เรื่องธรรมดาของคนธรรมดา
เรื่องที่น่าจดจำ
เพทาย
ผมมีเพื่อนคนหนึ่งอยู่ที่ ซอย ๑๖ ถนนลาดหญ้า คลองสาน เมื่อเวลาที่ผมไปเยี่ยมเยือนเขา จากซอยหน้าวชิรพยาบาล ผมจะขึ้นรถ ปอ.๕๐๕ เก่าไปจนสุดสาย ซึ่งเป็นระยะทางยาวและอ้อมวกวนมาก
ซึ่งผมได้ทราบว่าถ้าขึ้นรถไฟฟ้าบีทีเอส ไปลงที่สถานีสุรศักดิ์แล้ว จะมีรถโดยสารของบริษัทไปส่งถึงวงเวียนใหญ่ โดยไม่ต้องเสียค่าโดยสาร ผมจึงทดลองใช้เส้นทางนี้ โดยขึ้นรถไฟฟ้าที่สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ไปลงที่สถานีสุรศักดิ์
ความที่ผมไม่คุ้นเคยกับเส้นทางนี้ ผมจึงไม่รู้ว่ารถเมล์ที่จะต่อไปวงเวียนใหญ่นั้น จอดอยู่ป้ายไหน ผมลงบันไดของสถานีรถไฟฟ้าแล้ว จึงถามชายหนุ่มคนหนึ่งที่รอรถเมล์อยู่แถวนั้นว่า รถเมล์ของบีทีเอสที่จะต่อไปวงเวียนใหญ่นั้นจอดตรงไหน เขาก็ชี้ให้ผมเห็นว่าอยู่ฝั่งเดียวกันนั้นเอง
ผมก็ขอบคุณเขาแล้วก็เดินไปตามที่หมาย
พอเดินไปได้สองสามก้าว ก็มีเสียงร้องเรียกลุง ๆ อยู่ข้างหลัง เมื่อหยุดเหลียวไปดู ก็เห็นชายหนุ่มผู้นั้น เดินตามเข้ามาใกล้แล้วบอกว่า จะขึ้นรถนี้ต้องมีบัตรนะครับ
ผมก็ว่าไม่เห็นมีใครให้มาเลย เขาก็บอกว่าต้องซื้อตั๋วเดือนจึงจะได้ แต่วันนี้คุณลุงเอาที่ผมไปใช้ก่อนเถอะ และเขาก็ควักกระเป๋ากางเกงหยิบตั๋วใบเล็ก ๆ ปึกหนึ่ง ออกมาฉีกให้ผม แล้วเขาก็หันกลับไปจนผมขอบคุณแทบไม่ทัน
เขาให้ตั๋วผมมาตั้งสิบเอ็ดใบ
ถัดมาจากคราวก่อนหลายเดือน ผมต้องไปหาเพื่อนคนเดิมอีกครั้ง ผมก็ขึ้นรถไฟฟ้าจากสถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ไปลงที่สถานีสุรศักดิ์เหมือนเดิม
คราวนี้ผมพกเอาตั๋วโดยสารรถเมล์ของ บีทีเอส ที่ได้มาคราวก่อนไปด้วย
แต่เมื่อขึ้นรถไปแล้วก็เห็นป้ายประกาศ เกี่ยวกับการเปลี่ยนแบบตั๋วโดยสารใหม่ ผมอ่านจบแล้วก็เหงื่อแตก เพราะตั๋วที่ผมพกพามาด้วยนั้น ใช้ไม่ได้เพราะเขายกเลิกไปแล้ว
พอดีมีหญิงสาวผู้หนึ่งนั่งอยู่ใกล้ที่สุด จึงตีหน้าเซ่อยื่นตั๋วสีส้มให้เธอดูแล้วถามว่า ตั๋วนี้ยังใช้ได้หรือไม่ เธอบอกว่าเดี๋ยวนี้ใช้ตั๋วใหม่ แล้วเธอก็ให้ดูตั๋วของเธอซึ่งเป็นสีม่วง ผมก็ว่างั้นผมก็ไปไม่ได้ เธอบอกว่าไม่เป็นไรใช้ของเธอก็ได้
