สารบัญทุกตอน ->
http://ppantip.com/topic/32469271
ปัจจุบันนี้ เรากำลังใช้อภินวอรรถกถาที่ท่านพระพุทธโฆสะ
ได้เอา 2 ยุคแรกมารวมกันไว้ ซึ่งท่านแทบจะไม่ได้เพิ่มอะไร
เพียงยุบข้อความซ้ำๆ ให้เหลือจุดแรกของอภินวอรรถกถานั้นๆ
จุดเดียว ให้ท่องง่าย.
อภินวอรรถกถาของท่านพระพุทธโฆสาจารย์นั้น
มีไว้สำหรับท่องจำ เรียบเรียงขึ้นเพื่อให้ท่องจำง่าย
เป็นการพยายามรักษาแนวทางตามหลักสูตร
ที่ทรงวางไว้ในมหาขันธกะและ อ. ภิกขุโนวาทกะ
นั่นเอง.
ฉะนั้น ในระดับอาจารย์จึงมีวิธีศึกษาที่ต่างจาก
ระบบมุขปาฐะเดิมกล่าวคือ
มุขปาฐะของภิกขุปริสูปัฏฐาปกะ(ผู้ให้นิสสัย)แบบมหาอรรถกถา
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ท่องพระวินัย 3 เล่มแรก พระสูตรขั้นต่ำ ปัญจกนิบาต
แล้วในระหว่าง อาจารย์จะอธิบาย(อรรถกถา)
ทั้งหมดอย่างละเอียด เพราะเวลาไปสอนภิกษุใหม่
(นวกะ) จะไม่ให้ท่องพระไตรปิฎกทั้งหมด
เพราะต้องสอนตามอัธยาศัยของผู้เรียน
ดังนั้นถ้าไม่อธิบายให้ครบจบในสูตร
อรรถกถาก็จะไปไม่ครบด้วย,
นี่เป็นรูปแบบของมุขปาฐะโบราณ เป็นแบบเทศนานั่นเอง.
เหมือนกับทำหนังสือเล่มเดียวจบไปทีละสูตร.
ข้อดี คือ เรียนแล้วเข้าใจจบในตัว.
ข้อเสีย คือ เมื่อต้องท่องจำตามที่พระวินัยกำหนด
จะยากเพราะอรรถกถาซ้ำๆ กันในหลายๆที
จนทำให้รวมแล้วมีความยาวมาก ใช้เวลา
สาธยายนาน (อรรถกถาแปลที่ยกมาข้างล่าง
เรียกว่า เนื้อความพิศดาร แปลว่า
อธิบายละเอียดมาก)
มุขปาฐะของภิกขุปริสูปัฏฐาปกะ(ผู้ให้นิสสัย)แบบอภินวอรรถกถา
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ท่องพระวินัย 3 เล่มแรก พระสูตรขั้นต่ำ ปัญจกนิบาต
แล้วในระหว่างนั้น อาจารย์จะอธิบายด้วย 2 อรรถกถา
1. อรรถกถาของสูตรนั้นๆ อธิบายแต่ละคำในสูตรนั้นๆ โดยย่อ
เพื่อให้เข้าใจสูตรนั้นๆ
2. วิสุทธิมรรค อธิบายศีล สมาธิ ปัญญา ตามลำดับ
อย่างละเอียด เพื่อให้เข้าใจวิธีปฏิบัติ
ข้อดี คือ ท่องจำได้ง่าย ลดเวลาได้เยอะ.
ข้อเสีย คือ คนที่สักแต่ว่าอ่าน ไม่ได้ท่องจำ
จะเข้าใจไม่ครบถ้วน เข้าใจผิด (อย่างในปัจจุบัน).
เพราะถ้าไม่ได้เรียนจากอาจารย์ที่สืบทอดกันมา
จะไม่รู้ลำดับการศึกษาว่า จุดใดจะต้องเอาคำใน
วิสุทธิมรรคมาแทรกอธิบายในอรรถกถาของสูตร
ที่กำลังเรียนอยู่นั้นๆ ซึ่งการทำเช่นนี้ ต้อง
มีความชำนาญสูงมากในระดับท่องจำได้ และ
เข้าใจแตกฉานครับ.
