...ข้อคิดจากหนังสือการลงทุนที่หายากและราคาแพงที่สุด...
เครดิตคุณ mario , link :
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=57244
ผมได้เลือกแปลจากหนังสือ Margin of Safety: Risk-Averse Value Investing Strategies for the Thoughtful Investor.
ซึ่งเขียนโดย Seth Klarman ผจก.กองทุน Baupost Group หนึ่งในนักลงทุนที่ Warren Buffett ชื่นชม
ตอนที่ 1
Quote:
“…เรารู้จักผู้คนมากมาย ที่ส่วนใหญ่เวลาทำเรื่องต่างๆจะทำด้วยความรับผิดชอบ และระมัดระวัง แต่เวลาลงทุนเค้ากลับทำด้วยความบ้าคลั่ง
พวกเขาเหล่านั้นอาจจะใช้เวลาหลายเดือนหลายปี ในการทำงานหนัก และมีวินัยในการเก็บออม แต่ใช้เวลาเพียงเล็กน้อยกับการลงทุน
พวกเขาเหล่านั้นใช้เวลาศึกษาข้อมูล และไปร้านค้าหลายครั้งก่อนที่จะตัดสินใจซื้อเครื่องเสียง หรือกล้องถ่ายรูปซักอัน
แต่กลับใช้เวลาเพียงเล็กน้อย หรือแทบไม่ได้ศึกษาหุ้นที่พวกเขาพึ่งได้ยินมาจากเพื่อน
เหตุผลที่ใช้ตอนเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือกล้องถ่ายรูป หายไปเมื่อเข้ามาสู่การลงทุน...”
ตอนที่ 2
Quote:
“… นักลงทุนที่ไม่ประสบความสำเร็จส่วนมาก คิดว่าตลาดหุ้น เป็นหนทางที่จะทำเงิน โดยที่ไม่ต้องทำงาน แทนที่จะคิดว่าเป็นหนทางจะได้นำเงินไปลงทุนเพื่อรับผลตอบแทนที่เหมาะสม
นักลงทุนเหล่านั้น มักจะมีความสุขที่ได้กำไรง่าย รวดเร็ว และมีความคาดหวังจะได้รับผลกำไรโดยที่ไม่ต้องใช้ความพยายาม ซึ่งเป็นตัวเร่งความโลภในใจนักลงทุนได้เป็นอย่างดี
ความโลภจะนำนักลงทุนส่วนมาก ไปแสวงหาทางลัดเพื่อความสำเร็จในการลงทุน แทนที่จะคาดหวังผลตอบแทนทบต้นที่เหมาะสมในระยะยาว
สุดท้ายความโลภเป็นสาเหตุที่ทำให้นักลงทุนเหล่านั้น หลุดออกจากเป้าหมาย การประสบความสำเร็จในการลงทุนระยะยาว มาเป็นความหลงใหลการเก็งกำไรระยะสั้น …”
ตอนที่ 3
Quote:
“…การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เป็นสิ่งที่เข้าใจได้ง่าย แต่ทำตามได้ยาก
ส่วนที่ยากคือ วินัย ความอดทน และวิจารณญาณ
นักลงทุนต้องมีวินัยที่จะหลีกเลี่ยงไม่ตีลูกที่ขว้างมาไม่เข้าทาง
มีความอดทนที่จะรอลูกที่ขว้างมาเข้าทาง
และมีวิจารณญาณว่าเมื่อไหร่ควรจะหวดสุดแรง…”
ตอนที่ 4
Quote:
“... การลงทุนเป็นการทำธุรกิจที่จริงจัง ไม่ใช่เรื่องเพื่อความสนุกสนาน
ถ้าคุณตัดสินใจจะเข้ามาเกี่ยวข้องตลาดหุ้น คุณควรที่จะเลือกเป็นนักลงทุน ไม่ใช่นักเก็งกำไร และแน่ใจว่าคุณเข้าใจความแตกต่าง
เมื่อคุณนำเงินที่อุตสาห์อดออม และความมั่นคงทางการเงินในอนาคต มาฝากไว้ที่หุ้น
