ทุกวันนี้มีความเชื่อที่แพร่หลายในหมู่คนจำนวนไม่น้อยว่า ความเจ็บป่วยนั้นเป็นผลจากกรรมไม่ดีในอดีต
ใครก็ตามที่ล้มป่วยแสดงว่าเขากำลังรับกรรม แพทย์และพยาบาลจึงไม่ควรเยียวยารักษาผู้ป่วยมากนัก
เพื่อให้เขาใช้กรรมให้หมดในชาตินี้
น่าเป็นห่วงก็ตรงที่แพทย์และพยาบาลจำนวนไม่น้อยเชื่อเรื่องนี้อย่างจริงจัง
บางคนเชื่อถึงขั้นว่าหากช่วยเหลือคนไข้ที่ป่วยหนักให้รอดพ้นจากความตาย
หรือช่วยดูแลคนไข้ระยะสุดท้ายไม่ให้ทุกข์ทรมาน เจ้ากรรมนายเวรของคนนั้นจะไม่พอใจ
และอาจมาแก้แค้นเอากับแพทย์และพยาบาล ทำให้เกิดความเดือดร้อนตามมา
หลายคนจึงรู้สึกลังเลที่จะช่วยผู้ป่วยเหล่านั้น ที่เมินเฉยหรือทำไปอย่างแกน ๆ ก็คงมีไม่น้อย
น่าสังเกตว่าคนที่มีความเชื่อดังกล่าวมักเป็นผู้ที่สนใจธรรมะ ชอบเข้าวัดทำบุญรักษาศีล หรือเป็นนักปฏิบัติธรรม
คงเพราะเข้าใจว่าความเชื่อเช่นนี้เป็นคำสอนของพระพุทธองค์ ทั้ง ๆ ที่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่
ไม่ใช่แต่ความเจ็บป่วยเท่านั้น เมื่อเกิดเหตุร้ายต่าง ๆ ขึ้นมา ชาวพุทธจำนวนไม่น้อยมักคิดว่านั่นเป็นผลจากกรรมเก่าในอดีตชาติสถานเดียว
แต่ที่จริงนี้เป็นความคิดที่พระพุทธองค์ปฏิเสธ จัดว่าเป็นลัทธินอกพระพุทธศาสนาอย่างหนึ่ง
มีชื่อเรียกเฉพาะว่า
ปุพเพกตเหตุวาท หรือ
ลัทธิกรรมเก่า
ในสมัยพุทธกาล มีคนกลุ่มหนึ่งประกาศความเชื่อว่า
“บุคคลได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม เวทนาทั้งหมดนั้น เป็นเพราะกรรมที่กระทำไว้ในปางก่อน”
พระพุทธองค์ได้ตรัสถึงคนกลุ่มนี้ว่า
“สมณพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่า แล่นไปไกลเกินสิ่งที่รู้กันได้ด้วยตนเอง แล่นไปไกลเกินสิ่งที่ชาวโลกรู้กันทั่วว่าเป็นความจริง
ฉะนั้น เรากล่าวว่าเป็นความผิดของสมณพราหมณ์เหล่านั้นเอง”
วิสัยของชาวพุทธย่อมไม่ด่วนสรุปว่าความเจ็บป่วยหรือทุกขเวทนานั้นเป็นเพราะกรรมเก่า
ทั้งนี้เพราะมีเหตุปัจจัยต่างๆ มากมายที่ทำให้เกิดความเจ็บป่วย ดังพระองค์ได้แจกแจงว่า
“เวทนาบางอย่างเกิดขึ้น มีดีเป็นสมุฏฐานก็มี...มีเสมหะเป็นสมุฏฐานก็มี...มีลมเป็นสมุฏฐานก็มี...
มีการประชุมแห่งเหตุเป็นสมุฏฐานก็มี...เกิดจากความแปรปรวนแห่งอุตุก็มี...เกิดจากการบริหารตนไม่สม่ำเสมอก็มี...
