บริษัท อินเตอร์เนต โซลูชั่น แอนด์ เซอร์วิส โพรวายเดอร์ จำกัด หรือ ISSP ผู้ให้บริการระบบ Cloud ในประเทศไทย แนะภาครัฐหันมาใช้เทคโนโลยี b.cloud เป็นอีกทางเลือกในการประหยัดงบลงทุนไอที ใช้งานสะดวก เข้าถึงข้อมูล ได้พร้อมๆกัน มาตรฐานความปลอดภัยสูง และเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการข้อมูลภาครัฐ ตอบสนองการทำงาน ได้อย่างรวดเร็ว ทันเหตุการณ์
นายสุวิทย์ จินดาสงวน ประธานกรรมการ บริษัท อินเตอร์เนต โซลูชั่น แอนด์ เซอร์วิส โพรวายเดอร์ จำกัด หรือ ISSP (Internet Solution & Service Provider Co., Ltd.) ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต และการสื่อสารข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต ครบวงจร กล่าวว่า การใช้งานเทคโนโลยีคลาวด์ (Cloud System or b.cloud) มาช่วยในการบริหารงานข้อมูลภาครัฐ จะทำให้ กระทรวง หรือหน่วยงานต่างๆ สามารถลดงบประมาณการลงทุนด้านซอฟแวร์, ฮาร์ดแวร์ และเทคโนโลยีได้มาก เนื่องจาก b.cloud สามารถรองรับปริมาณข้อมูลจำนวนมาก ของภาครัฐได้ และเพิ่มความสะดวกในการใช้งาน โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถทำงานจากที่ไหน เวลาใดก็ได้ เช่น ในกรณี เกิดเหตุการณ์น้ำท่วม หรือ มีการปิดล้อมหน่วยงานภาครัฐ เจ้าหน้าที่ก็จะยังสามารถทำงานได้ เพียงแค่มีระบบอินเทอร์เน็ต เป็นตัวเชื่อม ต่อกับระบบ b.cloud
”เป็นที่ตระหนักดีว่า ข้อมูลต่างๆของภาครัฐ ล้วนเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญ และต้องการการจัดเก็บที่มีความปลอดภัยสูง ซึ่งระบบ b.cloud สามารถให้ความมั่นใจกับผู้ใช้งานได้ว่า สามารถมั่นใจได้ในเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล เนื่องจาก b.cloud มีระบบป้องกัน ข้อมูลของผู้ใช้งาน (Data/Storage Privacy) ด้วยการเข้ารหัสโดยใช้ ชื่อผู้ใช้งาน (User name) และ รหัสผ่าน (Password) มีระบบเอ็นคริปชั่น (Encryptions) คือ ข้อมูลที่ส่งออก จะถูกแปลงเป็นโค้ดรหัส หากมีคนอื่นดึงข้อมูลไป จะไม่สามารถเข้าใจเนื้อหาได้ และ สามารถ Provide IP Address คือสามารถตรวจสอบ เลขประจำเครื่องที่เข้ามาจัดเก็บ แก้ไขข้อมูล รวมทั้งยังมีความสะดวกในการรองรับข้อมูลจำนวนมาก ของอุปกรณ์ ที่ใช้งาน เช่น Tablet Smartphone Android โดย b.cloud จะสามารถคอมเพรชชั่น (Compression) ข้อมูล ไฟล์จะถูกบีบให้มีขนาดเล็กลง ทำให้ส่งข้อมูลออกได้อย่างรวดเร็ว”
นายสุวิทย์กล่าวว่า หากภาครัฐหันมาใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ อย่างระบบคลาวด์จะเป็นทางเลือกที่ดีกว่ามาก เพราะคลาวด์เซิฟเวอร์ สามารถทำงานได้หลายๆสิ่งแวดล้อมการทำงาน (Virtual Machine , VM) ในเวลาเดียวกัน หาก VM ใดมีปัญหาจะไม่ส่งผลกระทบต่อ VM การทำงานอื่นๆ และจะมีระบบรายงาน ผล กลับไปยังเซิฟเวอร์ ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที