เมื่อวันเสาร์ที่ 23 สิงหาคมที่ผ่านมา ชาวชุมชนบางชัน จันทบุรี นักวิชาการ และเจ้าหน้าที่รัฐ ร่วมเวทีสาธารณกันคึกคัก ถกประเด็นร้อนหาทางออกวิธีการทำประมงพื้นบ้านริมชายฝั่งทะเล สิทธิในการอยู่อาศัยและใช้ประโยชน์ในพื้นที่ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่ของชุมชนอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ณ ปากน้ำเวฬุ หมู่บ้านโรงไม้ ต.บางชัน อ.ขลุง จ.จันทบุรี
ดร.ภีม ธงสันติ ประธานคณะผู้เข้าอบรบหลักสูตรบริหารการสื่อสารมวลชนระดับสูงรุ่นที่5 (บสส.5) กล่าวในการสัมนาหัวข้อ “บางชันโมเดล : คืนความสุขให้หมู่บ้านไร้แผ่นดิน” จัดโดย สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทยร่วมกับบสส.5และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ว่าการสัมนาที่หมู่บ้านปากนำ้เวฬุ ต.บางชัน อ. ขลุง ครั้งนี้มุ่งแลกเปลี่ยนความเห็นและหาทางออกร่วมกันให้กับคนไทยไร้เอกสารสิทธิครอบครองที่ดินและไร้สิทธิในการประกอบอาชีพกว่า 600 หมู่บ้านตลอดแนวชายฝั่งทะเลกว่า 2,000 กิโลเมตรทั่วประเทศ โดยยกเอาปัญหาของชุมชนบางชันมาเป็นกรณีตัวอย่าง
นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันอิศรา นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ผู้อำนวยการหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับสูง (บสส.) รุ่นที่ 5 และ ดร.ภีม ธงสันติ ประธานรุ่น
นายชัยชาญ พูลผล นายอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี, นายบัญชา สุขแก้ว ประมงจังหวัดจันทบุรี, นายวินัย บุญล้อม หัวหน้าสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 45 (ด่านเก่า-ตราด), ผศ.ไพโรจน์ แสงจันทร์ หัวหน้าศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นภาคตะวันออก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และ นายไพริน โอฬารไพบูลย์ ผู้ใหญ่บ้านโรงไม้ หมู่ 2 โดยมี ดร.สุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ดำเนินรายการ
ประเด็นสรุปจากเสวนา
นาย วินัย บุญล้อม
หัวหน้าสถานีนพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 45 พื้นที่ตำบลบางชัน กล่าวว่าพื้นที่บางชันประมาณ90%อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ตามประกาศเขตป่าสงวนปี2505 ซึ่งขณะนั้นเป็นที่อยู่อาศัยเพียงส่วนน้อย ดังนั้นการจะออกเอกสารสิทธิที่ดินทางกรมกรมที่ดินระบุว่าต้องมีเอสสารก่อนปี2481ภาพถ่ายทางอากาศช่วงปี2480 ตรงนี้มีชุมชนอยู่แต่เป็นพื้นที่เล็กๆ ในการแก้ไขปัญหาเราต้องการให้ชุมชนเข้ามาร่วมโดยอาศัยแนวทางของรัฐธรรมนูญปี2550เป็นตัวตั้ง สำหรับบางพื้นที่เจ้าหน้าที่ต้องอลุ่มอล่วยให้ชาวบ้านอาศัยอยู่ในเขตป่าสงวนได้นายวินัยกล่าวว่าที่ผ่านมาได้ มีการเข้าาร่วมคุยกับชาวบ้านบ้าง เช่นเรื่องการเพาะเลี้ยงปลา เมื่อเร็วๆนี้ คสช.