เกิดจากถูกทำร้ายก็มี...เกิดจากผลกรรมก็มี”
จะเห็นได้ว่า “ผลกรรม”เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่สาเหตุเดียวที่ทำให้ผู้คนเจ็บป่วยหรือประสบทุกข์
อีกทั้งมิได้หมายความว่าเป็นผลกรรมในอดีตชาติเท่านั้น อาจเป็นผลกรรมในปัจจุบันชาติก็ได้
พึงสังเกตว่า พระพุทธองค์ไม่ได้ตรัสถึง “เจ้ากรรมนายเวร” เลย ทั้งนี้เพราะคำหรือแนวคิดดังกล่าวเกิดขึ้นในยุคหลัง (อาจเป็นยุคปัจจุบันนี้เอง)
และถูกตีความให้ผิดเพี้ยนจนไกลจากหลักการของพุทธศาสนา
เรื่องราวของเจ้าหญิงโรหิณีในสมัยพุทธกาลเป็นตัวอย่างที่สวนทางกับความเชื่อดังกล่าว
เจ้าหญิงแห่งกรุงกบิลพัสดุ์ผู้นนี้มีโรคผิวหนังทั่วร่าง เมื่อพระอนุรุทธะ ซึ่งเป็นพระอรหันตสาวกและเป็นพี่ชายของเธอทราบความ
ได้แนะนำให้เธอสร้างโรงฉัน ระหว่างที่กำลังก่อสร้างเธอมีศรัทธามากวาดพื้นให้สะอาดอยู่เสมอ
ปรากฏว่าโรคผิวหนังของเธอก็หายไป เมื่อสร้างเสร็จ เธอก็นิมนต์พระสงฆ์โดยมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขมารับโภชนะอันประณีต
เมื่อเสร็จภัตกิจ พระองค์ได้เรียกเจ้าหญิงโรหิณีมาเฝ้า และถามว่า โรคผิวหนังของเธอเกิดจากกรรมอะไร เธอตอบว่าไม่ทราบ
พระองค์จึงตรัสว่า “โรคของเธอเกิดจากความโกรธ”
พึงสังเกตว่า กรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นสาเหตุแห่งโรคผิวหนังของเจ้าหญิงโรหิณี มิใช่กรรมในอดีตชาติ แต่เป็นกรรมในปัจจุบันชาติ
ความเจ้าอารมณ์ เป็นผู้มักโกรธของเธอ ส่งผลต่อสรีระของเธอ แต่เมื่อเธอได้บำเพ็ญบุญด้วยอัตถจริยา (กวาดพื้นโรงฉัน)
จิตใจก็เกิดอิ่มเอิบปีติ แจ่มใสเบิกบาน โรคผิวหนังก็หายไป
การเหมารวมว่าความเจ็บป่วยทั้งหลายเป็นผลจากกรรมในอดีตชาตินั้น แม้จะไม่ใช่ความคิดแบบพุทธ
แต่จะไม่ก่อผลเสียมากนักหากว่าแพทย์และพยาบาลใส่ใจดูแลคนไข้อย่างเต็มที่ แต่ในความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่
แพทย์และพยาบาล รวมทั้งญาติพี่น้องที่มีความเชื่อดังกล่าว มักไม่เต็มใจที่จะดูแลคนไข้ ปล่อยให้เขาทุกข์ทรมานต่อไป
ด้วยเหตุผลที่เป็นความหวังดี(อย่างผิด ๆ)ว่า เพื่อให้เขาใช้กรรมจนหมดในชาตินี้ ไม่ต้องรับกรรมอีกในชาติหน้า
หรือด้วยเหตุผลที่เป็นความเห็นแก่ตัว คือเพื่อป้องกันไม่ให้เจ้ากรรมนายเวรของผู้ป่วยกลับมารังควานตนเอง
จินตนาการได้ไม่ยากว่าหากความเชื่อดังกล่าวแพร่หลายไปทุกสถานพยาบาล จะเกิดอะไรขึ้นกับผู้ป่วย
และหากความเชื่อดังกล่าวลามไปสู่ผู้คนทั่วทั้งสังคม จะเกิดอะไรขึ้นกับคนที่ประสบอุบัติเหตุ คนที่กำลังจมน้ำ คนที่กำลังถูกกระทำชำเรา
หากผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์มองว่า ภัยที่กำลังเกิดกับคนเหล่านี้เป็นผลจากกรรมในอดีต
ดังนั้นจึงควรปล่อยให้เขาใช้กรรมไป เราไม่ควรไปช่วยเหลือเขา เพราะจะกลายเป็นการแทรกแซงกรรม
หรือทำให้เจ้ากรรมนายเวรของคนเหล่านั้นหันมาเล่นงานเราแทน
เมืองไทยซึ่งใคร ๆ ชอบอ้างว่าเป็นเมืองพุทธ จะกลายเป็นนรกไปทันที หากผู้คนต่างนิ่งดูดาย ไร้น้ำใจต่อเพื่อนมนุษย์
ซึ่งกำลังประสบทุกข์ภัยต่อหน้าต่อตา ด้วยเหตุผลเพียงเพราะไม่ต้องการแทรกแซงกรรมของเขา
นี้เป็นตัวอย่างหนึ่งของความเข้าใจผิด ในเรื่องกรรม
กฎแห่งกรรมที่พระพุทธเจ้านำมาสอนแก่ผู้คนนั้น จุดมุ่งหมายสำคัญก็เพื่อส่งเสริมให้ผู้คนทำความดี มีความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน
หากผลที่ออกมากลับเป็นตรงกันข้าม คือผู้คนต่างไร้น้ำใจต่อกัน คิดถึงตนเองมากกว่าผู้อื่น
ย่อมเป็นสัญญาณบ่งบอกว่า มีความเข้าใจผิดพลาดเกิดขึ้นแล้วในเรื่องกฎแห่งกรรม
ที่จริงหากใคร่ครวญอีกนิดก็จะพบว่า การนิ่งดูดาย ไม่ช่วยเหลือผู้ที่กำลังประสบทุกข์ต่อหน้าต่อตานั้น
เป็นการสร้างกรรมอีกอย่างหนึ่ง และไม่ใช่กรรมดีด้วย กรรมดังกล่าวนี้แหละจะส่งผลเป็นวิบากต่อผู้นั้นในวันข้างหน้า
อาทิเช่น เมื่อตนประสบเหตุร้าย ก็จะไม่มีใครช่วยเหลือ
ใช่แต่เท่านั้นลองคิดต่อไปอีกหน่อยว่า หากผู้ประสบเคราะห์ ไม่ว่าผู้ป่วยหนัก ผู้ประสบอุบัติเหตุ หรือผู้ถูกกำลังถูกกระทำชำเรา
เป็นพ่อแม่หรือลูกหลานญาติพี่น้องเพื่อนพ้องของเรา เราจะนิ่งดูดายด้วยเหตุผลว่าปล่อยให้เขาใช้กรรมไปหรือไม่
หากคำตอบคือไม่ควรนิ่งดูดาย เราก็ควรทำอย่างเดียวกันกับผู้อื่นด้วยเช่นกัน จึงจะเรียกว่าเป็นชาวพุทธที่แท้
หากพระโพธิสัตว์ในอดีตชาติมีความเชื่ออย่างที่หลายคนเชื่อในเวลานี้ว่า ควรปล่อยให้ผู้ทุกข์ยากทั้งหลายใช้กรรมไป ไม่ควรช่วยเหลือ
ท่านก็คงไม่ได้บำเพ็ญบารมีจนได้เป็นพระโพธิสัตว์ หรือสะสมบารมีจนกลายเป็นพระพุทธเจ้า
พระโพธิสัตว์ในอดีตเสียสละอย่างยิ่งเพื่อผู้อื่น ไม่เลือกว่ามนุษย์หรือสัตว์ จนถึงกับเคยอุทิศร่างกายเป็นอาหารให้แก่แม่เสือที่กำลังหิวโซ
เพื่อรักษาชีวิตของลูกเสือไม่ให้ถูกกิน (ไม่มีความคิดอยู่ในหัวของท่านตอนนั้นเลยว่า ลูกเสือทำกรรมไม่ดีในอดีต จึงควรถูกแม่เสือกินเพื่อชดใช้กรรม)
หากชาวพุทธเห็นความสำคัญของการบำเพ็ญบารมีเพื่อบรรลุธรรมขั้นสูงจนหลุดพ้นจากความทุกข์
ก็ควรถือเอาพระโพธิสัตว์เป็นแบบอย่างควบคู่กับพระจริยาของพระพุทธองค์