ผู้ใช้สามารถเช่าใช้ระบบคลาวด์ (b.cloud) ในระยะเวลาสั้นๆเฉพาะโครงการ หนึ่งๆเพื่อรองรับปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นกว่าปกติได้โดยไม่ต้องซื้อคอมพิวเตอร์เพิ่มเพียงแค่เช่าระบบ คลาวด์เพิ่มเติม นอกจากนี้ยังช่วยลด ขั้นตอนในการทำงาน เช่น เอกสารต่างๆ ได้รับผ่านอีเมล์เป็นระบบอิเล็คทรอนิกส์ทั้งหมดสามารถ ตรวจสอบได้ง่ายว่าผู้รับได้รับแล้วหรือยัง ไม่จำเป็นต้องถ่ายภาพเอกสารแล้วจัดเก็บเป็นแฟ้มเอกสาร ที่ยากต่อการค้นหา ส่งผลให้มาตรฐาน ในการให้บริการของภาครัฐสูงขึ้น
ระบบคลาวเซิฟเวอร์ มีทั้ง ระบบจำกัดผู้ใช้เฉพาะกลุ่ม (Private Cloud) ระบบสาธารณะ (Public Cloud) และ ระบบผสม (Hybrid Cloud) ผู้ใช้งานสามารถเก็บข้อมูลต่างๆไว้ในระบบคลาวด์ และเรียกใช้ข้อมูลเมื่อไรก็ได้ ตามที่ต้องการ แม้จะเข้ากระทรวง หรือหน่วยงานต่างๆไม่ได้ แต่ก็สามารถทำงานได้ ทั้งยังมีระบบรักษาความปลอดภัยสูง ด้วยการทำงานผ่านระบบยูสเซอร์ เอ็นคริปชั่น ทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องข้อมูลสูญหาย หรือรั่วไหล และถึงแม้ว่าไฟจะดับ หรือเกิดวิกฤตภัยต่างๆ ผู้ใช้งานยังสามารถเรียกข้อมูลทั้งหมดกลับมาได้ (recoveries) อีกด้วย นอกจากนี้ระบบ Hybrid Cloud ยังสามารถจะรันข้อมูลจากที่ไหนก็ได้ เช่น รันที่ออฟฟิศ แต่ออฟฟิศถูกปิดล้อม ท่านสามารถกดปุ่มส่ง ข้อมูลออกไปยังไฮบริดคลาวด์ ให้ข้อมูลจะไปรันที่อีกคนหนึ่ง ผู้ที่รับข้อมูลไปจะสามารถล็อคอินเข้าไปทำงานต่อได้เลย
ระบบคลาวด์ (b.cloud) ช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ซ้ำซ้อน ในอดีตหากพูดถึงระบบ SAP ความเป็นสากลที่สามารถใช้ข้อมูลจำนวนมากได้ หลายหน่วยงานโดยไม่ต้องจัดเก็บซ้ำซ้อน ต้องลงทุน 2-300 ล้านบาท ใช้ระยะเวลาวางระบบ 2 ปี แต่ปัจจุบันภาครัฐไม่จำเป็นลงทุนด้วยเม็ด เงินจำนวนมหาศาล และสามารถติดตั้งได้รวดเร็วทันต่อความต้องการใช้งาน เช่น หากภาครัฐต้องการจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากๆ ในช่วงระยะ เวลาการเลือกตั้ง อาจจะต้องซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์เพิ่ม เพื่อให้เพียงพอต่อปริมาณ ข้อมูลของ ประชาชนที่มีสิทธิ์เลือกตั้งซึ่งเป็นการซื้อเครื่องมา เพื่อใช้งานระยะเวลาสั้นๆทำให้เมื่อจะนำมาใช้งานต่อในอนาคตตัวเครื่อง และตัวซอฟท์แวร์ ต่างๆ จะไม่ทันสมัยและไม่สามารถใช้งานได้ อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะเทคโนโลยี มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วซึ่งหากใช้ระบบ b.cloud จะช่วยให้ภาครัฐไม่จำเป็นต้องซื้อ คอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ แต่จะสามารถจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากไปใน b.cloud แทนซึ่งภาครัฐ จะสามารถ เช่าใช้ b.cloud ได้ตามระยะเวลาที่ต้องการ จะทำให้งบประมาณลงทุน ด้านเทคโนโลยีของ ภาครัฐจะลดลงเกินครึ่งจึงสามารถนำ ส่วนต่าง ของงบลงทุน ไป ใช้ ในขั้นตอน กระบวนการดำเนินงานทางสารสนเทศอื่นๆแทนได้ และยังลดขั้นตอนซ้ำซ้อนในการทำงานลงอีกด้วย
