การรับน้องใหม่เป็นหัวข้อที่ถูกถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงข้อดีข้อเสียมานานนับสิบปีแต่ก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขสักที ผู้เขียนมีมุมมองส่วนหนึ่งซึ่งตกผลึกจากประสบการณ์ส่วนตัวที่อยากนำเสนอต่อสาธารณะเพื่อหวังว่าจะช่วยให้เกิดความเข้าใจต่อปัญหาและเพิ่มโอกาสในการค้นพบทางออกมากขึ้น บทความนี้แบ่งออกเป็น 5 ส่วน ขอเชิญทุกท่านร่วมเพิ่มเติม แก้ไข อภิปรายด้วยเหตุผลและสติอย่างเต็มที่
I. นิยาม
เพื่อป้องกันความสับสน ขอนิยามคำศัพท์ต่างๆ ที่จะใช้อภิปรายในกระทู้นี้ให้เข้าใจตรงกัน หากศัพท์ที่ท่านใช้มีนิยามที่แตกต่างออกไปก็ขอให้ระบุให้ชัดเจนตอนแสดงความคิดเห็น
1.
การรับน้อง คือ กิจกรรมที่จัดโดยรุ่นพี่ผู้มาก่อนเพื่อต้อนรับรุ่นน้องที่เพิ่งเข้ามาร่วมสถาบัน องค์กร หรือโครงการบางอย่างเป็นครั้งแรก มักบังคับหรือคาดหวังให้รุ่นน้องทุกคนเข้าร่วม ส่วนรุ่นพี่อาจเข้าร่วมครบหรือไม่ครบทุกคนก็ได้ ขึ้นอยู่กับธรรมเนียมของแต่ละสถาบัน อาจเป็นกิจกรรมที่จัดครั้งเดียวจบหรือจัดหลายครั้งต่อเนื่องกันก็ได้
2.
การว้าก คือ การพูดเสียงดังกว่าปกติ มีความรุนแรงหลายระดับ เช่น ขึ้นเสียง ตะโกน ตวาด ตะคอก ฯลฯ ให้ผู้ฟังเกิดความเคารพพร้อมๆ กับความเกรงกลัว อาจมีการใช้หรือห้ามใช้ถ้อยคำหยาบคาย ขึ้นอยู่กับสถาบัน กิจกรรม หรือกลุ่มของพี่ว้าก โดยพี่ว้ากอาจแบ่งได้เป็นหลายกลุ่ม มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป
พี่คุมกฎซึ่งมักใช้คำสุภาพแต่เสียงดังให้น้องเกรงกลัวก็จัดอยู่ในกลุ่มพี่ว้ากในที่นี้ด้วย การว้ากอาจทำควบคู่ไปกับ
การลงโทษ ซึ่งมีความรุนแรงหลายระดับเช่นกัน
3.
การไซโค (psycho) คือ การสร้างความกดดัน มีหลายวิธี แบ่งเป็นแบบใช้การพูด (verbal) และไม่ใช้การพูด (non-verbal) การพูดไซโคเป็นคำที่ถูกใช้ในทางบวกมากกว่าการว้ากแต่ไม่มีใครบอกได้แน่ชัดว่าเส้นแบ่งที่แท้จริงอยู่ตรงไหน บ้างถือเอาง่ายๆ ว่า ถ้าด่าแรงก็เป็นว้าก ถ้าด่าเบาก็เป็นไซโค ผู้เขียนจึงขอเสนอนิยามของตัวเองขึ้นมาซึ่งจะทำให้เราแยกการพูดไซโคออกจากการว้ากได้อย่างชัดเจน ดังนี้
การพูดไซโค คือ การพูดเพื่อสร้างความกดดันโดย
ไม่ใช้เสียงดังและ
ไม่ใช้คำหยาบ ตัวอย่างสมมติเช่น เจ้านายคนหนึ่งเอ่ยกับลูกน้องด้วยระดับเสียงปกติว่า “คุณ A เขาเพิ่งเริ่มงานไม่นานแถมยังจบด้วยเกรด 2 กว่าๆ จากสถาบันไม่มีชื่อ แต่กลับทำงานได้ดีกว่าคุณซึ่งมาก่อนหลายปีแถมยังจบด้วยเกียรตินิยมจากมหาวิทยาลัยชื่อดัง...” จะเห็นว่าสิ่งที่ทำให้คนฟังรู้สึกกดดันในที่นี้ไม่ใช่ตัวคำพูดแต่เป็นความหมายของมัน หากพูดกดดันใดมีการใช้เสียงดังและคำหยาบ ก็สมควรจัดมันเป็นการว้าก
การไซโคขั้นสูง (advanced) คือการกดดันโดยไม่ใช้คำพูด เช่น ใช้ความเงียบแทน นอกจากนี้ ลักษณะกิจกรรมบางประเภทก็สร้างความกดดันโดยธรรมชาติได้ เช่นการมอบหมายปัญหาหรืออุปสรรค (task) ให้น้องช่วยกันแก้ไข ก็เป็นการไซโคขั้นสูงอย่างหนึ่ง
4.
