การจัดการการตลาด @ การจัดการความเสี่ยง @ ดาวิด อัลอาตัส

กระทู้คำถาม


การจัดการตลาด  หมายถึง  การดำเนินกิจการต่างๆ  ด้านธรุกิจซึ่งต้องมีการวางแผนการผลิต  การกำหนดราคา  การจัดจำหน่าย  ตลอดจนการดำเนินกิจการทุกอย่างเพื่อสนองความต้องการ  และบริการให้แก่ผู้ซื้อหรือผู้บริโภคพอใจทั้งในเรื่องราคาและบริการ ซึ่งแยกกล่าวได้ดังนี้

1. ตัวแปรทางการตลาด

ตัวแปรทางการตลาด จากความหมายทางการตลาดจะพบว่า  นักการตลาดจะเป็นบุคคลที่เข้ามาบริหารกิจกรรมทางการตลาดตั้งแต่เริ่มวางแผนจนกระทั่งนำแผนเหล่านั่นไปปฏิบัติในการวางแผนทางการตลาดนั่น นักการตลาดต้องคำนึงถึงตัวแปรต่างๆ ที่มีอิทธิพลของความสำเร็จของแผนการตลาดนั่นๆ ได้เป็น 2 ประเภท คือ

1.1  ตัวแปรควบคุมได้ (Controllbale Variables)

เป็นตัวแปรทางการตลาดที่นักการตลาดสามารถควมคุมได้ ประกอบไปด้วยส่วนประสมทางการตลาด 4 ประเภท หรือที่เรียกว่า 4P's ได้แก่ ผลิตภัณฑ์  ราคา  การจัดจำหน่าย  และการส่งเสริมการตลาด

1.2 ตัวแปรควมคุมไม่ได้ (Uncontrollable Variables)

เป็นตัวแปรทางการตลาดที่นักการตลาดควบคุมไม่ได้  แต่นักการตลาดจะต้องปรับแผนงานการตลาดให้เหมาะสมสอดคล้องกับตัวแปรเหล่านี้  ได้ก่สภาวะแวดล้อมทางวัฒนธรรมและสังคม สภาวะด้านประชากร ด้านการแข่งขัน เศรษฐกิจและเทคโนโลยี ตลอดจน การเมืองและกฎหมาย

ตัวแปรทางการตลาด  ประกอบด้วย

1.  ความต้องการของผู้บริโภค

2.  คู่แข่งขัน

ประเภทของตลาด แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

1.  ตลาดผู้บริโภค (Consumer Market)

2.  ตลาดอุตสาหกรรม (Industrial Market)

ลักษณะของตลาด

1.  ตลาดแข่งขันสมบูรณ์

2.  ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด

3.  ตลาดผู้ขายน้อยราย

4.  ตลาดผูกขาด

ลักษณะของการวิเคราะห์ตลาด

การวิเคราะห์ตลาดทั้งในตลาดผู้บริโภคและตลาดอุตสาหกรรม ล้วนแต่เป็นการวิเคราะห์เกี่ยวกับคนซึ่งเป็นผู้บริโภคทั้งสิ้น โดยลูกค้าอาจจะอยู่ในรูปของผู้ซื้อรายบุคคล  ครอบครัว  กลุ่มบุคคล  องค์การหรือสถานที่ซื้อสินค้า และบริการ

นักการตลาดจึงต้องศึกษาและวิเคราะห์ตลาดเพื่อให้ทราบถึงลักษณะของลูกค้าในด้านต่างๆ ได้แก่  เพศ  อายุ  การศึกษา  อาชีพและสถานภาพทางเศรษฐกิจ  ความชอบ  แรงจูงใจ  พฤติกรรมการซื้อ  เพื่อศึกษาถึงความเหมือนและแตกต่างกันของผู้บริโภค และนำข้อมูลนั่นไปปรับปรุงสินค้าและบริการของกิจการ ให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้

