มนุษย์ทุกคน มีอารมณ์ ความโลภ และความกลัว ด้วยกันทั้งนั้น ไม่เว้นแม้แต่นักลงทุนที่สนใจเข้ามาหาผลประโยชน์โดยการลงทุน หรือเก็งกำไรจากตลาดหุ้นก็เช่นกัน ซึ่งทุกคนที่เข้ามาก็คาดหวังไว้สวยหรูว่าจะเป็นผู้ชนะและกอบโกยกำไรออกไปอย่างมีความสุข แต่ความจริงมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ทำได้ แต่นักลงทุนส่วนใหญ่มักจะขาดทุน โดยเฉพาะนักลงทุนที่ขาดความรู้ ความเข้าใจในการลงทุน จึงกลายเป็นเหยื่อที่นำเงินเก็บหรือเงินออมมาทิ้งในตลาดหุ้นไป เหมือนสูญเงินในบ่อนการพนันที่ถูกต้องตามกฎหมาย ด้วยสาเหตุจากความโลภ และความกลัว และขาดความรู้ในการลงทุน
นักลงทุน มี 2 กลุ่ม ฝ่ายหนึ่งขาย ก็จะมีอีกฝ่ายที่ซื้อหุ้นจำนวนนั้นมา ราคาที่เปลี่ยนแปลงก็ขึ้นกับ Demand ( ความต้องการซื้อหุ้น) และ Supply (ความต้องการขายของผู้ที่ถือหุ้นอยู่) ซึ่งเป็นไปตามกลไกของตลาดทั่วๆไป แต่ในตลาดหุ้น มันมีความแตกต่างในการสร้างราคาหุ้นได้ หรือทำให้ราคาเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปจากสิ่งที่ควรจะเป็น ซึ่งผู้กระทำ จะเป็นนักลงทุนรายใหญ่ หรืออาจเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ หรือเป็นกลุ่มทุนที่มีเงินทุนมากเพียงพอจะกำหนดทิศทางของราคาหุ้นได้ ซึ่งจำเป็นต้องใช้เวลา และจำนวนผู้เล่นทำงานเป็นทีมเพื่อหวังผลตอบแทนสูงๆในแต่ละรอบ
ก่อนอื่น เราควรต้องทราบกฎพื้นฐานของ Demand & Supply เสียก่อน คร่าวๆคือ
1. The Law Of Supply : เมื่อราคาหุ้นยิ่งสูงขึ้น จะยิ่งจูงใจให้ผู้ถือหุ้นต้องการขายหุ้นที่ถืออยู่ออกมาในตลาดมากขึ้น
2. The Law Of Demand : เมื่อราคาหุ้นเพิ่มสูงขึ้น ความต้องการซื้อหุ้นจะลดลง
3. เมื่อ Demand > Supply จะทำให้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น แต่หาก Supply > Demand จะทำให้ราคาหุ้นลดลง
จากกฎเบื้องต้นของ Demand & Supply ซึ่งเราพบเห็นได้ทั่วไปในสินค้าทุกชนิด แต่สำหรับในตลาดหุ้นหรือตลาดของการเก็งกำไรนั้น มีการสร้างราคาหรือหากพูดหยาบๆก็คือปั่นราคาหุ้น ซึ่งมีทั้งการทำให้ราคาลดลงมากกว่าปกติ หรือราคาสูงขึ้นผิดปกติ ซึ่งความผันผวนของราคาที่ปรับขึ้นและปรับลดลงจะสร้างส่วนต่างหรือผลตอบแทนให้เกิดขึ้นมา ซึ่งสร้างความร่ำรวยให้กับผู้ชนะ และสร้างความเสียหายให้แก่ผู้แพ้เสมอ
เจ้ามือ ( Smart Money = SM ) แน่นอนว่าต้องการซื้อหุ้นที่ราคาต่ำๆ คงไม่มีใครอยากซื้อหุ้นจำนวนมากๆที่ราคาสูงๆเป็นแน่ และแน่นอน อีกว่าเจ้ามือคงต้องมีวิธีที่จะทำให้ได้หุ้นราคาถูกสะสมไว้ เพื่อไปขายทำกำไรในราคาสูงๆเมื่อโอกาสอำนวย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กรณีคือ