การไม่สามารถแยกแยะว่า การลงทุน กับ การเก็งกำไร ต่างกันอย่างไร จะมีต้นทุนสูงจนคุณไม่อาจทำใจยอมรับได้…”
ตอนที่ 5
Quote:
“…ผมเชื่ออย่างมากว่า เป้าหมายที่สำคัญอันดับแรกสำหรับนักลงทุนทุกคน คือ “การอย่าขาดทุน” ซึ่งไม่ได้หมายความว่านักลงทุนไม่ควรจะรับความเสี่ยงของการขาดทุนใดๆเลย
แต่ “การอย่าขาดทุน” หมายถึง ในระยะยาวแล้ว พอร์ตการลงทุนไม่ควรเสี่ยงจนได้รับผลการขาดทุนอย่างรุนแรง
มันเป็นความลำบากอย่างยิ่งที่จะตระหนักถึงโอกาสที่จะขาดทุน ในขณะที่คนอื่นๆ กำลังโลภ ได้กำไรเป็นกอบเป็นกำ และโบรกเกอร์กำลังโทรมาเสนอหุ้น IPO สุดร้อนให้คุณ
การหลีกเลี่ยงการขาดทุน เป็นหนทางที่แน่นอนที่สุดที่จะทำให้คุณได้รับผลกำไร…”
ตอนที่ 6
Quote:
"...ข้อพิสูจน์ที่ชี้ให้เห็นว่า การสร้างผลตอบแทนทบต้นมีความสำคัญ คือความยากลำบากที่จะฟื้นตัวจาก การขาดทุนหนักๆ แม้เพียงครั้งเดียว สามารถทำลาย ความมั่งคั่งที่สั่งสมมาเป็น เวลายาวนานได้
ในอีกแง่หนึ่งก็คือ นักลงทุนควรพยายามที่จะสร้างผลตอบแทนที่สมเหตุสมผล สม่ำเสมอ โดยมีความเสี่ยงจำกัด ดีกว่าที่จะ สร้างผลตอบแทนที่หวือหวา ได้กำไรมหาศาล แต่เต็มไปด้วยความเสี่ยง
นักลงทุนผู้ซึ่งทำผลตอบแทนได้ 16 % ต่อปี ต่อเนื่อง 10 ปี จะมีความมั่งคั่งสูงกว่า นักลงทุนที่ทำผลตอบแทนได้ 20% ต่อปี ต่อเนื่อง 9 ปี แต่ขาดทุน 15 % ในปีที่ 10 อย่างน่าประหลาดใจ..."
ตอนที่ 7
Quote:
“…การลงทุนแบบเน้นคุณค่า คือการเข้าซื้อหลักทรัพย์ในระดับราคาที่มีส่วนลดอย่างมีนัยสำคัญจากมูลค่าพื้นฐานด้วยความมีวินัย และถือครองหลักทรัพย์เหล่านั้นจนสะท้อนมูลค่าพื้นฐาน
ส่วนลดที่ว่าเป็น ส่วนประกอบสำคัญของกระบวนการนี้ เพราะการลงทุน เป็นศิลปะ มากกว่า วิทยาศาสตร์ นักลงทุนจึงจำเป็นต้องมี ส่วนเผื่อความปลอดภัย (Margin of Safety) เพราะ
• การประเมินมูลค่าเป็นศิลปะจึงไม่สามารถวัดค่าที่แม่นยำได้
• อนาคตเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน และ
• นักลงทุนเป็นเพียงมนุษย์ สามารถทำผิดพลาดได้
เบนจามิน เกรแฮม กล่าวว่า “ส่วนเผื่อความปลอดภัยขึ้นกับราคาที่จ่ายเสมอ สำหรับทุกหลักทรัพย์ มันจะมีส่วนเผื่อมากที่ระดับราคาหนึ่ง มีส่วนเผื่อน้อยลงเมื่อราคาสูงขึ้น และไม่เหลือส่วนเผื่อเลยเมื่อมีราคาสูงถึงจุดหนึ่ง…”
ข้อคิดจากหนังสือการลงทุนที่หายากและราคาแพงที่สุด [ Margin of Safety ]
เครดิตคุณ mario , link : http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=57244
ผมได้เลือกแปลจากหนังสือ Margin of Safety: Risk-Averse Value Investing Strategies for the Thoughtful Investor.