การรับน้องแบบรุนแรง (การรับน้องกระแสหลัก) คือ กิจกรรมรับน้องที่มีการกระทำต่อไปนี้อย่างน้อย 1 ข้อ
4.1 การว้าก
4.2 กิจกรรมที่
เสี่ยงก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพหรืออันตราย
โดยใช่เหตุ เช่น ดื่มเหล้า ทานอาหารที่ผิดสุขอนามัย การละเล่นโลดโผน ฯลฯ คำว่า
เสี่ยงโดยใช่เหตุในที่นี้หมายถึง เสี่ยงทั้งที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่น ถึงไม่ดื่มเหล้าก็ยังมีอย่างอื่นให้ดื่มได้ เป็นต้น
4.3 การบังคับให้น้องใหม่ทุกคนต้องเข้าร่วม โดยคนที่ไม่เข้าร่วมจะถูกลงโทษไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ซึ่งรวมถึงการถูกกีดกันไม่ให้เข้าสังคมด้วย
5.
การรับน้องแบบไม่รุนแรง (การรับน้องแบบสร้างสรรค์) คือ กิจกรรมรับน้องที่ไม่มีการกระทำที่ระบุในข้อ 4 กิจกรรมแบบนี้ไม่ได้ปราศจากความเสี่ยงโดยสิ้นเชิง เพียงแต่มันจะต้องเป็นความเสี่ยงที่เลี่ยงไม่ได้ ตัวอย่างเช่น การเดินไปวัดก็ต้องผ่านถนน ต่อให้เดินเรียงแถวอยู่ริมถนนก็ยังมีโอกาสที่รถจะมาชนได้อยู่ดี เป็นต้น
ความเสี่ยงโดยใช่เหตุ กับ
ความเสี่ยงที่เลี่ยงไม่ได้ น่าจะเป็นเกณฑ์สำคัญอันหนึ่งที่ใช้แยกการรับน้องแบบรุนแรงและไม่รุนแรงออกจากกัน
II. ทำไมต้องมีการรับน้อง
วัตถุประสงค์ในการรับน้องแตกต่างกันไปในแต่ละสถาบันหรือกิจกรรม ส่วนใหญ่ที่พบหลักๆ คือ
1. ส่งเสริมความรักสามัคคีในรุ่นเดียวกัน
2. ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างรุ่น
3. ปลูกฝังความรักและภูมิใจในสถาบัน
4. ฝึกความอดทน หรือคุณสมบัติอื่นๆ ที่
คาดว่าจำเป็นสำหรับโลกหลังเรียนจบให้แก่รุ่นน้อง
นอกจากวัตถุประสงค์ที่ว่านี้ การรับน้องอาจนำไปสู่
ผลพลอยได้อื่นๆ ซึ่งต้องขอเชิญผู้มีประสบการณ์บอกเล่าออกมา จะเห็นว่า ความภูมิใจในสถาบัน ความรัก ความสามัคคี สัมพันธภาพอันดีภายในหมู่คณะเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการอยู่ร่วมกันในสังคม มันจึงถูกใช้เป็นเหตุผลให้การรับน้องคงอยู่ต่อไป (โปรดย้อนกลับไปดูนิยามในข้อ I. 1 ขอบเขตกิจกรรมรับน้องนั้นกว้างมาก ดังนั้น อย่าเพิ่งตีกรอบว่ามันจะเป็นไปในแง่ลบเสมอ)
ในเมื่อกิจกรรมรับน้องควรมีต่อไป คำถามถัดมาก็คือ แล้วมันควรจะเป็นอย่างไร คำตอบที่ผู้เขียนเสนอคือ
การรับน้องแบบไม่รุนแรง หรือ
การรับน้องแบบสร้างสรรค์ ซึ่งจะให้รายละเอียดเพิ่มเติมตอนท้าย ตอนนี้ จะขอพูดถึงบางประเด็นที่อยากให้ทุกคน (ทั้งฝ่ายสนับสนุนและต่อต้าน) เข้าใจกันและกันมากขึ้นก่อนหาทางแก้ปัญหา
III. ทำไมการรับน้องแบบรุนแรงจึงอยู่ยงคงกระพันท่ามกลางกระแสต่อต้านจากสังคมที่มีมาอย่างยาวนาน
1.
