นายนิพนธ์ ตันติพิริยะพงศ์ อุปนายกสัตวแพทย์สมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวในการเสวนาหัวข้อการเฝ้าระวังโรคอีโบลาในสัตว์ว่า
ความเสี่ยงที่จะมีโรคอีโบลาในสัตว์ในประเทศไทยนั้น กรมปศุสัตว์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ได้สุ่มตัวอย่างและตรวจหาเชื้อไวรัสอีโบลาเป็นประจำทุกปี โดยสุ่มตรวจในสัตว์ปีก ปีละประมาณ 2,500 ตัวอย่าง และล่าสุดได้สุ่มตรวจในปี 2556
ที่ผ่านมาขณะนี้ยังไม่พบรายงานการเจอเชื้อไวรัสอีโบลาในสัตว์แต่อย่างใด และความเสี่ยงที่จะมีโรคอีโบลาในสัตว์ในประเทศไทยมีต่ำมาก
แต่อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังโรค ซึ่งหลังจากเกิดโรคระบาดไข้หวัดนก ได้เริ่มมีการเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่ที่จะเกิดขึ้นในสัตว์ชนิดต่างๆ
เช่น ลิง ค้างคาว สุกร ในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศอยู่แล้ว
ทั้งนี้ โรคอีโบลาเป็นเชื้อไวรัส ซึ่งยังไม่ทราบการแพร่ระบาดที่แน่ชัด แต่เชื่อกันว่าเริ่มจากค้างคาวเป็นต้นตอพาหะแล้วแผ่ไปสู่สัตว์ป่า เช่น ลิงชิมแปนซี ลิงกอริลล่า
จากนั้นคนได้บริโภคเนื้อสัตว์ป่า เกิดการติดต่อจากสัตว์สู่คน และเป็นเหตุให้โรคติดต่อในคน ส่วนความเสี่ยงในการนำเชื้อโรคอีโบลาเข้ามาในไทยนั้น
พบว่าค้างคาวไม่มีพฤติกรรมอพยพโยกย้ายถิ่นฐาน และบินไม่ไกลไม่สามารถบินมาทวีปเอเชียได้ ส่วนความเสี่ยงการขนส่งสัตว์ป่าระหว่างประเทศ
เช่น ลิง ก็เป็นไปได้ยาก เนื่องจากการขนส่งใช้เวลานาน แต่รัฐควรมีมาตรการเฝ้าระวังที่ด่านนำเข้าสัตว์ด้วย
สำหรับมาตรการในการเฝ้าระวังอีโบลาในสัตว์มี 7 มาตรการเบื้องต้น 1.เพิ่มความเข้มงวดและเฝ้าระวังที่ด่านนำเข้าสินค้า 2.ชะลอการนำเข้าสินค้าสัตว์จากประเทศที่มีการรายงานการระบาดของโรคอีโบลา 3.จัดทำมาตรการซักซ้อมแผนการเฝ้าระวังโรคอีโบลา 4.ให้ทีมสุนัขดมกลิ่นเข้มงวดและกวดขันการตรวจสอบผู้โดยสารและสัมภาระในเที่ยวบินที่มาจากประเทศที่มีรายงานการระบาดและประเทศกลุ่มเสี่ยง 5.ร่วมมือกันเป็นเครือข่ายแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร 6.ร่วมกันจัดทำการสื่อสารความรู้ฝึกอบรมให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น เจ้าหน้าที่การแพทย์ และ 7.จัดทีมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนทั่วไป เช่น ไม่บริโภคเนื้อสัตว์ป่า ไม่ลักลอบนำเข้าสัตว์เข้ามาภายในประเทศ.
http://www.thairath.co.th/content/446008
กินสัตว์ป่าข้ามประเทศเสี่ยง “อีโบลา”
ความเสี่ยงที่จะมีโรคอีโบลาในสัตว์ในประเทศไทยนั้น กรมปศุสัตว์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ได้สุ่มตัวอย่างและตรวจหาเชื้อไวรัสอีโบลาเป็นประจำทุกปี โดยสุ่มตรวจในสัตว์ปีก ปีละประมาณ 2,500 ตัวอย่าง และล่าสุดได้สุ่มตรวจในปี 2556
ที่ผ่านมาขณะนี้ยังไม่พบรายงานการเจอเชื้อไวรัสอีโบลาในสัตว์แต่อย่างใด และความเสี่ยงที่จะมีโรคอีโบลาในสัตว์ในประเทศไทยมีต่ำมาก
แต่อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังโรค ซึ่งหลังจากเกิดโรคระบาดไข้หวัดนก ได้เริ่มมีการเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่ที่จะเกิดขึ้นในสัตว์ชนิดต่างๆ
เช่น ลิง ค้างคาว สุกร ในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศอยู่แล้ว
ทั้งนี้ โรคอีโบลาเป็นเชื้อไวรัส ซึ่งยังไม่ทราบการแพร่ระบาดที่แน่ชัด แต่เชื่อกันว่าเริ่มจากค้างคาวเป็นต้นตอพาหะแล้วแผ่ไปสู่สัตว์ป่า เช่น ลิงชิมแปนซี ลิงกอริลล่า
จากนั้นคนได้บริโภคเนื้อสัตว์ป่า เกิดการติดต่อจากสัตว์สู่คน และเป็นเหตุให้โรคติดต่อในคน ส่วนความเสี่ยงในการนำเชื้อโรคอีโบลาเข้ามาในไทยนั้น
พบว่าค้างคาวไม่มีพฤติกรรมอพยพโยกย้ายถิ่นฐาน และบินไม่ไกลไม่สามารถบินมาทวีปเอเชียได้ ส่วนความเสี่ยงการขนส่งสัตว์ป่าระหว่างประเทศ
เช่น ลิง ก็เป็นไปได้ยาก เนื่องจากการขนส่งใช้เวลานาน แต่รัฐควรมีมาตรการเฝ้าระวังที่ด่านนำเข้าสัตว์ด้วย
สำหรับมาตรการในการเฝ้าระวังอีโบลาในสัตว์มี 7 มาตรการเบื้องต้น 1.เพิ่มความเข้มงวดและเฝ้าระวังที่ด่านนำเข้าสินค้า 2.ชะลอการนำเข้าสินค้าสัตว์จากประเทศที่มีการรายงานการระบาดของโรคอีโบลา 3.จัดทำมาตรการซักซ้อมแผนการเฝ้าระวังโรคอีโบลา 4.ให้ทีมสุนัขดมกลิ่นเข้มงวดและกวดขันการตรวจสอบผู้โดยสารและสัมภาระในเที่ยวบินที่มาจากประเทศที่มีรายงานการระบาดและประเทศกลุ่มเสี่ยง 5.ร่วมมือกันเป็นเครือข่ายแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร 6.ร่วมกันจัดทำการสื่อสารความรู้ฝึกอบรมให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น เจ้าหน้าที่การแพทย์ และ 7.จัดทีมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนทั่วไป เช่น ไม่บริโภคเนื้อสัตว์ป่า ไม่ลักลอบนำเข้าสัตว์เข้ามาภายในประเทศ.
http://www.thairath.co.th/content/446008