ปรกติแล้วชาวพุทธหลายท่านเข้าใจกันว่า หากจะทำบุญอุทิศส่วนกุศลนั้น ต้องถวายสังฆทายแก่พระเท่านั้น แต่แท้ที่จริงแล้ว การอุทิศส่วนกุศลนั้น เราสามารถให้ทานแก่สัตว์ หรือคนใดก็ได้ เพราะพระพุทธเจ้าตรัสในทักขิณาวิภังคสูตรว่า
"บุคคลให้ทานในสัตว์เดียรัจฉาน พึงหวังผลทักษิณาได้ร้อยเท่า
ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีล พึงหวังผลทักษิณาได้พันเท่า
ให้ทานในปุถุชนผู้มีศีล พึงหวังผลทักษิณาได้แสนเท่า
ให้ทานในบุคคลภายนอก(นอกศาสนาพุทธ)ผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม พึงหวังผลทักษิณาได้แสนโกฏิเท่าให้
ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง พึงหวังผลทักษิณาจนนับไม่ได้
จนประมาณไม่ได้ จะป่วยกล่าวไปไยในพระโสดาบัน ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำ
สกทาคามิผลให้แจ้ง ในพระสกทาคามี ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง
ในพระอนาคามี ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง ในสาวกของตถาคตผู้เป็น
พระอรหันต์ ในพระปัจเจกสัมพุทธ และในตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ ฯ"
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=9161&Z=9310
ดังนั้น การให้ทานแม้แก่กับสัตว์ ทำเพียงหนึ่ง แต่อานิสงส์ได้ถึงร้อย และสามารถเผื่อแผ่บุญนี้ให้กับเทวดาหรือสัตว์ที่อนุโมทนาบุญได้
โดยในชาดกตอนหนึ่ง มีแสดงว่าพระโพธิสัตว์(ก่อนที่จะเป็นพระพุทธเจ้า) ท่านทานอาหารเหลือ แล้วเอาเศษอาหารนี้ใหักับปลาในแม่น้ำ พอให้ปลาแล้ว ก็อุทิศบุญนั้นให้เทวดาที่ประจำแม่น้ำ พอเทวดานั้นอนุโมทนาบุญที่แม้เป็นแค่บุญจากให้เศษอาหารกับปลา เทวดานั้นก็กลับมีอานุภาพขึ้นมาก และกลับมาช่วยรักษาพระโพธิสัตว์ตอนที่ท่านเจอปัญหาได้ด้วย
บุญที่ให้ทานแก่ปลา
ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวันเมืองสาวัตถี ทรงปรารภพ่อค้าโกงชาวเมืองสาวัตถีคนหนึ่ง
ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นลูกชายของพ่อค้าตระกูลหนึ่งในเมืองพาราณสี มีน้องชายอยู่คนหนึ่ง
เมื่อบิดาเสียชีวิตแล้วสองพี่น้องได้ปรึกษาหารือกันเรื่องบริหารกิจการค้าขาย ตกลงกันเดินทางไปสะสางบัญชีการค้า
ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ได้เงินพันหนึ่งแล้วก็เดินทางกลับมานั่งกินข้าวห่อรอเรือข้ามฟากที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา
หลังจากกินข้าวเสร็จแล้ว พระโพธิสัตว์ได้ให้อาหารที่เหลือแก่ปลาในแม่น้ำแล้วอุทิศส่วนบุญกุศล
ให้สรรพสัตว์รวมถึงเทวดาที่แม่น้ำนั้นด้วย เทวดาพออนุโมทนารับส่วนบุญเท่านั้น ก็เป็นผู้บริบูรณ์ด้วย
ลาภยศอันเป็นทิพย์ เมื่อให้อาหารปลาหมดแล้วเขาก็ลาดผ้าบนหาดทรายล้มตัวลงนอนหลับไป
ส่วนน้องชายของเขามีนิสัยเป็นหัวขโมยมาตั้งแต่เด็ก นั่งคิดวางแผนฉกเอาทรัพย์จึงห่อก้อนหิน