นักการตลาดจะช่วยทำนายทิศทางของตลาดบนพื้นฐาน  ปัจจัยทางการเงินและสังคมวัฒนธรรม เช่น ทำเล  รูปแบบการใช้ชีวิตแนวโน้ม  ภูมิประเทศ วัฒนธรรม และอื่นๆ  นักวิเคราะห์ตลาดจะสืบค้น ถึงขนาดและองค์ประกอบของตลาดอย่างเป็นระบบ  โดยการดูที่สภาพแวดล้อมของตลาดปัจจัยอื่นๆ ทุกตัวที่มีผลกระทบกับตลาด

1.  ผู้ซื้อคือใคร

2.  ต้องการซื้ออะไร

3.  ต้องการซื้ออย่างไร

4.  ต้องการซื้อเมื่อใด

5.  ต้องการซื้อที่ไหน

6.  เพราะเหตุใดจึงซื้อ

แนวความคิดทางการตลาด
ความหมายของแนวความคิดทางการตลาด  หมายถึง  ลักษณะวิธีการหรือแนวทางของธุรกิจที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการจัดสรรทรัพยากรของกิจการ  เพื่อสร้างสรรค์ความพึงพอใจให้กับลูกค้าในระดับที่กิจการได้กำไร

1.  มุ่งการผลิต

2.  แนวคิดมุ่งการตลาด

3.  การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมและการวิจัยตลาด

4. การวางแผนเกี่ยวกับราคา

5.  การวางแผนการจดจำหน่าย

6.  การวางแผนส่งเสริมการจำหน่าย

7.  การพิจรณาความรับผิดชอบต่อสังคม

8.  การบริหารการตลาด

กลยุทธ์และการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด

กลยุทธ์ทางการตลาด  คือ  การปรับตัวขององค์กรธรุกิจ  เมื่อประสบปัญหาอุปสรรคในการประกอบธรุกิจ  สามารถแยกเป็น 4 แนวทางได้แก่

1.  การเจาะตลาด

2.  การพัฒนาตลาด

3. การพัฒนาผลิตภัณฑ์

4. การขายชนิดผลิตภัณฑ์

สภาพแวดล้อมทางการตลาด

สภาพแวดล้อมทางการตลาด  มีความหลากหลายซับซ้อนเป็นการยากที่ผู้ประกอบธรุกิจหรือกลุ่มจะวิเคราะห์  หรือคาดคะเนล่วงหน้าได้  ดังนั้น จึงต้องสร้างทักษะ  ประสบการณ์  และศึกษาสภาพแวดล้อมทางการตลาดให้ละเอียดก่อนตันสินใจ  ซึ่งแยกออกเป็น  2 ด้านดังนี้

1. สภาพแวดล้อมภายนอก

หมายถึง สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นภายนอกกิจการ กลุ่ม หรือองค์กรมีผลกระทบต่อการดำเนินงานของกิจการ กลุ่ม หรือองค์กร  เนื่องจากส่วนมากเป็นปัจจัยที่ไม่อาจควบคุมได้โดยตรง  เกิดขึ้นเป็นประจำ  หากกิจการล่วงหน้า กิจการสามารถปรับแก้ไขได้ทัน แบ่งได้เป็น 4 หมวด

1.1  ปัญหาด้านสินค้าและบริการ

1.2  ปัญหาด้านตลาด

1.3  ด้านนโยบายและวิธีการขาย

1.4  ด้านการโฆษณาส่งเสริมการขาย

2. สถาพแวดล้อมภายใน

หมายถึง  ปัจจัยต่างๆ ทางการตลาดภายในกิจการกลุ่มหรือองค์กรเป็นส่วนสำคัญที่สุด ได้แก่

2.1  คน กลุ่ม หรือองค์กร

2.2  บรรยากาศและวัฒนธรรม

2.3  สภาพแวดล้อมทางกายภาพ

นอกจากนี้ยังเป็นปัญหาภายในกิจการ  เป็นปัญหาที่เกิดจากการปฎิบัติงานภายในชุมชนกลุ่ม  หรือองค์กร ได้แก่