อย่างไรก็ตาม สมัยท่านพระพุทธโฆสาจารย์
เมื่อสอนภิกษุใหม่ ท่านก็ยังคงสอนด้วยวิธีเดิมอยู่นะครับ
โดยอาจารย์จะเชื่อมสองอรรถกถากลับเป็น
มหาอรรถกถาเหมือนเดิมในปากของท่านเอง
แล้วอธิบายเป็นอรรถกถาให้นวกะเข้าใจกัน
แต่เมื่อจะท่องจำอรรถกถาเพื่อเป็นภิกขุปริสูปัฏฐาปกะ
ก็จะท่องตามอภินวอรรถกถา เพราะท่องง่ายกว่า
อรรถกถา 2 ยุคแรกเป็นอย่างมาก แต่ได้เนื้อหาเท่า
กับท่องอรรถกถาเก่าทุกเล่มรวมกัน ซึ่งเหมาะกับ
ปัญญาของกุลบุตรที่เสื่อมถอยลง จนไม่สามารถ
ท่องจำอรรถกถาเก่าได้หมด (ตามที่ปรากฎมาใน
อ้างอิงข้างล่าง).
ส่วนการล้มเลิก ไม่ท่องจำนั้น เพิ่งปรากฎมาในยุคที่
ลัทธิตะวันตกพยายามแสวงหาอาณานิคม
ในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อร้อยกว่าปี
ที่แล้วนี้เอง ครับ. ในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น
เรายังใช้หลักสูตรท่องจำตามโบราณอยู่เลย.
ข้อความจากอรรถกถา ที่ถูกยกมา
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
อรรถกถา มหาวิภังค์ ปฐมภาค
อรรถกถาพระวินัย
ชื่อสมันตปาสาทิกาแปล
มหาวิภังควรรณนา
ภาค ๑
----------------------------------------------
อารัมภกถา
#- ข้าพเจ้าขอถวายนมัสการแด่พระผู้เป็นที่พึ่งผู้
ประกอบด้วยพระมหากรุณา พระองค์ผู้ทรงกระทำกรรม
ที่ทำได้ยากยิ่งตลอดกาลซึ่งจะนับประมาณมิได้ แม้ด้วย
หลายโกฏิกัป ทรงถึงความยากลำบาก เพื่อประโยชน์
เกื้อกูลแก่สัตวโลก.
ข้าพเจ้าขอถวายนมัสการแก่พระธรรมอันประเสริฐ
อันขจัดเสียซึ่งข่ายคือกิเลสมีอวิชชาเป็นต้น ที่พระพุทธ
เจ้าทรงเสพอยู่เป็นนิตย์ ซึ่งสัตวโลก เมื่อไม่หยั่งรู้ต้อง
ท่องเที่ยวไปสู่ภพน้อยและภพใหญ่.
ข้าพเจ้าขอถวายนมัสการด้วยเศียรเกล้า ซึ่งพระ
อริยสงฆ์ ผู้ประกอบด้วยคุณมีศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ
และวิมุตติญาณทัสสนะเป็นเค้ามูล เป็นเนื้อนาบุญของ
เหล่าชนผู้มีความต้องการด้วยกุศล.
ข้าพเจ้านมัสการอยู่ ซึ่งพระรัตนตรัยอันควร
นมัสการโดยส่วนเดียว ด้วยประการดังกล่าวมานี้ ได้
แล้วซึ่งกุศลผลบุญที่ไพบูล หลั่งไหลไม่ขาดสายอันใด
ด้วยอานุภาพแห่งกุศลผลบุญนั้น ขอข้าพเจ้าจงเป็น
ผู้ปลอดอันตราย.
ข้าพเจ้าจักอาศัยอานุภาพของท่านบูรพาจารย์
พรรณนาพระวินัยให้ไม่ปะปนกัน ซึ่งเมื่อทรงอยู่แล้ว
ศาสนาของพระพุทธเจ้า ผู้มิได้ทรงตั้งมั่นอยู่ (ในส่วนสุด
ทั้งสอง) แต่ทรงดำรงชอบด้วยดี (ในมัชฌิมาปฏิปทา)
เป็นอันประดิษฐานอยู่ได้.
