พุทธพจน์....
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มารดาบิดา อันบุตรแห่งตระกูลทั้งหลายใด บูชาอยู่ในเรือน
ของตน ตระกูลทั้งหลายนั้น ชื่อว่ามีพรหม มีบุรพาจารย์ มีอาหุไนย
คำว่าพรหม บุรพาจารย์ อาหุไนยนี่ เป็นคำเรียกมารดาบิดาทั้งหลาย
นั่นเพราะเหตุอะไร เพราะมารดาบิดาทั้งหลายเป็นผู้มีอุปการะมาก
เป็นผู้ฟูมฟักเลี้ยงดู แสดงโลกนี้แก่บุตรทั้งหลาย ฯ
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
เราทั้งหลายจักเป็นผู้กตัญญูกตเวที และอุปการะแม้เพียงเล็กน้อย
ที่บุคคลอื่นกระทำในเราทั้งหลายจักไม่เสื่อมสูญไป
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้
มารดาบิดา
ในพระไตรปิฎก ได้กล่าวถึงความสำคัญของมารดาบิดาไว้ดังข้อความที่พระพุทธเจ้าทรงยกย่องผู้เป็นพ่อแม่ไว้ว่า
พฺรหมฺมาติ มาตาปิตโร ปุพฺพาจริยาติ วุจฺจเร
อาหุเนยฺยา จ ปุตฺตานํ ปชาย อนุกมฺปกา ฯ
แปลใจความได้ว่า
มารดาบิดาเป็นพระพรหมของบุตร มีพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา
มารดาบิดาเป็นครู - อาจารย์คนแรกของบุตรสั่งสอนอบรมกิริยามารยาทให้ลูกก่อนคนอื่น
มารดาบิดาเป็นบุคคลที่สมควรแก่วัตถุที่ลูกนำไปบูชา เป็นพระอรหันต์ของลูก
มารดาบิดาเป็นผู้อนุเคราะห์เลี้ยงดูบุตรจนโตใหญ่สามารถเลี้ยงตนเองได้
มารดา บิดาเป็นเทวดาของบุตร
มารดา บิดาเป็นบุพการีของบุตร
และมารดา บิดาเป็นมิตรในเรือนของบุตร “มาตา มิตฺตํ สเก ฆเร”
มารดาบิดา และ การกตัญญู ตามหลักพระพุทธศาสนา..
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มารดาบิดา อันบุตรแห่งตระกูลทั้งหลายใด บูชาอยู่ในเรือน
ของตน ตระกูลทั้งหลายนั้น ชื่อว่ามีพรหม มีบุรพาจารย์ มีอาหุไนย
คำว่าพรหม บุรพาจารย์ อาหุไนยนี่ เป็นคำเรียกมารดาบิดาทั้งหลาย
นั่นเพราะเหตุอะไร เพราะมารดาบิดาทั้งหลายเป็นผู้มีอุปการะมาก
เป็นผู้ฟูมฟักเลี้ยงดู แสดงโลกนี้แก่บุตรทั้งหลาย ฯ
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
เราทั้งหลายจักเป็นผู้กตัญญูกตเวที และอุปการะแม้เพียงเล็กน้อย
ที่บุคคลอื่นกระทำในเราทั้งหลายจักไม่เสื่อมสูญไป
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้
มารดาบิดา
ในพระไตรปิฎก ได้กล่าวถึงความสำคัญของมารดาบิดาไว้ดังข้อความที่พระพุทธเจ้าทรงยกย่องผู้เป็นพ่อแม่ไว้ว่า
พฺรหมฺมาติ มาตาปิตโร ปุพฺพาจริยาติ วุจฺจเร
อาหุเนยฺยา จ ปุตฺตานํ ปชาย อนุกมฺปกา ฯ
แปลใจความได้ว่า
มารดาบิดาเป็นพระพรหมของบุตร มีพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา
มารดาบิดาเป็นครู - อาจารย์คนแรกของบุตรสั่งสอนอบรมกิริยามารยาทให้ลูกก่อนคนอื่น
มารดาบิดาเป็นบุคคลที่สมควรแก่วัตถุที่ลูกนำไปบูชา เป็นพระอรหันต์ของลูก
มารดาบิดาเป็นผู้อนุเคราะห์เลี้ยงดูบุตรจนโตใหญ่สามารถเลี้ยงตนเองได้
มารดา บิดาเป็นเทวดาของบุตร
มารดา บิดาเป็นบุพการีของบุตร
และมารดา บิดาเป็นมิตรในเรือนของบุตร “มาตา มิตฺตํ สเก ฆเร”