ขึ้นห่อหนึ่งขนาดเท่ากับถุงห่อเงินนั้น
เมื่อเรือข้ามฟากมาถึง เขาก็ปลุกพี่ชายแล้วถือถุงสองถุงขึ้นเรือไปก่อน เมื่อเรือไปถึงกลางแม่น้ำ
เขาก็ทำให้เรือโครงเครงทำทีเป็นเสียหลักโยนถุงหนึ่งลงน้ำไปพร้อมกับพูดขึ้นว่า
" พี่ ถุงห่อเงินตกน้ำไปแล้ว เราจะทำอย่างไรละทีนี้ "
" เมื่อมันตกน้ำไปแล้วก็ช่างมันเถอะ อย่าคิดถึงมันเลยหาเอาใหม่ได้มากกว่านี้ " พี่ชายตอบ
เทวดาประจำแม่น้ำคงคาเห็นเหตุการณ์นั้นตลอดจึงบันดาลให้ปลาปากกว้างตัวหนึ่งมากลืนกินถุงเงินนั้นไป
ฝ่ายน้องชายเมื่อกลับถึงบ้านแล้วก็รีบแก้ถุงเงินอีกถุงหนึ่งออกดูด้วยความกระหยิ่มใจ
แต่พอแก้ห่อดูกลับเป็นถุงห่อก้อนหินจึงได้แต่นั่งคร่ำครวญเสียใจอยู่คนเดียวที่หลงทิ้งถุงห่อเงินลงน้ำไป
ฝ่ายพี่ชายก็กลับไปบ้านของตนโดยไม่คิดอะไร
หลายวันต่อมา พวกชาวประมงไปหาปลาจับได้ปลาปากกว้างตัวนั้น จึงเที่ยวเดินขายปลาอยู่ว่า
" ปลาสดๆ จ้า ตัวนี้ขายตัวละ ๑,๗๐๐ บาท สนไหมครับ "
ชาวบ้านพากันหัวเราะเยาะว่า " ปลาอะไรจะแพงขนาดนั้นละ "
จึงไม่มีใครซื้อไป พวกเขาเดินขายไปจนถึงประตูร้านบ้านของพระโพธิสัตว์ได้ร้องขายปลาอยู่หน้าร้านนั้น
พระโพธิสัตว์เดินออกมาดูปลา สนใจปลาปากกว้างตัวนั้นจึงถามราคาว่า
" ปลาตัวนี้ราคาเท่าไหร่จ้ะ "
" ผมขายให้ ๒๘ บาทละกันครับ " ชาวประมงตอบ
เขาจึงซื้อปลาตัวนั้นไปมอบให้ภรรยาปรุงอาหาร พอภรรยาผ่าท้องปลาเท่านั้นก็พบถุงเงินจึงมอบให้เขา
เขาเปิดดูเห็นตราประทับห่อของตนก็จำได้ จึงนั่งคิดแปลกใจอยู่คนเดียวว่า
" แปลกจัง ชาวประมงร้องขายปลาให้คนอื่น ๑,๗๐๐ บาท แต่ขายให้เราเพียง ๒๘ บาท เราได้เงินคืนมาเพราะอะไรหนอ "
ขณะนั้น เทวดาได้ปรากฏร่างยืนอยู่ในอากาศพูดว่า
" เราเป็นเทวดาประจำแม่น้ำคงคา ท่านให้อาหารปลาวันนั้นแล้วอุทิศส่วนบุญแก่เรา
เราจึงขอมอบทรัพย์แก่ท่านคืน ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะแผนการณ์ของน้องชายท่านเอง ชื่อว่าความเจริญย่อมไม่เกิดแก่คนผู้มีจิตคิดร้ายผู้อื่น "
แล้วได้กล่าวคาถาว่า
" ผู้ใดทำกรรมชั่ว ล่อลวงเอาทรัพย์สมบัติของพี่น้องและของพ่อแม่
ผู้นั้นจัดว่าเป็นผู้มีจิตชั่วร้าย ย่อมไม่มีความเจริญ แม้เทวดาก็ไม่นับถือเขา "
กล่าวคาถาจบก็หายร่างไป
จากตัวอย่างนี้เอง แสดงให้เห็นว่า เมื่อเราให้อาหารกับสัตว์แล้ว เราสามารถอุทิศบุญได้ และการอุทิศบุญนั้นก็จะนำความสุขความเจริญมาให้กับเราด้วยในอนาคต
มาวมญฺเญถ ปุญฺญสฺส
น มตฺตํ อาคมิสฺสติ
อุทพินฺทุนิปาเตน
อุทกุมฺโภปิ ปูรติ
อาปูรติ ธีโร ปุญฺญสฺส
โถถํ โถกมฺปิ อาจินํ . . . ฯ ๑๒๒
อย่าดูถูกบุญว่าเล็กน้อยจักไม่สนองผล
น้ำตกจากเวหาทีละหยาด ๆ ยังเต็มตุ่มได้
นักปราชญ์สะสมบุญทีละเล็กละน้อย
ย่อมเต็มด้วยบุญได้เช่นกัน
Despise not merit,
Saying 'it will not come to me'
Drop by drop, is the water pot filled,
Likewise the man, gathering little by little,
Fills himself with merit.
