(ปฏิบัติการคสช.ล้างบางการสื่อสาร) แหล่งข่าวจาก TOT กล่าวว่า นโยบาย"สคร." ต้องการให้ TOT ปรับโครงสร้างให้เข้มแข็งก่อนควบรวมกับ CAT เพื่อลดการลงทุนซ้ำซ้อน
ประเด็นหลัก
แหล่งข่าวจาก "ทีโอที" กล่าวว่า นโยบาย"สคร." ต้องการให้ "ทีโอที" ปรับโครงสร้างให้เข้มแข็งก่อนควบรวมกับ บมจ.กสท โทรคมนาคม เพื่อลดการลงทุนซ้ำซ้อน โดยให้เป็นโฮลดิ้ง ส่วน 6 กลุ่มธุรกิจจะมีบริษัทลูกดูแล ให้การบริหารคล่องตัว
อย่างไรก็ตาม ในการประชุมบอร์ดทีโอทียังไม่ได้มีการหารือเรื่องควบรวมกิจการ แต่ตัวแทนจากกระทรวงการคลังระบุว่า การลงทุนด้านโทรคมนาคมไม่ควรซ้ำซ้อน
______________________________
กู้วิกฤตควบรวมองค์กร โจทย์หินบอร์ด "ทีโอที-กสทฯ"
เดินหน้าทำงานแล้วสำหรับบอร์ดชุดใหม่ของ บมจ.ทีโอที มีรองเสนาธิการทหาร "พลเอกสุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์" เป็นประธาน พร้อมดรีมทีมที่มีประสบการณ์ครบทั้งด้านการเงิน, การบริหารธุรกิจ และอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นอดีตเอ็มดี "ไอบีเอ็ม" "ธันวา เลาหศิริวงศ์", มนตรี ศรไพศาล ประธานบริหารบริษัทหลักทรัพย์กิมเอ็ง, พงษ์สิทธิ์ ชัยฉัตรพรสุข ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์, ศิริพร เหลืองนวล รองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ, อุไร ร่มโพธิหยก ที่ปรึกษากรมบัญชีกลาง, พิพัฒน์ ขันทอง ที่ปรึกษากรมสรรพากร, สุรนันท์ วงศ์วิทยกำจร อดีต เลขาธิการ กทช. เป็นต้น
โดยมีนัดประชุม 2 ครั้งติดกัน (19-20 ส.ค.) ซึ่งประธานบอร์ด "ทีโอที" กล่าวว่าหารือกันหลายเรื่อง ทั้งการปรับแผนฟื้นฟูองค์กรซึ่งตั้งใจที่จะผลักดันให้องค์กรเข้มแข็งก้าวหน้า ถือเป็นงานที่ท้าทาย
ดร.ชิต เหล่าวัฒนา อีก 1 กรรมการชุดปัจจุบัน ซึ่งเคยนั่งเป็นบอร์ดมาแล้ว 2 รอบ กล่าวว่า บอร์ดชุดนี้มีภาระหน้าที่ในการพลิกฟื้นให้องค์กรอยู่รอด จากการมีผู้เชี่ยวชาญทั้งกฎหมาย, การเงิน และเทคโนโลยี มีภารกิจเร่งด่วนคือพิจารณาแผนฟื้นฟูที่ "สคร." (สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ) ตีกลับ
"บอร์ดมุ่งมั่นที่จะ ทำให้ทีโอทีรอด และต้องรอดแบบรุ่งโรจน์ ไม่ใช่รุ่งริ่ง ต้อง Synergy และบูรณาการ ลงทุนที่คุ้มค่าด้วยตนเอง เพราะมีทรัพยากรมาก ชนิดที่ต่อให้ไม่ทำอะไรก็ควรอยู่รอด แต่รายได้กลับลดลงตลอด ผมเคยเป็นบอร์ด รายได้ หลังหักสัมปทานยังกว่า 20,000 ล้าน ตอนนี้กลับขาดทุนหนัก ปัญหาคือที่ผ่านมามีแต่คนมาแสวงหาประโยชน์ เราต้องทำให้บรรดาคนที่ไม่หวังดีจ้องหาประโยชน์จากทีโอทีกระเด็นออกไป"
