุณภาพ หรือถ้าเป็นนักวิทยาศาสตร์ ที่จบด้าน Food Science ก็จะไม่เข้าใจเรื่อง    
การปรับปรุงเครื่องจักร ในหลายกรณีอีกเช่นกันที่ผู้ปฎิบัติงานระดับล่างมักจะเป็นปัญหาเนื่องจากความรู้ความเข้าใจไม่เพียงพอและไม่
ตรงตามสายงาน                                                
    เราพบว่าปัจจุบันพนักงานที่จบปริญญาตรีใหม่ๆจะยังไม่มีประสบการ์ณหน้างาน จึงขาดความเด็ดขาดแม่นยำในการแก้ปัญหา
รวมทั้งไม่ค่อยได้สัมผัสหน้างานจริงมักเป็นรายงานที่เข้ามา จึงมีการสั่งออกไปโดยไม่รู้ข้อเท็จจริง ทำให้ปัญหาไม่ได้ถุกแก้ไขอย่าง    
ถูกต้อง ในส่วนของผู้บริหารระดับสูงเองยิ่งห่างไกลปัญหาและมักอาศัยเครื่องมือทางคุณภาพต่างๆเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา เช่น
TQM,TPM,PDCA,QCC หรืออืนๆ แต่ด้วยเครืองมือเหล่านี้ขาดพื้นฐานหน้างานทำให้ไม่มีประสิทธิภาพและอาจไม่เหมาะสมกับสภาพ
งานปัญหาดังกล่าว เมื่อแก้ปัญหาไม่ได้ผลลัพธ์จึงตกอยู่กับพนักงานว่าไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นการเลือกเครื่องมือในการแก้ปัญหาจึง
ต้องเลือกให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาหน้างานนั้น                                    
    จะเห็นได้ว่าปัจจุบันโรงงานด้านอุตสาหกรรมอาหารขยายตัวอย่างมาก แต่ผู้มีความสามารถแท้จริงกลับมีน้อยด้วยเป็นงานที่
ลำบาก ต้องใช้ความรับผิดชอบและอดทนเป้นอย่างมาก ต้องกล้าตัดสินใจและมีคุณธรรม จริยะธรรมในอาชีพ ดังนั้นมีไม่น้อยเลยทีเดียว
ที่ต้องปล่อยปะละเลยในการควบคุมคุรภาพ เพื่อให้ได้ผลผลิตตามที่ต้องการ มันดูเหมือนมีความขัดแย้งกันเองในตัวแต่เป็นความจริงที่
ต้องยอมรับ และนั่นเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้บุคลากรยอมถอนตัวหรือไม่ปฎิบัติตามมาตรฐาน ตราบจนวันที่ไม่มีปัญหามาถึงตัวเอง    
                                                    
IV    หน่วยราชการไม่มีความสามารถเพียงพอและขาดความตั้งใจ                
    คำกล่าวนี้อาจดูโหดร้ายในฐานะผู้กำกับดูแลนโยบายของรัฐบาล ในความเป็นจริงหน่วยงานรัฐมีแต่นักวิชาการที่คอยกำหนด
กฎเกณฑ์ แต่ไม่ค่อยได้สัมผัสหน้างาน กฎเกณฑ์ที่ออกมาจึงดูขึงขังที่จะทำให้มารตฐาไทยก้าวไกลทัยโลก ความสามารถของเจ้าพนัก
งานแต่ละคน ความคิดเห็นต่อข้อกำหนดรวมถึงความแม่นยำที่แตกต่างกัน ทำให้หลายกรณีไม่สามารถสรุปได้ว่าควรเป็นอย่างไร    
    ระบบราชการไทยเป็นประเด็นอันหนึ่งซึ่งทำให้ภาคเอกชนรู้สึกว่าไม่ใช่ที่พึ่งพิงในการแก้หรือตอบปัญหาในกระบวนการผลิต
แม้จะดูเหมือนว่าราชการไทยเป็นผู้ถือกฎ แต่ความจริงคือเป็นการถือ ไม่รู้วิธีปฎิบัติจริงหรือข้อเท็จจริง เมื่อเกิดปัญหาขึ้นจึงจะมีวิธีการ
ในการเข้ามาร่วม อีกทั้งระบบราชการไทยทำให้เจ้าหน้าที่ไม่มีความตั้งใจเพียงพอในการแก้ปัญหา หรือรับผิดชอบ เพราะจะมีผลต่อ    
ตำแหน่งหน้าที่การในอนาคตได้ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้บุคลากรภาครัฐเองไม่มุ่งมั่นทุ่มเทให้อย่างเต็มความสามารถ        
                                                    