ที่มา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=5&t=23178
ชาดกต้นฉบับ
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=463
ท่านที่เลี้ยงสัตว์เลี้ยง หลังจากให้อาหารสัตว์เลี้ยงแล้ว ชักชวนมาทำบุญเพ่ิมเติมบารมีด้วยการกรวดน้ำอุทิศผลบุญ
"บุคคลให้ทานในสัตว์เดียรัจฉาน พึงหวังผลทักษิณาได้ร้อยเท่า
ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีล พึงหวังผลทักษิณาได้พันเท่า
ให้ทานในปุถุชนผู้มีศีล พึงหวังผลทักษิณาได้แสนเท่า
ให้ทานในบุคคลภายนอก(นอกศาสนาพุทธ)ผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม พึงหวังผลทักษิณาได้แสนโกฏิเท่าให้
ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง พึงหวังผลทักษิณาจนนับไม่ได้
จนประมาณไม่ได้ จะป่วยกล่าวไปไยในพระโสดาบัน ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำ
สกทาคามิผลให้แจ้ง ในพระสกทาคามี ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง
ในพระอนาคามี ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง ในสาวกของตถาคตผู้เป็น
พระอรหันต์ ในพระปัจเจกสัมพุทธ และในตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ ฯ"
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ดังนั้น การให้ทานแม้แก่กับสัตว์ ทำเพียงหนึ่ง แต่อานิสงส์ได้ถึงร้อย และสามารถเผื่อแผ่บุญนี้ให้กับเทวดาหรือสัตว์ที่อนุโมทนาบุญได้
โดยในชาดกตอนหนึ่ง มีแสดงว่าพระโพธิสัตว์(ก่อนที่จะเป็นพระพุทธเจ้า) ท่านทานอาหารเหลือ แล้วเอาเศษอาหารนี้ใหักับปลาในแม่น้ำ พอให้ปลาแล้ว ก็อุทิศบุญนั้นให้เทวดาที่ประจำแม่น้ำ พอเทวดานั้นอนุโมทนาบุญที่แม้เป็นแค่บุญจากให้เศษอาหารกับปลา เทวดานั้นก็กลับมีอานุภาพขึ้นมาก และกลับมาช่วยรักษาพระโพธิสัตว์ตอนที่ท่านเจอปัญหาได้ด้วย
บุญที่ให้ทานแก่ปลา
ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวันเมืองสาวัตถี ทรงปรารภพ่อค้าโกงชาวเมืองสาวัตถีคนหนึ่ง
ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นลูกชายของพ่อค้าตระกูลหนึ่งในเมืองพาราณสี มีน้องชายอยู่คนหนึ่ง
เมื่อบิดาเสียชีวิตแล้วสองพี่น้องได้ปรึกษาหารือกันเรื่องบริหารกิจการค้าขาย ตกลงกันเดินทางไปสะสางบัญชีการค้า
ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ได้เงินพันหนึ่งแล้วก็เดินทางกลับมานั่งกินข้าวห่อรอเรือข้ามฟากที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา
หลังจากกินข้าวเสร็จแล้ว พระโพธิสัตว์ได้ให้อาหารที่เหลือแก่ปลาในแม่น้ำแล้วอุทิศส่วนบุญกุศล
ให้สรรพสัตว์รวมถึงเทวดาที่แม่น้ำนั้นด้วย เทวดาพออนุโมทนารับส่วนบุญเท่านั้น ก็เป็นผู้บริบูรณ์ด้วย
ลาภยศอันเป็นทิพย์ เมื่อให้อาหารปลาหมดแล้วเขาก็ลาดผ้าบนหาดทรายล้มตัวลงนอนหลับไป
ส่วนน้องชายของเขามีนิสัยเป็นหัวขโมยมาตั้งแต่เด็ก นั่งคิดวางแผนฉกเอาทรัพย์จึงห่อก้อนหิน
ขึ้นห่อหนึ่งขนาดเท่ากับถุงห่อเงินนั้น
