สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 55
ก็ไม่รู้สินะ พี่จบแพทยรังสิตรุ่นสิบ จบมาก็มาจับสลากได้มาอยู่จ.นครศรีธรรมราช จากนั้นก็เอาทุนไปเรียนต่อเฉพาะทางที่ศิริราช
ก็จบกลับมาทำงานที่นครศรีธรรมราช ได้ช่วยเหลือคนเยอะไป
ทุกวันนี้คนจบแพทย์รังสิตก็ไปเป็นอาจารย์อยู่ในโรงเรียนแพทย์หลายสิบคน ทั้งจุฬา รามา ศิริราช ก็ได้รับการยอมรับเป็นอย่างดี
หลายคนก็ได้ทุนไปศึกษาต่อเมืองนอกทั้งอเมริกา อังกฤษ ยุโรปมากมาย
สรุปพี่ว่าน่าจะเป็นปัญหาที่ตัวบุคคลมากกว่าหรือเปล่าครับ
ตั้งแต่ปี 2532 ครับ ดร.อาทิตย์ ท่านมีความคิดที่จะสร้างคณะแพทย์เอกชนขึ้นมา เนื่องจากเห็นว่าทางรัฐบาล ไม่สามารถสร้างบัณฑิตแพทย์ได้เพียงพอกับความต้องการข องประชาชน (ย้อนไปปี 32 สมัยนั้นปีนึง รัฐผลิตหมอได้เพียงปีละ 600 คนครับ)
ท่านก็เห็นว่าแต่ละปี คนไทยส่วนนึงก็ส่งลูกไปเรียนหมอเมืองนอก พวกฟิลิปปินส์ ยุโรป อเมริกา อินเดีย แล้วค่อยกลับมาทำงานในเมืองไทย แล้วทำไมเราไม่สร้างคณะแพทย์ขึ้นมาบ้างโดยเป็นของเอกชน
แค่นั้นแหละครับ ก็เกิดการประท้วงและแอนตี้กันอย่างถล่มทลายของเหล่าแพทย์ในสมัยนั้น ว่าถ้าหากคณะแพทย์เอกชนเกิดขึ้น ก็จะมีแต่ลูกคนรวยมาเรียนหมอ และจบไปก็จะต้องไปถอนทุนกัน จะเกิดแพทย์พาณิชย์ ใครมีเงินก็เรียนได้ เรื่องก็บานปลายจนเอาไปอภิปรายในสภา (สมัยนั้นดร.อาทิตย์เป็นรมต.สาธารณสุขด้วย) แต่ก็ไม่ย่อท้อ สู้จนเกิดเป็นคณะแพทย์ได้
การต่อสู้นั้นไม่ได้เอาปืนมายิงคนที่ไม่เห็นด้วยนะครับ แต่เป็นการทำให้เห็น เอาอาจารย์จากสถาบันการแพทย์ต่าง ๆ ในประเทศนี่แหละมาร่วมร่างหลักสูตร ไปเชิญ ศ.นพ.ประสงค์ ตู้จินดา ซึ่งเป็นปรมาจาริย์ด้านกุมารเวชของเมืองไทยมาเป็นคณบดี เอาอาจารย์ไปศึกษาดูงานด้านการพัฒนาคณะแพทยศาสตร์ในต ่างประเทศ เช่นส่งไปดูงานที่ harvard university ( harvard นี่เป็นเอกชนนะครับ) มีการเซ็นสัญญาให้นศพ.รังสิต ต้องไปฝึกงานในรพ.ของรัฐ (ตอนแรกดร.อาทิตย์จะให้ฝึกงานในรพ.เอกชนด้วย แต่โดนทางแพทยสภาค้านว่าเคสไม่หลากหลาย)
มีการกำหนดว่า นักศึกษาของมหาวิทยาลัยรังสิตต้องสอบใบประกอบวิชาชีพ แพทยสภาให้ผ่านก่อน ถึงจะจบเป็นหมอได้ (ของเดิมนี่แพทย์ที่อื่นจบแล้วได้เลยครับ มีแต่ของรังสิตที่ต้องสอบ)
