ชีวิตผมผูกพันกับโรงหนังมาตั้งแต่ยังเด็ก
สมัยเรียนชั้นประถม โรงหนังแถวบ้านที่ต่างจังหวัดราคาค่าตั๋วเริ่มต้นที่ 8 บาท ถัดขึ้นมาก็ 12 บาทและแพงสุด 15 บาท เวลาเข้าไปต้องแยกทางเข้ากัน แล้วเขาก็จะเอารั้วเหล็กมากั้นไว้ ให้คนที่ซื้อตั๋วแต่ละราคาเดินไปนั่งที่เก้าอี้ตามราคาที่ตัวเองซื้อไว้ 8 บาทอยู่หน้าสุด ถัดมาตรงกลางก็ 12 บาท ส่วน 15 บาทอยู่แถวหลังสุด โรงหนังบางโรงใหญ่มากมีชั้น 2 คือเดินบันไดขึ้นไป และนั่งดูอยู่ข้างบน
หนังทั้งหมดเป็นหนังพากษ์ไทย ทีมพากษ์ก็จะมีอยู่ 3-4 ทีม เช่น โกญจนาท เหมราช มหาราช เป็นต้น พอไตเติ้ลหนังขึ้นมา เขาก็จะอ่านชื่อเรื่อง ตามด้วยการพูดต่อท้ายว่า โกญจนาทพากษ์ เวลาพากษ์ก็จะพากษ์เสียงทับ soundtrack ไปหมดแถมแทบทั้งเรื่องดูเหมือนจะพากษ์อยู่คนเดียวโดยใช้วิธีเปลี่ยนเสียงเอา ไม่ว่าพระเอก ผู้ร้าย หรือแม้กระทั่งนางเอก พี่แกทำได้หมด
ตอนเรียนชั้นประถมวันหยุดเสาร์อาทิตย์เราก็มักแอบที่บ้านไปดูหนังกับเพื่อนๆ ก็ตั๋วราคา 8 บาทนั่นแหละ นั่งแทบชิดหน้าจอ พอหนังฉายไปสักพักพนักงานเดินตั๋วเผลอ เราก็แอบลอดรั้วขึ้นมานั่งที่ 12 บาทบ้าง 15 บาทบ้าง เป็นที่ตื่นเต้นสนุกสนาน บางครั้งก็ถูกพนักงานมาไล่ให้กลับไปนั่งที่เดิม วิ่งหนีกันอุตลุด
สมัยนั้นเพลงสรรเสริญพระบารมีเขาจะฉายตอนหนังจบ แต่ปัญหาก็คือ พอหนังจบเพลงสรรเสริญฯยังไม่ทันจะขึ้น คนก็จะเดินออก ยิ่งเป็นหนังรอบค่ำ ยิ่งมีปัญหามากเพราะเขาจะรีบกลับบ้านกัน พอโตมาสักหน่อยเขาจึงเปลี่ยนเอาเพลงสรรเสริญฯ ไปฉายก่อนเริ่มฉายหนัง จึงทำให้เกิดความเรียบร้อยดี
ในต่างจังหวัดสมัยนั้นรอบหนังจะเป็นเวลาเหมือนกันทุกๆ วัน คือรอบเที่ยง บ่ายสอง แล้วก็พัก มาเริ่มอีกทีรอบ 1ทุ่ม และ 3 ทุ่ม ถ้าเป็นวันหยุดก็จะเพิ่มรอบ 10 โมงเช้า และโรงหนังที่มีอยู่ทั้งเมืองก็จะฉายหนังตามแนวทางของตัวเอง เช่นโรงเจ้าพระยา อัมพร เฉลิมรัตน์นี่ ก็จะเป็นหนังฝรั่งกับหนังจีน ส่วนถ้าจะดูหนังไทยก็ต้องไปที่เฉลิมวัฒนา
คล้ายๆ กับโรงหนังในกรุงเทพยุคที่ยังมีแต่โรง stand alone สยาม ลิโด สกาลา ก็จะเป็นหนังฝรั่งเป็นหลัก มีจีนปนบ้าง ถ้าจะเป็นหนังไทยก็จะต้องเป็นหนังของท่านทิพย์ หรือหนังวัยรุ่นอย่างซึมน้อยหน่อยกระล่อนมากหน่อย บ้านของหนังจีนจะปักหลักอยู่ที่โรงรามาแถวสี่แยกสามย่าน หรือโรงวอร์เนอร์แถวถนนสีลมในซอยอะไรสักซอยจำได้ไม่แม่น ส่วนหนังไทยก็ต้องไปดูที่เอเธนส์ ทำนองนั้น