1. หากเป็นหุ้นที่ราคาไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหว หรือมีปริมาณการซื้อขายน้อย นักลงทุนไม่ค่อยให้ความสนใจ หุ้นลักษณะนี้เจ้ามือจะเก็บสะสมหุ้นในช่วงราคาต่ำๆให้ได้จำนวนหนึ่งที่มากพอจะควบคุมราคาได้ ซึ่งอาจใช้เวลาสะสมหุ้นนานหลายเดือน หรือเป็นปีก็ได้
2. การเกิดข่าวลือหรือข่าวร้ายต่อบริษัท ทำให้ราคาหุ้นลดลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง ซึ่งข่าวดังกล่าวอาจเป็นเพียงข่าวลือ แต่เมื่อนักลงทุนเกิดความตกใจจะเกิดแรงขายหุ้นจำนวนมากออกมาของรายย่อย หรืออาจเป็นรายใหญ่ทุบหุ้นลงมาเพื่อเก็บคืนที่ราคาต่ำคืน ( ทำ Short against port ) จะถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับเจ้ามือในการเก็บสะสมหุ้นได้จำนวนมากครบตามต้องการอย่างรวดเร็ว (ในช่วง Selling Climax ) และยังได้ราคาที่ต่ำกว่าปกติอีกด้วย
หลังจากเจ้ามือ เก็บสะสมหุ้นมาจนเพียงพอแล้ว ก็ถึงขั้นตอนจะขายหุ้นที่เก็บสะสมไว้ ซึ่งแน่นอนว่าเจ้ามือคงไม่ต้องการขายในราคาต่ำแน่ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องอาศัยข่าว หรือการสร้าง Story ให้กับหุ้นตัวนั้น เพื่อให้นักลงทุนเกิดความสนใจในการซื้อหุ้นโดยหวังว่าราคาหุ้นจะวิ่งสูงขึ้นไปอีกและได้กำไร เจ้ามืออาจต้องอาศัยการทำงานเป็นทีม ซึ่งมีทั้งบัญชีเทรดหลายๆบัญชี เปิดหลายๆโบรกเกอร์เพื่อส่งคำสั่งซื้อขายให้ซับซ้อนเพื่อไม่ให้ทางการตรวจสอบได้ง่าย มีฝ่ายเชียร์หุ้น ตามหน้าหนังสือพิมพ์ต่างๆ ซึ่งราคาหุ้นสามารถถูกสร้างให้ดูดีทางเทคนิคได้เพื่อให้นักเก็งกำไรทางเทคนิคเข้าผสมโรงด้วย และมีการเชียร์ให้เก็งกำไรระยะสั้นทางเทคนิค สิ่งต่างๆเหล่านี้ต่างมีส่วนทำให้เกิด Demand หรือความต้องการซื้อหุ้นเพิ่มขึ้นจากนักลงทุนหรือนักเก็งกำไรทั้งสิ้น ซึ่งย่อมเกิดผลดีต่อราคาหุ้นเมื่อมี Demand ของหุ้นตัวนั้น เพิ่มขึ้นมาในตลาด
ขั้นตอนการสร้างราคาให้ขยับขึ้นไป เรียกว่าการ Mark Up ราคาให้ราคาค่อยๆสูงขึ้นไป ทำ Higher high และ Higher Low ไปเรื่อยๆ โดยเจ้ามือยังควบคุมราคาให้เป็นไปตามที่ต้องการ ( ซึ่งเจ้ามือจะรู้เห็นกับผู้ถือหุ้นใหญ่หรือไม่ ก็สุดจะเดาได้ ...