ขอยกมาแบบเน้น ๆ ในบางส่วนครับ
บางส่วนของความเห็นแย้งนายธงชัย เสนามนตรี อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา
ที่ได้มีความเห็นแย้งไว้ในสำนวนสั่งให้คดี 99 ศพ ไปอยู่ในอำนาจของ ป.ป.ช.
"เมื่อศาลชี้ขาดว่าเจ้าพนักงานเป็นผู้ใช้อาวุธปืนยิงหรือยิงมาจากเจ้าพนักงาน
พนักงานอัยการมีหน้าที่ต้องส่งสำนวนการไต่สวนให้แก่พนักงานสอบสวนดำเนินการต่อไป เพื่อสอบสวนหาผู้กระทำผิด
ซึ่งกรณีดังกล่าวอัยการส่งสำนวนให้พนักงานสอบสวนกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)
เป็นผู้สอบสวนตาม พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547"
"อัยการสูงสุดสั่งฟ้องจำเลยทั้ง 2 ตาม ป.วิอาญา มาตรา 143 ที่ระบุว่า “คดีฆาตกรรม”
ซึ่งผู้ตายถูกเจ้าพนักงานที่อ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ฆ่าตาย อธิบดีกรมอัยการมีอำนาจออกคำสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้อง
คดีนี้อัยการสูงสุดจึงสั่งฟ้องจำเลยทั้งสองข้อหาฆาตกรรม ตาม ป.อาญา 288 ประกอบมาตรา 84 สืบเนื่องจากการไต่สวนชันสูตรพลิกศพดังกล่าว
โจทก์จึงยื่นฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองรับโทษฐานเป็นผู้ก่อหรือใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิด
ข้อหาฆ่าคนตายตาม ป.อาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80, 83, 84 ไม่ใช่ขอให้ลงโทษในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ"
"แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องในตอนแรกว่าจำเลยทั้งสองเป็นเจ้าพนักงาน
แต่ก็เป็นเพียงคำบรรยายเพื่อให้ปรากฏที่มาของการใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดเท่านั้น
การที่เจ้าพนักงานใช้อาวุธสงครามยิงผู้ตาย
ย่อมเป็นการกระทำนอกเหนือตำแหน่งหน้าที่ราชการของจำเลยทั้งสอง
โดยคำฟ้องระบุว่าจำเลยที่ 2
มีคำสั่งอนุมัติใช้อาวุธและกระสุนจริง รวมทั้งพลแม่นปืนปฏิบัติหน้าที่
จำเลยทั้งสองมีเ
จตนาเล็งเห็นผลว่าเจ้าพนักงานจะใช้อาวุธสงครามยิงประชาชนได้
จึงเป็นเรื่องการกระทำนอกเหนือตำแหน่งราชการ เป็นการก่อหรือใช้ให้เจ้าพนักงานกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่น
ส่วนพยานหลักฐานจะรับฟังได้หรือไม่เพียงใดก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
นอกจากนี้ความผิดฐานก่อหรือใช้ให้ผู้อื่นฆ่าคนตายตามมาตรา 288 ประกอบมาตรา 84
ต้องระวางโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ 15-20 ปี
แต่คดีที่ ป.ป.ช.มีอำนาจไต่สวนนั้น เป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157
ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"
"ดังนั้น ความผิดที่โจทก์ฟ้องฐานใช้หรือก่อให้ฆ่าผู้อื่น จึงเป็นบทหนัก โทษสูงกว่าความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการอย่างมาก
พ.ร.บ. ว่าด้วย ป.ป.ช. มาตรา 66 จึงได้บัญญัติให้ ป.ป.ช.มีอำนาจไต่สวนการกระทำความผิดต่อหน้าที่ราชการของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเท่านั้น
ไม่ได้มุ่งหวังให้ดำเนินการไต่สวนความผิดฐานอื่น โดยเฉพาะความาผิดฐานฆ่าผู้อื่นซึ่งเป็นความผิดร้ายแรง ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
เนื่องจากเป็นคดีอาญาแผ่นดิน ที่พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการต้องดำเนินการตาม ป.วิอาญา อยู่แล้ว"
"นอกจากนั้นแม้การกระทำดังกล่าวจะเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียว ระหว่างความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ และข้อหาก่อหรือใช้ให้ฆ่าผู้อื่น