แล้วเธอก็ฉีกตั๋วแบบใหม่ให้ผม ซึ่งผมก็ถือไว้รอให้เขาตรวจ ปรากฎว่าเมื่อผู้โดยสารขึ้นมา เขาก็หย่อนตั๋วลงไปในกล่องข้างคนขับ เช่นเดียวกับรถปรับอากาศขนาดเล็กนั่นเอง
เมื่อผมลงจากรถแล้ว ผมจึงได้ตั๋วสีม่วงติดมือมา เป็นที่ระลึกในน้ำใจของเธอผู้นั้น
และตั๋วใบนั้นยังอยู่จนบัดนี้
เรื่องที่เล่ามานั้น เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นนานมาแล้ว ตั้งแต่รถโดยสารปรับอากาศ สาย ๕๐๕ ยังแล่นข้ามสะพานสาทร ไปจอดที่คลองสาน ซึ่งเดี๋ยวนี้เขาเปลี่ยนปลายทางเป็นสวนลุมพินีแล้ว
แต่ในสมัยปัจจุบัน ที่รถไฟลอยฟ้าได้ต่อรางข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ไปอีกสองสถานีคือ สถานีกรุงธนบุรี และสถานีวงเวียนใหญ่ ผมก็มีเรื่องที่น่าจดจำเกิดขึ้นที่วงเวียนใหญ่นี้อีกเช่นกัน
วันนั้นผมกับนายหงอกจะต้องไปเผาศพญาติของนายแมว ที่วัดโพธิ์แก้ว แถวบางปะแก้วสามแยกถนนพระราม ๒ หรือหัวถนนธนบุรี – ปากท่อเดิมนั่นเอง นายหงอกนั้นบ้านอยู่ ทุ่งสีกัน ดอนเมือง อุตส่าห์นั่งรถมาหาผมที่บ้านสวนอ้อย ตั้งแต่บ่ายสองโมง เพื่อจะได้ไปพร้อมกัน เพราะไม่รู้จักวัดนี้ทั้งสองคน แล้วก็พากันขึ้นรถปรับอากาศสาย ๓ ที่ผ่านหน้าโรงพยาบาลวชิระ ไปลงป้ายวงเวียนใหญ่เมื่อเวลาบ่ายสามโมง
เวลายังเหลืออีกเยอะกว่าจะถึงกำหนดวางเพลิง..ขอโทษ....ประชุมเพลิง ห้าโมงเย็น เราจึงคอยมองข้างรถเมล์ที่แล่นเข้ามาจอดป้ายทุกคัน ว่าสายไหนไปถึงไหน และผ่านที่ใดบ้าง นายแมวได้แนะนำว่าให้ขึ้นสาย ๖๘ จะเลี้ยวขวาไปจอดหน้าวัดเลย แต่เราก็ไม่เห็นมีผ่านมาสักคัน
ขณะนั้นมีพระภิกษุรูปหนึ่งยืนรอรถเมล์อยู่ใกล้ ๆ กัน ท่านจึงเมตตาถามว่า โยมจะไปไหนกัน นายพริ้งก็บอกจุดหมายให้ท่านทราบ แล้วก็เลยคุยกับท่านต่อไป ถึงรถเมล์สายโน้นสายนี้ ท่านก็ออกความเห็นว่าควรจะไปสายไหนได้บ้าง และจะต้องลงที่ไหน ต่อรถสายไหนไปอีก เพราะท่านก็ไม่รู้จริงเหมือนกัน จนกระทั่งมีรถสายที่ท่านต้องการจะขึ้นมาจอดตรงป้าย ท่านจึงร่ำราเราก็ยกมือไหว้คารวะในน้ำใจอันดีของท่านที่เป็นห่วงเรา