มีคำสั่งมีคำสั่งให้ตรวจสอบการบุกรุกป่า โดยสำหรับผู้มีรายได้น้อยให้ผ่อนผันอยู่ได้ แต่ห้ามบุกรุกใหม่
ด้านผู้ช่วยสาสตราจารย์ ไพโรจน์ แสงจันทร์
หัวหน้าศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นภาคตะวันออก
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย หรือ สกว. กล่าวถึงปัญหาของชุมชนว่า
เป็นปัญหาความเปลี่ยนแปลงและผลกระทบจากฐานทรัพยากร ปลา ทรัพยากรจากป่าชายเลน ปัญหาการใช้มาตรการของรัฐต่อชุมชนกฎหมายทางภาครัฐซึ่งมีเจตนาดี บ้างก็สำเร็จบ้างก็ยังเป็นปัญหา กระบวนการแก้ไขปัญหามีความสำคัญ. หากใช้มุมมองว่ารัฐมีหน้าที่แก้ไขปัญหารัฐจะเข้าไปแก้ จัดอบรมเติมความรู้. แล้วเกิดลิงแก้แหยิ่งแก้ยิ่งยุ่ง จึงได้เสนอให้ชาวบ้านแก้ไขปัญหาร่วมกันโดยเริ่มจากนากุ้งเพื่อเรียนรู้การแก้ไขปัญหาร่วมกัน
ใช้ชุมชนเป็นฐานแก้ไขปัญหาและใช้ความรู้ของเขาที่มีมานาน เป็นการคืนศักดิ์ศรีคืนความสุขให้ชาวบ้าน
ในเรื่องเอกสารสิทธิหากให้ชุมชนมีส่วนร่วม กระตุ้นให้เขาใช้ความรู้ของเขาเพื่อการ ทำงานร่วมกับราชการอย่างกลมกลืน นายไพโรจน์เสนอให้ชุมชนปรับตัวเองและพัฒนาธุรกิจการท่องเที่ยวขึ้นในชุมชน
นาย บัญชา สุขแก้ว ประมงจังหวัดจันทบุรี กล่าวว่าโพงพางทำมาชั่วอายุคนแล้ว แต่จากการเก็บข้อมูลของกรมประมงพบว่าโพงพาง1ปากจับปลาได้ 27กิโลโดยร้อยละ51เป็นสัตว์เศรษฐกิจซึ่งส่วนใหญ่ยังไม่เจริญวัยจึงมีกฎหมายบังคับ ปี2521 ให้เวลารื้อถอนทั่วประเทศ ขณะนี้เหลือ 11จังหวัดยังดำเนินการไม่ได้รวมทั้งจันทบุรี แต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกันรื้อไป100 แหล่งที่ช่องแหลมสิงห์ การรื้อที่บางชันทำไม่ได้เพราะมีการลุกฮือขึ้นต่อต้านจากชาวบ้าน ทางประมงจังหวัดพยายามหาทางแก้ไขมีการเก็บมีข้อมูลแต่ละบ้าน และสอบถามความต้องการเปลีย่นอาชีพ ซึ่งพบว่าชาวบ้านร้อยละ90 ไม่อยากเปลี่ยนอาชีพจึงคิดว่าแก้ปัญหานี้ยากจึงมีการตั้งกรรมการขึ้นมาเพื่อติดตามปัญหานี้ โพงพางบางแห่งขวางทางน้ำต้องไปรื้อถอนเพื่อป้องกันน้ำท่วมจันทบุรี เมื่อเร็วๆนี้รื้อไป5แห่ง การแก้ไขในอนาคตคิดว่าทำได้ จะจัดระเบียบอย่างไร คุยมา2-3อำเภอแล้ว เมื่อได้ข้อมูลจะเสนอจังหวัดและส่วนกลาง ให้อาจารย์มหาลัยบูรพามาวิจัยร่วมชุมชนเพื่อให้ได้เห็นปัญหาด้วยกัน นายบัญชาเสนอการแก้ไขร่วมกันกับชุมชนแก้2ระยะ ระยะแรกแก้เครื่องมือประมงหรือโพงพาง ระยะกลางรอร่างพ.ร.บ.ประมงฉบับใหม่ซึ่งจะให้มีการตั้งองกรค์ประมงชุมชนขึ้น และให้ชุมชนมีตัวแทนในคณะกรรมการประมงจังหวัด
