ตรรกะส่วนตัวกับการดูหนัง แล้วเพื่อนๆล่ะมีตรรกะการดูหนังยังไง

กระทู้สนทนา
ออกตัวว่าเราเป็นคนชอบหนังญี่ปุ่น
แต่ดูหนังทุกแบบนะคะ

ส่วนตัวคิดว่าหนังฝรั่งยังไงก็เป็นได้แค่หนังฝรั่ง หนังญี่ปุ่นดูไม่เข้าใจก็เกลียดไปเลย

หนังฝรั่งต้องปูเรื่อง ต้องมีเหตุผลที่มา ตอนจบต้องสรุปได้ ต้องให้ข้อคิด จบด้วยเรื่องต้องการสื่ออะไร
ให้คำตอบอะไรที่ตามหามาทั้งเรื่อง หักมุมยังไงก็เฉลยคำตอบให้ทีหลัง

ส่วนหนังเกาหลีก็พอกัน เปิดเรื่องมาคือต้องสรุปเรื่องได้คร่าวๆ ส่วนตอนจบจะสรุปให้มั้ยก็แล้วแต่
แต่ถ้าเป็นหนังเกาหลีสมัยก่อนก็มีอินดี้ๆนะ แนว Old Boy หรือหนังในเครือผู้กำกับคนนี้แต่ละคนอย่างดิบ โหด อินดี้


แต่หนังญี่ปุ่นนี้คือดิบแท้ ฟิลเหมือนพวกเราเป็นหนึ่งในตัวละครในหนัง
ความจริงของชีวิตคือพวกเราไม่ได้อยู่ในที่ซึ่งมองทุกอย่างเห็นได้ทุกมุม
ฉะนั้นการเดินเรื่องแบบญี่ปุ่นมันบางทีมันจะงงก็เป็นอะไรที่ดิบดี
เป็นอะไรที่ค่อยๆรู้สึก ค่อยๆเข้าใจ เปิดไปทีละนิดพร้อมๆกับตัวละคร

ตลอดการดูหนังญี่ปุ่นอย่าไปถามมากว่าไอ่นั้นมันคิดอะไรอยู่
เพราะเราไม่ใช่ไอ่คนนั้น แต่เราเป็นอีกตัวนึง
(ซึ่งแล้วแต่ว่า เรื่องนั้นจะเล่าในมุมของใคร อาจไม่จำเป็นต้องเป็นตัวเอก แต่อาจเป็นผู้ร้าย ตัวประกอบ ก็แล้วแต่)

ซึ่งหนังญี่ปุ่นนั้น ชอบมากที่เขาเปิดกว้างความคิด ไม่ชิงสรุปเรื่อง ข้อคิด หรือพยายามบอกว่าเราได้อะไรจากเรื่องนี้ หรือสุดท้ายแล้วคนนั้นๆคิดอะไร ตัดสินใจอะไร หรือตกลงมันเป็นคนดีหรือไม่ดีกันแน่
ถ้าดูเป็นจะรู้ว่ามันไปได้ไม่กี่ทางหรอก ไม่ได้ไปมั่วขนาดนั้น

ชอบความดิบของหนังญี่ปุ่นมาก ถ้าดูเป็นมันจะสัมผัสถึงความรู้สึกนึกคิดของตัวละครแต่ละตัวได้ดีมากเลยทีเดียว ซึ่งหนังญี่ปุ่นพยายามเล่าเรื่องแบบที่ทำให้เราต้องทิ้งความคิดทุกอนุมูลของเราไป เพื่อรับทัศนคติ และตรรกะใหม่ๆจากหนังอย่างเต็มที่
ไม่งั้นจะไม่รู้เรื่องแล้วหาว่าหนังห่วยนี้ไม่ใช่หนังนะ ดูไม่เป็นเองต่างหาก

ยกตัวอย่างที่รู้จักกัน ก็อย่างเช่น Battle Royal ซึ่งเมื่อเทียบกับ The Hunger Game คล้ายกันมากนะ
แต่ฟิลทั้งความดิบ และความเท่ การพยายามให้ความหมายจะเก๋กันไปคนละแนว
ซึ่งเป็นอะไรที่เหมือนกับการดื่มคาปูชิโน่ หรือเอสเพลสโซ่ ที่อร่อยเหมือนกัน แต่คนละแบบกันไป