ช่วงตั้งใหม่ ๆ ก็มีคณะแพทย์หลายแห่งนะครับ มาเสนอว่าถ้างั้นให้มาเป็นเครือดีไหม เช่นของจุฬาและมหิดล ก็เสนอว่าให้มาใช้หลักสูตรกับเค้า และตอนจบก็รับปริญยาของจุฬาไป เช่น ปริญญาแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์ วิทยาลัยรังสิต แบบนี้ แต่ทางดร.อาทิตย์และอาจารย์ประสงค์เองท่านก็ไม่ยอม อยากให้คณะแพทย์นี้เป็นของรังสิตแท้ ๆ ก็มีการฝ่าฟันอุปสรรคมาเรื่อยๆ
ปัญหาอีกอันนึงก็คือเมื่อเด็กรังสิตมาฝึกงานที่ราชวิถี หมอในราชวิถีสมัยนั้นหลายท่านก็คัดค้านอย่างรุน แรง เพราะไม่อยากสอนรังสิต มีการทะเลาะกันในห้องประชุมถึงขั้นทุบโต๊ะ ชี้หน้าด่าคณบดี ว่าเป็นทาสน้ำเงิน (ตอนนั้นหมอประสงค์ท่านก็ 60 ปลาย ๆ ครับ ) แต่หมอประสงค์ก็ใช้ขันติ อดทนอธิบายให้กับหมอรุ่นหลานที่เข้าใจท่านผิด ๆ ค่าเทอมทั้งหมดของแพทย์รังสิตตั้งแต่ชั้นปีที่ 4-6 ตกปีละ 150 ล้าน บริจาคเข้าราชวิถีหมดนะครับ ในนามมูลนิธิสถาบันร่วมผลิตแพทย์ กรมการแพทย์-มหาวิทยาลัยรังสิต สรุปคือทางรังสิตเองจะได้เฉพาะค่าเทอมช่วงปี 1 -3 เท่านั้นครับ
เงินบริจาคที่เข้าราชวิถี ก็เป็นเงินที่นำไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน ซื้อเครื่องมือ ให้ทุนอาจารย์ไปเรียนเพิ่มเติม สร้างตึกและครุภัณท์ทางการแพทย์ให้กับราชวิถี ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป หลายคนที่มีอคติกับทางแพทย์รังสิตก็เริ่มเข้าใจมากขึ้นครับ
ตอนนี้แพทย์รังสิตเปิดมาได้ 27 ปี มีหมอจบไปแล้วสิบกว่ารุ่น สิ่งที่น่าภูมิใจคือมีหมอรังสิตไม่ถึง 20 เปอร์เซนต์นะครับ ที่ลาออกไปทำงานเอกชน ส่วนใหญ่จะทำงานในรพ.ของรัฐ ไปเป็นอจ.ที่โรงเรียนแพทย์เยอะมาก ๆ ทั้งจุฬา ศิริราช รามา หลายคนได้รางวัลระดับประเทศเยอะแยะครับ ไม่ใช่ทองชุบแน่นอน
เรื่องการสอบใบประกอบนะครับ หลังจากที่รังสิตเป็นคณะแพทย์แห่งเดียวที่ต้องสอบ ใครไม่ผ่านก็สอบใหม่ ทำให้คนที่จบไปรับรองได้ครับว่าผ่านมาตรฐานแพทยสภาแน่นอน จะเห็นว่าบางคนต้องสอบถึง 5-6 รอบ กว่าจะผ่าน ไม่ใช่ให้ผ่านง่าย ๆ ครับ และทำให้ตอนหลัง เมื่อมีคณะแพทย์ใหม่ ๆ เปิดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แพทยสภาจึงออกกฎว่าต่อไปนี้ แพทย์ทุกสถาบัน ต้องสอบใบประกอบวิชาชีพเหมือนรังสิตให้ผ่านก่อน ครับ ถึงจะเป็นหมอได้