2.3.1  ปัญหาการผลิตสินค้าและบริการคุณภาพ  ปรมาณ ราคา  หีบห่อ

2.3.2  ปัญหาด้านการตลาดที่ต้องการขาย

2.3.3  ปัญหาด้านนโยบายการขาย

2.3.4  ปัญหาโฆษณา เพื่อส่งเสริมการขาย

1. ขั้นตอนการจัดทำวิจัยการตลาด

1.1  การกำหนดข้อมูลที่ต้องการค้นหา

1.2  กำหนดวิธีการรวบรวมข้อมูล

1.3  กำหนดแบบฟอร์มสำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูล

1.4  กำหนดระเบียบวิธีการสุ่มตัวอย่าง

1.5  กำหนดขั้นตอนวิธีการเก็บข้อมูลต่างๆ

1.6  การวางแผนพัฒนางานสำหรับการประมวลข้อมูล

1.7  การวางแผนพัฒนางานสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล

1.8  กำหนดการจัดเตรียมรายงานเพื่อนำเสนอผลการวิจัยต่อฝ่ายจัดการ

ความเสี่ยง (Risk)


ความเสี่ยง  คือ เหตุการณ์  การกระทำใดๆ  ที่อาจเกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์ที่ไม่แน่นนอนและจะส่งผลกระทบหรือสร้างความเสียหาย  หรือความล้มเหลวหรือลกโอกาสที่จะบรรลุความสำเร็จต่อการบรรลุเป้าหมาย  และวัตถุประสงค์  ทั้งในระดับองค์กรระดับหน่วยงานและระดับบุคคลได้

การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)

การบริหารความเสี่ยง  คือ  บริหารปัจจัยและควบคุมกิจกรรม  รวมทั้ง  กระบวนการ  การดำเนินงานต่างๆ ด้วยลดมูลเหตุแต่ละโอกาสที่องค์กรจะเกิดความเสียหาย  เพื่อให้ระดับและขนาดของความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้  ประเมินได้  ควมคุมและตรวจสอบได้อย่างมีระบบ  โดยคำนึงถึงการบรรลุเป้าหมายขององค์กรเป็นสำคัญ

องค์ประกอบการบริหารความเสี่ยง

1. การระบุชี้ว่าองค์กรกำลังมีภัย  เป็นการระบุชี้ว่าองค์กรมีภัยอะไรบ้าง ที่มาเผชิญอยู่และอยู่ในลักษณะใดหรือขอบเขตเป็นอย่างไร นับเป็นขั้นตอนแรกของการบริหารความเสี่ยง
2. การประเมินผลกระทบของภัย  เป็นการประเมิยผลกระทบของภัยที่จะมีองค์กร  ซึ่งอาจเรียดอีกอย่างว่า  การประเมินความเสี่ยงที่องค์กรต้องเตรียมตัว  เพื่อรับมือกับภัยแต่ละชนิดได้อย่างเหมาะสมมากที่สุด

ประเภทของความเสี่ยง มี 2 ประเภท คือ

1.  ความเสี่ยงจากปัจจัยภายใน  สามารถลดความเสี่ยงได้มี 2 ด้าน คือ

1.1  ด้านตลาด
1.2  ด้านเทคนิค

2.  ความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก  ควบคุมได้ยากหรือไม่ สามารถควบคุมได้มี 8 ด้านคือ