คิดกันเอาเอง ว่าหากไม่เตี๊ยมกันก่อน อาจเจอ แรงขายสวนลงไปราคา floor ได้ง่ายๆ ได้เหมือนกัน ) ในช่วงนี้จะมีการโยนหุ้นไปมา ทั้งซื้อทั้งขาย เพื่อดันให้ราคาหุ้นค่อยๆสูงขึ้นไปถึงบริเวณราคาเฉลี่ยที่ต้องการขาย ซึ่งอาจใช้ระยะเวลาแตกต่างกันขึ้นกับปริมาณหุ้นที่เก็บสะสมไว้ตอนราคาต่ำ ช่วงนี้แมงเม่าจะเห็นราคาขยับขึ้นและมี Volume เพิ่มเข้ามาก็พร้อมใจกันเข้าตะลุมบอน เพราะกลัวตกรถ บางคนอาจโชคดีที่เป็นช่วงทำ Campaign ของเจ้ามือในการเรียกลูกค้า จึงยังไม่ทุบราคารุนแรง แต่กลับดันราคาให้ยิ่งสูงขึ้นไปอีกเพื่อสร้างความโลภให้แมงเม่าที่ยังลังเล ทนไม่ไหว รีบซื้อตั๋วตามขึ้นไปด้วย เมื่อราคาหุ้นเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ และมีแมงเม่าเข้าผสมโรงมากขึ้น และมักจะมี story ข่าวดีออกมาจากบริษัทเรื่องความก้าวหน้าทางธุรกิจ เพื่อสร้างความคาดหวังให้ยังคงถือหุ้นต่อไปเรื่อยๆ เพื่อหวังกำไรก้อนโต จนถึงช่วงการทะยอยขายหุ้นออก ( Distribution phase ) ของเจ้ามือซึ่งจะใช้เวลามากหรือน้อยก็ขึ้นกับว่ามีการสะสมหุ้นไว้มากแค่ไหน หากมีจำนวนหุ้นไม่มากนัก อาจยึกยักราคาเหวี่ยงขึ้นลงบริเวณ Overbought สักพักเพื่อทะยอยปล่อยหุ้นในมือออก หรือเกิดรูปแบบ Upthrust (แท่งเทียนยาวๆ เปิดราคาสูง แล้ววิ่งขึ้นไปสูงๆ แล้วลงมาปิดต่ำพร้อม ปริมาณซื้อขายสูงมากๆ ) เป็นการปิดฉากม้วนเสื่อกลับบ้าน หรือหากหุ้นในมือของเจ้ามือยังไม่หมดหรือยังเหลืออีกมาก ก็อาจกลับมาลากราคาอีกรอบ เพื่อทะยอยออกของจนหมด แล้วก็เก็บฉากปิดไฟ ให้คนดูตั้งหน้าตั้งตาคอยจนเบื่อ จนขายหุ้นทิ้งกันไป หรือนั่งเฝ้าดอยรอเจ้ามือหวนกลับมาเล่นใหม่ในครั้งหน้า
สรุปรอบวงจรราคา Market stage 4 stages
อ่านแล้ว ก็ลองคิดกันดูเล่นๆว่า เรากำลังอยู่ช่วงไหนของ Market stage ของหุ้นตัวนั้นที่เราถืออยู่ และหากเราเก็งกำไรผิด เราจะทำอย่างไรต่อไป ขอให้โชคดีทุกคนครับ.....
เจ้ามือ VS แมงเม่า ( เป็นความเห็น และความรู้สึกส่วนตัวล้วนๆ ห้ามนำไปอ้างอิงในทุกกรณี )
นักลงทุน มี 2 กลุ่ม ฝ่ายหนึ่งขาย ก็จะมีอีกฝ่ายที่ซื้อหุ้นจำนวนนั้นมา ราคาที่เปลี่ยนแปลงก็ขึ้นกับ Demand ( ความต้องการซื้อหุ้น) และ Supply (ความต้องการขายของผู้ที่ถือหุ้นอยู่) ซึ่งเป็นไปตามกลไกของตลาดทั่วๆไป แต่ในตลาดหุ้น มันมีความแตกต่างในการสร้างราคาหุ้นได้ หรือทำให้ราคาเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปจากสิ่งที่ควรจะเป็น ซึ่งผู้กระทำ จะเป็นนักลงทุนรายใหญ่ หรืออาจเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ หรือเป็นกลุ่มทุนที่มีเงินทุนมากเพียงพอจะกำหนดทิศทางของราคาหุ้นได้ ซึ่งจำเป็นต้องใช้เวลา และจำนวนผู้เล่นทำงานเป็นทีมเพื่อหวังผลตอบแทนสูงๆในแต่ละรอบ
ก่อนอื่น เราควรต้องทราบกฎพื้นฐานของ Demand & Supply เสียก่อน คร่าวๆคือ
1. The Law Of Supply : เมื่อราคาหุ้นยิ่งสูงขึ้น จะยิ่งจูงใจให้ผู้ถือหุ้นต้องการขายหุ้นที่ถืออยู่ออกมาในตลาดมากขึ้น