ส่วนโมเดลของรังสิตที่เอานศพ.ไปฝากเรียนที่รพ.ราชวิถีนั้น ต่อมาทางกระทรวงก็ได้พัฒนาโมเดลความร่วมมือนี้ เกิดเป็นสถาบันแพทย์พระบรมราชชนกขึ้น คือการสร้างแพทย์ชนบท โดยการให้นศพ.ช่วงปี 1-3 เรียนกับมหาวิทยาลัยส่วนกลาง แต่พอขึ้นชั้นคลีนิคก็ส่งไปทำงานในรพ.จังหวัดที่ตัวเองอยู่ครับ
ฉะนั้นผมภูมิใจที่ได้เรียนในสถาบันแห่งนี้ครับ
และช่วยกันทำสิ่งดี ๆ ให้คนอื่นเค้าเห็นครับ
ว่าเราหมอรังสิต ไม่ใช่แค่หมอรวยขี้เก๊กครับ
ช่วยกันทำให้คนอื่นรู้ครับ ว่าหมอที่นี่ หน้าตาดีและจิตใจงามด้วย
555
ก็จบกลับมาทำงานที่นครศรีธรรมราช ได้ช่วยเหลือคนเยอะไป
ทุกวันนี้คนจบแพทย์รังสิตก็ไปเป็นอาจารย์อยู่ในโรงเรียนแพทย์หลายสิบคน ทั้งจุฬา รามา ศิริราช ก็ได้รับการยอมรับเป็นอย่างดี
หลายคนก็ได้ทุนไปศึกษาต่อเมืองนอกทั้งอเมริกา อังกฤษ ยุโรปมากมาย
สรุปพี่ว่าน่าจะเป็นปัญหาที่ตัวบุคคลมากกว่าหรือเปล่าครับ
ตั้งแต่ปี 2532 ครับ ดร.อาทิตย์ ท่านมีความคิดที่จะสร้างคณะแพทย์เอกชนขึ้นมา เนื่องจากเห็นว่าทางรัฐบาล ไม่สามารถสร้างบัณฑิตแพทย์ได้เพียงพอกับความต้องการข องประชาชน (ย้อนไปปี 32 สมัยนั้นปีนึง รัฐผลิตหมอได้เพียงปีละ 600 คนครับ)
ท่านก็เห็นว่าแต่ละปี คนไทยส่วนนึงก็ส่งลูกไปเรียนหมอเมืองนอก พวกฟิลิปปินส์ ยุโรป อเมริกา อินเดีย แล้วค่อยกลับมาทำงานในเมืองไทย แล้วทำไมเราไม่สร้างคณะแพทย์ขึ้นมาบ้างโดยเป็นของเอกชน
แค่นั้นแหละครับ ก็เกิดการประท้วงและแอนตี้กันอย่างถล่มทลายของเหล่าแพทย์ในสมัยนั้น ว่าถ้าหากคณะแพทย์เอกชนเกิดขึ้น ก็จะมีแต่ลูกคนรวยมาเรียนหมอ และจบไปก็จะต้องไปถอนทุนกัน จะเกิดแพทย์พาณิชย์ ใครมีเงินก็เรียนได้ เรื่องก็บานปลายจนเอาไปอภิปรายในสภา (สมัยนั้นดร.อาทิตย์เป็นรมต.สาธารณสุขด้วย) แต่ก็ไม่ย่อท้อ สู้จนเกิดเป็นคณะแพทย์ได้