ซึ่งเขียนโดย Seth Klarman ผจก.กองทุน Baupost Group หนึ่งในนักลงทุนที่ Warren Buffett ชื่นชม
ตอนที่ 1
Quote:
“…เรารู้จักผู้คนมากมาย ที่ส่วนใหญ่เวลาทำเรื่องต่างๆจะทำด้วยความรับผิดชอบ และระมัดระวัง แต่เวลาลงทุนเค้ากลับทำด้วยความบ้าคลั่ง
พวกเขาเหล่านั้นอาจจะใช้เวลาหลายเดือนหลายปี ในการทำงานหนัก และมีวินัยในการเก็บออม แต่ใช้เวลาเพียงเล็กน้อยกับการลงทุน
พวกเขาเหล่านั้นใช้เวลาศึกษาข้อมูล และไปร้านค้าหลายครั้งก่อนที่จะตัดสินใจซื้อเครื่องเสียง หรือกล้องถ่ายรูปซักอัน
แต่กลับใช้เวลาเพียงเล็กน้อย หรือแทบไม่ได้ศึกษาหุ้นที่พวกเขาพึ่งได้ยินมาจากเพื่อน
เหตุผลที่ใช้ตอนเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือกล้องถ่ายรูป หายไปเมื่อเข้ามาสู่การลงทุน...”
ตอนที่ 2
Quote:
“… นักลงทุนที่ไม่ประสบความสำเร็จส่วนมาก คิดว่าตลาดหุ้น เป็นหนทางที่จะทำเงิน โดยที่ไม่ต้องทำงาน แทนที่จะคิดว่าเป็นหนทางจะได้นำเงินไปลงทุนเพื่อรับผลตอบแทนที่เหมาะสม
นักลงทุนเหล่านั้น มักจะมีความสุขที่ได้กำไรง่าย รวดเร็ว และมีความคาดหวังจะได้รับผลกำไรโดยที่ไม่ต้องใช้ความพยายาม ซึ่งเป็นตัวเร่งความโลภในใจนักลงทุนได้เป็นอย่างดี
ความโลภจะนำนักลงทุนส่วนมาก ไปแสวงหาทางลัดเพื่อความสำเร็จในการลงทุน แทนที่จะคาดหวังผลตอบแทนทบต้นที่เหมาะสมในระยะยาว
สุดท้ายความโลภเป็นสาเหตุที่ทำให้นักลงทุนเหล่านั้น หลุดออกจากเป้าหมาย การประสบความสำเร็จในการลงทุนระยะยาว มาเป็นความหลงใหลการเก็งกำไรระยะสั้น …”
ตอนที่ 3
Quote:
“…การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เป็นสิ่งที่เข้าใจได้ง่าย แต่ทำตามได้ยาก
ส่วนที่ยากคือ วินัย ความอดทน และวิจารณญาณ
นักลงทุนต้องมีวินัยที่จะหลีกเลี่ยงไม่ตีลูกที่ขว้างมาไม่เข้าทาง
มีความอดทนที่จะรอลูกที่ขว้างมาเข้าทาง
และมีวิจารณญาณว่าเมื่อไหร่ควรจะหวดสุดแรง…”
ตอนที่ 4
Quote:
“... การลงทุนเป็นการทำธุรกิจที่จริงจัง ไม่ใช่เรื่องเพื่อความสนุกสนาน
ถ้าคุณตัดสินใจจะเข้ามาเกี่ยวข้องตลาดหุ้น คุณควรที่จะเลือกเป็นนักลงทุน ไม่ใช่นักเก็งกำไร และแน่ใจว่าคุณเข้าใจความแตกต่าง
เมื่อคุณนำเงินที่อุตสาห์อดออม และความมั่นคงทางการเงินในอนาคต มาฝากไว้ที่หุ้น