กรรมที่พระพุทธเจ้าไม่ได้สอน
มติชนรายวัน วันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
กรรมที่พระพุทธเจ้าไม่ได้สอน
พระไพศาล วิสาโล
http://www.visalo.org/article/jitvivat255708.html
ทุกวันนี้มีความเชื่อที่แพร่หลายในหมู่คนจำนวนไม่น้อยว่า ความเจ็บป่วยนั้นเป็นผลจากกรรมไม่ดีในอดีต
ใครก็ตามที่ล้มป่วยแสดงว่าเขากำลังรับกรรม แพทย์และพยาบาลจึงไม่ควรเยียวยารักษาผู้ป่วยมากนัก
เพื่อให้เขาใช้กรรมให้หมดในชาตินี้
น่าเป็นห่วงก็ตรงที่แพทย์และพยาบาลจำนวนไม่น้อยเชื่อเรื่องนี้อย่างจริงจัง
บางคนเชื่อถึงขั้นว่าหากช่วยเหลือคนไข้ที่ป่วยหนักให้รอดพ้นจากความตาย
หรือช่วยดูแลคนไข้ระยะสุดท้ายไม่ให้ทุกข์ทรมาน เจ้ากรรมนายเวรของคนนั้นจะไม่พอใจ
และอาจมาแก้แค้นเอากับแพทย์และพยาบาล ทำให้เกิดความเดือดร้อนตามมา
หลายคนจึงรู้สึกลังเลที่จะช่วยผู้ป่วยเหล่านั้น ที่เมินเฉยหรือทำไปอย่างแกน ๆ ก็คงมีไม่น้อย
น่าสังเกตว่าคนที่มีความเชื่อดังกล่าวมักเป็นผู้ที่สนใจธรรมะ ชอบเข้าวัดทำบุญรักษาศีล หรือเป็นนักปฏิบัติธรรม
คงเพราะเข้าใจว่าความเชื่อเช่นนี้เป็นคำสอนของพระพุทธองค์ ทั้ง ๆ ที่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่
ไม่ใช่แต่ความเจ็บป่วยเท่านั้น เมื่อเกิดเหตุร้ายต่าง ๆ ขึ้นมา ชาวพุทธจำนวนไม่น้อยมักคิดว่านั่นเป็นผลจากกรรมเก่าในอดีตชาติสถานเดียว
แต่ที่จริงนี้เป็นความคิดที่พระพุทธองค์ปฏิเสธ จัดว่าเป็นลัทธินอกพระพุทธศาสนาอย่างหนึ่ง
มีชื่อเรียกเฉพาะว่า ปุพเพกตเหตุวาท หรือ ลัทธิกรรมเก่า
ในสมัยพุทธกาล มีคนกลุ่มหนึ่งประกาศความเชื่อว่า
“บุคคลได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม เวทนาทั้งหมดนั้น เป็นเพราะกรรมที่กระทำไว้ในปางก่อน”
พระพุทธองค์ได้ตรัสถึงคนกลุ่มนี้ว่า
“สมณพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่า แล่นไปไกลเกินสิ่งที่รู้กันได้ด้วยตนเอง แล่นไปไกลเกินสิ่งที่ชาวโลกรู้กันทั่วว่าเป็นความจริง
ฉะนั้น เรากล่าวว่าเป็นความผิดของสมณพราหมณ์เหล่านั้นเอง”
วิสัยของชาวพุทธย่อมไม่ด่วนสรุปว่าความเจ็บป่วยหรือทุกขเวทนานั้นเป็นเพราะกรรมเก่า
ทั้งนี้เพราะมีเหตุปัจจัยต่างๆ มากมายที่ทำให้เกิดความเจ็บป่วย ดังพระองค์ได้แจกแจงว่า
“เวทนาบางอย่างเกิดขึ้น มีดีเป็นสมุฏฐานก็มี...มีเสมหะเป็นสมุฏฐานก็มี...มีลมเป็นสมุฏฐานก็มี...
มีการประชุมแห่งเหตุเป็นสมุฏฐานก็มี...เกิดจากความแปรปรวนแห่งอุตุก็มี...เกิดจากการบริหารตนไม่สม่ำเสมอก็มี...