การต่อสู้นั้นไม่ได้เอาปืนมายิงคนที่ไม่เห็นด้วยนะครับ แต่เป็นการทำให้เห็น เอาอาจารย์จากสถาบันการแพทย์ต่าง ๆ ในประเทศนี่แหละมาร่วมร่างหลักสูตร ไปเชิญ ศ.นพ.ประสงค์ ตู้จินดา ซึ่งเป็นปรมาจาริย์ด้านกุมารเวชของเมืองไทยมาเป็นคณบดี เอาอาจารย์ไปศึกษาดูงานด้านการพัฒนาคณะแพทยศาสตร์ในต ่างประเทศ เช่นส่งไปดูงานที่ harvard university ( harvard นี่เป็นเอกชนนะครับ) มีการเซ็นสัญญาให้นศพ.รังสิต ต้องไปฝึกงานในรพ.ของรัฐ (ตอนแรกดร.อาทิตย์จะให้ฝึกงานในรพ.เอกชนด้วย แต่โดนทางแพทยสภาค้านว่าเคสไม่หลากหลาย)
มีการกำหนดว่า นักศึกษาของมหาวิทยาลัยรังสิตต้องสอบใบประกอบวิชาชีพ แพทยสภาให้ผ่านก่อน ถึงจะจบเป็นหมอได้ (ของเดิมนี่แพทย์ที่อื่นจบแล้วได้เลยครับ มีแต่ของรังสิตที่ต้องสอบ)
ช่วงตั้งใหม่ ๆ ก็มีคณะแพทย์หลายแห่งนะครับ มาเสนอว่าถ้างั้นให้มาเป็นเครือดีไหม เช่นของจุฬาและมหิดล ก็เสนอว่าให้มาใช้หลักสูตรกับเค้า และตอนจบก็รับปริญยาของจุฬาไป เช่น ปริญญาแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์ วิทยาลัยรังสิต แบบนี้ แต่ทางดร.อาทิตย์และอาจารย์ประสงค์เองท่านก็ไม่ยอม อยากให้คณะแพทย์นี้เป็นของรังสิตแท้ ๆ ก็มีการฝ่าฟันอุปสรรคมาเรื่อยๆ
ปัญหาอีกอันนึงก็คือเมื่อเด็กรังสิตมาฝึกงานที่ราชวิถี หมอในราชวิถีสมัยนั้นหลายท่านก็คัดค้านอย่างรุน แรง เพราะไม่อยากสอนรังสิต มีการทะเลาะกันในห้องประชุมถึงขั้นทุบโต๊ะ ชี้หน้าด่าคณบดี ว่าเป็นทาสน้ำเงิน (ตอนนั้นหมอประสงค์ท่านก็ 60 ปลาย ๆ ครับ ) แต่หมอประสงค์ก็ใช้ขันติ อดทนอธิบายให้กับหมอรุ่นหลานที่เข้าใจท่านผิด ๆ ค่าเทอมทั้งหมดของแพทย์รังสิตตั้งแต่ชั้นปีที่ 4-6 ตกปีละ 150 ล้าน บริจาคเข้าราชวิถีหมดนะครับ ในนามมูลนิธิสถาบันร่วมผลิตแพทย์ กรมการแพทย์-มหาวิทยาลัยรังสิต สรุปคือทางรังสิตเองจะได้เฉพาะค่าเทอมช่วงปี 1 -3 เท่านั้นครับ
เงินบริจาคที่เข้าราชวิถี ก็เป็นเงินที่นำไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน ซื้อเครื่องมือ ให้ทุนอาจารย์ไปเรียนเพิ่มเติม สร้างตึกและครุภัณท์ทางการแพทย์ให้กับราชวิถี ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป หลายคนที่มีอคติกับทางแพทย์รังสิตก็เริ่มเข้าใจมากขึ้นครับ
