สมาคมผู้ประกอบการท่องเที่ยว เกาะเสม็ด ฟ้องปตท.ประมาทเลินเล่อ ทำน้ำมันดิบ 5 หมื่นลิตรรั่วไหลลงสู่ชายฝั่งมาบตาพุต ส่งผลกระทบต่อชายหาดเป็นระยะทางยาว 8 กม.และต้องใช้เวลาฟื้นฟูระบบนิเวศน์ใหม่อีกราว 10 ปี เรียกค่าเสียหาย 1,000 ล้านบาท แม้จะมีความพยามเจรจาหลายครั้งแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ
วันนี้ (28 ก.ค.) ที่ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก นางสุจารี เจริญผล อุปนายกสมาคมผู้ประกอบการท่องเที่ยวเกาะเสม็ด จ.ระยองและผู้ประกอบการท่องเที่ยว ประมาณ 10 คน เป็นโจทก์ฟ้องยื่น บริษัทพีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด มหาชน เป็นจำเลยฐานละเมิด และความผิดตามพรบ.สิ่งแวดล้อม เรียกค่าเสียหาย 1,000 ล้านบาท
โดยคำฟ้องระบุว่า โจทก์เป็นสมาคมของกลุ่มเจ้าของ ผู้จัดการ ตัวแทนโรงแรม ร้านอาหาร สถานบันเทิง บริษัทนำเที่ยว ผู้ประกอบอาชีพท่องเที่ยว ร้านค้าขายของที่ระลึกในเกาะเสม็ด จ.ระยอง มีสมาชิก 70 ราย มีวัตถุประสงค์เป็นตัวแทนประสานงานกับหน่วยงานของรัฐ เมื่อพบเห็นการกระทำผิดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม หรือรับแจ้งว่ามีภยันตรายแก่เกาะเสม็ดจากสิ่งแวดล้อม เมื่อเกิดความเสียหายใดๆ สมาคมก็จะเป็นตัวแทนดำเนินคดีแทนสมาชิก ส่วนจำเลย เป็นบริษัทมหาชน
เมื่อวันที่ 27ก.ค.2556 จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ คือ ขณะเรือบรรทุกน้ำมันของจำเลยได้ถ่ายน้ำมันดิบผ่านทุ่นรับน้ำมันมายังโรงกลั่นน้ำมันของจำเลย ได้เกิดเหตุท่อรับน้ำมันดิบรั่ว ห่างจากชายฝั่งมาบตาพุตไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 20 กม. เกิดจากความประมาทของจำเลยซึ่งไม่ตรวจสอบประสิทธิภาพของท่อส่งน้ำมันให้มีสภาพใช้งานได้ปกติ และหลังจากน้ำมันดิบรั่วแล้ว พนักงานของจำเลยที่ควบคุมการขนถ่ายน้ำมันจากเรือ ไม่ตัดวาล์วเมื่อมีน้ำมันรั่วไหล ทำให้มีน้ำมันดิบรั่ว กว่า 5 หมื่นลิตร เมื่อน้ำมันรั่วไหลลงสู่ทะเลระยอง จำเลยก็ไม่ได้แก้ไขเก็บกู้ทันทีและถูกต้อง เพราะใช้ทุ่นล้อมน้ำมันเป็นระยะทางที่สั้นมาก บางอันก็ขาดบางอันก็จม จึงไม่มีประสิทธิภาพ น้ำมันจึงกระจาจายออกไปกว่า 2 กิโลเมตร เป็นระยะทางยาว 8 กิโลเมตร ต่อมามีคลื่นลมแรง น้ำมันจึงทะลักเข้าอ่าวพร้าว เกาะเสม็ด เมื่อวันที่ 29 ก.ค.2556 ระยะทางยาว 600 เมตร
หลังจากจังหวัดระยองประกาศให้เกาะเสม็ดเป็นเขตภัยพิบัติทางทะเล นายอนันต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริษัทของจำเลย ได้มีหนังสือแจ้งน้ำมันรั่วไหลในทะเลไปยังกรรมการผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แต่กลับไม่มีการแจ้งข้อเท็จจริงให้ประชาชนทราบ และได้ใช้สารเคมี 2 ชนิด เพื่อกำกจัดคราบน้ำมัน โดยไม่แจ้งต่ออุทยานแห่งชาติ โดยไม่คำนึงว่าเป็นพื้นที่เขตอ่อนไหวทางธรรมชาติ ซึ่งสารเคมีที่ใช้มีผลต่อปะการัง สัตว์ทะเล ระบบนิเวศน์ ทั้งในระยะสั้นระยะยาว จำเลยไม่เคยฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ เพิ่มจุลินทรีย์ จัดฝึกอบรมพร้อมรับมือภัย
ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์จำเลยไม่เคยให้ข้อมูลการส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ ระบบนิเวศและสุขภาพประชาชน จึงไม่สามารถตรวจสอบการทำงานของจำเลยได้ โจทก์ทราบจากนักวิชาการสิ่งแวดล้อมว่า เหตุการณ์ครั้งนี้ ได้ส่งผลกระทบจนเสียหายไม่ต่ำกว่า1,000 ล้านบาท และต้องใช้เวลาฟื้นฟูนาน10 ปี แม้ชายหาดจะถูกทำความสะอาด แต่การฟื้นฟูทางระบบนิเวศยังต้องดำเนินต่อไป
ความเสียหายดังกล่าว ได้ส่งผลให้นักท่องเที่ยวหวาดกลัว ยกเลิกการมาเที่ยวเกือบหมด และส่งผลเป็นลูกโซ่ไปถึงโรงแรม ร้านค้ารถโดยสาร ผู้ค้า ซ้ำยังส่งผลเสียหายแก่แนวปะการัง ที่อ่าวปลาต้ม อ่าวน้อยหน่า นกและปลาตายไปจำนวนมาก เกิดการสะสมของปรอท จึงฟ้องเรียกค่าเสียหาย1,000 ล้านบาท และจัดทำแผนแก้ไขปัญหาสิ่งปนเปื้อนในระยะสั้นระยะยาว และทำแผนมาตรการป้vงกันน้ำมันรั่วไหล ศาลรับฟ้องไว้สืบพยานต่อไป
ภายหลัง นางสุจารี เจริญผล อุปนายกฯสมาคม กล่าวว่า เคยเข้าไปเจรจากับผู้แทนปตท.หลายครั้งแต่ยังไม่มีอะไรชัดเจน จึงเรียกประชุมสมาชิกแล้วมมีติให้ยื่นฟ้องเพื่อเรียกค่าเสียหาย จะได้นำมาแก้ไขปัญหาให้เป็นรูปธรรมต่อไป
http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9570000085318
ธุรกิจท่องเที่ยวเสม็ด ฟ้อง ปตท. พันล้าน ทำน้ำมันดิบรั่วลงสู่ทะเล
วันนี้ (28 ก.ค.) ที่ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก นางสุจารี เจริญผล อุปนายกสมาคมผู้ประกอบการท่องเที่ยวเกาะเสม็ด จ.ระยองและผู้ประกอบการท่องเที่ยว ประมาณ 10 คน เป็นโจทก์ฟ้องยื่น บริษัทพีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด มหาชน เป็นจำเลยฐานละเมิด และความผิดตามพรบ.สิ่งแวดล้อม เรียกค่าเสียหาย 1,000 ล้านบาท
โดยคำฟ้องระบุว่า โจทก์เป็นสมาคมของกลุ่มเจ้าของ ผู้จัดการ ตัวแทนโรงแรม ร้านอาหาร สถานบันเทิง บริษัทนำเที่ยว ผู้ประกอบอาชีพท่องเที่ยว ร้านค้าขายของที่ระลึกในเกาะเสม็ด จ.ระยอง มีสมาชิก 70 ราย มีวัตถุประสงค์เป็นตัวแทนประสานงานกับหน่วยงานของรัฐ เมื่อพบเห็นการกระทำผิดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม หรือรับแจ้งว่ามีภยันตรายแก่เกาะเสม็ดจากสิ่งแวดล้อม เมื่อเกิดความเสียหายใดๆ สมาคมก็จะเป็นตัวแทนดำเนินคดีแทนสมาชิก ส่วนจำเลย เป็นบริษัทมหาชน