ตอนที่ยังอยู่ต่างจังหวัด ปิดเทอมครั้งหนึ่งก็จะได้มาเที่ยวกรุงเทพ อยู่ทีหนึ่งก็หลายสัปดาห์หรือเป็นเดือน ตอนนั้นจำได้ว่าลำบากมากกับการต้องดูหนังซาวน์แทร็ค แต่ก็ตื่นเต้นที่กรุงเทพมีฉายหนังรอบห้าโมงเย็น และบางทีมีหนังใหม่เข้าเขาก็จะเอามาฉายรอบมิดไนท์ก่อน นั่นหมายถึงกว่าจะเริ่มฉายก็ 5 ทุ่ม
ช่วงปิดเทอมตอนยังเด็กนั้นมักจะมีหนังไทยของคุณกำธร ทัพคัลไลย เข้าฉายทุกปี จำได้ว่ามักจะได้ไปดูหนังของคุณกำธรที่โรงสามย่าน (ซึ่งปัจจุบันอยู่ตรงไหนจำไม่ได้จริงๆ) หรือไม่ก็โรงแกรนด์ (แต่ชื่อเลือนรางมาก อาจจะจำผิด) หนังเรื่องแรกๆ ของคุณกำธรดังมาก และมักจะพูดถึงเรื่องการแต่งงานข้ามวัฒนธรรมไทยจีน และที่สนุกที่สุดคือ แกจะผลิตของเล่นออกมาขายหน้าโรงทุกๆ ครั้งที่หนังเรื่องใหม่ออกมา เรื่องที่จำได้แม่นก็เช่น ทายาทป๋องแป๋ง เขยใหม่ปึ๋งปั๋ง เต้าฮวยไล้เหลี่ยว ทั้ง 3 เรื่องนี้พระเอกเป็นคนไทยเชื้อสายจีนที่มารักกับผู้หญิงไทยในตระกูลผู้ดีประมาณนั้น และถ้าจำไม่ผิดดาราคู่ขวัญก็น่าจะเป็นคุณสมบัติ เมทะนี กับคุณปิยมาศ โมณยกุล ซึ่งต่อมามาเป็นภรรยาของคุณกำธร ผู้กำกับ
มีอยู่ปีหนึ่งมีหนังเกี่ยวกับอุกกาบาตถล่มโลกเข้าฉาย ชื่อฝรั่งว่าอย่างไรจำไม่ได้เสียแล้ว แต่ชื่อไทยว่า 2525 โลกาวินาศ จะว่าไปก็เป็นเรื่องคล้ายๆ Armagedon หรือ Deep Impact ที่โด่งดังเมื่อสัก 10 กว่าปีก่อนมานี้เหมือนกัน
พอจบชั้น ม.3 ที่บ้านก็ส่งมาเรียนต่อ ม.ปลายที่กรุงเทพ คราวนี้ก็ตระเวนดูหนังกันสนุก ดูจนชินกับหนังซาวนด์แทร็ก คราวนี้เวลาปิดเทอมต้องกลับบ้านต่างจังหวัด เจอแต่หนังพากษ์เล่นเอาบ่นอุบ ค่าตั๋วโรงหนังในกรุงเทพตอนนั้นถูกสุดดูเหมือนจะอยู่ 30 บาท สูงสุดน่าจะประมาณ 60 ที่สกาล่า 30 บาทนี่ดูเหมือนจะมีอยู่แค่ 2 แถวหน้าเวลาดูก็มักจะต้องเลือกที่ที่อยู่ด้านข้างๆ เพราะนั่งติดจอขนาดนั้น ถ้านั่งตรงกลางจะเห็นได้ไม่หมดทั้งจอและยังต้องส่ายหน้าซ้ายขวาไปมาทั้งเรื่องทำให้เมื่อยคอมาก แต่ถ้านั่งข้างๆ เราก็นั่งเอียงๆ แล้วมองเห็นได้ทั้งจอสบายๆ