นาย ไพริน โอฬารไพบูลย์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 หมู่บ้านปากน้ำเวฬุ ต.บางชัน อ.ขลุง จ.จันทบุรี กล่าวว่าชาวบ้านมีอาชีพประมงเป็นหลัก ชุมชนนี้เกิดขึ้นจากการที่ชาวจีนอพยพมาอยู่เป็นร้อยปี นำโพงพาง หรือหลักเคย มาเป็นเครื่องมือจับปลา แต่ต่อมาในปี 2521มีกฎหมายให้รื้อถอนทำให้ชาวบ้านมีอาชีพไม่มั่นคงเพราะอาชีพประมงพื้นบ้านเป็นอาชีพหลัก ชาวบ้านรวมตัวกันแก้ไขปัญหา ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ถอนหลักเคยไปแล้ว1-2ครั้ง เคยไปพบกรรมาธิการสภาด้วย สิทธิในการถือครองที่ดินหลังมีกฎหมาย ชาวบ้านกลายเป็นผู้บุกรุก หลังสุดได้ปักเขตออกจากเขตสนวงแต่ชาวบ้านห่วงว่าการขยายครอบครัวจะทำไม่ได้อีกปัญหาคือ ปัญหาการใช้ไม้เพื่อซ่อมแซมบ้าน การบังคับใช้กฎหมายทำให้เราเหมือนถูกขังถูกกดอยู่ ในเรื่องกระบวนการแก้ไขปัญหานั้นชาวบ้านไม่ได้พบเจ้าหน้าที่มากนักเพราะทำมาหากินต้องการให้ชุมชนแก้ไขปัญหากันเอง ปัญหานำ้จืดไม่มีพอ ต้องใช้เรือข่นถ่ายถังน้ำ1,400 ลิตร ลิตรละ100 บาท ค่อนข้างแพง ชาวบ้านใช้นำ้ฝน แต่ใน1ปีไม่มีนำ้ฝน9 เดือน จึงอยากได้ที่กักเก็บน้ำฝน ที่ผ่านมาได้รับความช่วยเหลือบางส่วนแต่ไม่พอเพราะติดกฎหมายเรื่อป่าชายเลน ส่วนเรื่องที่เป็นห่วงที่สุดคือ เรื่องประกอบอาชีพเป็นเรื่องใหญ่สุด
นายชูชาติ จิตนาวา ผู้ใหญ่บ้านหมู่5 แสดงความห่วงใยเรื่องปัญวหาการกัดเซาะชายฝั่ง และไม่ทราบว่ากรมเจ้าท่าหรือกรมทรัพยากรชายฝั่งเป็นผู้รับผิดชอบ โดยที่บางชันมีพื้นดินหายไปแล้ว6,700ไร่ตั้งแต่ปี2535ทำให้ชาวบ้านที่เสียที่ดิน บุกรุกเข้าป่าสงวนแห่งชาติเพื่อสร้างที่อยู่อาศัย นอกจากนี้ผู้ใหญ่บ้านให้เลขบ้านได้แต่จขอไฟฟ้าไม่ได้เพราะบ้านไม่ถาวร มีการจับกุมคนที่แยกออกไปสร้างบ้านใหม่และเมื่อ13สิงหาคมที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่จับคนทำนากุ้งอีกหนึ่งราย
นายปวัตร กาญจนวงศ์ นักวิชาการจากมูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เสนอให้ใช้โครงสร้างอ่อนแก้ไขปัญหากัดเซาะชายฝั่ง เช่นปักไม้ไผ่ลดความแรงของคลื่นแทนโครงสร้างปูนแข็ง เพื่อลดผลกระทบกับพื้นที่ใกล้เคียง
ข้อมูลโดย: นายวิชิต ใจตรง
ภาพโดย: หมูพู โกเชาว์