นายสุวิทย์ กล่าว ทิ้งท้าย
ISSP แนะรัฐใช้ b.cloud ช่วยลดงบไอทีลงเกินครึ่ง
นายสุวิทย์ จินดาสงวน ประธานกรรมการ บริษัท อินเตอร์เนต โซลูชั่น แอนด์ เซอร์วิส โพรวายเดอร์ จำกัด หรือ ISSP (Internet Solution & Service Provider Co., Ltd.) ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต และการสื่อสารข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต ครบวงจร กล่าวว่า การใช้งานเทคโนโลยีคลาวด์ (Cloud System or b.cloud) มาช่วยในการบริหารงานข้อมูลภาครัฐ จะทำให้ กระทรวง หรือหน่วยงานต่างๆ สามารถลดงบประมาณการลงทุนด้านซอฟแวร์, ฮาร์ดแวร์ และเทคโนโลยีได้มาก เนื่องจาก b.cloud สามารถรองรับปริมาณข้อมูลจำนวนมาก ของภาครัฐได้ และเพิ่มความสะดวกในการใช้งาน โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถทำงานจากที่ไหน เวลาใดก็ได้ เช่น ในกรณี เกิดเหตุการณ์น้ำท่วม หรือ มีการปิดล้อมหน่วยงานภาครัฐ เจ้าหน้าที่ก็จะยังสามารถทำงานได้ เพียงแค่มีระบบอินเทอร์เน็ต เป็นตัวเชื่อม ต่อกับระบบ b.cloud
”เป็นที่ตระหนักดีว่า ข้อมูลต่างๆของภาครัฐ ล้วนเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญ และต้องการการจัดเก็บที่มีความปลอดภัยสูง ซึ่งระบบ b.cloud สามารถให้ความมั่นใจกับผู้ใช้งานได้ว่า สามารถมั่นใจได้ในเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล เนื่องจาก b.cloud มีระบบป้องกัน ข้อมูลของผู้ใช้งาน (Data/Storage Privacy) ด้วยการเข้ารหัสโดยใช้ ชื่อผู้ใช้งาน (User name) และ รหัสผ่าน (Password) มีระบบเอ็นคริปชั่น (Encryptions) คือ ข้อมูลที่ส่งออก จะถูกแปลงเป็นโค้ดรหัส หากมีคนอื่นดึงข้อมูลไป จะไม่สามารถเข้าใจเนื้อหาได้ และ สามารถ Provide IP Address คือสามารถตรวจสอบ เลขประจำเครื่องที่เข้ามาจัดเก็บ แก้ไขข้อมูล รวมทั้งยังมีความสะดวกในการรองรับข้อมูลจำนวนมาก ของอุปกรณ์ ที่ใช้งาน เช่น Tablet Smartphone Android โดย b.cloud จะสามารถคอมเพรชชั่น (Compression) ข้อมูล ไฟล์จะถูกบีบให้มีขนาดเล็กลง ทำให้ส่งข้อมูลออกได้อย่างรวดเร็ว”
นายสุวิทย์กล่าวว่า หากภาครัฐหันมาใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ อย่างระบบคลาวด์จะเป็นทางเลือกที่ดีกว่ามาก เพราะคลาวด์เซิฟเวอร์ สามารถทำงานได้หลายๆสิ่งแวดล้อมการทำงาน (Virtual Machine , VM) ในเวลาเดียวกัน หาก VM ใดมีปัญหาจะไม่ส่งผลกระทบต่อ VM การทำงานอื่นๆ และจะมีระบบรายงาน ผล กลับไปยังเซิฟเวอร์ ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที ผู้ใช้สามารถเช่าใช้ระบบคลาวด์ (b.cloud) ในระยะเวลาสั้นๆเฉพาะโครงการ หนึ่งๆเพื่อรองรับปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นกว่าปกติได้โดยไม่ต้องซื้อคอมพิวเตอร์เพิ่มเพียงแค่เช่าระบบ คลาวด์เพิ่มเติม นอกจากนี้ยังช่วยลด ขั้นตอนในการทำงาน เช่น เอกสารต่างๆ ได้รับผ่านอีเมล์เป็นระบบอิเล็คทรอนิกส์ทั้งหมดสามารถ ตรวจสอบได้ง่ายว่าผู้รับได้รับแล้วหรือยัง ไม่จำเป็นต้องถ่ายภาพเอกสารแล้วจัดเก็บเป็นแฟ้มเอกสาร ที่ยากต่อการค้นหา ส่งผลให้มาตรฐาน ในการให้บริการของภาครัฐสูงขึ้น