ดร.ชิตย้ำว่า ถ้า "ทีโอที" อยู่ไม่ได้จะกระทบกับความมั่นคงปลอดภัยของชาติ และกระทบกับเศรษฐกิจของประเทศด้วย
ยงยุทธ วัฒนสินธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ทีโอที เปิดเผยว่า สคร.ให้แนวทางฟื้นฟูกิจการ โดยให้นำธุรกิจที่ก่อให้เกิดรายได้และมีอนาคตมาจัดโครงสร้างใหม่ แบ่งเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม, กลุ่มเสาโทรคมนาคม, กลุ่มงานธุรกิจอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ และเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศ, กลุ่มธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่, กลุ่มธุรกิจโทรศัพท์ประจำที่ และอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ และกลุ่มบริการด้านไอที ได้แก่ ศูนย์ข้อมูลอินเทอร์เน็ต (ไอดีซี) และคลาวด์คอมพิวเตอร์
ต่างจากเดิมที่ "ทีโอที" เสนอไป 4 กลุ่ม และให้สรุปรายละเอียดมาตรการต่าง ๆ เสนอกลับไปให้ "สคร." พิจารณาใน 29 ส.ค.และให้เลิกธุรกิจที่ไม่ทำกำไร ซึ่งฝ่ายบริหารต้องศึกษาและรายงานไปว่ามีธุรกิจใดบ้าง แต่ไม่ใช่ 3G แน่นอนและต้องมีมาตรการลดค่าใช้จ่ายอย่างละเอียดในทุกกลุ่มธุรกิจให้ใกล้เคียงอุตสาหกรรม
รวมถึงแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการหารายได้, ข้อพิพาททางกฎหมายทั้งหมด, กำหนดกรอบการประเมินผู้บริหารรัฐวิสาหกิจเข้มข้นขึ้น มีบทลงโทษหากไม่ให้ความร่วมมือ และสื่อสารให้พนักงานเข้าใจสถานะเพื่อร่วมมือแก้ปัญหา มีรายงานการตรวจสอบทรัพย์สิน-หนี้สินของบริษัท
แหล่งข่าวจาก "ทีโอที" กล่าวว่า นโยบาย"สคร." ต้องการให้ "ทีโอที" ปรับโครงสร้างให้เข้มแข็งก่อนควบรวมกับ บมจ.กสท โทรคมนาคม เพื่อลดการลงทุนซ้ำซ้อน โดยให้เป็นโฮลดิ้ง ส่วน 6 กลุ่มธุรกิจจะมีบริษัทลูกดูแล ให้การบริหารคล่องตัว
อย่างไรก็ตาม ในการประชุมบอร์ดทีโอทียังไม่ได้มีการหารือเรื่องควบรวมกิจการ แต่ตัวแทนจากกระทรวงการคลังระบุว่า การลงทุนด้านโทรคมนาคมไม่ควรซ้ำซ้อน
ต้องยอมรับว่า ไม่ใช่ครั้งแรกกรณีควบรวม หากเป็นนโยบายที่หยิบยกขึ้นมาหลายครั้ง และสิ่งที่ยากที่สุด หนีไม่พ้นเรื่อง "คน" เพราะการรวมธุรกิจลดการลงทุนซ้ำซ้อนไม่ยาก แต่ "ทีโอที" มีพนักงานร่วม 2 หมื่นคน รวมกับอีก 7 พันกว่าของ "กสทฯ" จึงต้องมีการลดพนักงาน (จำนวนมาก) ซึ่งมีแรงต้านแน่นอน จึงเป็นบททดสอบฝีมือบอร์ดชุดใหม่ "ทีโอที-กสทฯ" ของรัฐบาล "คสช."