เกิดจากถูกทำร้ายก็มี...เกิดจากผลกรรมก็มี”
จะเห็นได้ว่า “ผลกรรม”เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่สาเหตุเดียวที่ทำให้ผู้คนเจ็บป่วยหรือประสบทุกข์
อีกทั้งมิได้หมายความว่าเป็นผลกรรมในอดีตชาติเท่านั้น อาจเป็นผลกรรมในปัจจุบันชาติก็ได้
พึงสังเกตว่า พระพุทธองค์ไม่ได้ตรัสถึง “เจ้ากรรมนายเวร” เลย ทั้งนี้เพราะคำหรือแนวคิดดังกล่าวเกิดขึ้นในยุคหลัง (อาจเป็นยุคปัจจุบันนี้เอง)
และถูกตีความให้ผิดเพี้ยนจนไกลจากหลักการของพุทธศาสนา
เรื่องราวของเจ้าหญิงโรหิณีในสมัยพุทธกาลเป็นตัวอย่างที่สวนทางกับความเชื่อดังกล่าว
เจ้าหญิงแห่งกรุงกบิลพัสดุ์ผู้นนี้มีโรคผิวหนังทั่วร่าง เมื่อพระอนุรุทธะ ซึ่งเป็นพระอรหันตสาวกและเป็นพี่ชายของเธอทราบความ
ได้แนะนำให้เธอสร้างโรงฉัน ระหว่างที่กำลังก่อสร้างเธอมีศรัทธามากวาดพื้นให้สะอาดอยู่เสมอ
ปรากฏว่าโรคผิวหนังของเธอก็หายไป เมื่อสร้างเสร็จ เธอก็นิมนต์พระสงฆ์โดยมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขมารับโภชนะอันประณีต
เมื่อเสร็จภัตกิจ พระองค์ได้เรียกเจ้าหญิงโรหิณีมาเฝ้า และถามว่า โรคผิวหนังของเธอเกิดจากกรรมอะไร เธอตอบว่าไม่ทราบ
พระองค์จึงตรัสว่า “โรคของเธอเกิดจากความโกรธ”
พึงสังเกตว่า กรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นสาเหตุแห่งโรคผิวหนังของเจ้าหญิงโรหิณี มิใช่กรรมในอดีตชาติ แต่เป็นกรรมในปัจจุบันชาติ
ความเจ้าอารมณ์ เป็นผู้มักโกรธของเธอ ส่งผลต่อสรีระของเธอ แต่เมื่อเธอได้บำเพ็ญบุญด้วยอัตถจริยา (กวาดพื้นโรงฉัน)
จิตใจก็เกิดอิ่มเอิบปีติ แจ่มใสเบิกบาน โรคผิวหนังก็หายไป
การเหมารวมว่าความเจ็บป่วยทั้งหลายเป็นผลจากกรรมในอดีตชาตินั้น แม้จะไม่ใช่ความคิดแบบพุทธ
แต่จะไม่ก่อผลเสียมากนักหากว่าแพทย์และพยาบาลใส่ใจดูแลคนไข้อย่างเต็มที่ แต่ในความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่
แพทย์และพยาบาล รวมทั้งญาติพี่น้องที่มีความเชื่อดังกล่าว มักไม่เต็มใจที่จะดูแลคนไข้ ปล่อยให้เขาทุกข์ทรมานต่อไป
ด้วยเหตุผลที่เป็นความหวังดี(อย่างผิด ๆ)ว่า เพื่อให้เขาใช้กรรมจนหมดในชาตินี้ ไม่ต้องรับกรรมอีกในชาติหน้า
หรือด้วยเหตุผลที่เป็นความเห็นแก่ตัว คือเพื่อป้องกันไม่ให้เจ้ากรรมนายเวรของผู้ป่วยกลับมารังควานตนเอง
จินตนาการได้ไม่ยากว่าหากความเชื่อดังกล่าวแพร่หลายไปทุกสถานพยาบาล จะเกิดอะไรขึ้นกับผู้ป่วย
และหากความเชื่อดังกล่าวลามไปสู่ผู้คนทั่วทั้งสังคม จะเกิดอะไรขึ้นกับคนที่ประสบอุบัติเหตุ คนที่กำลังจมน้ำ คนที่กำลังถูกกระทำชำเรา
หากผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์มองว่า ภัยที่กำลังเกิดกับคนเหล่านี้เป็นผลจากกรรมในอดีต
ดังนั้นจึงควรปล่อยให้เขาใช้กรรมไป เราไม่ควรไปช่วยเหลือเขา เพราะจะกลายเป็นการแทรกแซงกรรม
หรือทำให้เจ้ากรรมนายเวรของคนเหล่านั้นหันมาเล่นงานเราแทน
เมืองไทยซึ่งใคร ๆ ชอบอ้างว่าเป็นเมืองพุทธ จะกลายเป็นนรกไปทันที หากผู้คนต่างนิ่งดูดาย ไร้น้ำใจต่อเพื่อนมนุษย์
ซึ่งกำลังประสบทุกข์ภัยต่อหน้าต่อตา ด้วยเหตุผลเพียงเพราะไม่ต้องการแทรกแซงกรรมของเขา
นี้เป็นตัวอย่างหนึ่งของความเข้าใจผิด ในเรื่องกรรม
กฎแห่งกรรมที่พระพุทธเจ้านำมาสอนแก่ผู้คนนั้น จุดมุ่งหมายสำคัญก็เพื่อส่งเสริมให้ผู้คนทำความดี มีความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน
หากผลที่ออกมากลับเป็นตรงกันข้าม คือผู้คนต่างไร้น้ำใจต่อกัน คิดถึงตนเองมากกว่าผู้อื่น
ย่อมเป็นสัญญาณบ่งบอกว่า มีความเข้าใจผิดพลาดเกิดขึ้นแล้วในเรื่องกฎแห่งกรรม
ที่จริงหากใคร่ครวญอีกนิดก็จะพบว่า การนิ่งดูดาย ไม่ช่วยเหลือผู้ที่กำลังประสบทุกข์ต่อหน้าต่อตานั้น
เป็นการสร้างกรรมอีกอย่างหนึ่ง และไม่ใช่กรรมดีด้วย กรรมดังกล่าวนี้แหละจะส่งผลเป็นวิบากต่อผู้นั้นในวันข้างหน้า
อาทิเช่น เมื่อตนประสบเหตุร้าย ก็จะไม่มีใครช่วยเหลือ
ใช่แต่เท่านั้นลองคิดต่อไปอีกหน่อยว่า หากผู้ประสบเคราะห์ ไม่ว่าผู้ป่วยหนัก ผู้ประสบอุบัติเหตุ หรือผู้ถูกกำลังถูกกระทำชำเรา
เป็นพ่อแม่หรือลูกหลานญาติพี่น้องเพื่อนพ้องของเรา เราจะนิ่งดูดายด้วยเหตุผลว่าปล่อยให้เขาใช้กรรมไปหรือไม่
หากคำตอบคือไม่ควรนิ่งดูดาย เราก็ควรทำอย่างเดียวกันกับผู้อื่นด้วยเช่นกัน จึงจะเรียกว่าเป็นชาวพุทธที่แท้
หากพระโพธิสัตว์ในอดีตชาติมีความเชื่ออย่างที่หลายคนเชื่อในเวลานี้ว่า ควรปล่อยให้ผู้ทุกข์ยากทั้งหลายใช้กรรมไป ไม่ควรช่วยเหลือ
ท่านก็คงไม่ได้บำเพ็ญบารมีจนได้เป็นพระโพธิสัตว์ หรือสะสมบารมีจนกลายเป็นพระพุทธเจ้า
พระโพธิสัตว์ในอดีตเสียสละอย่างยิ่งเพื่อผู้อื่น ไม่เลือกว่ามนุษย์หรือสัตว์ จนถึงกับเคยอุทิศร่างกายเป็นอาหารให้แก่แม่เสือที่กำลังหิวโซ
เพื่อรักษาชีวิตของลูกเสือไม่ให้ถูกกิน (ไม่มีความคิดอยู่ในหัวของท่านตอนนั้นเลยว่า ลูกเสือทำกรรมไม่ดีในอดีต จึงควรถูกแม่เสือกินเพื่อชดใช้กรรม)
หากชาวพุทธเห็นความสำคัญของการบำเพ็ญบารมีเพื่อบรรลุธรรมขั้นสูงจนหลุดพ้นจากความทุกข์
ก็ควรถือเอาพระโพธิสัตว์เป็นแบบอย่างควบคู่กับพระจริยาของพระพุทธองค์