ผู้จัดกิจกรรมทุกคนยอมรับว่า การรับน้องที่ไม่ดีมีอยู่จริง แต่ทุกคนคิดว่าการรับน้องแบบที่ตัวเองทำไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มนั้น พูดอีกอย่างคือ คำวิพากษ์วิจารณ์จากสังคมแม้มีเหตุผลใช้ได้กับการรับน้องที่อื่นแต่การรับน้องของเราแตกต่างและสมควรได้รับการยกเว้น
2.
ผู้จัดทุกคนยอมรับว่าการรับน้องแบบรุนแรงมีความเสี่ยง แต่รู้สึกว่ามัน
คุ้มค่าที่จะเสี่ยง เพราะมันนำมาซึ่งความสามัคคีกันในรุ่น ความรักสถาบัน รวมถึงชื่อเสียงและชัยชนะของสถาบันเมื่อมีการแข่งขันต่างๆ ด้วย
3.
ผู้จัดคิดว่า การรับน้องแบบรุนแรงเป็นเครื่องมือที่
ได้ผลดีและเร็ว
ที่สุดที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กล่าวมา ทางเลือกอื่นก็มีแต่ประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้อยกว่ามาก นี่ส่วนหนึ่งเป็นความผิดของกิจกรรมนำร่องการรับน้องแบบสร้างสรรค์ที่ถูกจัดอย่างฉาบฉวย (จะเห็นว่าหลายสถาบันเริ่มพยายามพาน้องเข้าวัด ปลูกป่า ฯลฯ) ความทุ่มเทที่ผู้จัดมอบให้กิจกรรมนำร่องพวกนี้มักน้อยกว่าความทุ่มเทในการจัดกิจกรรมรับน้องกระแสหลักอย่างเทียบไม่ติด เมื่อไม่ทุ่มเทแล้วกิจกรรมจะได้ผลได้อย่างไร สุดท้ายความไม่บรรลุวัตถุประสงค์ของกิจกรรมพวกนี้จึงถูกใช้เป็นเหตุผลของฝ่ายสนับสนุนการรับน้องแบบรุนแรงว่า
วิธีอื่นที่ใช้ได้ผลเท่าการรับน้องแบบนี้ไม่มีอีกแล้ว
4. การรับน้องเป็นกิจกรรมที่น้องเหนื่อย แต่
ผู้จัดเหนื่อยยิ่งกว่า เพราะนอกจากวันที่มีกิจกรรมแล้ว ผู้จัดต้องเหนื่อยตั้งแต่วางแผน เตรียมงาน ฝึกซ้อม จนถึงสรุปผลและทำรายงานส่งผู้ใหญ่ ดังนั้น หากไม่เชื่ออย่างฝังแน่นว่าการรับน้องแบบรุนแรงมันดีจริงๆ คงไม่มีรุ่นพี่ทุ่มเท่เพื่อมันมากขนาดนี้ หลายคนถือว่ากำลังทำเพื่อ
อุดมการณ์ ยอมถูกประนาม ยอมสละการเรียน เงิน รวมถึงเวลาดูแลสมาชิกครอบครัวมาทำกิจกรรมเพื่อรุ่นน้องที่พวกเขารัก(ซึ่งไม่เคยรู้จักกันมาก่อน) บางคนถึงขั้นยอมเสี่ยงชีวิต นี่จึงเป็นเหตุผลหนึ่งว่าทำไมฝ่ายต่อต้านจึงกำจัดกิจกรรมพวกนี้ออกไปไม่ได้เสียที หากเราไม่ทำความเข้าใจความรักที่พวกเขามีต่อกิจกรรมนี้ เอาแต่ด่าว่าพวกเขาโง่ เราไม่มีทางแก้ปัญหานี้ได้
5. เชื่อมโยงจากข้อ 4 ผู้จัดกิจกรรมรับน้องแบบรุนแรงคิดว่า
สื่อ ผู้ใหญ่ และค
นภายนอกไม่เข้าใจพวกเขา (ซึ่งก็จริง) มันก็เหมือนเด็กที่ไม่ยอมเชื่อฟังพ่อแม่เพราะพ่อแม่ไม่เข้าใจพวกเขา คนที่จะเข้าใจพวกเขาได้ต้องเคยสัมผัสประสบการณ์เดียวกันอย่างใกล้ชิดเป็นระยะเวลาช่วงหนึ่ง แต่น่าเสียดายที่คนเหล่านี้เองก็มักถูกอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมที่อยู่ใกล้กลืนกลบแนวคิดอีกด้านไป ทุกวันนี้จึงเต็มไปด้วยคนสองฝั่งที่ถกเถียงกันโดยใช้มุมมองด้านเดียว (จากด้านนอกหรือไม่ก็ด้านใน) และทำอย่างไม่รู้ตัวเสียด้วย
6.