เมื่อรถเมล์คันนั้นเคลื่อนที่ออกจากป้ายไปแล้ว เราก็หันไปมองทางขวารอดูรถคันอื่นต่อไป แต่มีผู้ที่ยืนรออยู่ด้วยกันชี้มือบอกว่า ลุงรถคันนั้นเขาเรียก เราก็หันไปดูเห็นรถคันที่พระท่านขึ้นไปเมื่อกี้ จอดรออยู่ไม่ห่างนัก มีแขนคนใส่เสื้อขาว ๆ กวักมือมาที่เราสองคน
นายหงอกจึงชวนผมก้าวยาว ๆ ไปขึ้นรถคันนั้น พอเราสองคนขึ้นไปยืนหอบอยู่บนรถแล้ว กระปี๋ซึ่งเป็นคนโบกมือจึงบอกว่า พระท่านบอกว่าลุงจะไปวัดโพธิ์แก้วใช่ไหม เราก็รับคำแล้วไปหาที่นั่งด้านหน้าบันได เพราะมีผู้โดยสารไม่กี่คน
เมื่อชำระค่าโดยสารในราคาผู้เยาว์ เอ๊ย..ผู้เฒ่าแล้ว นายตรวจหญิงซึ่งนั่งอยู่ที่เก้าอี้หน้าซ้ายใกล้คนขับ หันหน้ามาเห็นเราก็ทักทายปราศรัยไต่ถาม อย่างมีไมตรี
พอรู้ว่านายหงอกมาจากดอนเมือง จะไปบางปะแก้วก็คงจะมีเมตตา ว่าอุตส่าห์ถ่อสังขารมาตั้งไกลถึงเพียงนี้ โดยที่ไม่รู้จักถนนหนทางอะไรเลย เธอจึงอธิบายถึงรถเมล์สายต่าง ๆ ที่ผ่านเส้นทางนี้ เป็นการสาธิต นายหงอกก็ต้องพยักหน้าหงึกหงักไปอย่างเดียว จนไม่ทันสังเกตว่าพระภิกษุผู้ใจดีรูปนั้นลงจากรถไปตั้งแต่เมื่อไร เมื่อรถแล่นผ่านดาวคะนองใกล้จะถึงทางแยก เธอก็บอกว่า
“ เดี๋ยวเลิกงานแล้วลุงเดินข้ามสะพานลอยมาฝั่งตรงข้าม แล้วเดินเลาะมาถึงป้ายนี้นะ “
เธอชี้มือประกอบการบรรยายไปยังป้ายจอดรถเมล์ฝั่งตรงข้าม
“ แล้วจะขึ้นรถสายอะไรก็ได้ แต่มีอยู่สายหนึ่ง ไปถึงอนุสาวรีย์ชัยฯ เลย ลุงจะได้ต่อไปดอนเมืองง่ายดี “
แล้วเธอก็บอกเบอร์รถสายนั้นให้ แต่ผมก็ไม่ได้จำ ขณะนั้นรถก็เลี้ยวขวาแล้วหยุดรอไฟแดงอยู่ครู่หนึ่ง นายตรวจหญิงก็บอกคนขับว่า ให้จอดป้ายหน้าให้ลุงสองคนนี่ลง แต่พอได้ไฟเขียวรถก็แล่นไปจนเลยป้าย คนขับรีบบอกว่า
“ รอแป๊บผมจะจอดให้หน้าประตูวัดเลย เดี่ยวจะหาวัดไม่ถูกอีก “
ผมกับนายหงอกกล่าวขอบคุณ ผู้หวังดีทั้งสาม ก่อนก้าวลงมายืนบนพื้นถนนเมื่อรถจอดสนิท ตรงหน้าประตูวัดโพธิ์แก้ว ด้วยความซาบซึ้งในความเมตตาอารี ซึ่งหาได้ยากยิ่งเช่นนี้
แม้จะไม่ทราบชื่อเสียงเรียงนามของเขาและเธอเหล่านั้น แต่ผมก็คงจะจดจำรถโดยสารคันนี้ ไปอีกนาน
เพราะผมเห็นหมายเลข ๑๗๓ – ๑๙ ที่ข้างตัวถังรถอย่างชัดเจน.