การคาดหวังจากกลุ่มเป้าหมายของหนัง

การดูหนังอย่างมีความสุขควรดูด้วยว่ากลุ่มเป้าหมายของเขาคือใคร เช่น หนังเด็ก จากดิสนี่ย์ เข้าไปนี้อย่าคาดหวังความซับซ้อน หรือเหตุผลในเรื่อง
ดิสนี่ย์ขอแค่มหัศจรรย์ไว้ก่อน แต่หากว่ามีเรื่องไหนที่โดดเด่นทำเหตุผลง่ายๆออกมาได้สอดคล้องกับความมหัศจรรย์
และยังมีเสน่ห์แบบเทพนิยายอยู่นั้น ก็ถือเป็นโชคดีของเรื่องนั้นแล้วล่ะ เช่น Frozen ที่เกือบจะมีเหตุผลที่ดีตลอดทั้งเรื่องเป้นต้น
แต่จะเอาอะไรมากกับพวกเทพนิยายจริงมั้ย เด็กๆเราฟังเขาเล่านิทาน
ก็เล่าแค่ว่า พระราชาโรกธมากจึงขับไล่นางไป แม่มดชั่วร้ายอิจฉานางจึงสาปนาง
จากนั้นก็เล่าข้ามไปสิบกว่าปีเลย เนื้อเรื่องมันกลวง แบบหาเหตุผลไม่มีอยู่แล้วที่จริง
(เป็นคนดูหนังซับซ้อน แต่ยอมให้กับหนังเทพนิยายค่ะ)

แต่ถ้าเป็น Studio Ghibil ถือได้ว่าเป็นการ์ตูนสำหรับผู้ใหญ่มากกว่า ตอนเด็กๆดูละค่อดงง บางทีแอบเบื่อ
ถ้าลายเส้นไม่สวยขนาดนี้ละล่ะก็นะ

ซึ่งเมื่อโตขึ้นและได้กลับไปดูเอนิเมค่ายนี้อีกครั้ง มันก็คือการเล่าเรื่องสไตล์ญี่ปุ่นที่น่าทึ่งนั้นเอง
หลายคนอาจดูไม่เข้าใจ มันก็แล้วแต่...ประสบการณ์ที่แต่ละคนเจอนะ มันมีความหมายเชิงสัญลักษณ์
นามธรรมอะไรซ่อนอยู่ พาลให้คิดถึงศาสตร์มุมมองแบบรัฐศาสตร์ หรือเศรษฐศาสตร์ก็ว่ากันไป


ประสบการณ์ที่แตกต่างกันทำให้การดูหนังเข้าใจต่างกันไป

ยังไงดีล่ะ จากที่บ่นๆไปแล้วข้างบน ก้ง่ายๆเลย
แค่ตอนที่เราโตแล้ว กลับไปดูหนังตอนเด็กอีกครั้ง เรากลับคิดต่างไป
ตอนนั้นเราอาจจะคิดว่าซื่อบื้อ หนังหอกอะไรฟะ ดูไม่รู้เรื่อง
ละพระเอกชอบนางเอก บอกไปตรงๆไม่ได้เหรอวะ?

แต่พอโตขึ้นมาแล้ว เรากลับเข้าใจว่าทำไม
เช่น ตอนเด็กๆชอบสงสัยว่าชอบใครแค่บอกไปมันยากตรงไหนวะซื่อบื้อว่ะ
พอโตมาเจอคนที่แอบชอบเอง นี้เข้าใจเลย

หรือ ทะเลาะกันแค่ขอโทษทำไม่ได้หรอวะ
พอโตมาเข้าใจเลยส่าทำไม

รวมถึงการใช้ตรรกะต่างๆจากที่เรียนมา เช่น หลักการรัฐศาสตร์
ตอนดูมักจะไม่เข้าใจว่า เอ่า เมิงเจอหัวหน้าใหญ่ละนิ ทำไมไม่ข้าหัวหน้าใหญ่ให้จบๆมันตรงนั้นไปเลย
แต่พอโตขึ้นมา ก็คือจะพอเข้าใจว่า การฆ่าบอสใหญ่ มันหมายถึงการลุกฮือที่ไม่สิ้นสุดของประชาชน
และความวุ่นวายที่คนมีอำนาจเท่าๆกัน จะแย่งชิงอำนาจแทนบอสใหญ่

ประมานนี้ล่ะค่ะ
เพื่อนๆล่ะว่าไง พล่ามยาวเชียว อิอิ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่