บางชันโมเดล: คืนความสุขให้หมู่บ้านไร้แผ่นดิน ปากนำ้เวฬุ อ.ขลุง จ.จันทบุรี
เมื่อวันเสาร์ที่ 23 สิงหาคมที่ผ่านมา ชาวชุมชนบางชัน จันทบุรี นักวิชาการ และเจ้าหน้าที่รัฐ ร่วมเวทีสาธารณกันคึกคัก ถกประเด็นร้อนหาทางออกวิธีการทำประมงพื้นบ้านริมชายฝั่งทะเล สิทธิในการอยู่อาศัยและใช้ประโยชน์ในพื้นที่ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่ของชุมชนอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ณ ปากน้ำเวฬุ หมู่บ้านโรงไม้ ต.บางชัน อ.ขลุง จ.จันทบุรี
ดร.ภีม ธงสันติ ประธานคณะผู้เข้าอบรบหลักสูตรบริหารการสื่อสารมวลชนระดับสูงรุ่นที่5 (บสส.5) กล่าวในการสัมนาหัวข้อ “บางชันโมเดล : คืนความสุขให้หมู่บ้านไร้แผ่นดิน” จัดโดย สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทยร่วมกับบสส.5และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ว่าการสัมนาที่หมู่บ้านปากนำ้เวฬุ ต.บางชัน อ. ขลุง ครั้งนี้มุ่งแลกเปลี่ยนความเห็นและหาทางออกร่วมกันให้กับคนไทยไร้เอกสารสิทธิครอบครองที่ดินและไร้สิทธิในการประกอบอาชีพกว่า 600 หมู่บ้านตลอดแนวชายฝั่งทะเลกว่า 2,000 กิโลเมตรทั่วประเทศ โดยยกเอาปัญหาของชุมชนบางชันมาเป็นกรณีตัวอย่าง
นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันอิศรา นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ผู้อำนวยการหลักสูตรผู้บริหารการสื่อสารมวลชนระดับสูง (บสส.) รุ่นที่ 5 และ ดร.ภีม ธงสันติ ประธานรุ่น
นายชัยชาญ พูลผล นายอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี, นายบัญชา สุขแก้ว ประมงจังหวัดจันทบุรี, นายวินัย บุญล้อม หัวหน้าสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 45 (ด่านเก่า-ตราด), ผศ.ไพโรจน์ แสงจันทร์ หัวหน้าศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นภาคตะวันออก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และ นายไพริน โอฬารไพบูลย์ ผู้ใหญ่บ้านโรงไม้ หมู่ 2 โดยมี ดร.สุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ดำเนินรายการ
ประเด็นสรุปจากเสวนา
นาย วินัย บุญล้อม
หัวหน้าสถานีนพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 45 พื้นที่ตำบลบางชัน กล่าวว่าพื้นที่บางชันประมาณ90%อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ตามประกาศเขตป่าสงวนปี2505 ซึ่งขณะนั้นเป็นที่อยู่อาศัยเพียงส่วนน้อย ดังนั้นการจะออกเอกสารสิทธิที่ดินทางกรมกรมที่ดินระบุว่าต้องมีเอสสารก่อนปี2481ภาพถ่ายทางอากาศช่วงปี2480 ตรงนี้มีชุมชนอยู่แต่เป็นพื้นที่เล็กๆ ในการแก้ไขปัญหาเราต้องการให้ชุมชนเข้ามาร่วมโดยอาศัยแนวทางของรัฐธรรมนูญปี2550เป็นตัวตั้ง สำหรับบางพื้นที่เจ้าหน้าที่ต้องอลุ่มอล่วยให้ชาวบ้านอาศัยอยู่ในเขตป่าสงวนได้นายวินัยกล่าวว่าที่ผ่านมาได้ มีการเข้าาร่วมคุยกับชาวบ้านบ้าง เช่นเรื่องการเพาะเลี้ยงปลา เมื่อเร็วๆนี้ คสช.