ระบบการศึกษาหรือการทำงานในบ้านเราเป็นระบบที่ส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมรับน้องแบบรุนแรงไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม คือ
6.1
ระบบทำให้เด็กที่ไม่เข้าร่วมกิจกรรมฯได้รับความเสียเปรียบขณะเรียนในสถาบัน นี่เป็นผลส่วนหนึ่งจากการชอบใช้วิธีหยวนๆ หรือยืดหยุ่นได้แบบไทยๆ ตัวอย่างจากประสบการณ์จริงของผู้เขียนเช่น การแจ้งข่าวสารต่างๆ ไปสู่นักเรียน (เช่น การแจ้งให้ไปรับเอกสารการเรียน ย้ายห้องเรียน เปลี่ยนเวลาเรียน หรือแม้กระทั่งเวลาสอบ แบบกะทันหัน) บ่อยครั้ง อาจารย์จะบอกแก่นักเรียนที่รู้จักคุ้นเคยหรือพบหน้าเป็นประจำและฝากบอกต่อไปยังเพื่อนๆ ทีนี้ หากนิยามคำว่า
เพื่อนของสถาบันไหนผูกติดกับคำว่า
คนที่ร่วมกิจกรรมรับน้องด้วยกัน เด็กที่ไม่เข้าร่วมกิจกรรมก็จะถูกกีดกันไม่ให้เป็นส่วนหนึ่งของสังคมเพื่อนร่วมรุ่น ชีวิตการเรียนก็จะลำบากทันที
ผู้เขียนเคยมีโอกาสไปเรียนแลกเปลี่ยนในต่างประเทศระยะสั้นๆ พบสิ่งหนึ่งที่แตกต่างระหว่างที่เรียนในไทยกับที่โน่นคือ ที่ไทยหากไม่รู้จักเพื่อนร่วมรุ่นคนไหนเลย(หรือรู้จักน้อยมาก)จะทำให้พลาดข่าวสารสำคัญไปอย่างง่ายดาย แต่ที่โน่นต่อให้ไม่รู้จักเพื่อนร่วมชั้นเรียนคนไหน อาจารย์ก็มีหน้าที่ make sure ว่านักเรียนทุกคนจะได้รับแจ้งข่าว บางทีขนาดเป็นข่าวที่แจ้งในชั้นเรียนแล้วอาจารย์บางคนยังอีเมล์มาแจ้งซ้ำเพื่อให้คนที่ขาดเรียนได้รู้ด้วย นี่เพราะเขาไม่ได้ด่วนสรุปเอาว่านักเรียนที่ขาดเรียนคือนักเรียนที่ไม่รับผิดชอบเสมอไปแต่อาจมีความจำเป็นที่ยังไม่ทันได้แจ้งให้ทราบก็ได้
6.2
ระบบใช้ประโยชน์จากกิจกรรมรับน้องแบบรุนแรงอย่างไม่รู้สึกผิด ตัวอย่างเช่น เมื่อสถาบันจัดกิจกรรมบางอย่างที่ต้องการให้มีนักศึกษาเข้าร่วมจำนวนมากเพื่อภาพลักษณ์ที่ดี เช่น การไหว้ครู การแข่งขันกีฬา การบำเพ็ญประโยชน์ ก็จะใช้วิธีเกณฑ์คนผ่านกิจกรรมรับน้อง เนื่องจากสถาบันส่วนใหญ่ รุ่นพี่มีอำนาจในการเรียกรวมพลน้องใหม่ยิ่งกว่าอาจารย์เสียอีก สถาบันเหล่านี้จึงยอมให้รุ่นพี่เรียกรวมพลรุ่นน้องตามวิธีการเดียวกันกับที่ใช้เรียกน้องมาทำกิจกรรมรับน้องแบบรุนแรง นี่เท่ากับบ่งบอกทางอ้อมว่า วิธีการที่รุ่นพี่เหล่านี้ใช้มีประโยชน์และได้รับการยอมรับจากสถาบัน
อีกตัวอย่างหนึ่งที่ได้ยินมาคือ บางสถาบันกำหนดว่านักศึกษาจะต้องผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมนอกเหนือจากการเรียนเป็นระยะเวลาหนึ่ง(นับเป็นชั่วโมง) โดยอาจแบ่งเป็นกิจกรรมเพื่อชุมชน กิจกรรมมหาวิทยาลัย กิจกรรมภาควิชา ฯลฯ แม้ไม่ได้บอกว่าต้องเข้าร่วมกิจกรรมรับน้อง แต่ในหลายกรณี เด็กที่ไม่เข้าร่วมกิจกรรมรับน้องก็จะถูกกีดกันทั้งทางปฏิบัติและทางจิตวิทยาไม่ให้เข้าร่วมกิจกรรมอื่นๆ ของหมู่คณะด้วย