###############
พ.ศ.๒๕๔๘
เรื่องที่น่าจดจำ ๑๗ ส.ค.๕๗
เรื่องที่น่าจดจำ
เพทาย
ผมมีเพื่อนคนหนึ่งอยู่ที่ ซอย ๑๖ ถนนลาดหญ้า คลองสาน เมื่อเวลาที่ผมไปเยี่ยมเยือนเขา จากซอยหน้าวชิรพยาบาล ผมจะขึ้นรถ ปอ.๕๐๕ เก่าไปจนสุดสาย ซึ่งเป็นระยะทางยาวและอ้อมวกวนมาก
ซึ่งผมได้ทราบว่าถ้าขึ้นรถไฟฟ้าบีทีเอส ไปลงที่สถานีสุรศักดิ์แล้ว จะมีรถโดยสารของบริษัทไปส่งถึงวงเวียนใหญ่ โดยไม่ต้องเสียค่าโดยสาร ผมจึงทดลองใช้เส้นทางนี้ โดยขึ้นรถไฟฟ้าที่สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ไปลงที่สถานีสุรศักดิ์
ความที่ผมไม่คุ้นเคยกับเส้นทางนี้ ผมจึงไม่รู้ว่ารถเมล์ที่จะต่อไปวงเวียนใหญ่นั้น จอดอยู่ป้ายไหน ผมลงบันไดของสถานีรถไฟฟ้าแล้ว จึงถามชายหนุ่มคนหนึ่งที่รอรถเมล์อยู่แถวนั้นว่า รถเมล์ของบีทีเอสที่จะต่อไปวงเวียนใหญ่นั้นจอดตรงไหน เขาก็ชี้ให้ผมเห็นว่าอยู่ฝั่งเดียวกันนั้นเอง
ผมก็ขอบคุณเขาแล้วก็เดินไปตามที่หมาย
พอเดินไปได้สองสามก้าว ก็มีเสียงร้องเรียกลุง ๆ อยู่ข้างหลัง เมื่อหยุดเหลียวไปดู ก็เห็นชายหนุ่มผู้นั้น เดินตามเข้ามาใกล้แล้วบอกว่า จะขึ้นรถนี้ต้องมีบัตรนะครับ
ผมก็ว่าไม่เห็นมีใครให้มาเลย เขาก็บอกว่าต้องซื้อตั๋วเดือนจึงจะได้ แต่วันนี้คุณลุงเอาที่ผมไปใช้ก่อนเถอะ และเขาก็ควักกระเป๋ากางเกงหยิบตั๋วใบเล็ก ๆ ปึกหนึ่ง ออกมาฉีกให้ผม แล้วเขาก็หันกลับไปจนผมขอบคุณแทบไม่ทัน
เขาให้ตั๋วผมมาตั้งสิบเอ็ดใบ
ถัดมาจากคราวก่อนหลายเดือน ผมต้องไปหาเพื่อนคนเดิมอีกครั้ง ผมก็ขึ้นรถไฟฟ้าจากสถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ไปลงที่สถานีสุรศักดิ์เหมือนเดิม
คราวนี้ผมพกเอาตั๋วโดยสารรถเมล์ของ บีทีเอส ที่ได้มาคราวก่อนไปด้วย
แต่เมื่อขึ้นรถไปแล้วก็เห็นป้ายประกาศ เกี่ยวกับการเปลี่ยนแบบตั๋วโดยสารใหม่ ผมอ่านจบแล้วก็เหงื่อแตก เพราะตั๋วที่ผมพกพามาด้วยนั้น ใช้ไม่ได้เพราะเขายกเลิกไปแล้ว
พอดีมีหญิงสาวผู้หนึ่งนั่งอยู่ใกล้ที่สุด จึงตีหน้าเซ่อยื่นตั๋วสีส้มให้เธอดูแล้วถามว่า ตั๋วนี้ยังใช้ได้หรือไม่ เธอบอกว่าเดี๋ยวนี้ใช้ตั๋วใหม่ แล้วเธอก็ให้ดูตั๋วของเธอซึ่งเป็นสีม่วง ผมก็ว่างั้นผมก็ไปไม่ได้ เธอบอกว่าไม่เป็นไรใช้ของเธอก็ได้