นอกจากโรงหนังแถวสยามแล้ว ยังเดินข้าวสี่แยกปทุมวันไปทางสะพานหัวช้าง เลยไปหน่อยก็จะเป็นโรงแมคเคนน่าที่ฉายหนังฝรั่งเป็นหลัก เดินเลยไปอีกก็เป็นเพรสซิเด๊นท์ที่ฉายหนังจีนบ้างฝรั่งบ้างสลับกันไป ถ้าเดินต่อไปถึงแยกแล้วเลี้ยวขวาเข้าถนนเพชรบุรีก็จะเจอร้านราดหน้าอร่อย (ไม่เกี่ยว) เดินไปอีกนิดก็จะเจอโรงฮอลลีวู้ด ที่เป็นขวัญใจเด็กๆ เพราะมักมีหนังสนุกๆ ของดิสนีย์มาฉายอยู่เรื่อย
แต่ถ้าไม่เลี้ยว เดินตรงขึ้นไปตามถนนพญาไท ก็จะเจอกับเอเธนส์ บ้านหนังไทยของค่ายไฟว์สตาร์ปักหลักอยู่ เลยขึ้นไปอีกก่อนถึงอนุสาวรีย์ชัยก็จะมีโรงเซ็นจูรี่ที่ปัจจุบันกลายเป็น multiplex ไปแล้ว
บนถนนเพชรบุรีนอกจากจะมีโรงฮอลลีวู้ดแล้ว เลยขึ้นไปทางแถวประตูน้ำก็จะมีเพชรรามาอีกโรงที่ฉายหนังฝรั่งคล้ายๆ แมคเคนนา แต่มักมีภาคไทยด้วย
แถวย้านประตูน้ำเองก็มีโรงอินทราซึ่งเป็นบ้านหนังไทยอีกแห่ง เลยอินทราขึ้นไปดูเหมือนจะเป็นโรงชื่อ OA อยู่ในซอยฉายหนังฝรั่งเหมือนกัน
ย่านสุขุมวิทก็มี 2 โรงหนังดัง คือวิลล่า อยู่ในซอยฝั่งเลขคี่เลยอโศกขึ้นไป และ วอชิงตัน อยู่อีกฝั่งของถนน ทั้ง 2 โรงนี้ฉายหนังฝรั่งเป็นหลัก
มีอยู่ช่วงหนึ่งที่โรงหนังแบบมินิเธียร์เตอร์บูมสุดๆ วัยรุ่นสมัยนั้นต้องรู้จักโรงเมเจอร์ที่อยู่ชั้นล่างสุดของมาบุญครอง (MBK) ดูเหมือนจะมีอยู่ 2 โรงคือเมเจอร์ 1 และเมเจอร์ 2 ความแปลกของ 2 โรงนี้ก็คือ ที่นั่งที่ดีที่สุดคือที่นั่งที่อยู่ใกล้จอที่สุด ด้วยความที่โรงมันเล็กมาก และแทบจะไม่มี slope ทำให้ถ้านั่งหลังก็จะถูกหัวของคนข้างหน้าบังจนมองจอเห็นแค่สัก 2 ใน 3 การบูมของโรงแบบมินิ ทำให้แมคเคนน่าก็เอาพื้นที่เล็กๆ ที่เหลืออยู่มาเปิดเป็นโรงไมโครแมคอีก 2-3 โรง โรงวอชิงตันที่สุขุมวิทก็เคยมีลักษณะเดียวกัน
บนสยามเซ็นเตอร์เองก็เคยมีโรงเล็กๆ แบบนี้มาเปิด ชื่อโรงเซ็นเตอร์ 1 และ 2 จำได้ว่าหนังดีๆ หลายเรื่องที่คาดไม่ถึงอย่าง field of dreams ก็ได้ดูจากโรงนี้
บนถนนพญาไทเองตรงที่เลยจากแมคเคน่าไปหน่อย ก็มีการสร้างห้างเป็นทางเดินทะลุไปออกเพชรบุรีชื่อ ฮอลลีวู้ดสตรีท หลังจากโรงหนังฮอลลีวู้ดปิดตัวลง และในห้างนี้เองก็มีโรงเล็กชื่อฮอลลีวู้ด 1-2 เกิดขึ้น จำได้ดีว่าได้ดู Shawshank of redemption จากที่นี่ รวมถึงหนังที่ภาพสวยจนแทบจะลืมหายใจของโรเบิร์ต เรดฟอร์ด ที่มีแบรด พิตท์สมัยวัยขบเผาะแสดงนำที่ชื่อ River rub through it และหนังไต้หวันของอังลี เรื่อง The Wedding Banquet ก็ได้ดูจากที่นี่เช่นกัน
