เคยมีคนบอกว่า น้ำตาลทรายขาวนั้นอันตราย มีสารฟอกสี (บางคนบอกว่าเป็นน้ำยาล้างห้องน้ำเลยก็มี)
แล้วมันอันตรายจริงไหม จากสีน้ำตาลเข้มๆมันใสได้ยังไง มันต้องใช้สารเคมีอันตรายแน่ๆ ใช่มั้ยล่ะ
วันนี้ป๋าวันเลยจะขอพาไปรู้จักกับวิธีการผลิตน้ำตาลทรายกัน ว่ามันอันตรายจริงหรือเปล่า
***จะพยายามอธิบายง่ายๆสั้นๆนะครับ เพื่อให้ไม่ยืดยาวจนน่าเบื่อ***
น้ำตาลทรายขาว ที่เราใช้ปรุงอาหาร ใส่เครื่องดื่ม หรือบางคนเอามากินเล่นแทนขนม (มันอร่อยดีนะ) คือ น้ำตาลซูโครส (sucrose) ซึ่งเป็นน้ำตาลที่พบอยู่ในพืช หรือผลไม้หลายชนิด แต่ส่วนใหญ่น้ำตาลที่เราทานกันมาจาก อ้อย หรือหัวบีช มีรสหวาน (ก็แน่ล่ะ จะบอกทำไม)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้น้ำตาลซูโครส เป็นน้ำตาลโมเลกุลคู่ (disaccharide) ซึ่งประกอบด้วยน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (monosaccharide) 2 ชนิด คือ
น้ำตาลฟรักโทส (fructose) และน้ำตาลกลูโคส (glucose) เชื่อมต่อกันด้วยพันธะไกลโคไซด์ (glycosidic bond) มีสูตรโมเลกุล
คือ C12H22O11
เรารู้จักกับเจ้าซูโครสหรือน้ำตาลทรายไปแล้ว ต่อไปเรามาดูวิธีการ/กระบวนการผลิตกันบ้าง
ในกระบวนการผลิตน้ำตาล จะมี 2 ช่วง โดยช่วงแรกจะผลิตเป็นน้ำตาลทรายดิบ แล้วจึงผลิตเป็นน้ำตาลทรายขาวอีกที
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
การผลิตน้ำตาลทรายดิบจะมี 5 ขั้นตอนหลักๆ ดังนี้ (แต่ละโรงงานอาจจะไม่เหมือนกันนะจ๊ะ)
1. การหีบสกัดน้ำอ้อย เริ่มจากเทอ้อยลงสู่สายพานลำเลียง อ้อยจะถูกลำเลียงผ่านมีดสับอ้อย เครื่องย่อยอ้อย และเข้าสู่ลูกหีบเพื่อบีบสกัดเอาน้ำอ้อย น้ำอ้อยที่บีบสกัดได้จากอ้อยแต่ละส่วนจะถูกเก็บตัวอย่างไปวัดความหวาน (ราคาที่ชาวไร่อ้อยจะได้ก็ดูจากตรงนี้) ความหวานที่วัดได้จะวัดเป็นค่าบริกซ์ซึ่งเป็นการกำหนดค่าความหวาน
2. การทำความสะอาด หรือการทำใส (ไม่ใช่ไสยศาสน์นะครับ) เนื่องจากน้ำอ้อยมีสิ่งสกปรกต่างๆ จึงต้องแยกเอาส่วนเหล่านี้ออกโดยวิธีทางกล เช่น ผ่านเครื่องกรอง (filtration) และวิธีทางเคมี โดยการให้ความร้อนและผสมปูนขาวให้ตกตะกอนในถังพักใส (Clarifier) จะได้น้ำอ้อยใส ( Clarified Juice )
3. การต้มหรือการระเหย (Evaporation) น้ำอ้อยที่ผ่านการทำใสแล้วจะถูกนำเข้าสู่ชุดหม้อต้ม (multiple evaporator) เพื่อระเหยเอาน้ำออก (ประมาณ 60-70%) โดยน้ำอ้อยเข้มข้นที่ออกมาจะเรียกว่า น้ำเชื่อม หรือไซรัป (syrup)
4. การทำให้ตกผลึก (Crystallization) น้ำเชื่อมจากขั้นตอนที่ 3 จะเข้าสู่หม้อเคี่ยวระบบสุญญากาศ ( Vaccum Pan ) เพื่อระเหยน้ำออกจนตกผลึก
เกิดเป็นผลึกน้ำตาลและกากน้ำตาล (molass)
5. การปั่นแยก (Centrifugaling) ผลึกน้ำตาลที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจาก กากน้ำตาล (molass) โดยใช้เครื่องหมุนเหวี่ยง (centrifuge) ผลึกน้ำตาลที่ได้จากการแยกกากน้ำตาลออกไปแล้วจะเป็น