แท้ที่จริง พระวินัยนี้ ถึงท่านบูรพาจารย์ผู้องอาจ
ซึ่งขจัดมลทินและอาสวะออกหมดแล้วด้วยน้ำคือญาณ
มีวิชชาและปฏิสัมภิทาบริสุทธิ์ ฉลาดในการสังวรรณนา
พระสัทธรรม หาผู้เปรียบปานในความเป็นผู้ขัดเกลาได้
ไม่ง่าย เปรียบดังธงชัยของวัดมหาวิหาร ได้สังวรรณนา
ไว้โดยนัยอันวิจิตร คล้อยตามพระสัมพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ.
กระนั้น เพราะสังวรรณนานี้มิได้อำนวยประโยชน์
ไรๆ แก่ชาวภิกษุในเกาะอื่น เพราะท่านเรียบเรียงไว้ด้วย
ภาษาชาวเกาะสิงหล ฉะนั้น ข้าพเจ้าผู้รำลึกอยู่ด้วยดี
โดยชอบ ถึงคำเชิญของพระเถระนามว่า พุทธสิริ จึงจัก
เริ่มด้วยดี ซึ่งการสังวรรณนานี้ อันควรแก่นัยพระบาลี ณ
บัดนี้. และเมื่อจะเริ่มด้วยดีซึ่งสังวรรณนานั้น จักเอามหา
อรรถกถาเป็นโครงของสังวรรณนานั้น ไม่ละข้อความอัน
ควร แม้จากวินิจฉัย ซึ่งท่านกล่าวไว้ในอรรถกถามหา
ปัจจรีและอรรถกถาอันปรากฏด้วยดี โดยชื่อว่ากุรุนที
เป็นต้น กระทำเถรวาทไว้ในภายในแล้ว จึงจักเริ่มด้วยดี
โดยชอบซึ่งสังวรรณนา.
ขอภิกษุทั้งหลายปูนเถระ ปูนใหม่และปานกลาง
ผู้มีจิตเลื่อมใสเคารพนับถือพระธรรมของพระตถาคตเจ้า
ผู้มีดวงประทีปคือพระธรรม จงตั้งใจฟังสังวรรณนานั้น
ของข้าพเจ้า โดยเคารพเถิด.
พระอรรถกถาจารย์ชาวสิงหล มิได้ละมติ (อธิบาย)
ของท่านพุทธบุตรทั้งหลาย ผู้รู้ธรรมวินัย เหมือนอย่างที่
พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ได้แต่งอรรถกถาในปางก่อน. เพราะ
เหตุนั้นแล คำที่ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาทั้งหมดยกเว้น
คำที่เขียนด้วยความพลั้งพลาดเสีย ย่อมเป็นประมาณแห่ง
บัณฑิตทั้งหลาย ผู้มีความเคารพในสิกขาในพระศาสนานี้.
ก็เพราะแม้วรรณนานี้ จะแสดงข้อความแห่งคำทั้งหลาย
ที่มาในพระสุตตันตะให้เหมาะสมแก่พระสูตร ละทิ้งภาษา
อื่นจากอรรถกถานั้นเสียทีเดียว และย่นพลความพิสดาร
(คำประพันธ์ที่พิสดาร) ให้รัดกุมเข้า ก็จักไม่ให้เหลือไว้ซึ่ง
ข้อวินิจฉัยทั้งปวง ไม่ข้ามลำดับพระบาลีที่เป็นแบบแผน
อย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้น บัณฑิตควรตามศึกษา
วรรณนานี้โดยเอื้อเฟื้อแล. @-
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้อรรถกถา ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
พรหมชาลสูตร ชื่อ สุมังคลวิลาสินี
คำปรารภต้นคัมภีร์อรรถกถา
..........(บางส่วน)..............
ศีลกถา ธุดงคธรรม กรรมฐานทั้งปวง ฌานสมาบัติ
พิสดาร ซึ่งประกอบด้วยวิธีปฏิบัติตามจริต อภิญญาทั้งปวง
ข้อวินิจฉัยทั้งปวงด้วยปัญญา ขันธ์ ธาตุ อายตนะ อินทรีย์
อริยสัจ ๔ ปัจจยาการ เทศนาและวิปัสสนาภาวนา มีนัย
บริสุทธิ์ดีและละเอียดลออ ที่ไม่นอกทางพระบาลี ข้อธรรม
ดังกล่าวทั้งหมดนี้ ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค
แล้ว อย่างบริสุทธิ์ดี เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจักไม่วิจารข้อ
ธรรมทั้งหมดนั้นในที่นี้ให้ยิ่งขึ้น. คัมภีร์วิสุทธิมรรคนี้ตั้ง
อยู่ท่ามกลางนิกายทั้ง ๔ จักประกาศเนื้อความตามที่กล่าว
ไว้ในนิกายทั้ง ๔ เหล่านั้น ข้าพเจ้าแต่งไว้ด้วยความ
ประสงค์อย่างนี้ เพราะฉะนั้น ขอท่านทั้งหลายจงถือเอา
คัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้นกับอรรถกถานี้ แล้วเข้าใจเนื้อความ
ที่อาศัยทีฆนิกายเถิด.