                                                    
V    ข้อกำหนดต่างๆมีความขัดแย้งกันเอง                            
    จากการที่หน่วยงานรัฐหลายแห่งมีบทบาทในการกำหนด Food Safety Regulation เช่น กรมปศุสัตว์ กรมประมง  มกอช     
กรมโรงงาน หรือ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ทำให้ข้อกำหนดบางอย่างคลุมเคครือขัดแย้งกันเอง เช่น การกำหนดค่าสาร
ตกค้างไม่ให้เกินในผลิตภัณฑ์อาหารที่แตกต่างกัน รวมทั้งไม่มีความชัดเจนว่าในกลุ่มอาหารชนิดใด เช่น เนื้อสดอย่างเดียว หรือใน    
อาหารสำเร็จรูป ทำให้ผู้ประกอบการไม่เข้าใจและดำเนินการตามความคิดเห็นที่เห็นว่าถูกต้องซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาในระยะยาว โดย
เฉพาะในกรณีสินค้าส่งออก                                            
    แม้ในปัจจุบันทางหน่วยงานรัฐจะกำหนดให้ มกอช เป็นหน่วยงานกลางในการกำหนดมาตรฐานซึ่งคงต้องรอผลในระยะยาว
ในทางปฎิบัติว่าจะเดินไปในแนวทางเดียวกันได้หรือไม่ แต่ก็ยังมีข้อกำหนดที่ขัดแย้งกับข้อกำหนดของมาตรฐานต่างประเทศโดยเฉพาะ
ในกลุ่มลูกค้ารายใหญ่ที่มีข้อกำหนดที่เข้มงวดของตัวเอง ซึ่งทำให้ขาดความเข้าใจในการปฎิบัติและสับสนกับผู้ประกอบการ    
                                                    
VI    ขาดความร่วมมือตั้งแต่ต้นจนปลายน้ำ                            
    ในกระบวนการผลิตตั้งแต่ From Farm to Table มีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นฟาร์ม โรงงาน โรงแปรรูป ในแต่ละ
หน่วยงานจะมีมารตรการวิธีการทำงานในแบบวัฒนธรรมของตนเองมีภาระและปรับปรุงมากขึ้น อุปสรรคนี้มักทำให้งานที่ต้องดำเนิน    
การสะดุดลง และบ่ายเบี่ยงที่จะเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ทำให้การแก้ปัญหาไม่
ตรงจุด ไม่เป็นตัวชี้วัดตัวเดียวกัน                                        
                                                    
VII    การบริหารการจัการภายในหน่วยงานมีความขัดแย้งกัน                
    ประเด็นนี้มีผลมาจากการเน้นผลผลิตก่อนเน้นคุณภาพทำให้หน่วยงานที่รับผิดชอบมีความมุ่งมั่นในหน้าที่งานของตัวเองจน
ลืมนึกึงองค์รวมขององค์กรว่ามีความต้องการอย่างไร ความขัดแย้งจึงเกิดขึ้นนั่นคือประเด็นหนึ่ง อีกประเด็นคือมีข้อกล่าวอ้างว่าการจัด
การคุณภาพนั้นทำให้ต้นทุนเพิ่ม ยอดขายลดลง เช่นกรณีการนำสินค้าตก Specification ห้ามจำหน่ายหรือการกำหนดวันหมดอายุลง
ในสินค้า จะทให้ยอดขายตก แต่ไม่ได้คำนึงว่านั่นคือ เรื่องของคุณภาพสินค้าที่ต้องให้ผู้บริโภครับรู้และจะเป็นตัวช่วยเพิ่มยอดขายและ
Value สินค้าในอนาคต                                            
                                                    
    บทสรุปสุดท้ายในเรื่อง Food Safety ของไทยก็คือ ทุกหน่วยงานต้องจริงใจในการแก้ปัญหาและกำหนดมาตรฐานที่เหมาะสม
เพื่อให้ Food Safety สามารถเป็นจริงได้ มิใช่เพียงให้ได้รับตราสัญลักษณ์
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่