เมื่อวันที่ 27ก.ค.2556 จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ คือ ขณะเรือบรรทุกน้ำมันของจำเลยได้ถ่ายน้ำมันดิบผ่านทุ่นรับน้ำมันมายังโรงกลั่นน้ำมันของจำเลย ได้เกิดเหตุท่อรับน้ำมันดิบรั่ว ห่างจากชายฝั่งมาบตาพุตไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 20 กม. เกิดจากความประมาทของจำเลยซึ่งไม่ตรวจสอบประสิทธิภาพของท่อส่งน้ำมันให้มีสภาพใช้งานได้ปกติ และหลังจากน้ำมันดิบรั่วแล้ว พนักงานของจำเลยที่ควบคุมการขนถ่ายน้ำมันจากเรือ ไม่ตัดวาล์วเมื่อมีน้ำมันรั่วไหล ทำให้มีน้ำมันดิบรั่ว กว่า 5 หมื่นลิตร เมื่อน้ำมันรั่วไหลลงสู่ทะเลระยอง จำเลยก็ไม่ได้แก้ไขเก็บกู้ทันทีและถูกต้อง เพราะใช้ทุ่นล้อมน้ำมันเป็นระยะทางที่สั้นมาก บางอันก็ขาดบางอันก็จม จึงไม่มีประสิทธิภาพ น้ำมันจึงกระจาจายออกไปกว่า 2 กิโลเมตร เป็นระยะทางยาว 8 กิโลเมตร ต่อมามีคลื่นลมแรง น้ำมันจึงทะลักเข้าอ่าวพร้าว เกาะเสม็ด เมื่อวันที่ 29 ก.ค.2556 ระยะทางยาว 600 เมตร
หลังจากจังหวัดระยองประกาศให้เกาะเสม็ดเป็นเขตภัยพิบัติทางทะเล นายอนันต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริษัทของจำเลย ได้มีหนังสือแจ้งน้ำมันรั่วไหลในทะเลไปยังกรรมการผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แต่กลับไม่มีการแจ้งข้อเท็จจริงให้ประชาชนทราบ และได้ใช้สารเคมี 2 ชนิด เพื่อกำกจัดคราบน้ำมัน โดยไม่แจ้งต่ออุทยานแห่งชาติ โดยไม่คำนึงว่าเป็นพื้นที่เขตอ่อนไหวทางธรรมชาติ ซึ่งสารเคมีที่ใช้มีผลต่อปะการัง สัตว์ทะเล ระบบนิเวศน์ ทั้งในระยะสั้นระยะยาว จำเลยไม่เคยฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ เพิ่มจุลินทรีย์ จัดฝึกอบรมพร้อมรับมือภัย
ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์จำเลยไม่เคยให้ข้อมูลการส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ ระบบนิเวศและสุขภาพประชาชน จึงไม่สามารถตรวจสอบการทำงานของจำเลยได้ โจทก์ทราบจากนักวิชาการสิ่งแวดล้อมว่า เหตุการณ์ครั้งนี้ ได้ส่งผลกระทบจนเสียหายไม่ต่ำกว่า1,000 ล้านบาท และต้องใช้เวลาฟื้นฟูนาน10 ปี แม้ชายหาดจะถูกทำความสะอาด แต่การฟื้นฟูทางระบบนิเวศยังต้องดำเนินต่อไป
ความเสียหายดังกล่าว ได้ส่งผลให้นักท่องเที่ยวหวาดกลัว ยกเลิกการมาเที่ยวเกือบหมด และส่งผลเป็นลูกโซ่ไปถึงโรงแรม ร้านค้ารถโดยสาร ผู้ค้า ซ้ำยังส่งผลเสียหายแก่แนวปะการัง ที่อ่าวปลาต้ม อ่าวน้อยหน่า นกและปลาตายไปจำนวนมาก เกิดการสะสมของปรอท จึงฟ้องเรียกค่าเสียหาย1,000 ล้านบาท และจัดทำแผนแก้ไขปัญหาสิ่งปนเปื้อนในระยะสั้นระยะยาว และทำแผนมาตรการป้vงกันน้ำมันรั่วไหล ศาลรับฟ้องไว้สืบพยานต่อไป
ภายหลัง นางสุจารี เจริญผล อุปนายกฯสมาคม กล่าวว่า เคยเข้าไปเจรจากับผู้แทนปตท.หลายครั้งแต่ยังไม่มีอะไรชัดเจน จึงเรียกประชุมสมาชิกแล้วมมีติให้ยื่นฟ้องเพื่อเรียกค่าเสียหาย จะได้นำมาแก้ไขปัญหาให้เป็นรูปธรรมต่อไป
http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9570000085318