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1409113503
(ปฏิบัติการคสช.ล้างบางการสื่อสาร) แหล่งข่าวจาก TOT กล่าวว่า นโยบาย"สคร." ต้องการให้ TOT ปรับเข้มแข็งก่อนควบ CAT
ประเด็นหลัก
แหล่งข่าวจาก "ทีโอที" กล่าวว่า นโยบาย"สคร." ต้องการให้ "ทีโอที" ปรับโครงสร้างให้เข้มแข็งก่อนควบรวมกับ บมจ.กสท โทรคมนาคม เพื่อลดการลงทุนซ้ำซ้อน โดยให้เป็นโฮลดิ้ง ส่วน 6 กลุ่มธุรกิจจะมีบริษัทลูกดูแล ให้การบริหารคล่องตัว
อย่างไรก็ตาม ในการประชุมบอร์ดทีโอทียังไม่ได้มีการหารือเรื่องควบรวมกิจการ แต่ตัวแทนจากกระทรวงการคลังระบุว่า การลงทุนด้านโทรคมนาคมไม่ควรซ้ำซ้อน
______________________________
กู้วิกฤตควบรวมองค์กร โจทย์หินบอร์ด "ทีโอที-กสทฯ"
เดินหน้าทำงานแล้วสำหรับบอร์ดชุดใหม่ของ บมจ.ทีโอที มีรองเสนาธิการทหาร "พลเอกสุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์" เป็นประธาน พร้อมดรีมทีมที่มีประสบการณ์ครบทั้งด้านการเงิน, การบริหารธุรกิจ และอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นอดีตเอ็มดี "ไอบีเอ็ม" "ธันวา เลาหศิริวงศ์", มนตรี ศรไพศาล ประธานบริหารบริษัทหลักทรัพย์กิมเอ็ง, พงษ์สิทธิ์ ชัยฉัตรพรสุข ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์, ศิริพร เหลืองนวล รองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ, อุไร ร่มโพธิหยก ที่ปรึกษากรมบัญชีกลาง, พิพัฒน์ ขันทอง ที่ปรึกษากรมสรรพากร, สุรนันท์ วงศ์วิทยกำจร อดีต เลขาธิการ กทช. เป็นต้น
โดยมีนัดประชุม 2 ครั้งติดกัน (19-20 ส.ค.) ซึ่งประธานบอร์ด "ทีโอที" กล่าวว่าหารือกันหลายเรื่อง ทั้งการปรับแผนฟื้นฟูองค์กรซึ่งตั้งใจที่จะผลักดันให้องค์กรเข้มแข็งก้าวหน้า ถือเป็นงานที่ท้าทาย
ดร.ชิต เหล่าวัฒนา อีก 1 กรรมการชุดปัจจุบัน ซึ่งเคยนั่งเป็นบอร์ดมาแล้ว 2 รอบ กล่าวว่า บอร์ดชุดนี้มีภาระหน้าที่ในการพลิกฟื้นให้องค์กรอยู่รอด จากการมีผู้เชี่ยวชาญทั้งกฎหมาย, การเงิน และเทคโนโลยี มีภารกิจเร่งด่วนคือพิจารณาแผนฟื้นฟูที่ "สคร." (สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ) ตีกลับ
"บอร์ดมุ่งมั่นที่จะ ทำให้ทีโอทีรอด และต้องรอดแบบรุ่งโรจน์ ไม่ใช่รุ่งริ่ง ต้อง Synergy และบูรณาการ ลงทุนที่คุ้มค่าด้วยตนเอง เพราะมีทรัพยากรมาก ชนิดที่ต่อให้ไม่ทำอะไรก็ควรอยู่รอด แต่รายได้กลับลดลงตลอด ผมเคยเป็นบอร์ด รายได้ หลังหักสัมปทานยังกว่า 20,000 ล้าน ตอนนี้กลับขาดทุนหนัก ปัญหาคือที่ผ่านมามีแต่คนมาแสวงหาประโยชน์ เราต้องทำให้บรรดาคนที่ไม่หวังดีจ้องหาประโยชน์จากทีโอทีกระเด็นออกไป"