2. The Law Of Demand : เมื่อราคาหุ้นเพิ่มสูงขึ้น ความต้องการซื้อหุ้นจะลดลง
3. เมื่อ Demand > Supply จะทำให้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น แต่หาก Supply > Demand จะทำให้ราคาหุ้นลดลง
จากกฎเบื้องต้นของ Demand & Supply ซึ่งเราพบเห็นได้ทั่วไปในสินค้าทุกชนิด แต่สำหรับในตลาดหุ้นหรือตลาดของการเก็งกำไรนั้น มีการสร้างราคาหรือหากพูดหยาบๆก็คือปั่นราคาหุ้น ซึ่งมีทั้งการทำให้ราคาลดลงมากกว่าปกติ หรือราคาสูงขึ้นผิดปกติ ซึ่งความผันผวนของราคาที่ปรับขึ้นและปรับลดลงจะสร้างส่วนต่างหรือผลตอบแทนให้เกิดขึ้นมา ซึ่งสร้างความร่ำรวยให้กับผู้ชนะ และสร้างความเสียหายให้แก่ผู้แพ้เสมอ
เจ้ามือ ( Smart Money = SM ) แน่นอนว่าต้องการซื้อหุ้นที่ราคาต่ำๆ คงไม่มีใครอยากซื้อหุ้นจำนวนมากๆที่ราคาสูงๆเป็นแน่ และแน่นอน อีกว่าเจ้ามือคงต้องมีวิธีที่จะทำให้ได้หุ้นราคาถูกสะสมไว้ เพื่อไปขายทำกำไรในราคาสูงๆเมื่อโอกาสอำนวย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กรณีคือ
1. หากเป็นหุ้นที่ราคาไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหว หรือมีปริมาณการซื้อขายน้อย นักลงทุนไม่ค่อยให้ความสนใจ หุ้นลักษณะนี้เจ้ามือจะเก็บสะสมหุ้นในช่วงราคาต่ำๆให้ได้จำนวนหนึ่งที่มากพอจะควบคุมราคาได้ ซึ่งอาจใช้เวลาสะสมหุ้นนานหลายเดือน หรือเป็นปีก็ได้
2. การเกิดข่าวลือหรือข่าวร้ายต่อบริษัท ทำให้ราคาหุ้นลดลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง ซึ่งข่าวดังกล่าวอาจเป็นเพียงข่าวลือ แต่เมื่อนักลงทุนเกิดความตกใจจะเกิดแรงขายหุ้นจำนวนมากออกมาของรายย่อย หรืออาจเป็นรายใหญ่ทุบหุ้นลงมาเพื่อเก็บคืนที่ราคาต่ำคืน ( ทำ Short against port ) จะถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับเจ้ามือในการเก็บสะสมหุ้นได้จำนวนมากครบตามต้องการอย่างรวดเร็ว (ในช่วง Selling Climax ) และยังได้ราคาที่ต่ำกว่าปกติอีกด้วย
หลังจากเจ้ามือ เก็บสะสมหุ้นมาจนเพียงพอแล้ว ก็ถึงขั้นตอนจะขายหุ้นที่เก็บสะสมไว้ ซึ่งแน่นอนว่าเจ้ามือคงไม่ต้องการขายในราคาต่ำแน่ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องอาศัยข่าว หรือการสร้าง Story ให้กับหุ้นตัวนั้น เพื่อให้นักลงทุนเกิดความสนใจในการซื้อหุ้นโดยหวังว่าราคาหุ้นจะวิ่งสูงขึ้นไปอีกและได้กำไร เจ้ามืออาจต้องอาศัยการทำงานเป็นทีม ซึ่งมีทั้งบัญชีเทรดหลายๆบัญชี เปิดหลายๆโบรกเกอร์เพื่อส่งคำสั่งซื้อขายให้ซับซ้อนเพื่อไม่ให้ทางการตรวจสอบได้ง่าย มีฝ่ายเชียร์หุ้น ตามหน้าหนังสือพิมพ์ต่างๆ ซึ่งราคาหุ้นสามารถถูกสร้างให้ดูดีทางเทคนิคได้เพื่อให้นักเก็งกำไรทางเทคนิคเข้าผสมโรงด้วย และมีการเชียร์ให้เก็งกำไรระยะสั้นทางเทคนิค สิ่งต่างๆเหล่านี้ต่างมีส่วนทำให้เกิด Demand หรือความต้องการซื้อหุ้นเพิ่มขึ้นจากนักลงทุนหรือนักเก็งกำไรทั้งสิ้น ซึ่งย่อมเกิดผลดีต่อราคาหุ้นเมื่อมี Demand ของหุ้นตัวนั้น เพิ่มขึ้นมาในตลาด
ขั้นตอนการสร้างราคาให้ขยับขึ้นไป เรียกว่าการ Mark Up ราคาให้ราคาค่อยๆสูงขึ้นไป ทำ Higher high และ Higher Low ไปเรื่อยๆ โดยเจ้ามือยังควบคุมราคาให้เป็นไปตามที่ต้องการ ( ซึ่งเจ้ามือจะรู้เห็นกับผู้ถือหุ้นใหญ่หรือไม่ ก็สุดจะเดาได้ ...คิดกันเอาเอง ว่าหากไม่เตี๊ยมกันก่อน อาจเจอ แรงขายสวนลงไปราคา floor ได้ง่ายๆ ได้เหมือนกัน ) ในช่วงนี้จะมีการโยนหุ้นไปมา ทั้งซื้อทั้งขาย เพื่อดันให้ราคาหุ้นค่อยๆสูงขึ้นไปถึงบริเวณราคาเฉลี่ยที่ต้องการขาย ซึ่งอาจใช้ระยะเวลาแตกต่างกันขึ้นกับปริมาณหุ้นที่เก็บสะสมไว้ตอนราคาต่ำ ช่วงนี้แมงเม่าจะเห็นราคาขยับขึ้นและมี Volume เพิ่มเข้ามาก็พร้อมใจกันเข้าตะลุมบอน เพราะกลัวตกรถ บางคนอาจโชคดีที่เป็นช่วงทำ Campaign ของเจ้ามือในการเรียกลูกค้า จึงยังไม่ทุบราคารุนแรง แต่กลับดันราคาให้ยิ่งสูงขึ้นไปอีกเพื่อสร้างความโลภให้แมงเม่าที่ยังลังเล ทนไม่ไหว รีบซื้อตั๋วตามขึ้นไปด้วย เมื่อราคาหุ้นเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ และมีแมงเม่าเข้าผสมโรงมากขึ้น และมักจะมี story ข่าวดีออกมาจากบริษัทเรื่องความก้าวหน้าทางธุรกิจ เพื่อสร้างความคาดหวังให้ยังคงถือหุ้นต่อไปเรื่อยๆ เพื่อหวังกำไรก้อนโต จนถึงช่วงการทะยอยขายหุ้นออก ( Distribution phase ) ของเจ้ามือซึ่งจะใช้เวลามากหรือน้อยก็ขึ้นกับว่ามีการสะสมหุ้นไว้มากแค่ไหน หากมีจำนวนหุ้นไม่มากนัก อาจยึกยักราคาเหวี่ยงขึ้นลงบริเวณ Overbought สักพักเพื่อทะยอยปล่อยหุ้นในมือออก หรือเกิดรูปแบบ Upthrust (แท่งเทียนยาวๆ เปิดราคาสูง แล้ววิ่งขึ้นไปสูงๆ แล้วลงมาปิดต่ำพร้อม ปริมาณซื้อขายสูงมากๆ ) เป็นการปิดฉากม้วนเสื่อกลับบ้าน หรือหากหุ้นในมือของเจ้ามือยังไม่หมดหรือยังเหลืออีกมาก ก็อาจกลับมาลากราคาอีกรอบ เพื่อทะยอยออกของจนหมด แล้วก็เก็บฉากปิดไฟ ให้คนดูตั้งหน้าตั้งตาคอยจนเบื่อ จนขายหุ้นทิ้งกันไป หรือนั่งเฝ้าดอยรอเจ้ามือหวนกลับมาเล่นใหม่ในครั้งหน้า
สรุปรอบวงจรราคา Market stage 4 stages
อ่านแล้ว ก็ลองคิดกันดูเล่นๆว่า เรากำลังอยู่ช่วงไหนของ Market stage ของหุ้นตัวนั้นที่เราถืออยู่ และหากเราเก็งกำไรผิด เราจะทำอย่างไรต่อไป ขอให้โชคดีทุกคนครับ.....