การไม่สามารถแยกแยะว่า การลงทุน กับ การเก็งกำไร ต่างกันอย่างไร จะมีต้นทุนสูงจนคุณไม่อาจทำใจยอมรับได้…”
ตอนที่ 5
Quote:
“…ผมเชื่ออย่างมากว่า เป้าหมายที่สำคัญอันดับแรกสำหรับนักลงทุนทุกคน คือ “การอย่าขาดทุน” ซึ่งไม่ได้หมายความว่านักลงทุนไม่ควรจะรับความเสี่ยงของการขาดทุนใดๆเลย
แต่ “การอย่าขาดทุน” หมายถึง ในระยะยาวแล้ว พอร์ตการลงทุนไม่ควรเสี่ยงจนได้รับผลการขาดทุนอย่างรุนแรง
มันเป็นความลำบากอย่างยิ่งที่จะตระหนักถึงโอกาสที่จะขาดทุน ในขณะที่คนอื่นๆ กำลังโลภ ได้กำไรเป็นกอบเป็นกำ และโบรกเกอร์กำลังโทรมาเสนอหุ้น IPO สุดร้อนให้คุณ
การหลีกเลี่ยงการขาดทุน เป็นหนทางที่แน่นอนที่สุดที่จะทำให้คุณได้รับผลกำไร…”
ตอนที่ 6
Quote:
"...ข้อพิสูจน์ที่ชี้ให้เห็นว่า การสร้างผลตอบแทนทบต้นมีความสำคัญ คือความยากลำบากที่จะฟื้นตัวจาก การขาดทุนหนักๆ แม้เพียงครั้งเดียว สามารถทำลาย ความมั่งคั่งที่สั่งสมมาเป็น เวลายาวนานได้
ในอีกแง่หนึ่งก็คือ นักลงทุนควรพยายามที่จะสร้างผลตอบแทนที่สมเหตุสมผล สม่ำเสมอ โดยมีความเสี่ยงจำกัด ดีกว่าที่จะ สร้างผลตอบแทนที่หวือหวา ได้กำไรมหาศาล แต่เต็มไปด้วยความเสี่ยง
นักลงทุนผู้ซึ่งทำผลตอบแทนได้ 16 % ต่อปี ต่อเนื่อง 10 ปี จะมีความมั่งคั่งสูงกว่า นักลงทุนที่ทำผลตอบแทนได้ 20% ต่อปี ต่อเนื่อง 9 ปี แต่ขาดทุน 15 % ในปีที่ 10 อย่างน่าประหลาดใจ..."
ตอนที่ 7
Quote:
“…การลงทุนแบบเน้นคุณค่า คือการเข้าซื้อหลักทรัพย์ในระดับราคาที่มีส่วนลดอย่างมีนัยสำคัญจากมูลค่าพื้นฐานด้วยความมีวินัย และถือครองหลักทรัพย์เหล่านั้นจนสะท้อนมูลค่าพื้นฐาน
ส่วนลดที่ว่าเป็น ส่วนประกอบสำคัญของกระบวนการนี้ เพราะการลงทุน เป็นศิลปะ มากกว่า วิทยาศาสตร์ นักลงทุนจึงจำเป็นต้องมี ส่วนเผื่อความปลอดภัย (Margin of Safety) เพราะ
• การประเมินมูลค่าเป็นศิลปะจึงไม่สามารถวัดค่าที่แม่นยำได้
• อนาคตเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน และ
• นักลงทุนเป็นเพียงมนุษย์ สามารถทำผิดพลาดได้
เบนจามิน เกรแฮม กล่าวว่า “ส่วนเผื่อความปลอดภัยขึ้นกับราคาที่จ่ายเสมอ สำหรับทุกหลักทรัพย์ มันจะมีส่วนเผื่อมากที่ระดับราคาหนึ่ง มีส่วนเผื่อน้อยลงเมื่อราคาสูงขึ้น และไม่เหลือส่วนเผื่อเลยเมื่อมีราคาสูงถึงจุดหนึ่ง…”