ดร.ชิตย้ำว่า ถ้า "ทีโอที" อยู่ไม่ได้จะกระทบกับความมั่นคงปลอดภัยของชาติ และกระทบกับเศรษฐกิจของประเทศด้วย
ยงยุทธ วัฒนสินธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ทีโอที เปิดเผยว่า สคร.ให้แนวทางฟื้นฟูกิจการ โดยให้นำธุรกิจที่ก่อให้เกิดรายได้และมีอนาคตมาจัดโครงสร้างใหม่ แบ่งเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม, กลุ่มเสาโทรคมนาคม, กลุ่มงานธุรกิจอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ และเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศ, กลุ่มธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่, กลุ่มธุรกิจโทรศัพท์ประจำที่ และอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ และกลุ่มบริการด้านไอที ได้แก่ ศูนย์ข้อมูลอินเทอร์เน็ต (ไอดีซี) และคลาวด์คอมพิวเตอร์
ต่างจากเดิมที่ "ทีโอที" เสนอไป 4 กลุ่ม และให้สรุปรายละเอียดมาตรการต่าง ๆ เสนอกลับไปให้ "สคร." พิจารณาใน 29 ส.ค.และให้เลิกธุรกิจที่ไม่ทำกำไร ซึ่งฝ่ายบริหารต้องศึกษาและรายงานไปว่ามีธุรกิจใดบ้าง แต่ไม่ใช่ 3G แน่นอนและต้องมีมาตรการลดค่าใช้จ่ายอย่างละเอียดในทุกกลุ่มธุรกิจให้ใกล้เคียงอุตสาหกรรม
รวมถึงแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการหารายได้, ข้อพิพาททางกฎหมายทั้งหมด, กำหนดกรอบการประเมินผู้บริหารรัฐวิสาหกิจเข้มข้นขึ้น มีบทลงโทษหากไม่ให้ความร่วมมือ และสื่อสารให้พนักงานเข้าใจสถานะเพื่อร่วมมือแก้ปัญหา มีรายงานการตรวจสอบทรัพย์สิน-หนี้สินของบริษัท
แหล่งข่าวจาก "ทีโอที" กล่าวว่า นโยบาย"สคร." ต้องการให้ "ทีโอที" ปรับโครงสร้างให้เข้มแข็งก่อนควบรวมกับ บมจ.กสท โทรคมนาคม เพื่อลดการลงทุนซ้ำซ้อน โดยให้เป็นโฮลดิ้ง ส่วน 6 กลุ่มธุรกิจจะมีบริษัทลูกดูแล ให้การบริหารคล่องตัว
อย่างไรก็ตาม ในการประชุมบอร์ดทีโอทียังไม่ได้มีการหารือเรื่องควบรวมกิจการ แต่ตัวแทนจากกระทรวงการคลังระบุว่า การลงทุนด้านโทรคมนาคมไม่ควรซ้ำซ้อน
ต้องยอมรับว่า ไม่ใช่ครั้งแรกกรณีควบรวม หากเป็นนโยบายที่หยิบยกขึ้นมาหลายครั้ง และสิ่งที่ยากที่สุด หนีไม่พ้นเรื่อง "คน" เพราะการรวมธุรกิจลดการลงทุนซ้ำซ้อนไม่ยาก แต่ "ทีโอที" มีพนักงานร่วม 2 หมื่นคน รวมกับอีก 7 พันกว่าของ "กสทฯ" จึงต้องมีการลดพนักงาน (จำนวนมาก) ซึ่งมีแรงต้านแน่นอน จึงเป็นบททดสอบฝีมือบอร์ดชุดใหม่ "ทีโอที-กสทฯ" ของรัฐบาล "คสช."
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1409113503