แต่ก็ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้ความผิดกรรมเดียว ซึ่งเป็นบทเบา ระงับแล้วมีผลให้ความผิดบทหนักต้องระงับหรือยุติไปด้วย
และปัจจุบันคดีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการยังอยู่ในระหว่างการไต่สวนของ ป.ป.ช. โดยยังไม่มีคำสั่งทางใดทางหนึ่ง
หากผลการไต่สวนได้ข้อยุติว่าไม่มีมูล ย่อมมีผลเฉพาะข้อหาความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการเท่านั้น ไม่มีผลต่อความผิดฐานก่อหรือใช้ให้ฆ่าผู้อื่น
ซึ่งเป็นความผิดที่โจทก์ฟ้องนี้แต่อย่างใด"
แม้ ป.ป.ช.จะเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ แต่ไม่ใช่องค์กรศาล ไม่มีอำนาจชี้ขาดหรือพิพากษาลงโทษผู้ใดได้
เพียงแต่ให้อำนาจตามมาตรา 66 ในการใช้ดุลพินิจว่าสมควรไต่สวนหรือไม่เท่านั้น
ซึ่งความผิดฐานฆ่าผู้อื่นดังกล่าวก็สืบเนื่องมาจากการไต่สวนชันสูตรพลิกศพ แล้วฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติว่าเจ้าพนักงานเป็นผู้ใช้อาวุธปืนสงครามยิงผู้ตาย
โดยจำเลยทั้ง 2 เป็นผู้ก่อหรือใช้ให้กระทำความผิด จึงเป็นความผิดคนละฐานและแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
หาก ป.ป.ช.เห็นว่าความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการไม่มีมูล ก็ย่อมทำให้ความผิดฐานก่อหรือใช้ให้ฆ่าผู้อื่นยุติไปด้วย
หากเป็นเช่นนั้นก็เท่ากับ ป.ป.ช.ทำหน้าที่ศาลในเวลาเดียวกันด้วย ซึ่งไม่ใช่ความมุ่งหมายของกฎหมาย ป.ป.ช. มาตรา 66
นอกจากนั้นยังเป็นการตัดสิทธิผู้เสียหายซึ่งเป็นญาติผู้ตาย ตาม ป.วิอาญา มาตรา 150 วรรค 10 อีกด้วย
หากอำนาจชี้ขาดไปอยู่ที่ ป.ป.ช. ตามคำพิพากษาขององค์คณะที่วินิจฉัยมาย่อมเป็นการตัดสิทธิของผู้เสียหาย
จะเป็นการแปลความกฎหมายที่ปราศจากความยุติธรรมและขัดต่อหลักกฎหมาย
เมื่อจำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธว่าไม่ได้กระทำผิด ก็ควรเข้ามาสู่กระบวนการยุติธรรมเพื่อให้คดีถึงที่สิ้นสุด
เพื่อให้ยุติธรรมทั้งสองฝ่าย ไม่ใช่วินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายตัดสิทธิฟ้องของโจทก์และผู้เสียหายเช่นนี้
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRRd09USXhNakExTUE9PQ==§ionid=
สรุปก็คือ
อัยการสั่งฟ้องในเรื่องฆ่าคนตาย ไม่ได้ฟ้องในเรื่องความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่
แม้จะกระทำการขณะดำรงตำแหน่ง แต่การสั่งการฆ่าคนตายนั้น เป็นเรื่องนอกเหนืออำนาจหน้าที่
หาก ป.ป.ช. ชี้มูลว่าไอ้แหลหนีทหาร กับกบฎเทือก ไม่มีควาผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
คดี 99 ศพ ก็จบ เจ็บฟรี ตายฟรี
แต่หาก ป.ป.ช. ชี้มูลว่าผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ก็เป็นความผิดตามาตรา 157 ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเท่านั้น
ส่วนเรื่องฆ่าคนตาย ก็ต้องส่งเรื่องกลับมาให้ตำรวจ อัยการ ดำเนินการฟ้องศาลอาญาเหมือนเดิม
การที่ศาลอาญาสั่งว่าคดีนี้ เป็นอำนาจของ ป.ป.ช. จึงมีข้อกังขามากมาย
แค่ใช้เหตุผลและข้อกฎหมายดื้อ ๆ ด้วน ๆ ว่า จำเลยสั่งการขณะดำรงตำแหน่ง
จึงควรอยู่ในอำนาจของ ป.ป.ช. ตาม พรบ.ป.ป.ช. มาตรา 66
ทั้งที่เป็นแค่เรื่องปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ คนละเรื่องเลยกับเรื่องฆ่าคนตายโดยเจตนา
แบบนี้ หากข้าราชการคนใดสั่งการให้ผู้ใต้บังคับบัญชาไปฆ่าใคร
คดีก็ต้องไป ป.ป.ช. หาก ป.ป.ช. ชี้มูลว่าการสั่งการไม่ผิด ก็แปลว่า ความผิดสั่งฆ่านั้นไม่ผิดไปด้วย
เป็นไปได้ไง ?