มีคำสั่งมีคำสั่งให้ตรวจสอบการบุกรุกป่า โดยสำหรับผู้มีรายได้น้อยให้ผ่อนผันอยู่ได้ แต่ห้ามบุกรุกใหม่
ด้านผู้ช่วยสาสตราจารย์ ไพโรจน์ แสงจันทร์
หัวหน้าศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นภาคตะวันออก
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย หรือ สกว. กล่าวถึงปัญหาของชุมชนว่า
เป็นปัญหาความเปลี่ยนแปลงและผลกระทบจากฐานทรัพยากร ปลา ทรัพยากรจากป่าชายเลน ปัญหาการใช้มาตรการของรัฐต่อชุมชนกฎหมายทางภาครัฐซึ่งมีเจตนาดี บ้างก็สำเร็จบ้างก็ยังเป็นปัญหา กระบวนการแก้ไขปัญหามีความสำคัญ. หากใช้มุมมองว่ารัฐมีหน้าที่แก้ไขปัญหารัฐจะเข้าไปแก้ จัดอบรมเติมความรู้. แล้วเกิดลิงแก้แหยิ่งแก้ยิ่งยุ่ง จึงได้เสนอให้ชาวบ้านแก้ไขปัญหาร่วมกันโดยเริ่มจากนากุ้งเพื่อเรียนรู้การแก้ไขปัญหาร่วมกัน
ใช้ชุมชนเป็นฐานแก้ไขปัญหาและใช้ความรู้ของเขาที่มีมานาน เป็นการคืนศักดิ์ศรีคืนความสุขให้ชาวบ้าน
ในเรื่องเอกสารสิทธิหากให้ชุมชนมีส่วนร่วม กระตุ้นให้เขาใช้ความรู้ของเขาเพื่อการ ทำงานร่วมกับราชการอย่างกลมกลืน นายไพโรจน์เสนอให้ชุมชนปรับตัวเองและพัฒนาธุรกิจการท่องเที่ยวขึ้นในชุมชน
นาย บัญชา สุขแก้ว ประมงจังหวัดจันทบุรี กล่าวว่าโพงพางทำมาชั่วอายุคนแล้ว แต่จากการเก็บข้อมูลของกรมประมงพบว่าโพงพาง1ปากจับปลาได้ 27กิโลโดยร้อยละ51เป็นสัตว์เศรษฐกิจซึ่งส่วนใหญ่ยังไม่เจริญวัยจึงมีกฎหมายบังคับ ปี2521 ให้เวลารื้อถอนทั่วประเทศ ขณะนี้เหลือ 11จังหวัดยังดำเนินการไม่ได้รวมทั้งจันทบุรี แต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกันรื้อไป100 แหล่งที่ช่องแหลมสิงห์ การรื้อที่บางชันทำไม่ได้เพราะมีการลุกฮือขึ้นต่อต้านจากชาวบ้าน ทางประมงจังหวัดพยายามหาทางแก้ไขมีการเก็บมีข้อมูลแต่ละบ้าน และสอบถามความต้องการเปลีย่นอาชีพ ซึ่งพบว่าชาวบ้านร้อยละ90 ไม่อยากเปลี่ยนอาชีพจึงคิดว่าแก้ปัญหานี้ยากจึงมีการตั้งกรรมการขึ้นมาเพื่อติดตามปัญหานี้ โพงพางบางแห่งขวางทางน้ำต้องไปรื้อถอนเพื่อป้องกันน้ำท่วมจันทบุรี เมื่อเร็วๆนี้รื้อไป5แห่ง การแก้ไขในอนาคตคิดว่าทำได้ จะจัดระเบียบอย่างไร คุยมา2-3อำเภอแล้ว เมื่อได้ข้อมูลจะเสนอจังหวัดและส่วนกลาง ให้อาจารย์มหาลัยบูรพามาวิจัยร่วมชุมชนเพื่อให้ได้เห็นปัญหาด้วยกัน นายบัญชาเสนอการแก้ไขร่วมกันกับชุมชนแก้2ระยะ ระยะแรกแก้เครื่องมือประมงหรือโพงพาง ระยะกลางรอร่างพ.ร.บ.ประมงฉบับใหม่ซึ่งจะให้มีการตั้งองกรค์ประมงชุมชนขึ้น และให้ชุมชนมีตัวแทนในคณะกรรมการประมงจังหวัด