น้ำตาลดิบ
น้ำตาลทรายดิบที่ได้จะถูกส่งขายต่างประเทศ หรือเก็บในไซโลเพื่อใช้สำหรับการผลิตน้ำตาลทรายขาวบริสุทธ์ต่อไป
ส่วนกากน้ำตาลจะถูกขายไปใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอื่น เช่น อุตสาหกรรมสุรา ซอส ผงชูรส หรือใช้ในการเกษตร
ต่อไปเป็นกระบวนการผลิตน้ำตาลทรายขาว มี 5 ขั้นตอนเช่นกันครับ
1. การละลาย จะใช้น้ำตาลดิบที่ได้จากขั้นตอนแรกนำมาผสมน้ำกับน้ำร้อนจะได้เป็นน้ำเชื่อมที่เรียกว่า แม็กม่า (คนละแม็กม่าที่อยู่ใต้โลกนะครับ)
2. การทำความสะอาดและฟอกสี (Clarification) น้ำเชื่อมที่ได้จากการละลายน้ำตาลทรายดิบจะนำมากรองผ่านตะแกรงเข้าผสมกับปูนขาวในหม้อฟอก (Carbonator) โดยใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นตัวฟอกสี เพื่อทำการลดค่าสีของน้ำเชื่อม จากนั้นจะผ่านเข้าหม้อกรองแบบใช้แรงดัน (Pressure Filter) เพื่อกรองตะกอนออก น้ำเชื่อมที่ได้จะผ่านเข้าสู่กระบวนการแลกเปลี่ยนประจุด้วยเรซิ่น (Ion-Exchange Resin) เพื่อทำการลดสีขั้นสุดท้ายได้เป็นน้ำเชื่อมรีไฟน์ (Fine Liquor)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้สารสีหรือรงควัตถุต่างๆจะตกตะกอนออกเกือบทั้งหมดในขั้นตอนนี้ น้ำเชื่อมที่ได้จะใสมาก ดังนั้นไอ้สารฟอกขาวที่ว่าอันตรายไม่มีจริงนะครับ
3. การทำให้ตกผลึก (Crystallization) น้ำเชื่อมใสที่ได้จากขั้นตอนที่ 2 จะเข้าสู่หม้อเคี่ยวระบบสุญญากาศ ( Vaccum Pan ) เพื่อระเหยน้ำออกจนตกผลึก
เกิดเป็นผลึกน้ำตาลและกากน้ำตาล
4. การปั่นแยกผลึกน้ำตาล (Centrifuge) ผลึกน้ำตาลที่ได้จะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจากกากน้ำตาล โดยใช้เครื่องปั่น (centrifuge) ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็น น้ำตาลรีไฟน์ และน้ำตาลทรายขาว
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้น้ำตาลรีไฟน์หรือน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ (Refined Sugar) มีกระบวนการผลิตคล้ายกับการผลิตน้ำตาลทรายขาว แต่มีความบริสุทธิ์มากกว่า มีลักษณะเป็นเม็ดสีขาวใส นิยมใช้ในอุตสาหกรรมที่ต้องใช้น้ำตาลที่มีความบริสุทธิ์มาก เช่น อุตสาหกรรมยา เครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลม และเครื่องดื่มบำรุงกำลัง
5. การอบ (Drying) ผลึกน้ำตาลรีไฟน์ และน้ำตาลทรายขาวที่ได้จากการปั่นจะเข้าหม้ออบ (Dryer) เพื่อไล่ความชื้นออก แล้วบรรจุกระสอบเพื่อจำหน่าย
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าน้ำตาลทรายขาวไม่ได้อันตรายอย่างที่ เขาบอกว่าเลย
แต่ น้ำตาลก็มีโทษเช่นกันหากรับประทานเกินพอดี ทั้งอ้วน เบาหวาน ฯลฯ ดังนั้นก็ควรรับประทานแต่พอดี เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงนะครับ
แถม คุณค่าทางโภชนาการของน้ำตาลทรายขาว ต่อ 100 กรัม
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้พลังงาน 387 กิโลแคลอรี่