หากการอุทธรณ์ ไม่เป็นผล (ผมว่าไม่เป็นผลแน่ เพราะอะไรคงไม่ต้องสาธยาย ดูง่าย ๆ แค่ว่า ธาริตเด้งไปแล้ว)
คดีก็จะไปอยู่ในอำนาจ ป.ป.ช. ที่สอบสวนคดีนี้มาสี่ปี แต่ไม่ชี้มูลสักที ทั้งที่เคยแถลงว่าจะเสร็จภายในปี 55
ก็คงไม่ต้องเดายาก ว่าผลการชี้มูลของ ป.ป.ช. จะออกมาอย่างไร
ชัดครับ
ว่านี่คือการ
"อุ้ม" โดยไม่แคร์อะไรทั้งสิ้น
ท่านที่ทำหน้าที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรมทั้งหลาย อายบ้างเถิดครับ
ประชาชนไม่ได้กินแกลบ
ตำรากฎหมาย หลักกฎหมายบ้านนี้เมืองนี้แทบไม่มีความหมายแล้ว
หล่อล่ะเอือม
ขอยกตัวอย่างข้อกฎหมายที่ชัดเจน เหตุผลที่ชัดเจน ในความเห็นแย้งของท่านอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา คดี 99 ศพ
บางส่วนของความเห็นแย้งนายธงชัย เสนามนตรี อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา
ที่ได้มีความเห็นแย้งไว้ในสำนวนสั่งให้คดี 99 ศพ ไปอยู่ในอำนาจของ ป.ป.ช.
"เมื่อศาลชี้ขาดว่าเจ้าพนักงานเป็นผู้ใช้อาวุธปืนยิงหรือยิงมาจากเจ้าพนักงาน
พนักงานอัยการมีหน้าที่ต้องส่งสำนวนการไต่สวนให้แก่พนักงานสอบสวนดำเนินการต่อไป เพื่อสอบสวนหาผู้กระทำผิด
ซึ่งกรณีดังกล่าวอัยการส่งสำนวนให้พนักงานสอบสวนกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)
เป็นผู้สอบสวนตาม พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547"
"อัยการสูงสุดสั่งฟ้องจำเลยทั้ง 2 ตาม ป.วิอาญา มาตรา 143 ที่ระบุว่า “คดีฆาตกรรม”
ซึ่งผู้ตายถูกเจ้าพนักงานที่อ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ฆ่าตาย อธิบดีกรมอัยการมีอำนาจออกคำสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้อง
คดีนี้อัยการสูงสุดจึงสั่งฟ้องจำเลยทั้งสองข้อหาฆาตกรรม ตาม ป.อาญา 288 ประกอบมาตรา 84 สืบเนื่องจากการไต่สวนชันสูตรพลิกศพดังกล่าว
โจทก์จึงยื่นฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองรับโทษฐานเป็นผู้ก่อหรือใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิด
ข้อหาฆ่าคนตายตาม ป.อาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80, 83, 84 ไม่ใช่ขอให้ลงโทษในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ"
"แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องในตอนแรกว่าจำเลยทั้งสองเป็นเจ้าพนักงาน
แต่ก็เป็นเพียงคำบรรยายเพื่อให้ปรากฏที่มาของการใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดเท่านั้น
การที่เจ้าพนักงานใช้อาวุธสงครามยิงผู้ตาย ย่อมเป็นการกระทำนอกเหนือตำแหน่งหน้าที่ราชการของจำเลยทั้งสอง
โดยคำฟ้องระบุว่าจำเลยที่ 2 มีคำสั่งอนุมัติใช้อาวุธและกระสุนจริง รวมทั้งพลแม่นปืนปฏิบัติหน้าที่
จำเลยทั้งสองมีเจตนาเล็งเห็นผลว่าเจ้าพนักงานจะใช้อาวุธสงครามยิงประชาชนได้