ตอนนี้แพทย์รังสิตเปิดมาได้ 27 ปี มีหมอจบไปแล้วสิบกว่ารุ่น สิ่งที่น่าภูมิใจคือมีหมอรังสิตไม่ถึง 20 เปอร์เซนต์นะครับ ที่ลาออกไปทำงานเอกชน ส่วนใหญ่จะทำงานในรพ.ของรัฐ ไปเป็นอจ.ที่โรงเรียนแพทย์เยอะมาก ๆ ทั้งจุฬา ศิริราช รามา หลายคนได้รางวัลระดับประเทศเยอะแยะครับ ไม่ใช่ทองชุบแน่นอน
เรื่องการสอบใบประกอบนะครับ หลังจากที่รังสิตเป็นคณะแพทย์แห่งเดียวที่ต้องสอบ ใครไม่ผ่านก็สอบใหม่ ทำให้คนที่จบไปรับรองได้ครับว่าผ่านมาตรฐานแพทยสภาแน่นอน จะเห็นว่าบางคนต้องสอบถึง 5-6 รอบ กว่าจะผ่าน ไม่ใช่ให้ผ่านง่าย ๆ ครับ และทำให้ตอนหลัง เมื่อมีคณะแพทย์ใหม่ ๆ เปิดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แพทยสภาจึงออกกฎว่าต่อไปนี้ แพทย์ทุกสถาบัน ต้องสอบใบประกอบวิชาชีพเหมือนรังสิตให้ผ่านก่อน ครับ ถึงจะเป็นหมอได้
ส่วนโมเดลของรังสิตที่เอานศพ.ไปฝากเรียนที่รพ.ราชวิถีนั้น ต่อมาทางกระทรวงก็ได้พัฒนาโมเดลความร่วมมือนี้ เกิดเป็นสถาบันแพทย์พระบรมราชชนกขึ้น คือการสร้างแพทย์ชนบท โดยการให้นศพ.ช่วงปี 1-3 เรียนกับมหาวิทยาลัยส่วนกลาง แต่พอขึ้นชั้นคลีนิคก็ส่งไปทำงานในรพ.จังหวัดที่ตัวเองอยู่ครับ
ฉะนั้นผมภูมิใจที่ได้เรียนในสถาบันแห่งนี้ครับ
และช่วยกันทำสิ่งดี ๆ ให้คนอื่นเค้าเห็นครับ
ว่าเราหมอรังสิต ไม่ใช่แค่หมอรวยขี้เก๊กครับ
ช่วยกันทำให้คนอื่นรู้ครับ ว่าหมอที่นี่ หน้าตาดีและจิตใจงามด้วย
555
ความคิดเห็นที่ 28
อืม ....ไม่ควรนำเงินเก็บมาทุ่มแบบนี้ เพราะ
1.ถ้าลูกเรียนไม่จบ เพราะหัวไม่ถึง สูญเงินฟรี ....ถ้าลูกอยากเรียน เพราะอยากเป็นหมอ ไม่ใช่เพราะอยากรวย ควรสอบเข้ามหาวิทยาลัยของรัฐ ...สมัยเรียนมีเพื่อนอยู่หลายคน เด็กต่างจังหวัดที่ได้เรียนหมอเพราะโครงการช้างเผือก ช้างดาวอะไรสักอย่างนี่แหละ แต่พอเข้ามาเรียน เรียนไม่จบ เพราะหัวไม่ถึง
2.ถ้าลูกเรียนจบ แต่ไม่ดูแลคุณตอนแก่ ....คุณจะทำอย่างไร ? การนำเงินเก็บทั้งหมดมาให้เขา ก็เหมือนยกสมบัติให่ก่อนตาย เขาไม่ทำกัน และที่ทำๆกัน ยกสมับติให้ลูกก่อนตาย ก็ผิดหวังมากมาย
3.ลูกคึนที่เหลือ ถ้าเกิดเขาอยากเรียนแพงๆ จะเอาเงินที่ไหนมาส่ง ....หรือยอมทุ่มให้ลูกคนโตเพียงคนเดียว เพื่อหวังให้เขาดูแลน้อง ถ้าในอนาคต เขาไม่ดูแลน้อง คนเป๋นพ่อ เป็นแม่ต้องคิด