คาร์โบไฮเดรต 99.98 กรัม
น้ำตาล 99.80 กรัม
น้ำ 0.03 กรัม
วิตามินบี2 0.019 มิลลิกรัม 2%
แคลเซียม 1 มิลลิกรัม 0%
ธาตุเหล็ก 0.05 มิลลิกรัม 0%
โพแทสเซียม 2 มิลลิกรัม 0%
โซเดียม 1 มิลลิกรัม
สังกะสี 0.01 มิลลิกรัม
(ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)
ขอบคุณที่อ่านจนจบครับ
ผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ ที่นี้
หากใครมีอะไรจะเสริมหรือแก้ไขตรงไหนเชิญเลยครับ อาจมีขาดตกบกพร่องไปบ้าง ความรู้แบ่งปันกันมีแต่กำไรด้วยกันทุกฝ่าย
ขอบคุณครับ
ลงชื่อ ป๋าวัน เวอร์ชั่น 2.0
※※ กระทู้หวานๆ เรื่องของน้ำตาลทรายขาว (หวานจริงจริ๊ง) ※※
แล้วมันอันตรายจริงไหม จากสีน้ำตาลเข้มๆมันใสได้ยังไง มันต้องใช้สารเคมีอันตรายแน่ๆ ใช่มั้ยล่ะ
วันนี้ป๋าวันเลยจะขอพาไปรู้จักกับวิธีการผลิตน้ำตาลทรายกัน ว่ามันอันตรายจริงหรือเปล่า
***จะพยายามอธิบายง่ายๆสั้นๆนะครับ เพื่อให้ไม่ยืดยาวจนน่าเบื่อ***
น้ำตาลทรายขาว ที่เราใช้ปรุงอาหาร ใส่เครื่องดื่ม หรือบางคนเอามากินเล่นแทนขนม (มันอร่อยดีนะ) คือ น้ำตาลซูโครส (sucrose) ซึ่งเป็นน้ำตาลที่พบอยู่ในพืช หรือผลไม้หลายชนิด แต่ส่วนใหญ่น้ำตาลที่เราทานกันมาจาก อ้อย หรือหัวบีช มีรสหวาน (ก็แน่ล่ะ จะบอกทำไม)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เรารู้จักกับเจ้าซูโครสหรือน้ำตาลทรายไปแล้ว ต่อไปเรามาดูวิธีการ/กระบวนการผลิตกันบ้าง
ในกระบวนการผลิตน้ำตาล จะมี 2 ช่วง โดยช่วงแรกจะผลิตเป็นน้ำตาลทรายดิบ แล้วจึงผลิตเป็นน้ำตาลทรายขาวอีกที
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
การผลิตน้ำตาลทรายดิบจะมี 5 ขั้นตอนหลักๆ ดังนี้ (แต่ละโรงงานอาจจะไม่เหมือนกันนะจ๊ะ)
1. การหีบสกัดน้ำอ้อย เริ่มจากเทอ้อยลงสู่สายพานลำเลียง อ้อยจะถูกลำเลียงผ่านมีดสับอ้อย เครื่องย่อยอ้อย และเข้าสู่ลูกหีบเพื่อบีบสกัดเอาน้ำอ้อย น้ำอ้อยที่บีบสกัดได้จากอ้อยแต่ละส่วนจะถูกเก็บตัวอย่างไปวัดความหวาน (ราคาที่ชาวไร่อ้อยจะได้ก็ดูจากตรงนี้) ความหวานที่วัดได้จะวัดเป็นค่าบริกซ์ซึ่งเป็นการกำหนดค่าความหวาน
2. การทำความสะอาด หรือการทำใส (ไม่ใช่ไสยศาสน์นะครับ) เนื่องจากน้ำอ้อยมีสิ่งสกปรกต่างๆ จึงต้องแยกเอาส่วนเหล่านี้ออกโดยวิธีทางกล เช่น ผ่านเครื่องกรอง (filtration) และวิธีทางเคมี โดยการให้ความร้อนและผสมปูนขาวให้ตกตะกอนในถังพักใส (Clarifier) จะได้น้ำอ้อยใส ( Clarified Juice )
3. การต้มหรือการระเหย (Evaporation) น้ำอ้อยที่ผ่านการทำใสแล้วจะถูกนำเข้าสู่ชุดหม้อต้ม (multiple evaporator) เพื่อระเหยเอาน้ำออก (ประมาณ 60-70%) โดยน้ำอ้อยเข้มข้นที่ออกมาจะเรียกว่า น้ำเชื่อม หรือไซรัป (syrup)
4. การทำให้ตกผลึก (Crystallization) น้ำเชื่อมจากขั้นตอนที่ 3 จะเข้าสู่หม้อเคี่ยวระบบสุญญากาศ ( Vaccum Pan ) เพื่อระเหยน้ำออกจนตกผลึก