ตอนปีท้ายๆ ของการเรียนมหาวิทยาลัย โรงหนังแบบสมัยใหม่ก็เปิดตัวขึ้นภายใต้ชื่อ EGV ที่ future park บางแค จำได้ว่าตอนนั้นค่าดูอยู่ที่ 70 บาททุกที่นั่ง แถมยังไม่ให้เลือกที่นั่งอีกต่างหาก ตอนนั้นยังคิดอยู่เลยว่าใครจะไปดู (วะ) ราคาขนาดนั้น แต่สุดท้ายก็ถ่อไปลองเสียเองทั้งที่แสนไกลและแสนแพง
หลังเรียนจบ ก็กลับมาใช้ชีวิตอยู่ต่างจังหวัดอีกครั้ง แต่เวลานั้นจังหวัดที่อยู่มีหนังซาวน์แทร็คดูแล้ว และเวลาผ่านไปไม่นานโรงหนังแบบ Multiplex ก็ตามมา จนถึงทุกวันนี้มี Major 2 ที่ SF อีก 2 ที่ แต่บางวันพอ check รอบหนังทำไมไม่มีเรื่องอะไรให้เลือกดูเอาเสียเลย
ทุกวันนี้โรงหนังเปลี่ยนแปลงไปมาก ประกอบกับความที่อายุมากขึ้น มีครอบครัว มีลูกเล็ก ทำให้ห่างหายไปจากการเข้าโรงหนังไป ยกเว้นบางเรื่องที่อยากดูจริงๆ และพอมีเวลาว่างในขณะที่ลูกไปโรงเรียน ก็พอจะมีโอกาสได้ดูอยู่บ้าง
รอวันที่ลูกโตพอ ผมหวังว่าจะทำให้เขาผูกพันกับโรงหนังได้เหมือนกับที่ผมรู้สึก
โรงหนังกับความหลัง
สมัยเรียนชั้นประถม โรงหนังแถวบ้านที่ต่างจังหวัดราคาค่าตั๋วเริ่มต้นที่ 8 บาท ถัดขึ้นมาก็ 12 บาทและแพงสุด 15 บาท เวลาเข้าไปต้องแยกทางเข้ากัน แล้วเขาก็จะเอารั้วเหล็กมากั้นไว้ ให้คนที่ซื้อตั๋วแต่ละราคาเดินไปนั่งที่เก้าอี้ตามราคาที่ตัวเองซื้อไว้ 8 บาทอยู่หน้าสุด ถัดมาตรงกลางก็ 12 บาท ส่วน 15 บาทอยู่แถวหลังสุด โรงหนังบางโรงใหญ่มากมีชั้น 2 คือเดินบันไดขึ้นไป และนั่งดูอยู่ข้างบน
หนังทั้งหมดเป็นหนังพากษ์ไทย ทีมพากษ์ก็จะมีอยู่ 3-4 ทีม เช่น โกญจนาท เหมราช มหาราช เป็นต้น พอไตเติ้ลหนังขึ้นมา เขาก็จะอ่านชื่อเรื่อง ตามด้วยการพูดต่อท้ายว่า โกญจนาทพากษ์ เวลาพากษ์ก็จะพากษ์เสียงทับ soundtrack ไปหมดแถมแทบทั้งเรื่องดูเหมือนจะพากษ์อยู่คนเดียวโดยใช้วิธีเปลี่ยนเสียงเอา ไม่ว่าพระเอก ผู้ร้าย หรือแม้กระทั่งนางเอก พี่แกทำได้หมด
ตอนเรียนชั้นประถมวันหยุดเสาร์อาทิตย์เราก็มักแอบที่บ้านไปดูหนังกับเพื่อนๆ ก็ตั๋วราคา 8 บาทนั่นแหละ นั่งแทบชิดหน้าจอ พอหนังฉายไปสักพักพนักงานเดินตั๋วเผลอ เราก็แอบลอดรั้วขึ้นมานั่งที่ 12 บาทบ้าง 15 บาทบ้าง เป็นที่ตื่นเต้นสนุกสนาน บางครั้งก็ถูกพนักงานมาไล่ให้กลับไปนั่งที่เดิม วิ่งหนีกันอุตลุด