เมื่อเรือข้ามฟากมาถึง เขาก็ปลุกพี่ชายแล้วถือถุงสองถุงขึ้นเรือไปก่อน เมื่อเรือไปถึงกลางแม่น้ำ
เขาก็ทำให้เรือโครงเครงทำทีเป็นเสียหลักโยนถุงหนึ่งลงน้ำไปพร้อมกับพูดขึ้นว่า
" พี่ ถุงห่อเงินตกน้ำไปแล้ว เราจะทำอย่างไรละทีนี้ "
" เมื่อมันตกน้ำไปแล้วก็ช่างมันเถอะ อย่าคิดถึงมันเลยหาเอาใหม่ได้มากกว่านี้ " พี่ชายตอบ
เทวดาประจำแม่น้ำคงคาเห็นเหตุการณ์นั้นตลอดจึงบันดาลให้ปลาปากกว้างตัวหนึ่งมากลืนกินถุงเงินนั้นไป
ฝ่ายน้องชายเมื่อกลับถึงบ้านแล้วก็รีบแก้ถุงเงินอีกถุงหนึ่งออกดูด้วยความกระหยิ่มใจ
แต่พอแก้ห่อดูกลับเป็นถุงห่อก้อนหินจึงได้แต่นั่งคร่ำครวญเสียใจอยู่คนเดียวที่หลงทิ้งถุงห่อเงินลงน้ำไป
ฝ่ายพี่ชายก็กลับไปบ้านของตนโดยไม่คิดอะไร
หลายวันต่อมา พวกชาวประมงไปหาปลาจับได้ปลาปากกว้างตัวนั้น จึงเที่ยวเดินขายปลาอยู่ว่า
" ปลาสดๆ จ้า ตัวนี้ขายตัวละ ๑,๗๐๐ บาท สนไหมครับ "
ชาวบ้านพากันหัวเราะเยาะว่า " ปลาอะไรจะแพงขนาดนั้นละ "
จึงไม่มีใครซื้อไป พวกเขาเดินขายไปจนถึงประตูร้านบ้านของพระโพธิสัตว์ได้ร้องขายปลาอยู่หน้าร้านนั้น
พระโพธิสัตว์เดินออกมาดูปลา สนใจปลาปากกว้างตัวนั้นจึงถามราคาว่า
" ปลาตัวนี้ราคาเท่าไหร่จ้ะ "
" ผมขายให้ ๒๘ บาทละกันครับ " ชาวประมงตอบ
เขาจึงซื้อปลาตัวนั้นไปมอบให้ภรรยาปรุงอาหาร พอภรรยาผ่าท้องปลาเท่านั้นก็พบถุงเงินจึงมอบให้เขา
เขาเปิดดูเห็นตราประทับห่อของตนก็จำได้ จึงนั่งคิดแปลกใจอยู่คนเดียวว่า
" แปลกจัง ชาวประมงร้องขายปลาให้คนอื่น ๑,๗๐๐ บาท แต่ขายให้เราเพียง ๒๘ บาท เราได้เงินคืนมาเพราะอะไรหนอ "
ขณะนั้น เทวดาได้ปรากฏร่างยืนอยู่ในอากาศพูดว่า
" เราเป็นเทวดาประจำแม่น้ำคงคา ท่านให้อาหารปลาวันนั้นแล้วอุทิศส่วนบุญแก่เรา
เราจึงขอมอบทรัพย์แก่ท่านคืน ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะแผนการณ์ของน้องชายท่านเอง ชื่อว่าความเจริญย่อมไม่เกิดแก่คนผู้มีจิตคิดร้ายผู้อื่น "
แล้วได้กล่าวคาถาว่า
" ผู้ใดทำกรรมชั่ว ล่อลวงเอาทรัพย์สมบัติของพี่น้องและของพ่อแม่
ผู้นั้นจัดว่าเป็นผู้มีจิตชั่วร้าย ย่อมไม่มีความเจริญ แม้เทวดาก็ไม่นับถือเขา "
กล่าวคาถาจบก็หายร่างไป
จากตัวอย่างนี้เอง แสดงให้เห็นว่า เมื่อเราให้อาหารกับสัตว์แล้ว เราสามารถอุทิศบุญได้ และการอุทิศบุญนั้นก็จะนำความสุขความเจริญมาให้กับเราด้วยในอนาคต
มาวมญฺเญถ ปุญฺญสฺส
น มตฺตํ อาคมิสฺสติ
อุทพินฺทุนิปาเตน
อุทกุมฺโภปิ ปูรติ
อาปูรติ ธีโร ปุญฺญสฺส
โถถํ โถกมฺปิ อาจินํ . . . ฯ ๑๒๒
อย่าดูถูกบุญว่าเล็กน้อยจักไม่สนองผล
น้ำตกจากเวหาทีละหยาด ๆ ยังเต็มตุ่มได้
นักปราชญ์สะสมบุญทีละเล็กละน้อย
ย่อมเต็มด้วยบุญได้เช่นกัน
Despise not merit,
Saying 'it will not come to me'
Drop by drop, is the water pot filled,
Likewise the man, gathering little by little,
Fills himself with merit.
ที่มา http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=5&t=23178
ชาดกต้นฉบับ
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=463