ข้อ 6 นี้สะท้อนให้เห็นว่า น้องใหม่หลายคนที่ยอมถูกรับน้องแบบรุนแรงไม่ใช่เพียงเพราะเขาหัวอ่อน กลัวถูกเพื่อนหรือพี่เกลียด (นั่นเป็นผลกระทบ
เชิงอารมณ์) แต่มันยังเป็นเพราะการไม่เข้ารับน้องส่งผลกระทบต่อพวกเขาใน
เชิงปฏิบัติจริงๆ
ประเพณีการรับน้องใหม่ สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจและทางออกที่เป็นไปได้ในอนาคต
I. นิยาม
เพื่อป้องกันความสับสน ขอนิยามคำศัพท์ต่างๆ ที่จะใช้อภิปรายในกระทู้นี้ให้เข้าใจตรงกัน หากศัพท์ที่ท่านใช้มีนิยามที่แตกต่างออกไปก็ขอให้ระบุให้ชัดเจนตอนแสดงความคิดเห็น
1. การรับน้อง คือ กิจกรรมที่จัดโดยรุ่นพี่ผู้มาก่อนเพื่อต้อนรับรุ่นน้องที่เพิ่งเข้ามาร่วมสถาบัน องค์กร หรือโครงการบางอย่างเป็นครั้งแรก มักบังคับหรือคาดหวังให้รุ่นน้องทุกคนเข้าร่วม ส่วนรุ่นพี่อาจเข้าร่วมครบหรือไม่ครบทุกคนก็ได้ ขึ้นอยู่กับธรรมเนียมของแต่ละสถาบัน อาจเป็นกิจกรรมที่จัดครั้งเดียวจบหรือจัดหลายครั้งต่อเนื่องกันก็ได้
2. การว้าก คือ การพูดเสียงดังกว่าปกติ มีความรุนแรงหลายระดับ เช่น ขึ้นเสียง ตะโกน ตวาด ตะคอก ฯลฯ ให้ผู้ฟังเกิดความเคารพพร้อมๆ กับความเกรงกลัว อาจมีการใช้หรือห้ามใช้ถ้อยคำหยาบคาย ขึ้นอยู่กับสถาบัน กิจกรรม หรือกลุ่มของพี่ว้าก โดยพี่ว้ากอาจแบ่งได้เป็นหลายกลุ่ม มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป พี่คุมกฎซึ่งมักใช้คำสุภาพแต่เสียงดังให้น้องเกรงกลัวก็จัดอยู่ในกลุ่มพี่ว้ากในที่นี้ด้วย การว้ากอาจทำควบคู่ไปกับการลงโทษ ซึ่งมีความรุนแรงหลายระดับเช่นกัน
3. การไซโค (psycho) คือ การสร้างความกดดัน มีหลายวิธี แบ่งเป็นแบบใช้การพูด (verbal) และไม่ใช้การพูด (non-verbal) การพูดไซโคเป็นคำที่ถูกใช้ในทางบวกมากกว่าการว้ากแต่ไม่มีใครบอกได้แน่ชัดว่าเส้นแบ่งที่แท้จริงอยู่ตรงไหน บ้างถือเอาง่ายๆ ว่า ถ้าด่าแรงก็เป็นว้าก ถ้าด่าเบาก็เป็นไซโค ผู้เขียนจึงขอเสนอนิยามของตัวเองขึ้นมาซึ่งจะทำให้เราแยกการพูดไซโคออกจากการว้ากได้อย่างชัดเจน ดังนี้
การพูดไซโค คือ การพูดเพื่อสร้างความกดดันโดยไม่ใช้เสียงดังและไม่ใช้คำหยาบ ตัวอย่างสมมติเช่น เจ้านายคนหนึ่งเอ่ยกับลูกน้องด้วยระดับเสียงปกติว่า “คุณ A เขาเพิ่งเริ่มงานไม่นานแถมยังจบด้วยเกรด 2 กว่าๆ จากสถาบันไม่มีชื่อ แต่กลับทำงานได้ดีกว่าคุณซึ่งมาก่อนหลายปีแถมยังจบด้วยเกียรตินิยมจากมหาวิทยาลัยชื่อดัง...” จะเห็นว่าสิ่งที่ทำให้คนฟังรู้สึกกดดันในที่นี้ไม่ใช่ตัวคำพูดแต่เป็นความหมายของมัน หากพูดกดดันใดมีการใช้เสียงดังและคำหยาบ ก็สมควรจัดมันเป็นการว้าก
การไซโคขั้นสูง (advanced) คือการกดดันโดยไม่ใช้คำพูด เช่น ใช้ความเงียบแทน นอกจากนี้ ลักษณะกิจกรรมบางประเภทก็สร้างความกดดันโดยธรรมชาติได้ เช่นการมอบหมายปัญหาหรืออุปสรรค (task) ให้น้องช่วยกันแก้ไข ก็เป็นการไซโคขั้นสูงอย่างหนึ่ง
