วันนี้มีโอกาสได้ร่วมเสวนาหัวข้อ “ฉันทามติเพื่อการขับเคลื่อนการปฏิรูปการต่อต้านคอร์รัปชัน" จัดโดย องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)
องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ จับมือภาคีภาคสังคมกว่า 26 องค์กรที่ขับเคลื่อนงานต่อต้านคอร์รัปชัน สร้างฉันทามติร่วม ว่าด้วยการปฏิรูปการต่อต้านคอร์รัปชันฉบับประชาชน เตรียมนำ “7 ข้อเสนอสำคัญที่ไม่ทำไม่ได้” เสนอต่อกลไกปฎิรูป
องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ร่วมกับภาคีเครือข่ายภาคสังคม จัดงานเสวนาโต๊ะกลมหัวข้อ “ฉันทามติเพื่อการขับเคลื่อนการปฏิรูปการต่อต้านคอร์รัปชัน” แลกเปลี่ยนความคิดเห็นข้ามเครือข่ายประเด็น “การปฏิรูปการป้องกันและปราบปรามคอร์รัปชัน” ที่นำไปสู่ข้อเสนอที่เป็นฉันทามติร่วมฉบับประชาชน (National Consensus) เตรียมนำเสนอต่อกลไกการปฏิรูปภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) หรือสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) หรือ คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.) แม้กระทั่งคณะรัฐบาลชุดใหม่ เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนการปฏิรูปภาคประชาชนคู่ขนานกันไปกับภาคปฏิรูปโดยกลไกภาครัฐ
นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า การประชุมหารือสร้างฉันทามติร่วมครั้งนี้ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง โดยที่ประชุมมีฉันทามติร่วม 7 ข้อเสนอ ได้แก่
(1 )แก้ไขกฏหมาย ให้คอร์รัปชันเป็นอาชญากรรมร้ายแรง ต้องลงโทษโดยไม่มีการรอลงอาญา และกำหนดมาตรการสำคัญ เช่น อายุความการติดตามตัวผู้ร้ายข้ามแดน การยึดทรัพย์สินคืน การเอาผิดผู้จ่ายสินบนให้มากขึ้น การใช้มาตรการตรวจสอบด้านการเงิน บัญชีและการเสียภาษีเพื่อจับผิดคนโกง ฯลฯ
(2) ป้องกันคอร์รัปชันและการแทรกแซงสื่อ ด้วยการออกกฏหมายควบคุมการใช้งบประมาณเพื่อการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ของรัฐ
(3) สร้างการมีส่วนร่วมภาคประชาชนในการตรวจสอบการการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ โดยการนำ “ข้อตกลงคุณธรรม” (Integrity Pact) มาใช้
(4) สร้างความโปร่งใสในภาครัฐ โดยเร่งปรับปรุง พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
(5) ให้รัฐวิสาหกิจต้องบริหารจัดการโดยยึดมาตรฐานบรรษัทภิบาล เทียบเท่าบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และห้ามบุคคลในกระบวนการยุติธรรม เป็นคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจ
(6) รัฐต้องเร่งสร้างวัฒนธรรมการต่อต้านคอร์รัปชันอย่างชัดเจน ต่อเนื่อง ด้วยการทุ่มงบประมาณเพื่อการรณรงค์อย่างมียุทธศาสตร์และต่อเนื่องอย่างน้อย 5 ปี
(7) จัดตั้งกองทุนส่งเสริมธรรมาภิบาลและต่อต้านคอร์รัปชัน ภาคประชาชน
"ที่ประชุมเห็นพ้องต้องกันว่าผู้นำทางการเมืองจะต้องสร้างมาตรฐานความโปร่งใส และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับสังคม เริ่มต้นจากการแสดงบัญชีทรัพย์สิน หนี้สิน รายได้ และการเสียภาษี ต่อสาธารณะ โดยคาดหวังว่าสภาปฎิรูปแห่งชาติ ที่จัดตั้งขึ้นจะกำหนดให้การป้องกันและปราบปรามคอร์รัปชัน เป็นวาระแห่งชาติ และผลักดันให้การปฎิรูปเห็นผลเป็นรูปธรรมได้ภายใน 1 ปี ซึ่งถ้าทำได้ เชื่อมั่นว่าคอร์รัปชันจะหมดไปจากประเทศไทยในที่สุด"
อนึ่ง ภาคีเครือข่ายที่ร่วมประชุมเพื่อสร้างฉันทามติร่วมครั้งนี้ ประกอบด้วย เครือข่ายเดินหน้าปฎิรูป (RNN) สภาพัฒนาการเมือง (สพม.), สถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI), สถาบันพระปกเกล้า, สถาบันต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA), เครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชัน (คปต.), สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ, สมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย, สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย, โครงการภาคีพัฒนาประเทศไทย, องค์กรเพื่อความโปร่งใสประเทศไทย, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), มูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด, กลุ่มวิชาการลดทุจริต, มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ฯลฯ
องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ ระดมความคิดเครือข่ายภาคี เสนอฉันทามติ 7 ข้อเสนอ ดันคอร์รัปชัน ให้เป็นวาระแห่งชาติ
องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ จับมือภาคีภาคสังคมกว่า 26 องค์กรที่ขับเคลื่อนงานต่อต้านคอร์รัปชัน สร้างฉันทามติร่วม ว่าด้วยการปฏิรูปการต่อต้านคอร์รัปชันฉบับประชาชน เตรียมนำ “7 ข้อเสนอสำคัญที่ไม่ทำไม่ได้” เสนอต่อกลไกปฎิรูป
องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ร่วมกับภาคีเครือข่ายภาคสังคม จัดงานเสวนาโต๊ะกลมหัวข้อ “ฉันทามติเพื่อการขับเคลื่อนการปฏิรูปการต่อต้านคอร์รัปชัน” แลกเปลี่ยนความคิดเห็นข้ามเครือข่ายประเด็น “การปฏิรูปการป้องกันและปราบปรามคอร์รัปชัน” ที่นำไปสู่ข้อเสนอที่เป็นฉันทามติร่วมฉบับประชาชน (National Consensus) เตรียมนำเสนอต่อกลไกการปฏิรูปภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) หรือสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) หรือ คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.) แม้กระทั่งคณะรัฐบาลชุดใหม่ เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนการปฏิรูปภาคประชาชนคู่ขนานกันไปกับภาคปฏิรูปโดยกลไกภาครัฐ
นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า การประชุมหารือสร้างฉันทามติร่วมครั้งนี้ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง โดยที่ประชุมมีฉันทามติร่วม 7 ข้อเสนอ ได้แก่
(1 )แก้ไขกฏหมาย ให้คอร์รัปชันเป็นอาชญากรรมร้ายแรง ต้องลงโทษโดยไม่มีการรอลงอาญา และกำหนดมาตรการสำคัญ เช่น อายุความการติดตามตัวผู้ร้ายข้ามแดน การยึดทรัพย์สินคืน การเอาผิดผู้จ่ายสินบนให้มากขึ้น การใช้มาตรการตรวจสอบด้านการเงิน บัญชีและการเสียภาษีเพื่อจับผิดคนโกง ฯลฯ
(2) ป้องกันคอร์รัปชันและการแทรกแซงสื่อ ด้วยการออกกฏหมายควบคุมการใช้งบประมาณเพื่อการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ของรัฐ
(3) สร้างการมีส่วนร่วมภาคประชาชนในการตรวจสอบการการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ โดยการนำ “ข้อตกลงคุณธรรม” (Integrity Pact) มาใช้
(4) สร้างความโปร่งใสในภาครัฐ โดยเร่งปรับปรุง พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
(5) ให้รัฐวิสาหกิจต้องบริหารจัดการโดยยึดมาตรฐานบรรษัทภิบาล เทียบเท่าบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และห้ามบุคคลในกระบวนการยุติธรรม เป็นคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจ
(6) รัฐต้องเร่งสร้างวัฒนธรรมการต่อต้านคอร์รัปชันอย่างชัดเจน ต่อเนื่อง ด้วยการทุ่มงบประมาณเพื่อการรณรงค์อย่างมียุทธศาสตร์และต่อเนื่องอย่างน้อย 5 ปี
(7) จัดตั้งกองทุนส่งเสริมธรรมาภิบาลและต่อต้านคอร์รัปชัน ภาคประชาชน
"ที่ประชุมเห็นพ้องต้องกันว่าผู้นำทางการเมืองจะต้องสร้างมาตรฐานความโปร่งใส และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับสังคม เริ่มต้นจากการแสดงบัญชีทรัพย์สิน หนี้สิน รายได้ และการเสียภาษี ต่อสาธารณะ โดยคาดหวังว่าสภาปฎิรูปแห่งชาติ ที่จัดตั้งขึ้นจะกำหนดให้การป้องกันและปราบปรามคอร์รัปชัน เป็นวาระแห่งชาติ และผลักดันให้การปฎิรูปเห็นผลเป็นรูปธรรมได้ภายใน 1 ปี ซึ่งถ้าทำได้ เชื่อมั่นว่าคอร์รัปชันจะหมดไปจากประเทศไทยในที่สุด"
อนึ่ง ภาคีเครือข่ายที่ร่วมประชุมเพื่อสร้างฉันทามติร่วมครั้งนี้ ประกอบด้วย เครือข่ายเดินหน้าปฎิรูป (RNN) สภาพัฒนาการเมือง (สพม.), สถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI), สถาบันพระปกเกล้า, สถาบันต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA), เครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชัน (คปต.), สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ, สมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย, สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย, โครงการภาคีพัฒนาประเทศไทย, องค์กรเพื่อความโปร่งใสประเทศไทย, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), มูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด, กลุ่มวิชาการลดทุจริต, มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ฯลฯ