4.ลูกจะเรียนอะไร ควรให้เขาเดินตามฝันของตนเอง และถ้าพ่อแม่ไม่มีเงินเยอะแยะ ลูกอยากเรียน ลูกควรมีความพยายามด้วยตนเองด้วย คือหัวต้องถึง ที่จะสอบเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยของรัฐ
1.ถ้าลูกเรียนไม่จบ เพราะหัวไม่ถึง สูญเงินฟรี ....ถ้าลูกอยากเรียน เพราะอยากเป็นหมอ ไม่ใช่เพราะอยากรวย ควรสอบเข้ามหาวิทยาลัยของรัฐ ...สมัยเรียนมีเพื่อนอยู่หลายคน เด็กต่างจังหวัดที่ได้เรียนหมอเพราะโครงการช้างเผือก ช้างดาวอะไรสักอย่างนี่แหละ แต่พอเข้ามาเรียน เรียนไม่จบ เพราะหัวไม่ถึง
2.ถ้าลูกเรียนจบ แต่ไม่ดูแลคุณตอนแก่ ....คุณจะทำอย่างไร ? การนำเงินเก็บทั้งหมดมาให้เขา ก็เหมือนยกสมบัติให่ก่อนตาย เขาไม่ทำกัน และที่ทำๆกัน ยกสมับติให้ลูกก่อนตาย ก็ผิดหวังมากมาย
3.ลูกคึนที่เหลือ ถ้าเกิดเขาอยากเรียนแพงๆ จะเอาเงินที่ไหนมาส่ง ....หรือยอมทุ่มให้ลูกคนโตเพียงคนเดียว เพื่อหวังให้เขาดูแลน้อง ถ้าในอนาคต เขาไม่ดูแลน้อง คนเป๋นพ่อ เป็นแม่ต้องคิด
4.ลูกจะเรียนอะไร ควรให้เขาเดินตามฝันของตนเอง และถ้าพ่อแม่ไม่มีเงินเยอะแยะ ลูกอยากเรียน ลูกควรมีความพยายามด้วยตนเองด้วย คือหัวต้องถึง ที่จะสอบเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยของรัฐ
ความคิดเห็นที่ 18
วันนี้ผมกับภรรยากำลังคิดว่าถ้าลูกชายคนโตสอบเข้ามหาวิทยาลัยรัฐบาลเรียนเเพทย์ไม่ได้
คิดว่าจะเอาเงินเก็บที่มีทั้งหมดในบ้านส่งลูกชายคนโตเรียนแพทย์รังสิต คงจะต้องใช้เงินเก็บทั้งหมดที่มีอยู่จนจบการเรียนแพทย์ของลูกชายคนโต
>>>>>>
ผมอยากแนะนำด้วยความจริงใจ
วิธีคิด อย่าคิดในแง่ลบ ... แล้วเปิดปลาย..สดวกโยธิน ไว้อย่างนั้น
ป่านนี้ลูกชายคงจะอ่านกระทู้นี้แล้ว ... นอนตีพุง ...สบายใจแล้ว
ไม่ต้องดิ้นรนให้มากมายนัก ไม่ต้องดิ้นให้สุดฤทธิสุดเดช ... เกิดพลาดท่า
พ่อที่น่ารัก ยังอยู่
ควรปิดปลายไว้หน่อย ถ้าลูกไม่มีปัญญาสอบเข้า ... ก็ออกมาช่วยพ่อทำงานบ้านแล้วกัน
ทำอย่างนี้ ลูกจะได้ดี
เพื่อนผม เจ้าของโรงงานใหญ่โต มีหลายสาขา กิจการดีถึงกับจ้างญี่ปุ่นเอาไว้เขียนจม.