4. การรับน้องแบบรุนแรง (การรับน้องกระแสหลัก) คือ กิจกรรมรับน้องที่มีการกระทำต่อไปนี้อย่างน้อย 1 ข้อ
4.1 การว้าก
4.2 กิจกรรมที่เสี่ยงก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพหรืออันตรายโดยใช่เหตุ เช่น ดื่มเหล้า ทานอาหารที่ผิดสุขอนามัย การละเล่นโลดโผน ฯลฯ คำว่าเสี่ยงโดยใช่เหตุในที่นี้หมายถึง เสี่ยงทั้งที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่น ถึงไม่ดื่มเหล้าก็ยังมีอย่างอื่นให้ดื่มได้ เป็นต้น
4.3 การบังคับให้น้องใหม่ทุกคนต้องเข้าร่วม โดยคนที่ไม่เข้าร่วมจะถูกลงโทษไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ซึ่งรวมถึงการถูกกีดกันไม่ให้เข้าสังคมด้วย
5. การรับน้องแบบไม่รุนแรง (การรับน้องแบบสร้างสรรค์) คือ กิจกรรมรับน้องที่ไม่มีการกระทำที่ระบุในข้อ 4 กิจกรรมแบบนี้ไม่ได้ปราศจากความเสี่ยงโดยสิ้นเชิง เพียงแต่มันจะต้องเป็นความเสี่ยงที่เลี่ยงไม่ได้ ตัวอย่างเช่น การเดินไปวัดก็ต้องผ่านถนน ต่อให้เดินเรียงแถวอยู่ริมถนนก็ยังมีโอกาสที่รถจะมาชนได้อยู่ดี เป็นต้น
ความเสี่ยงโดยใช่เหตุ กับ ความเสี่ยงที่เลี่ยงไม่ได้ น่าจะเป็นเกณฑ์สำคัญอันหนึ่งที่ใช้แยกการรับน้องแบบรุนแรงและไม่รุนแรงออกจากกัน
II. ทำไมต้องมีการรับน้อง
วัตถุประสงค์ในการรับน้องแตกต่างกันไปในแต่ละสถาบันหรือกิจกรรม ส่วนใหญ่ที่พบหลักๆ คือ
1. ส่งเสริมความรักสามัคคีในรุ่นเดียวกัน
2. ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างรุ่น
3. ปลูกฝังความรักและภูมิใจในสถาบัน
4. ฝึกความอดทน หรือคุณสมบัติอื่นๆ ที่คาดว่าจำเป็นสำหรับโลกหลังเรียนจบให้แก่รุ่นน้อง
นอกจากวัตถุประสงค์ที่ว่านี้ การรับน้องอาจนำไปสู่ผลพลอยได้อื่นๆ ซึ่งต้องขอเชิญผู้มีประสบการณ์บอกเล่าออกมา จะเห็นว่า ความภูมิใจในสถาบัน ความรัก ความสามัคคี สัมพันธภาพอันดีภายในหมู่คณะเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการอยู่ร่วมกันในสังคม มันจึงถูกใช้เป็นเหตุผลให้การรับน้องคงอยู่ต่อไป (โปรดย้อนกลับไปดูนิยามในข้อ I. 1 ขอบเขตกิจกรรมรับน้องนั้นกว้างมาก ดังนั้น อย่าเพิ่งตีกรอบว่ามันจะเป็นไปในแง่ลบเสมอ)
ในเมื่อกิจกรรมรับน้องควรมีต่อไป คำถามถัดมาก็คือ แล้วมันควรจะเป็นอย่างไร คำตอบที่ผู้เขียนเสนอคือ การรับน้องแบบไม่รุนแรง หรือ การรับน้องแบบสร้างสรรค์ ซึ่งจะให้รายละเอียดเพิ่มเติมตอนท้าย ตอนนี้ จะขอพูดถึงบางประเด็นที่อยากให้ทุกคน (ทั้งฝ่ายสนับสนุนและต่อต้าน) เข้าใจกันและกันมากขึ้นก่อนหาทางแก้ปัญหา
III. ทำไมการรับน้องแบบรุนแรงจึงอยู่ยงคงกระพันท่ามกลางกระแสต่อต้านจากสังคมที่มีมาอย่างยาวนาน
1. ผู้จัดกิจกรรมทุกคนยอมรับว่า การรับน้องที่ไม่ดีมีอยู่จริง แต่ทุกคนคิดว่าการรับน้องแบบที่ตัวเองทำไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มนั้น พูดอีกอย่างคือ คำวิพากษ์วิจารณ์จากสังคมแม้มีเหตุผลใช้ได้กับการรับน้องที่อื่นแต่การรับน้องของเราแตกต่างและสมควรได้รับการยกเว้น