ระบบคลาวเซิฟเวอร์ มีทั้ง ระบบจำกัดผู้ใช้เฉพาะกลุ่ม (Private Cloud) ระบบสาธารณะ (Public Cloud) และ ระบบผสม (Hybrid Cloud) ผู้ใช้งานสามารถเก็บข้อมูลต่างๆไว้ในระบบคลาวด์ และเรียกใช้ข้อมูลเมื่อไรก็ได้ ตามที่ต้องการ แม้จะเข้ากระทรวง หรือหน่วยงานต่างๆไม่ได้ แต่ก็สามารถทำงานได้ ทั้งยังมีระบบรักษาความปลอดภัยสูง ด้วยการทำงานผ่านระบบยูสเซอร์ เอ็นคริปชั่น ทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องข้อมูลสูญหาย หรือรั่วไหล และถึงแม้ว่าไฟจะดับ หรือเกิดวิกฤตภัยต่างๆ ผู้ใช้งานยังสามารถเรียกข้อมูลทั้งหมดกลับมาได้ (recoveries) อีกด้วย นอกจากนี้ระบบ Hybrid Cloud ยังสามารถจะรันข้อมูลจากที่ไหนก็ได้ เช่น รันที่ออฟฟิศ แต่ออฟฟิศถูกปิดล้อม ท่านสามารถกดปุ่มส่ง ข้อมูลออกไปยังไฮบริดคลาวด์ ให้ข้อมูลจะไปรันที่อีกคนหนึ่ง ผู้ที่รับข้อมูลไปจะสามารถล็อคอินเข้าไปทำงานต่อได้เลย
ระบบคลาวด์ (b.cloud) ช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ซ้ำซ้อน ในอดีตหากพูดถึงระบบ SAP ความเป็นสากลที่สามารถใช้ข้อมูลจำนวนมากได้ หลายหน่วยงานโดยไม่ต้องจัดเก็บซ้ำซ้อน ต้องลงทุน 2-300 ล้านบาท ใช้ระยะเวลาวางระบบ 2 ปี แต่ปัจจุบันภาครัฐไม่จำเป็นลงทุนด้วยเม็ด เงินจำนวนมหาศาล และสามารถติดตั้งได้รวดเร็วทันต่อความต้องการใช้งาน เช่น หากภาครัฐต้องการจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากๆ ในช่วงระยะ เวลาการเลือกตั้ง อาจจะต้องซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์เพิ่ม เพื่อให้เพียงพอต่อปริมาณ ข้อมูลของ ประชาชนที่มีสิทธิ์เลือกตั้งซึ่งเป็นการซื้อเครื่องมา เพื่อใช้งานระยะเวลาสั้นๆทำให้เมื่อจะนำมาใช้งานต่อในอนาคตตัวเครื่อง และตัวซอฟท์แวร์ ต่างๆ จะไม่ทันสมัยและไม่สามารถใช้งานได้ อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะเทคโนโลยี มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วซึ่งหากใช้ระบบ b.cloud จะช่วยให้ภาครัฐไม่จำเป็นต้องซื้อ คอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ แต่จะสามารถจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากไปใน b.cloud แทนซึ่งภาครัฐ จะสามารถ เช่าใช้ b.cloud ได้ตามระยะเวลาที่ต้องการ จะทำให้งบประมาณลงทุน ด้านเทคโนโลยีของ ภาครัฐจะลดลงเกินครึ่งจึงสามารถนำ ส่วนต่าง ของงบลงทุน ไป ใช้ ในขั้นตอน กระบวนการดำเนินงานทางสารสนเทศอื่นๆแทนได้ และยังลดขั้นตอนซ้ำซ้อนในการทำงานลงอีกด้วย นายสุวิทย์ กล่าว ทิ้งท้าย