แล้วเธอก็ฉีกตั๋วแบบใหม่ให้ผม ซึ่งผมก็ถือไว้รอให้เขาตรวจ ปรากฎว่าเมื่อผู้โดยสารขึ้นมา เขาก็หย่อนตั๋วลงไปในกล่องข้างคนขับ เช่นเดียวกับรถปรับอากาศขนาดเล็กนั่นเอง
เมื่อผมลงจากรถแล้ว ผมจึงได้ตั๋วสีม่วงติดมือมา เป็นที่ระลึกในน้ำใจของเธอผู้นั้น
และตั๋วใบนั้นยังอยู่จนบัดนี้
เรื่องที่เล่ามานั้น เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นนานมาแล้ว ตั้งแต่รถโดยสารปรับอากาศ สาย ๕๐๕ ยังแล่นข้ามสะพานสาทร ไปจอดที่คลองสาน ซึ่งเดี๋ยวนี้เขาเปลี่ยนปลายทางเป็นสวนลุมพินีแล้ว
แต่ในสมัยปัจจุบัน ที่รถไฟลอยฟ้าได้ต่อรางข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ไปอีกสองสถานีคือ สถานีกรุงธนบุรี และสถานีวงเวียนใหญ่ ผมก็มีเรื่องที่น่าจดจำเกิดขึ้นที่วงเวียนใหญ่นี้อีกเช่นกัน
วันนั้นผมกับนายหงอกจะต้องไปเผาศพญาติของนายแมว ที่วัดโพธิ์แก้ว แถวบางปะแก้วสามแยกถนนพระราม ๒ หรือหัวถนนธนบุรี – ปากท่อเดิมนั่นเอง นายหงอกนั้นบ้านอยู่ ทุ่งสีกัน ดอนเมือง อุตส่าห์นั่งรถมาหาผมที่บ้านสวนอ้อย ตั้งแต่บ่ายสองโมง เพื่อจะได้ไปพร้อมกัน เพราะไม่รู้จักวัดนี้ทั้งสองคน แล้วก็พากันขึ้นรถปรับอากาศสาย ๓ ที่ผ่านหน้าโรงพยาบาลวชิระ ไปลงป้ายวงเวียนใหญ่เมื่อเวลาบ่ายสามโมง
เวลายังเหลืออีกเยอะกว่าจะถึงกำหนดวางเพลิง..ขอโทษ....ประชุมเพลิง ห้าโมงเย็น เราจึงคอยมองข้างรถเมล์ที่แล่นเข้ามาจอดป้ายทุกคัน ว่าสายไหนไปถึงไหน และผ่านที่ใดบ้าง นายแมวได้แนะนำว่าให้ขึ้นสาย ๖๘ จะเลี้ยวขวาไปจอดหน้าวัดเลย แต่เราก็ไม่เห็นมีผ่านมาสักคัน
ขณะนั้นมีพระภิกษุรูปหนึ่งยืนรอรถเมล์อยู่ใกล้ ๆ กัน ท่านจึงเมตตาถามว่า โยมจะไปไหนกัน นายพริ้งก็บอกจุดหมายให้ท่านทราบ แล้วก็เลยคุยกับท่านต่อไป ถึงรถเมล์สายโน้นสายนี้ ท่านก็ออกความเห็นว่าควรจะไปสายไหนได้บ้าง และจะต้องลงที่ไหน ต่อรถสายไหนไปอีก เพราะท่านก็ไม่รู้จริงเหมือนกัน จนกระทั่งมีรถสายที่ท่านต้องการจะขึ้นมาจอดตรงป้าย ท่านจึงร่ำราเราก็ยกมือไหว้คารวะในน้ำใจอันดีของท่านที่เป็นห่วงเรา