2. ผู้จัดทุกคนยอมรับว่าการรับน้องแบบรุนแรงมีความเสี่ยง แต่รู้สึกว่ามันคุ้มค่าที่จะเสี่ยง เพราะมันนำมาซึ่งความสามัคคีกันในรุ่น ความรักสถาบัน รวมถึงชื่อเสียงและชัยชนะของสถาบันเมื่อมีการแข่งขันต่างๆ ด้วย
3. ผู้จัดคิดว่า การรับน้องแบบรุนแรงเป็นเครื่องมือที่ได้ผลดีและเร็วที่สุดที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กล่าวมา ทางเลือกอื่นก็มีแต่ประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้อยกว่ามาก นี่ส่วนหนึ่งเป็นความผิดของกิจกรรมนำร่องการรับน้องแบบสร้างสรรค์ที่ถูกจัดอย่างฉาบฉวย (จะเห็นว่าหลายสถาบันเริ่มพยายามพาน้องเข้าวัด ปลูกป่า ฯลฯ) ความทุ่มเทที่ผู้จัดมอบให้กิจกรรมนำร่องพวกนี้มักน้อยกว่าความทุ่มเทในการจัดกิจกรรมรับน้องกระแสหลักอย่างเทียบไม่ติด เมื่อไม่ทุ่มเทแล้วกิจกรรมจะได้ผลได้อย่างไร สุดท้ายความไม่บรรลุวัตถุประสงค์ของกิจกรรมพวกนี้จึงถูกใช้เป็นเหตุผลของฝ่ายสนับสนุนการรับน้องแบบรุนแรงว่า วิธีอื่นที่ใช้ได้ผลเท่าการรับน้องแบบนี้ไม่มีอีกแล้ว
4. การรับน้องเป็นกิจกรรมที่น้องเหนื่อย แต่ผู้จัดเหนื่อยยิ่งกว่า เพราะนอกจากวันที่มีกิจกรรมแล้ว ผู้จัดต้องเหนื่อยตั้งแต่วางแผน เตรียมงาน ฝึกซ้อม จนถึงสรุปผลและทำรายงานส่งผู้ใหญ่ ดังนั้น หากไม่เชื่ออย่างฝังแน่นว่าการรับน้องแบบรุนแรงมันดีจริงๆ คงไม่มีรุ่นพี่ทุ่มเท่เพื่อมันมากขนาดนี้ หลายคนถือว่ากำลังทำเพื่ออุดมการณ์ ยอมถูกประนาม ยอมสละการเรียน เงิน รวมถึงเวลาดูแลสมาชิกครอบครัวมาทำกิจกรรมเพื่อรุ่นน้องที่พวกเขารัก(ซึ่งไม่เคยรู้จักกันมาก่อน) บางคนถึงขั้นยอมเสี่ยงชีวิต นี่จึงเป็นเหตุผลหนึ่งว่าทำไมฝ่ายต่อต้านจึงกำจัดกิจกรรมพวกนี้ออกไปไม่ได้เสียที หากเราไม่ทำความเข้าใจความรักที่พวกเขามีต่อกิจกรรมนี้ เอาแต่ด่าว่าพวกเขาโง่ เราไม่มีทางแก้ปัญหานี้ได้
5. เชื่อมโยงจากข้อ 4 ผู้จัดกิจกรรมรับน้องแบบรุนแรงคิดว่า สื่อ ผู้ใหญ่ และคนภายนอกไม่เข้าใจพวกเขา (ซึ่งก็จริง) มันก็เหมือนเด็กที่ไม่ยอมเชื่อฟังพ่อแม่เพราะพ่อแม่ไม่เข้าใจพวกเขา คนที่จะเข้าใจพวกเขาได้ต้องเคยสัมผัสประสบการณ์เดียวกันอย่างใกล้ชิดเป็นระยะเวลาช่วงหนึ่ง แต่น่าเสียดายที่คนเหล่านี้เองก็มักถูกอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมที่อยู่ใกล้กลืนกลบแนวคิดอีกด้านไป ทุกวันนี้จึงเต็มไปด้วยคนสองฝั่งที่ถกเถียงกันโดยใช้มุมมองด้านเดียว (จากด้านนอกหรือไม่ก็ด้านใน) และทำอย่างไม่รู้ตัวเสียด้วย
6. ระบบการศึกษาหรือการทำงานในบ้านเราเป็นระบบที่ส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมรับน้องแบบรุนแรงไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม คือ