สมัยนั้นเพลงสรรเสริญพระบารมีเขาจะฉายตอนหนังจบ แต่ปัญหาก็คือ พอหนังจบเพลงสรรเสริญฯยังไม่ทันจะขึ้น คนก็จะเดินออก ยิ่งเป็นหนังรอบค่ำ ยิ่งมีปัญหามากเพราะเขาจะรีบกลับบ้านกัน พอโตมาสักหน่อยเขาจึงเปลี่ยนเอาเพลงสรรเสริญฯ ไปฉายก่อนเริ่มฉายหนัง จึงทำให้เกิดความเรียบร้อยดี
ในต่างจังหวัดสมัยนั้นรอบหนังจะเป็นเวลาเหมือนกันทุกๆ วัน คือรอบเที่ยง บ่ายสอง แล้วก็พัก มาเริ่มอีกทีรอบ 1ทุ่ม และ 3 ทุ่ม ถ้าเป็นวันหยุดก็จะเพิ่มรอบ 10 โมงเช้า และโรงหนังที่มีอยู่ทั้งเมืองก็จะฉายหนังตามแนวทางของตัวเอง เช่นโรงเจ้าพระยา อัมพร เฉลิมรัตน์นี่ ก็จะเป็นหนังฝรั่งกับหนังจีน ส่วนถ้าจะดูหนังไทยก็ต้องไปที่เฉลิมวัฒนา
คล้ายๆ กับโรงหนังในกรุงเทพยุคที่ยังมีแต่โรง stand alone สยาม ลิโด สกาลา ก็จะเป็นหนังฝรั่งเป็นหลัก มีจีนปนบ้าง ถ้าจะเป็นหนังไทยก็จะต้องเป็นหนังของท่านทิพย์ หรือหนังวัยรุ่นอย่างซึมน้อยหน่อยกระล่อนมากหน่อย บ้านของหนังจีนจะปักหลักอยู่ที่โรงรามาแถวสี่แยกสามย่าน หรือโรงวอร์เนอร์แถวถนนสีลมในซอยอะไรสักซอยจำได้ไม่แม่น ส่วนหนังไทยก็ต้องไปดูที่เอเธนส์ ทำนองนั้น
ตอนที่ยังอยู่ต่างจังหวัด ปิดเทอมครั้งหนึ่งก็จะได้มาเที่ยวกรุงเทพ อยู่ทีหนึ่งก็หลายสัปดาห์หรือเป็นเดือน ตอนนั้นจำได้ว่าลำบากมากกับการต้องดูหนังซาวน์แทร็ค แต่ก็ตื่นเต้นที่กรุงเทพมีฉายหนังรอบห้าโมงเย็น และบางทีมีหนังใหม่เข้าเขาก็จะเอามาฉายรอบมิดไนท์ก่อน นั่นหมายถึงกว่าจะเริ่มฉายก็ 5 ทุ่ม
ช่วงปิดเทอมตอนยังเด็กนั้นมักจะมีหนังไทยของคุณกำธร ทัพคัลไลย เข้าฉายทุกปี จำได้ว่ามักจะได้ไปดูหนังของคุณกำธรที่โรงสามย่าน (ซึ่งปัจจุบันอยู่ตรงไหนจำไม่ได้จริงๆ) หรือไม่ก็โรงแกรนด์ (แต่ชื่อเลือนรางมาก อาจจะจำผิด) หนังเรื่องแรกๆ ของคุณกำธรดังมาก และมักจะพูดถึงเรื่องการแต่งงานข้ามวัฒนธรรมไทยจีน และที่สนุกที่สุดคือ แกจะผลิตของเล่นออกมาขายหน้าโรงทุกๆ ครั้งที่หนังเรื่องใหม่ออกมา เรื่องที่จำได้แม่นก็เช่น ทายาทป๋องแป๋ง เขยใหม่ปึ๋งปั๋ง เต้าฮวยไล้เหลี่ยว ทั้ง 3 เรื่องนี้พระเอกเป็นคนไทยเชื้อสายจีนที่มารักกับผู้หญิงไทยในตระกูลผู้ดีประมาณนั้น และถ้าจำไม่ผิดดาราคู่ขวัญก็น่าจะเป็นคุณสมบัติ เมทะนี กับคุณปิยมาศ โมณยกุล ซึ่งต่อมามาเป็นภรรยาของคุณกำธร ผู้กำกับ