จึงเป็นเรื่องการกระทำนอกเหนือตำแหน่งราชการ เป็นการก่อหรือใช้ให้เจ้าพนักงานกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่น
ส่วนพยานหลักฐานจะรับฟังได้หรือไม่เพียงใดก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
นอกจากนี้ความผิดฐานก่อหรือใช้ให้ผู้อื่นฆ่าคนตายตามมาตรา 288 ประกอบมาตรา 84
ต้องระวางโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ 15-20 ปี
แต่คดีที่ ป.ป.ช.มีอำนาจไต่สวนนั้น เป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157
ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"
"ดังนั้น ความผิดที่โจทก์ฟ้องฐานใช้หรือก่อให้ฆ่าผู้อื่น จึงเป็นบทหนัก โทษสูงกว่าความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการอย่างมาก
พ.ร.บ. ว่าด้วย ป.ป.ช. มาตรา 66 จึงได้บัญญัติให้ ป.ป.ช.มีอำนาจไต่สวนการกระทำความผิดต่อหน้าที่ราชการของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเท่านั้น
ไม่ได้มุ่งหวังให้ดำเนินการไต่สวนความผิดฐานอื่น โดยเฉพาะความาผิดฐานฆ่าผู้อื่นซึ่งเป็นความผิดร้ายแรง ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
เนื่องจากเป็นคดีอาญาแผ่นดิน ที่พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการต้องดำเนินการตาม ป.วิอาญา อยู่แล้ว"
"นอกจากนั้นแม้การกระทำดังกล่าวจะเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียว ระหว่างความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ และข้อหาก่อหรือใช้ให้ฆ่าผู้อื่น
แต่ก็ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้ความผิดกรรมเดียว ซึ่งเป็นบทเบา ระงับแล้วมีผลให้ความผิดบทหนักต้องระงับหรือยุติไปด้วย
และปัจจุบันคดีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการยังอยู่ในระหว่างการไต่สวนของ ป.ป.ช. โดยยังไม่มีคำสั่งทางใดทางหนึ่ง
หากผลการไต่สวนได้ข้อยุติว่าไม่มีมูล ย่อมมีผลเฉพาะข้อหาความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการเท่านั้น ไม่มีผลต่อความผิดฐานก่อหรือใช้ให้ฆ่าผู้อื่น
ซึ่งเป็นความผิดที่โจทก์ฟ้องนี้แต่อย่างใด"
แม้ ป.ป.ช.จะเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ แต่ไม่ใช่องค์กรศาล ไม่มีอำนาจชี้ขาดหรือพิพากษาลงโทษผู้ใดได้
เพียงแต่ให้อำนาจตามมาตรา 66 ในการใช้ดุลพินิจว่าสมควรไต่สวนหรือไม่เท่านั้น
ซึ่งความผิดฐานฆ่าผู้อื่นดังกล่าวก็สืบเนื่องมาจากการไต่สวนชันสูตรพลิกศพ แล้วฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติว่าเจ้าพนักงานเป็นผู้ใช้อาวุธปืนสงครามยิงผู้ตาย
โดยจำเลยทั้ง 2 เป็นผู้ก่อหรือใช้ให้กระทำความผิด จึงเป็นความผิดคนละฐานและแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
หาก ป.ป.ช.เห็นว่าความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการไม่มีมูล ก็ย่อมทำให้ความผิดฐานก่อหรือใช้ให้ฆ่าผู้อื่นยุติไปด้วย