เกิดเป็นผลึกน้ำตาลและกากน้ำตาล (molass)
5. การปั่นแยก (Centrifugaling) ผลึกน้ำตาลที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจาก กากน้ำตาล (molass) โดยใช้เครื่องหมุนเหวี่ยง (centrifuge) ผลึกน้ำตาลที่ได้จากการแยกกากน้ำตาลออกไปแล้วจะเป็น น้ำตาลดิบ
น้ำตาลทรายดิบที่ได้จะถูกส่งขายต่างประเทศ หรือเก็บในไซโลเพื่อใช้สำหรับการผลิตน้ำตาลทรายขาวบริสุทธ์ต่อไป
ส่วนกากน้ำตาลจะถูกขายไปใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอื่น เช่น อุตสาหกรรมสุรา ซอส ผงชูรส หรือใช้ในการเกษตร
ต่อไปเป็นกระบวนการผลิตน้ำตาลทรายขาว มี 5 ขั้นตอนเช่นกันครับ
1. การละลาย จะใช้น้ำตาลดิบที่ได้จากขั้นตอนแรกนำมาผสมน้ำกับน้ำร้อนจะได้เป็นน้ำเชื่อมที่เรียกว่า แม็กม่า (คนละแม็กม่าที่อยู่ใต้โลกนะครับ)
2. การทำความสะอาดและฟอกสี (Clarification) น้ำเชื่อมที่ได้จากการละลายน้ำตาลทรายดิบจะนำมากรองผ่านตะแกรงเข้าผสมกับปูนขาวในหม้อฟอก (Carbonator) โดยใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นตัวฟอกสี เพื่อทำการลดค่าสีของน้ำเชื่อม จากนั้นจะผ่านเข้าหม้อกรองแบบใช้แรงดัน (Pressure Filter) เพื่อกรองตะกอนออก น้ำเชื่อมที่ได้จะผ่านเข้าสู่กระบวนการแลกเปลี่ยนประจุด้วยเรซิ่น (Ion-Exchange Resin) เพื่อทำการลดสีขั้นสุดท้ายได้เป็นน้ำเชื่อมรีไฟน์ (Fine Liquor)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
3. การทำให้ตกผลึก (Crystallization) น้ำเชื่อมใสที่ได้จากขั้นตอนที่ 2 จะเข้าสู่หม้อเคี่ยวระบบสุญญากาศ ( Vaccum Pan ) เพื่อระเหยน้ำออกจนตกผลึก
เกิดเป็นผลึกน้ำตาลและกากน้ำตาล
4. การปั่นแยกผลึกน้ำตาล (Centrifuge) ผลึกน้ำตาลที่ได้จะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจากกากน้ำตาล โดยใช้เครื่องปั่น (centrifuge) ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็น น้ำตาลรีไฟน์ และน้ำตาลทรายขาว
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
5. การอบ (Drying) ผลึกน้ำตาลรีไฟน์ และน้ำตาลทรายขาวที่ได้จากการปั่นจะเข้าหม้ออบ (Dryer) เพื่อไล่ความชื้นออก แล้วบรรจุกระสอบเพื่อจำหน่าย
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าน้ำตาลทรายขาวไม่ได้อันตรายอย่างที่ เขาบอกว่าเลย แต่ น้ำตาลก็มีโทษเช่นกันหากรับประทานเกินพอดี ทั้งอ้วน เบาหวาน ฯลฯ ดังนั้นก็ควรรับประทานแต่พอดี เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงนะครับ
แถม คุณค่าทางโภชนาการของน้ำตาลทรายขาว ต่อ 100 กรัม
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ขอบคุณที่อ่านจนจบครับ
ผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ ที่นี้
หากใครมีอะไรจะเสริมหรือแก้ไขตรงไหนเชิญเลยครับ อาจมีขาดตกบกพร่องไปบ้าง ความรู้แบ่งปันกันมีแต่กำไรด้วยกันทุกฝ่าย
ขอบคุณครับ
ลงชื่อ ป๋าวัน เวอร์ชั่น 2.0