มีอยู่ปีหนึ่งมีหนังเกี่ยวกับอุกกาบาตถล่มโลกเข้าฉาย ชื่อฝรั่งว่าอย่างไรจำไม่ได้เสียแล้ว แต่ชื่อไทยว่า 2525 โลกาวินาศ จะว่าไปก็เป็นเรื่องคล้ายๆ Armagedon หรือ Deep Impact ที่โด่งดังเมื่อสัก 10 กว่าปีก่อนมานี้เหมือนกัน
พอจบชั้น ม.3 ที่บ้านก็ส่งมาเรียนต่อ ม.ปลายที่กรุงเทพ คราวนี้ก็ตระเวนดูหนังกันสนุก ดูจนชินกับหนังซาวนด์แทร็ก คราวนี้เวลาปิดเทอมต้องกลับบ้านต่างจังหวัด เจอแต่หนังพากษ์เล่นเอาบ่นอุบ ค่าตั๋วโรงหนังในกรุงเทพตอนนั้นถูกสุดดูเหมือนจะอยู่ 30 บาท สูงสุดน่าจะประมาณ 60 ที่สกาล่า 30 บาทนี่ดูเหมือนจะมีอยู่แค่ 2 แถวหน้าเวลาดูก็มักจะต้องเลือกที่ที่อยู่ด้านข้างๆ เพราะนั่งติดจอขนาดนั้น ถ้านั่งตรงกลางจะเห็นได้ไม่หมดทั้งจอและยังต้องส่ายหน้าซ้ายขวาไปมาทั้งเรื่องทำให้เมื่อยคอมาก แต่ถ้านั่งข้างๆ เราก็นั่งเอียงๆ แล้วมองเห็นได้ทั้งจอสบายๆ
นอกจากโรงหนังแถวสยามแล้ว ยังเดินข้าวสี่แยกปทุมวันไปทางสะพานหัวช้าง เลยไปหน่อยก็จะเป็นโรงแมคเคนน่าที่ฉายหนังฝรั่งเป็นหลัก เดินเลยไปอีกก็เป็นเพรสซิเด๊นท์ที่ฉายหนังจีนบ้างฝรั่งบ้างสลับกันไป ถ้าเดินต่อไปถึงแยกแล้วเลี้ยวขวาเข้าถนนเพชรบุรีก็จะเจอร้านราดหน้าอร่อย (ไม่เกี่ยว) เดินไปอีกนิดก็จะเจอโรงฮอลลีวู้ด ที่เป็นขวัญใจเด็กๆ เพราะมักมีหนังสนุกๆ ของดิสนีย์มาฉายอยู่เรื่อย
แต่ถ้าไม่เลี้ยว เดินตรงขึ้นไปตามถนนพญาไท ก็จะเจอกับเอเธนส์ บ้านหนังไทยของค่ายไฟว์สตาร์ปักหลักอยู่ เลยขึ้นไปอีกก่อนถึงอนุสาวรีย์ชัยก็จะมีโรงเซ็นจูรี่ที่ปัจจุบันกลายเป็น multiplex ไปแล้ว
บนถนนเพชรบุรีนอกจากจะมีโรงฮอลลีวู้ดแล้ว เลยขึ้นไปทางแถวประตูน้ำก็จะมีเพชรรามาอีกโรงที่ฉายหนังฝรั่งคล้ายๆ แมคเคนนา แต่มักมีภาคไทยด้วย
แถวย้านประตูน้ำเองก็มีโรงอินทราซึ่งเป็นบ้านหนังไทยอีกแห่ง เลยอินทราขึ้นไปดูเหมือนจะเป็นโรงชื่อ OA อยู่ในซอยฉายหนังฝรั่งเหมือนกัน
ย่านสุขุมวิทก็มี 2 โรงหนังดัง คือวิลล่า อยู่ในซอยฝั่งเลขคี่เลยอโศกขึ้นไป และ วอชิงตัน อยู่อีกฝั่งของถนน ทั้ง 2 โรงนี้ฉายหนังฝรั่งเป็นหลัก