หากเป็นเช่นนั้นก็เท่ากับ ป.ป.ช.ทำหน้าที่ศาลในเวลาเดียวกันด้วย ซึ่งไม่ใช่ความมุ่งหมายของกฎหมาย ป.ป.ช. มาตรา 66
นอกจากนั้นยังเป็นการตัดสิทธิผู้เสียหายซึ่งเป็นญาติผู้ตาย ตาม ป.วิอาญา มาตรา 150 วรรค 10 อีกด้วย
หากอำนาจชี้ขาดไปอยู่ที่ ป.ป.ช. ตามคำพิพากษาขององค์คณะที่วินิจฉัยมาย่อมเป็นการตัดสิทธิของผู้เสียหาย
จะเป็นการแปลความกฎหมายที่ปราศจากความยุติธรรมและขัดต่อหลักกฎหมาย
เมื่อจำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธว่าไม่ได้กระทำผิด ก็ควรเข้ามาสู่กระบวนการยุติธรรมเพื่อให้คดีถึงที่สิ้นสุด
เพื่อให้ยุติธรรมทั้งสองฝ่าย ไม่ใช่วินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายตัดสิทธิฟ้องของโจทก์และผู้เสียหายเช่นนี้
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRRd09USXhNakExTUE9PQ==§ionid=
สรุปก็คือ
อัยการสั่งฟ้องในเรื่องฆ่าคนตาย ไม่ได้ฟ้องในเรื่องความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่
แม้จะกระทำการขณะดำรงตำแหน่ง แต่การสั่งการฆ่าคนตายนั้น เป็นเรื่องนอกเหนืออำนาจหน้าที่
หาก ป.ป.ช. ชี้มูลว่าไอ้แหลหนีทหาร กับกบฎเทือก ไม่มีควาผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
คดี 99 ศพ ก็จบ เจ็บฟรี ตายฟรี
แต่หาก ป.ป.ช. ชี้มูลว่าผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ก็เป็นความผิดตามาตรา 157 ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเท่านั้น
ส่วนเรื่องฆ่าคนตาย ก็ต้องส่งเรื่องกลับมาให้ตำรวจ อัยการ ดำเนินการฟ้องศาลอาญาเหมือนเดิม
การที่ศาลอาญาสั่งว่าคดีนี้ เป็นอำนาจของ ป.ป.ช. จึงมีข้อกังขามากมาย
แค่ใช้เหตุผลและข้อกฎหมายดื้อ ๆ ด้วน ๆ ว่า จำเลยสั่งการขณะดำรงตำแหน่ง
จึงควรอยู่ในอำนาจของ ป.ป.ช. ตาม พรบ.ป.ป.ช. มาตรา 66
ทั้งที่เป็นแค่เรื่องปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ คนละเรื่องเลยกับเรื่องฆ่าคนตายโดยเจตนา
แบบนี้ หากข้าราชการคนใดสั่งการให้ผู้ใต้บังคับบัญชาไปฆ่าใคร
คดีก็ต้องไป ป.ป.ช. หาก ป.ป.ช. ชี้มูลว่าการสั่งการไม่ผิด ก็แปลว่า ความผิดสั่งฆ่านั้นไม่ผิดไปด้วย
เป็นไปได้ไง ?
หากการอุทธรณ์ ไม่เป็นผล (ผมว่าไม่เป็นผลแน่ เพราะอะไรคงไม่ต้องสาธยาย ดูง่าย ๆ แค่ว่า ธาริตเด้งไปแล้ว)
คดีก็จะไปอยู่ในอำนาจ ป.ป.ช. ที่สอบสวนคดีนี้มาสี่ปี แต่ไม่ชี้มูลสักที ทั้งที่เคยแถลงว่าจะเสร็จภายในปี 55
ก็คงไม่ต้องเดายาก ว่าผลการชี้มูลของ ป.ป.ช. จะออกมาอย่างไร
ชัดครับ
ว่านี่คือการ "อุ้ม" โดยไม่แคร์อะไรทั้งสิ้น
ท่านที่ทำหน้าที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรมทั้งหลาย อายบ้างเถิดครับ
ประชาชนไม่ได้กินแกลบ
ตำรากฎหมาย หลักกฎหมายบ้านนี้เมืองนี้แทบไม่มีความหมายแล้ว
หล่อล่ะเอือม