ระหว่างการทำทานและอุทิศบุญ กับ การสวดมนตร์ หรือ เจริญสติ หรือ การนั่งสมาธิ การกระทำแบบไหน มีผลเป็นประโยชน์ต่อผู้รับมากกว่ากัน ?
ถามในกรณีของผู้รับนะครับ เช่น ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว เปรต เทวดา มนุษย์ด้วยกัน หรือภพอื่น ตามหลักความเชื่อทางศาสนา
เท่าที่ศึกษามาจากพระไตรปิฎก ถ้าผลที่ได้กับตนนั้น ย่อมเรียงจากทานไปศีลและไปภาวนา
แต่ปัจจุบัน จะเห็นว่า มีการอุทิศบุญ จากการ สวดมนตร์ หรือ เจริญสติ(บางท่านเรียกวิปรัสนา) หรือ นั่งภาวนาทำสมถะ บางตำรา ก็บอกว่า สามารถใช้บุญเหล่านี้แปลเปลี่ยนเป็นปัจจัยอื่นได้เพื่ออุทิศ (ส่วนนี้จริงหรือไม่?)
เพราะเท่าที่ศึกษาจากพระไตรปิฏก ส่วนตัว ยังพบ เรื่องการอุทิศกุศล แค่ส่วนของพระเจ้าพิมพิสาร ที่อุทิศให้พระญาติที่เป็นเปรต แต่ ก็เป็นส่วนของทาน(ซึ่งมีการให้วัตถุทานกันจริง)
นอกจากนี้ข้าพเจ้าเคยได้ฟังมาว่า ถ้า ญาติเป็นเปรตนั้นสามารถโมทนาบุญได้ แต่ถ้า เป็นเทวดา เมื่อทำทานเค้าย่อมไม่ได้รับอาหารเหล่านั้นเพราะเค้ามีอาหารของเทวดา เช่นเดียวกันกับ เดรัจฉาน และ เปรต และสัตว์นรกต่างก็มีอาหารของตน (แต่ ก็มีบางตำรากล่าวว่า ในส่วนนี้นั้นหมายถึง พวกที่เซ่นไหว้ ของด้วยอาหารสด และ เชิญให้ญาติที่ล่วงลับมากินอาหารนั้น มิใช่ กรณีที่ญาตินั้นทำบุญด้วยการให้ทาน และ อุทิศบุญ ให้เทวดา สัตว์นรก แบบนี้พวกเค้าย่อมโมทนาได้) แต่บางตำราก็กล่าวไว้เช่นกันว่า ถ้าเป็นสัตว์นรกบุญจากทานเค้าโมทนาไม่ได้ ต้องจากการเจริญสติเท่านั้น
และการอุทิศส่วนของบุญนั้นและให้ผู้รับโมทนาเอง ต่างกันหรือไม่ กับการที่ผู้ได้กระทำบุญได้กล่าวว่าขอให้ผลบุญ(ทั้งหมดนี้)จงมีแก่....
อยากทราบว่าความเห็นที่ถูกเป็นเช่นไร ขอเชิญผู้รู้ หรือมีประสบการณ์ ช่วยแจงหน่อยครับ
ระหว่างการทำทานและอุทิศบุญ กับ การสวดมนตร์ หรือ เจริญสติ หรือ การนั่งสมาธิแบบไหน มีผลเป็นสุขต่อผู้รับมากกว่ากัน
ถามในกรณีของผู้รับนะครับ เช่น ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว เปรต เทวดา มนุษย์ด้วยกัน หรือภพอื่น ตามหลักความเชื่อทางศาสนา
เท่าที่ศึกษามาจากพระไตรปิฎก ถ้าผลที่ได้กับตนนั้น ย่อมเรียงจากทานไปศีลและไปภาวนา
แต่ปัจจุบัน จะเห็นว่า มีการอุทิศบุญ จากการ สวดมนตร์ หรือ เจริญสติ(บางท่านเรียกวิปรัสนา) หรือ นั่งภาวนาทำสมถะ บางตำรา ก็บอกว่า สามารถใช้บุญเหล่านี้แปลเปลี่ยนเป็นปัจจัยอื่นได้เพื่ออุทิศ (ส่วนนี้จริงหรือไม่?)
เพราะเท่าที่ศึกษาจากพระไตรปิฏก ส่วนตัว ยังพบ เรื่องการอุทิศกุศล แค่ส่วนของพระเจ้าพิมพิสาร ที่อุทิศให้พระญาติที่เป็นเปรต แต่ ก็เป็นส่วนของทาน(ซึ่งมีการให้วัตถุทานกันจริง)
นอกจากนี้ข้าพเจ้าเคยได้ฟังมาว่า ถ้า ญาติเป็นเปรตนั้นสามารถโมทนาบุญได้ แต่ถ้า เป็นเทวดา เมื่อทำทานเค้าย่อมไม่ได้รับอาหารเหล่านั้นเพราะเค้ามีอาหารของเทวดา เช่นเดียวกันกับ เดรัจฉาน และ เปรต และสัตว์นรกต่างก็มีอาหารของตน (แต่ ก็มีบางตำรากล่าวว่า ในส่วนนี้นั้นหมายถึง พวกที่เซ่นไหว้ ของด้วยอาหารสด และ เชิญให้ญาติที่ล่วงลับมากินอาหารนั้น มิใช่ กรณีที่ญาตินั้นทำบุญด้วยการให้ทาน และ อุทิศบุญ ให้เทวดา สัตว์นรก แบบนี้พวกเค้าย่อมโมทนาได้) แต่บางตำราก็กล่าวไว้เช่นกันว่า ถ้าเป็นสัตว์นรกบุญจากทานเค้าโมทนาไม่ได้ ต้องจากการเจริญสติเท่านั้น
และการอุทิศส่วนของบุญนั้นและให้ผู้รับโมทนาเอง ต่างกันหรือไม่ กับการที่ผู้ได้กระทำบุญได้กล่าวว่าขอให้ผลบุญ(ทั้งหมดนี้)จงมีแก่....
อยากทราบว่าความเห็นที่ถูกเป็นเช่นไร ขอเชิญผู้รู้ หรือมีประสบการณ์ ช่วยแจงหน่อยครับ