อาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรีทำหนังสือแจ้ง คสช.ขอไม่รับตำแหน่ง สนช.ที่เพิ่งมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเมื่อวานนี้ (31 ก.ค.57) ระบุตำแหน่งจุฬาราชมนตรีเป็นตำแหน่งผู้นำศาสนา ไม่เหมาะสมหากรับตำแหน่งทางการเมือง นักวิชาการชี้ไม่มีผลต่อการเปิดประชุมสภา
วันนี้ (1 ส.ค.57) ไทยพีบีเอสออนไลน์ ได้รับการเปิดเผยจากคนใกล้ชิดของนายอาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี ซึ่งได้รับการเสนอชื่อแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ลำดับที่ 193 ว่านายอาศิสได้ทำหนังสือแจ้งต่อทางคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)ขอไม่รับตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เนื่องจากความเหมาะสมต่อสถานะของผู้นำสูงสุดทางศาสนาอิสลามในราชอาณาจักร จึงไม่อาจรับตำแหน่งทางการเมืองใดๆ ได้ ซึ่งที่ผ่านมายังไม่มีใครทาบทามหรือบอกกล่าวมาก่อนล่วงหน้า มิเช่นนั้นคงกล่าวปฏิเสธไปแล้วก่อนประกาศรายชื่อ
แหล่งข่าวยังเปิดเผยอีกว่า ปัจจุบันนายอาศิสยังประสบกับปัญหาสุขภาพอย่างมาก ต้องนั่งรถเข็นในการเดินทางไปประกอบศาสนกิจและปฏิบัติหน้าที่จุฬาราชมนตรี
และจากการสำรวจท่าทีของชาวมุสลิมในประเทศไทยหลังจากมีชื่อของจุฬาราชมนตรีได้รับการแต่งตั้งเป็น สนช.ตามเว็บไซต์และสำนักข่าวออนไลน์พบว่าส่วนใหญ่เป็นไปในทางลบ โดยวิพากษ์วิจารณ์ผู้เสนอชื่อจุฬาราชมนตรีเข้าไปดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพราะโดยตำแหน่งแล้วจุฬาราชมนตรีนั้นเป็นตำแหน่งสูงสุด ในอดีตจุฬาราชมนตรี เป็นตำแหน่งตัวแทนพระองค์ในฝ่ายมุสลิม แต่การดึงจุฬาราชมนตรีไป เป็นสนช.ถือว่านอกจากไปลดเกียรติของจุฬาราชมนตรีแล้วยังเป็นการทำลายเกียรติตำแหน่งนี้อีกด้วย
ในอดีตตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ยังเคยควบตำแหน่งออกญาบวรราชนายก ซึ่งมีตำแหน่งเทียบเท่ากับนายกรัฐมนตรีในยุคปัจจุบันนี้ และในอดีตจุฬาราชมนตรียังเคยควบตำแหน่งพระยากลาโหมเสนา หรือออกญากลาโหมด้วย
ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม กล่าวว่า กรณีผู้ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ แล้วไม่ไปรายงานตัวเพื่อรับตำแหน่ง ก็ถือว่าไม่ได้เป็นสนช. ไม่ได้มีผลกระทบใดๆ ต่อการทำงานของ สนช. เพราะมีข้อกำหนดว่ามีสมาชิกไม่เกิน 220 คนเท่านั้น ไม่เหมือนการสมัครเป็นส.ส.หรือส.ว.ที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้ว่าถ้าไม่ถึงร้อยละ 95 จะไม่สามารถเปิดการประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้ แต่สนช.แม้มีคนเดียวก็เปิดประชุมได้เลย แต่ทั้งนี้อยู่ที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช.ว่าจะมีการแต่งตั้งคนอื่นมาเป็นแทนให้ครบจำนวนหรือไม่ หรือว่าจะให้ สนช.เท่าที่มีสามารถดำเนินการเปิดประชุมได้เช่นกัน.
http://news.thaipbs.or.th/content/อาศิส-พิทักษ์คุมพล-จุฬาราชมนตรีขอไม่รับตำแหน่ง-สนช
"อาศิส พิทักษ์คุมพล" จุฬาราชมนตรีขอไม่รับตำแหน่ง สนช.
อาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรีทำหนังสือแจ้ง คสช.ขอไม่รับตำแหน่ง สนช.ที่เพิ่งมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเมื่อวานนี้ (31 ก.ค.57) ระบุตำแหน่งจุฬาราชมนตรีเป็นตำแหน่งผู้นำศาสนา ไม่เหมาะสมหากรับตำแหน่งทางการเมือง นักวิชาการชี้ไม่มีผลต่อการเปิดประชุมสภา
วันนี้ (1 ส.ค.57) ไทยพีบีเอสออนไลน์ ได้รับการเปิดเผยจากคนใกล้ชิดของนายอาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี ซึ่งได้รับการเสนอชื่อแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ลำดับที่ 193 ว่านายอาศิสได้ทำหนังสือแจ้งต่อทางคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)ขอไม่รับตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เนื่องจากความเหมาะสมต่อสถานะของผู้นำสูงสุดทางศาสนาอิสลามในราชอาณาจักร จึงไม่อาจรับตำแหน่งทางการเมืองใดๆ ได้ ซึ่งที่ผ่านมายังไม่มีใครทาบทามหรือบอกกล่าวมาก่อนล่วงหน้า มิเช่นนั้นคงกล่าวปฏิเสธไปแล้วก่อนประกาศรายชื่อ
แหล่งข่าวยังเปิดเผยอีกว่า ปัจจุบันนายอาศิสยังประสบกับปัญหาสุขภาพอย่างมาก ต้องนั่งรถเข็นในการเดินทางไปประกอบศาสนกิจและปฏิบัติหน้าที่จุฬาราชมนตรี
และจากการสำรวจท่าทีของชาวมุสลิมในประเทศไทยหลังจากมีชื่อของจุฬาราชมนตรีได้รับการแต่งตั้งเป็น สนช.ตามเว็บไซต์และสำนักข่าวออนไลน์พบว่าส่วนใหญ่เป็นไปในทางลบ โดยวิพากษ์วิจารณ์ผู้เสนอชื่อจุฬาราชมนตรีเข้าไปดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพราะโดยตำแหน่งแล้วจุฬาราชมนตรีนั้นเป็นตำแหน่งสูงสุด ในอดีตจุฬาราชมนตรี เป็นตำแหน่งตัวแทนพระองค์ในฝ่ายมุสลิม แต่การดึงจุฬาราชมนตรีไป เป็นสนช.ถือว่านอกจากไปลดเกียรติของจุฬาราชมนตรีแล้วยังเป็นการทำลายเกียรติตำแหน่งนี้อีกด้วย
ในอดีตตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ยังเคยควบตำแหน่งออกญาบวรราชนายก ซึ่งมีตำแหน่งเทียบเท่ากับนายกรัฐมนตรีในยุคปัจจุบันนี้ และในอดีตจุฬาราชมนตรียังเคยควบตำแหน่งพระยากลาโหมเสนา หรือออกญากลาโหมด้วย
ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม กล่าวว่า กรณีผู้ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ แล้วไม่ไปรายงานตัวเพื่อรับตำแหน่ง ก็ถือว่าไม่ได้เป็นสนช. ไม่ได้มีผลกระทบใดๆ ต่อการทำงานของ สนช. เพราะมีข้อกำหนดว่ามีสมาชิกไม่เกิน 220 คนเท่านั้น ไม่เหมือนการสมัครเป็นส.ส.หรือส.ว.ที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้ว่าถ้าไม่ถึงร้อยละ 95 จะไม่สามารถเปิดการประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้ แต่สนช.แม้มีคนเดียวก็เปิดประชุมได้เลย แต่ทั้งนี้อยู่ที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช.ว่าจะมีการแต่งตั้งคนอื่นมาเป็นแทนให้ครบจำนวนหรือไม่ หรือว่าจะให้ สนช.เท่าที่มีสามารถดำเนินการเปิดประชุมได้เช่นกัน.
http://news.thaipbs.or.th/content/อาศิส-พิทักษ์คุมพล-จุฬาราชมนตรีขอไม่รับตำแหน่ง-สนช