6.1 ระบบทำให้เด็กที่ไม่เข้าร่วมกิจกรรมฯได้รับความเสียเปรียบขณะเรียนในสถาบัน นี่เป็นผลส่วนหนึ่งจากการชอบใช้วิธีหยวนๆ หรือยืดหยุ่นได้แบบไทยๆ ตัวอย่างจากประสบการณ์จริงของผู้เขียนเช่น การแจ้งข่าวสารต่างๆ ไปสู่นักเรียน (เช่น การแจ้งให้ไปรับเอกสารการเรียน ย้ายห้องเรียน เปลี่ยนเวลาเรียน หรือแม้กระทั่งเวลาสอบ แบบกะทันหัน) บ่อยครั้ง อาจารย์จะบอกแก่นักเรียนที่รู้จักคุ้นเคยหรือพบหน้าเป็นประจำและฝากบอกต่อไปยังเพื่อนๆ ทีนี้ หากนิยามคำว่าเพื่อนของสถาบันไหนผูกติดกับคำว่าคนที่ร่วมกิจกรรมรับน้องด้วยกัน เด็กที่ไม่เข้าร่วมกิจกรรมก็จะถูกกีดกันไม่ให้เป็นส่วนหนึ่งของสังคมเพื่อนร่วมรุ่น ชีวิตการเรียนก็จะลำบากทันที
ผู้เขียนเคยมีโอกาสไปเรียนแลกเปลี่ยนในต่างประเทศระยะสั้นๆ พบสิ่งหนึ่งที่แตกต่างระหว่างที่เรียนในไทยกับที่โน่นคือ ที่ไทยหากไม่รู้จักเพื่อนร่วมรุ่นคนไหนเลย(หรือรู้จักน้อยมาก)จะทำให้พลาดข่าวสารสำคัญไปอย่างง่ายดาย แต่ที่โน่นต่อให้ไม่รู้จักเพื่อนร่วมชั้นเรียนคนไหน อาจารย์ก็มีหน้าที่ make sure ว่านักเรียนทุกคนจะได้รับแจ้งข่าว บางทีขนาดเป็นข่าวที่แจ้งในชั้นเรียนแล้วอาจารย์บางคนยังอีเมล์มาแจ้งซ้ำเพื่อให้คนที่ขาดเรียนได้รู้ด้วย นี่เพราะเขาไม่ได้ด่วนสรุปเอาว่านักเรียนที่ขาดเรียนคือนักเรียนที่ไม่รับผิดชอบเสมอไปแต่อาจมีความจำเป็นที่ยังไม่ทันได้แจ้งให้ทราบก็ได้
6.2 ระบบใช้ประโยชน์จากกิจกรรมรับน้องแบบรุนแรงอย่างไม่รู้สึกผิด ตัวอย่างเช่น เมื่อสถาบันจัดกิจกรรมบางอย่างที่ต้องการให้มีนักศึกษาเข้าร่วมจำนวนมากเพื่อภาพลักษณ์ที่ดี เช่น การไหว้ครู การแข่งขันกีฬา การบำเพ็ญประโยชน์ ก็จะใช้วิธีเกณฑ์คนผ่านกิจกรรมรับน้อง เนื่องจากสถาบันส่วนใหญ่ รุ่นพี่มีอำนาจในการเรียกรวมพลน้องใหม่ยิ่งกว่าอาจารย์เสียอีก สถาบันเหล่านี้จึงยอมให้รุ่นพี่เรียกรวมพลรุ่นน้องตามวิธีการเดียวกันกับที่ใช้เรียกน้องมาทำกิจกรรมรับน้องแบบรุนแรง นี่เท่ากับบ่งบอกทางอ้อมว่า วิธีการที่รุ่นพี่เหล่านี้ใช้มีประโยชน์และได้รับการยอมรับจากสถาบัน
อีกตัวอย่างหนึ่งที่ได้ยินมาคือ บางสถาบันกำหนดว่านักศึกษาจะต้องผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมนอกเหนือจากการเรียนเป็นระยะเวลาหนึ่ง(นับเป็นชั่วโมง) โดยอาจแบ่งเป็นกิจกรรมเพื่อชุมชน กิจกรรมมหาวิทยาลัย กิจกรรมภาควิชา ฯลฯ แม้ไม่ได้บอกว่าต้องเข้าร่วมกิจกรรมรับน้อง แต่ในหลายกรณี เด็กที่ไม่เข้าร่วมกิจกรรมรับน้องก็จะถูกกีดกันทั้งทางปฏิบัติและทางจิตวิทยาไม่ให้เข้าร่วมกิจกรรมอื่นๆ ของหมู่คณะด้วย
ข้อ 6 นี้สะท้อนให้เห็นว่า น้องใหม่หลายคนที่ยอมถูกรับน้องแบบรุนแรงไม่ใช่เพียงเพราะเขาหัวอ่อน กลัวถูกเพื่อนหรือพี่เกลียด (นั่นเป็นผลกระทบเชิงอารมณ์) แต่มันยังเป็นเพราะการไม่เข้ารับน้องส่งผลกระทบต่อพวกเขาในเชิงปฏิบัติจริงๆ