นาย ไพริน โอฬารไพบูลย์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 หมู่บ้านปากน้ำเวฬุ ต.บางชัน อ.ขลุง จ.จันทบุรี กล่าวว่าชาวบ้านมีอาชีพประมงเป็นหลัก ชุมชนนี้เกิดขึ้นจากการที่ชาวจีนอพยพมาอยู่เป็นร้อยปี นำโพงพาง หรือหลักเคย มาเป็นเครื่องมือจับปลา แต่ต่อมาในปี 2521มีกฎหมายให้รื้อถอนทำให้ชาวบ้านมีอาชีพไม่มั่นคงเพราะอาชีพประมงพื้นบ้านเป็นอาชีพหลัก ชาวบ้านรวมตัวกันแก้ไขปัญหา ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ถอนหลักเคยไปแล้ว1-2ครั้ง เคยไปพบกรรมาธิการสภาด้วย สิทธิในการถือครองที่ดินหลังมีกฎหมาย ชาวบ้านกลายเป็นผู้บุกรุก หลังสุดได้ปักเขตออกจากเขตสนวงแต่ชาวบ้านห่วงว่าการขยายครอบครัวจะทำไม่ได้อีกปัญหาคือ ปัญหาการใช้ไม้เพื่อซ่อมแซมบ้าน การบังคับใช้กฎหมายทำให้เราเหมือนถูกขังถูกกดอยู่ ในเรื่องกระบวนการแก้ไขปัญหานั้นชาวบ้านไม่ได้พบเจ้าหน้าที่มากนักเพราะทำมาหากินต้องการให้ชุมชนแก้ไขปัญหากันเอง ปัญหานำ้จืดไม่มีพอ ต้องใช้เรือข่นถ่ายถังน้ำ1,400 ลิตร ลิตรละ100 บาท ค่อนข้างแพง ชาวบ้านใช้นำ้ฝน แต่ใน1ปีไม่มีนำ้ฝน9 เดือน จึงอยากได้ที่กักเก็บน้ำฝน ที่ผ่านมาได้รับความช่วยเหลือบางส่วนแต่ไม่พอเพราะติดกฎหมายเรื่อป่าชายเลน ส่วนเรื่องที่เป็นห่วงที่สุดคือ เรื่องประกอบอาชีพเป็นเรื่องใหญ่สุด
นายชูชาติ จิตนาวา ผู้ใหญ่บ้านหมู่5 แสดงความห่วงใยเรื่องปัญวหาการกัดเซาะชายฝั่ง และไม่ทราบว่ากรมเจ้าท่าหรือกรมทรัพยากรชายฝั่งเป็นผู้รับผิดชอบ โดยที่บางชันมีพื้นดินหายไปแล้ว6,700ไร่ตั้งแต่ปี2535ทำให้ชาวบ้านที่เสียที่ดิน บุกรุกเข้าป่าสงวนแห่งชาติเพื่อสร้างที่อยู่อาศัย นอกจากนี้ผู้ใหญ่บ้านให้เลขบ้านได้แต่จขอไฟฟ้าไม่ได้เพราะบ้านไม่ถาวร มีการจับกุมคนที่แยกออกไปสร้างบ้านใหม่และเมื่อ13สิงหาคมที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่จับคนทำนากุ้งอีกหนึ่งราย
นายปวัตร กาญจนวงศ์ นักวิชาการจากมูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เสนอให้ใช้โครงสร้างอ่อนแก้ไขปัญหากัดเซาะชายฝั่ง เช่นปักไม้ไผ่ลดความแรงของคลื่นแทนโครงสร้างปูนแข็ง เพื่อลดผลกระทบกับพื้นที่ใกล้เคียง
ข้อมูลโดย: นายวิชิต ใจตรง
ภาพโดย: หมูพู โกเชาว์