เมื่อรถเมล์คันนั้นเคลื่อนที่ออกจากป้ายไปแล้ว เราก็หันไปมองทางขวารอดูรถคันอื่นต่อไป แต่มีผู้ที่ยืนรออยู่ด้วยกันชี้มือบอกว่า ลุงรถคันนั้นเขาเรียก เราก็หันไปดูเห็นรถคันที่พระท่านขึ้นไปเมื่อกี้ จอดรออยู่ไม่ห่างนัก มีแขนคนใส่เสื้อขาว ๆ กวักมือมาที่เราสองคน
นายหงอกจึงชวนผมก้าวยาว ๆ ไปขึ้นรถคันนั้น พอเราสองคนขึ้นไปยืนหอบอยู่บนรถแล้ว กระปี๋ซึ่งเป็นคนโบกมือจึงบอกว่า พระท่านบอกว่าลุงจะไปวัดโพธิ์แก้วใช่ไหม เราก็รับคำแล้วไปหาที่นั่งด้านหน้าบันได เพราะมีผู้โดยสารไม่กี่คน
เมื่อชำระค่าโดยสารในราคาผู้เยาว์ เอ๊ย..ผู้เฒ่าแล้ว นายตรวจหญิงซึ่งนั่งอยู่ที่เก้าอี้หน้าซ้ายใกล้คนขับ หันหน้ามาเห็นเราก็ทักทายปราศรัยไต่ถาม อย่างมีไมตรี
พอรู้ว่านายหงอกมาจากดอนเมือง จะไปบางปะแก้วก็คงจะมีเมตตา ว่าอุตส่าห์ถ่อสังขารมาตั้งไกลถึงเพียงนี้ โดยที่ไม่รู้จักถนนหนทางอะไรเลย เธอจึงอธิบายถึงรถเมล์สายต่าง ๆ ที่ผ่านเส้นทางนี้ เป็นการสาธิต นายหงอกก็ต้องพยักหน้าหงึกหงักไปอย่างเดียว จนไม่ทันสังเกตว่าพระภิกษุผู้ใจดีรูปนั้นลงจากรถไปตั้งแต่เมื่อไร เมื่อรถแล่นผ่านดาวคะนองใกล้จะถึงทางแยก เธอก็บอกว่า
“ เดี๋ยวเลิกงานแล้วลุงเดินข้ามสะพานลอยมาฝั่งตรงข้าม แล้วเดินเลาะมาถึงป้ายนี้นะ “
เธอชี้มือประกอบการบรรยายไปยังป้ายจอดรถเมล์ฝั่งตรงข้าม
“ แล้วจะขึ้นรถสายอะไรก็ได้ แต่มีอยู่สายหนึ่ง ไปถึงอนุสาวรีย์ชัยฯ เลย ลุงจะได้ต่อไปดอนเมืองง่ายดี “
แล้วเธอก็บอกเบอร์รถสายนั้นให้ แต่ผมก็ไม่ได้จำ ขณะนั้นรถก็เลี้ยวขวาแล้วหยุดรอไฟแดงอยู่ครู่หนึ่ง นายตรวจหญิงก็บอกคนขับว่า ให้จอดป้ายหน้าให้ลุงสองคนนี่ลง แต่พอได้ไฟเขียวรถก็แล่นไปจนเลยป้าย คนขับรีบบอกว่า
“ รอแป๊บผมจะจอดให้หน้าประตูวัดเลย เดี่ยวจะหาวัดไม่ถูกอีก “
ผมกับนายหงอกกล่าวขอบคุณ ผู้หวังดีทั้งสาม ก่อนก้าวลงมายืนบนพื้นถนนเมื่อรถจอดสนิท ตรงหน้าประตูวัดโพธิ์แก้ว ด้วยความซาบซึ้งในความเมตตาอารี ซึ่งหาได้ยากยิ่งเช่นนี้
แม้จะไม่ทราบชื่อเสียงเรียงนามของเขาและเธอเหล่านั้น แต่ผมก็คงจะจดจำรถโดยสารคันนี้ ไปอีกนาน
เพราะผมเห็นหมายเลข ๑๗๓ – ๑๙ ที่ข้างตัวถังรถอย่างชัดเจน.
###############
พ.ศ.๒๕๔๘