จากมติชนออนไลน์
คงจะสงสัยอยู่นานแล้วว่า ผลไม้ต่างๆ มีหลายพันธุ์ เช่น มะม่วง มีพันธุ์เขียวเสวย อกร่องทอง และน้ำดอกไม้ เบอร์ 4 ทุเรียน มี กระดุม ชะนี และก้านยาว กระท้อน มี อีล่า และปุยฝ้าย แต่เพราะเหตุใด มังคุด ไม่มีชื่อพันธุ์เลย
เรื่องของเรื่องก็มีอยู่ว่า>>>>>ปัจจุบัน มังคุด เป็นผลไม้ยอดนิยมในแง่สมุนไพร แต่ก็ต้องพิสูจน์ในทางการแพทย์เพื่อเป็นการยืนยันต่อไป
แต่ที่พิสูจน์ได้แล้วโดยไม่ต้องรอคือมังคุด มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่หมู่เกาะซุนดา และหมู่เกาะโมลุกกะ แล้วแพร่กระจายเข้าสู่ กัวเตมาลา ปานามา เอกวาดอร์ และเชื่อว่าเข้ามาในประเทศไทย ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1
มังคุด เป็นผลไม้ชนิดที่เรียกว่าแปลกที่สุดชนิดหนึ่ง เนื่องจากผลมังคุดพัฒนามาจากฐานรองดอก มิได้พัฒนามาจากการผสมเกสรของเพศผู้และเพศเมีย ทำให้ไม่มีการกระจายตัวทางพันธุกรรม คล้ายกับวิธีการตอนกิ่ง ต้นที่ได้จากวิธีนี้จะมีลักษณะเช่นเดียวกับต้นแม่ทุกประการ
ด้วยเหตุนี้มังคุดจึงมีพันธุ์เดียวมาตลอด ตรงกันข้ามกับพืชที่ผลหรือเมล็ดเกิดจากการผสมเกสรระหว่างเพศผู้กับเพศเมีย ตัวอย่าง ข้าว เป็นพืชผสมตัวเอง มีเกสรเพศผู้และเพศเมียในดอกเดียวกัน แม้มีเปลือกหุ้มเมล็ด ค่อนข้างมิดชิดก็ตาม แต่โอกาสการผสมข้ามยังเกิดขึ้นได้ 1-4 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากแมลงช่วยในการผสมเกสร
อีกตัวอย่างหนึ่ง ข้าวโพด เป็นพืชผสมข้าม เนื่องจากเกสรเพศผู้อยู่ส่วนยอดของลำต้น แต่เกสรเพศเมียหรือฝัก อยู่ต่ำลงมาไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร การผสมข้ามต้นจึงเกิดขึ้นได้ในเปอร์เซ็นต์ที่สูงกว่าข้าว ในกรณีที่ผิวสีและขนาดของผลมังคุดนั้น เกิดจากสภาพแวดล้อมและการดูแลรักษาของผู้ปลูก แต่เนื้อแท้หรือพันธุกรรมนั้น ไม่เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย มังคุด จึงมีเพียงพันธุ์เดียวในโลก
มังคุด...ทำไมถึงมีพันธุ์เดียวในโลก!?
คงจะสงสัยอยู่นานแล้วว่า ผลไม้ต่างๆ มีหลายพันธุ์ เช่น มะม่วง มีพันธุ์เขียวเสวย อกร่องทอง และน้ำดอกไม้ เบอร์ 4 ทุเรียน มี กระดุม ชะนี และก้านยาว กระท้อน มี อีล่า และปุยฝ้าย แต่เพราะเหตุใด มังคุด ไม่มีชื่อพันธุ์เลย
เรื่องของเรื่องก็มีอยู่ว่า>>>>>ปัจจุบัน มังคุด เป็นผลไม้ยอดนิยมในแง่สมุนไพร แต่ก็ต้องพิสูจน์ในทางการแพทย์เพื่อเป็นการยืนยันต่อไป
แต่ที่พิสูจน์ได้แล้วโดยไม่ต้องรอคือมังคุด มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่หมู่เกาะซุนดา และหมู่เกาะโมลุกกะ แล้วแพร่กระจายเข้าสู่ กัวเตมาลา ปานามา เอกวาดอร์ และเชื่อว่าเข้ามาในประเทศไทย ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1
มังคุด เป็นผลไม้ชนิดที่เรียกว่าแปลกที่สุดชนิดหนึ่ง เนื่องจากผลมังคุดพัฒนามาจากฐานรองดอก มิได้พัฒนามาจากการผสมเกสรของเพศผู้และเพศเมีย ทำให้ไม่มีการกระจายตัวทางพันธุกรรม คล้ายกับวิธีการตอนกิ่ง ต้นที่ได้จากวิธีนี้จะมีลักษณะเช่นเดียวกับต้นแม่ทุกประการ
ด้วยเหตุนี้มังคุดจึงมีพันธุ์เดียวมาตลอด ตรงกันข้ามกับพืชที่ผลหรือเมล็ดเกิดจากการผสมเกสรระหว่างเพศผู้กับเพศเมีย ตัวอย่าง ข้าว เป็นพืชผสมตัวเอง มีเกสรเพศผู้และเพศเมียในดอกเดียวกัน แม้มีเปลือกหุ้มเมล็ด ค่อนข้างมิดชิดก็ตาม แต่โอกาสการผสมข้ามยังเกิดขึ้นได้ 1-4 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากแมลงช่วยในการผสมเกสร
อีกตัวอย่างหนึ่ง ข้าวโพด เป็นพืชผสมข้าม เนื่องจากเกสรเพศผู้อยู่ส่วนยอดของลำต้น แต่เกสรเพศเมียหรือฝัก อยู่ต่ำลงมาไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร การผสมข้ามต้นจึงเกิดขึ้นได้ในเปอร์เซ็นต์ที่สูงกว่าข้าว ในกรณีที่ผิวสีและขนาดของผลมังคุดนั้น เกิดจากสภาพแวดล้อมและการดูแลรักษาของผู้ปลูก แต่เนื้อแท้หรือพันธุกรรมนั้น ไม่เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย มังคุด จึงมีเพียงพันธุ์เดียวในโลก