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=1&p=1
---------------------------------------------------------------------
ฝากเพจธรรมะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ตอบปัญหาธรรมะลึกซึ้ง:
https://www.facebook.com/DhammaComment
กลุ่มผู้รักษาศีล 8 สัปดาห์ละครั้ง (ศีล 5 ก็เข้าร่วมได้):
https://www.facebook.com/gsila8
เครือข่ายโยมอาสาช่วยงานพุทธศาสนา
https://www.facebook.com/pages/เครือข่ายโยมอาสาช่วยงานพุทธศาสนา/528975920543584
เลิกงมงายเรื่องอรรถกถากันเสียที ตอน 2 - ต้องแทรกวิสุทธิมรรคไว้เองในอรรถกถาหลักที่เกี่ยวข้องทุกครั้ง
ปัจจุบันนี้ เรากำลังใช้อภินวอรรถกถาที่ท่านพระพุทธโฆสะ
ได้เอา 2 ยุคแรกมารวมกันไว้ ซึ่งท่านแทบจะไม่ได้เพิ่มอะไร
เพียงยุบข้อความซ้ำๆ ให้เหลือจุดแรกของอภินวอรรถกถานั้นๆ
จุดเดียว ให้ท่องง่าย.
อภินวอรรถกถาของท่านพระพุทธโฆสาจารย์นั้น
มีไว้สำหรับท่องจำ เรียบเรียงขึ้นเพื่อให้ท่องจำง่าย
เป็นการพยายามรักษาแนวทางตามหลักสูตร
ที่ทรงวางไว้ในมหาขันธกะและ อ. ภิกขุโนวาทกะ
นั่นเอง.
ฉะนั้น ในระดับอาจารย์จึงมีวิธีศึกษาที่ต่างจาก
ระบบมุขปาฐะเดิมกล่าวคือ
มุขปาฐะของภิกขุปริสูปัฏฐาปกะ(ผู้ให้นิสสัย)แบบมหาอรรถกถา
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
มุขปาฐะของภิกขุปริสูปัฏฐาปกะ(ผู้ให้นิสสัย)แบบอภินวอรรถกถา
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
อย่างไรก็ตาม สมัยท่านพระพุทธโฆสาจารย์
เมื่อสอนภิกษุใหม่ ท่านก็ยังคงสอนด้วยวิธีเดิมอยู่นะครับ
โดยอาจารย์จะเชื่อมสองอรรถกถากลับเป็น
มหาอรรถกถาเหมือนเดิมในปากของท่านเอง
แล้วอธิบายเป็นอรรถกถาให้นวกะเข้าใจกัน
แต่เมื่อจะท่องจำอรรถกถาเพื่อเป็นภิกขุปริสูปัฏฐาปกะ
ก็จะท่องตามอภินวอรรถกถา เพราะท่องง่ายกว่า
อรรถกถา 2 ยุคแรกเป็นอย่างมาก แต่ได้เนื้อหาเท่า
กับท่องอรรถกถาเก่าทุกเล่มรวมกัน ซึ่งเหมาะกับ
ปัญญาของกุลบุตรที่เสื่อมถอยลง จนไม่สามารถ
ท่องจำอรรถกถาเก่าได้หมด (ตามที่ปรากฎมาใน
อ้างอิงข้างล่าง).
ส่วนการล้มเลิก ไม่ท่องจำนั้น เพิ่งปรากฎมาในยุคที่
ลัทธิตะวันตกพยายามแสวงหาอาณานิคม
ในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อร้อยกว่าปี
ที่แล้วนี้เอง ครับ. ในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น
เรายังใช้หลักสูตรท่องจำตามโบราณอยู่เลย.
ข้อความจากอรรถกถา ที่ถูกยกมา
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
---------------------------------------------------------------------
ฝากเพจธรรมะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้