มีอยู่ช่วงหนึ่งที่โรงหนังแบบมินิเธียร์เตอร์บูมสุดๆ วัยรุ่นสมัยนั้นต้องรู้จักโรงเมเจอร์ที่อยู่ชั้นล่างสุดของมาบุญครอง (MBK) ดูเหมือนจะมีอยู่ 2 โรงคือเมเจอร์ 1 และเมเจอร์ 2 ความแปลกของ 2 โรงนี้ก็คือ ที่นั่งที่ดีที่สุดคือที่นั่งที่อยู่ใกล้จอที่สุด ด้วยความที่โรงมันเล็กมาก และแทบจะไม่มี slope ทำให้ถ้านั่งหลังก็จะถูกหัวของคนข้างหน้าบังจนมองจอเห็นแค่สัก 2 ใน 3 การบูมของโรงแบบมินิ ทำให้แมคเคนน่าก็เอาพื้นที่เล็กๆ ที่เหลืออยู่มาเปิดเป็นโรงไมโครแมคอีก 2-3 โรง โรงวอชิงตันที่สุขุมวิทก็เคยมีลักษณะเดียวกัน
บนสยามเซ็นเตอร์เองก็เคยมีโรงเล็กๆ แบบนี้มาเปิด ชื่อโรงเซ็นเตอร์ 1 และ 2 จำได้ว่าหนังดีๆ หลายเรื่องที่คาดไม่ถึงอย่าง field of dreams ก็ได้ดูจากโรงนี้
บนถนนพญาไทเองตรงที่เลยจากแมคเคน่าไปหน่อย ก็มีการสร้างห้างเป็นทางเดินทะลุไปออกเพชรบุรีชื่อ ฮอลลีวู้ดสตรีท หลังจากโรงหนังฮอลลีวู้ดปิดตัวลง และในห้างนี้เองก็มีโรงเล็กชื่อฮอลลีวู้ด 1-2 เกิดขึ้น จำได้ดีว่าได้ดู Shawshank of redemption จากที่นี่ รวมถึงหนังที่ภาพสวยจนแทบจะลืมหายใจของโรเบิร์ต เรดฟอร์ด ที่มีแบรด พิตท์สมัยวัยขบเผาะแสดงนำที่ชื่อ River rub through it และหนังไต้หวันของอังลี เรื่อง The Wedding Banquet ก็ได้ดูจากที่นี่เช่นกัน
ตอนปีท้ายๆ ของการเรียนมหาวิทยาลัย โรงหนังแบบสมัยใหม่ก็เปิดตัวขึ้นภายใต้ชื่อ EGV ที่ future park บางแค จำได้ว่าตอนนั้นค่าดูอยู่ที่ 70 บาททุกที่นั่ง แถมยังไม่ให้เลือกที่นั่งอีกต่างหาก ตอนนั้นยังคิดอยู่เลยว่าใครจะไปดู (วะ) ราคาขนาดนั้น แต่สุดท้ายก็ถ่อไปลองเสียเองทั้งที่แสนไกลและแสนแพง
หลังเรียนจบ ก็กลับมาใช้ชีวิตอยู่ต่างจังหวัดอีกครั้ง แต่เวลานั้นจังหวัดที่อยู่มีหนังซาวน์แทร็คดูแล้ว และเวลาผ่านไปไม่นานโรงหนังแบบ Multiplex ก็ตามมา จนถึงทุกวันนี้มี Major 2 ที่ SF อีก 2 ที่ แต่บางวันพอ check รอบหนังทำไมไม่มีเรื่องอะไรให้เลือกดูเอาเสียเลย
ทุกวันนี้โรงหนังเปลี่ยนแปลงไปมาก ประกอบกับความที่อายุมากขึ้น มีครอบครัว มีลูกเล็ก ทำให้ห่างหายไปจากการเข้าโรงหนังไป ยกเว้นบางเรื่องที่อยากดูจริงๆ และพอมีเวลาว่างในขณะที่ลูกไปโรงเรียน ก็พอจะมีโอกาสได้ดูอยู่บ้าง
รอวันที่ลูกโตพอ ผมหวังว่าจะทำให้เขาผูกพันกับโรงหนังได้เหมือนกับที่ผมรู้สึก