ตอนสอบเข้าเรียนต่อ พ่อยื่นคำขาดไว้อย่างที่ผมเล่า
ด้วยความจริงใจ จึงกล้ามาเตื่อน
คิดว่าจะเอาเงินเก็บที่มีทั้งหมดในบ้านส่งลูกชายคนโตเรียนแพทย์รังสิต คงจะต้องใช้เงินเก็บทั้งหมดที่มีอยู่จนจบการเรียนแพทย์ของลูกชายคนโต
>>>>>>
ผมอยากแนะนำด้วยความจริงใจ
วิธีคิด อย่าคิดในแง่ลบ ... แล้วเปิดปลาย..สดวกโยธิน ไว้อย่างนั้น
ป่านนี้ลูกชายคงจะอ่านกระทู้นี้แล้ว ... นอนตีพุง ...สบายใจแล้ว
ไม่ต้องดิ้นรนให้มากมายนัก ไม่ต้องดิ้นให้สุดฤทธิสุดเดช ... เกิดพลาดท่า
พ่อที่น่ารัก ยังอยู่
ควรปิดปลายไว้หน่อย ถ้าลูกไม่มีปัญญาสอบเข้า ... ก็ออกมาช่วยพ่อทำงานบ้านแล้วกัน
ทำอย่างนี้ ลูกจะได้ดี
เพื่อนผม เจ้าของโรงงานใหญ่โต มีหลายสาขา กิจการดีถึงกับจ้างญี่ปุ่นเอาไว้เขียนจม.
ตอนสอบเข้าเรียนต่อ พ่อยื่นคำขาดไว้อย่างที่ผมเล่า
ด้วยความจริงใจ จึงกล้ามาเตื่อน
แสดงความคิดเห็น
มีเงินสด 2ล้านห้าแสนบาท กับการส่งลูกเรียนเเพทย์รังสิต คุ้มไหมครับกับการลงทุน
ลูกชายทั้งสองคนก้อการเรียนเป็นที่น่าพอใจพอสมควร เรียนขั้นดี
ปีนี้ลูกชายคนโตกำลังจะสอบเข้ามหาวิทยาลัย ก็ตั้งเป้าหมายว่าจะสอบเข้าแพทย์ให้ได้
ที่บ้านตอนนี้มีเงินสดเงินฝากทั้งบ้านในธนาคารราว 2.5 ล้านบาทครับ
รายได้ทั้งบ้านตอนนี้มีรายได้เหลือเก็บราวเดือนละ 2 หมื่นบาทครับ
แต่ถ้าลูกเรียนมหาวิทยาลัยผมกับภรรยาก็คิดว่าเงินเก็บที่เหลือแต่ละเดือนเอาไว้ส่งลูกเรียน คิดว่าคงไม่ได้เดือดร้อนอะไร
ผมกับภรรยารับราชการคงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงกับรายได้ประจำ
วันนี้ผมกับภรรยากำลังคิดว่าถ้าลูกชายคนโตสอบเข้ามหาวิทยาลัยรัฐบาลเรียนเเพทย์ไม่ได้ คิดว่าจะเอาเงินเก็บที่มีทั้งหมดในบ้านส่งลูกชายคนโตเรียนแพทย์รังสิต คงจะต้องใช้เงินเก็บทั้งหมดที่มีอยู่จนจบการเรียนแพทย์ของลูกชายคนโต
แต่ผมกับภรรยาเองก้อคิดหนักเหมือนกัน ถ้ากรณ๊ฉุกเฉินเกิดขึ้น ชีวิตจะดำเนินการต่อแบบมั่นคงแบบนี้ไหม
ลูกชายคนเล็กก้อยังอีก 4 ปีถึงจะเข้ามหาวิทยาลัย
เลยอยากถามความเห็นเพื่อนเพื่อนครับ คิดว่าคุ้มไหมครับกับการลงทุนแบบนี้
เสี่ยงไปไหมครับ