2.1  ด้านเศรษฐกิจ
2.2  ด้านอัตราดอกเบี้ย ต่ำ-สูง
2.3  อัตราแลกเปลี่ยน  แบบคงที่และแบบลอยตัว
2.4  การยอมรับของตลาด  ความสามารถในการแข่งขัน
2.5  นโยบายของรัฐ  ข้อกำหนดใหม่ๆ
2.6  ทรัพยากร  วัตถุดิบ ส่งมาไม่ทันเวลา หาทดแทนไม่ได้  ขาดแรงงาน
2.7  องค์กรแม่ ด้านการเงิน การจัดหาทุนสนับสนุนให้ได้ในเวลาที่ต้องการ
2.8  ด้านธรรมชาติ สภาพดินฟ้าอากาส

แนวทางแก้ปัญหาความเสี่ยง

การจัดการความเสี่ยง
การดำเนินธรุกิจในปัจจุบันมีความยุ่งยากและสลับซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ และก็ยิ่งเป็นการยากสำหรับผู้บริหารที่จะทราบว่ามีปัญหาอะไรอยู่ในอนาคตบ้างดังนั้น  ธรุกิจจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีกระบวนการอย่างเป็นระบบเพื่อที่จะให้ทราบว่าธรุกิจจะเผชิญปัญหาอะไรและจะหาทางป้องกันอย่างไรเพื่อให้ความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นมีผลกระทบน้อยที่สุด

แนวทางการบริหารความเสี่ยง  ประกอบด้วย

1.  การควบคุมการสูญเสีย
2.  การหาวิธีการจัดการความเสี่ยง
-   2.1  การลดความเสี่ยง
-   2.2  รับความเสี่ยงไว้เอง
3.  การโอนความเสี่ยง
4.  การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง
5.  การคัดเลือกวิธีที่ดีที่สุด

การวางแผนปฎิบัติการจัดการความเสี่ยง
ควรมีผู้แทนจากฝ่ายต่างๆ  ในองค์กรเป็นเสมือนคณะทำงานกลาง  หากคณะทำงานยังไม่มีความชำนาญพอควรจ้างที่ปรึกษาเข้ามาทำงานร่วมกัน  เพื่อวางแผนปฏิบัติการจัดการความเสี่ยง  โดยเริ่มจากการสร้างตัวแบบบริหารความเสี่ยงระดับองค์กร จะต้องมีการทบทวน วิเคราะห์  ตัดสินใจ  และประเมินความเสี่ยงขององค์กรก่อนในเรื่องต่างๆ ดังนี้

1.  กำหนดชี้ตัววัดประสิทธิภาพ
2.  จัดการฝึกอบรมให้ความรู้กับฝ่ายต่างๆ
3.  จัดทำแบบทดสอบ
4.  จัดให้มีการสัมภาษณ์
5.  ดำเนินการทบทวนเอกสารที่มีอยู่จากฝ่ายต่างๆ
6.  จักสัมมนาเชิงปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง
7.  จัดทำแบบความเสี่ยง
8.  ตรวจสอบติดตามพื้นที่ของฝ่ายต่างๆ
9.  วิเคราะห์สิ่งที่ได้จากการประเมิน

สิ่งที่จะได้จากการดำเนินงานในขั้นตอนนี้

1.  สามารถบ่งชี้ได้ว่าความเสี่ยงขององค์กรมีอะไรบ้าง  อย่างชัดเจน
2.  สามารถจัดลำดับความสำคัญ และประเมินความเสี่ยงนั่นๆ
3.  จัดทำแผนปฏิบัติการจัดการความเสี่ยงในเรื่องที่สำคัญได้อย่างชัดเจน
4.  ได้รายงานการบริหารความเสี่ยงต่อผู้บริหารได้
5.  สามารถจัดลำดับแผนความเสี่ยงตามความสำคัญ  และจำเป็นก่อนหลัง โดยทำแผนปฏิบัติการที่ชัดเจน

การวางแผนปฏิบัติการจัดการความเสี่ยง

1.  สำรวจความเสี่ยงในองค์กร
2.  ประเมินความเสี่ยงในระดับองค์กร
3.  กำหนดตัวควบคุมความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในโอกาสต่างๆ
4.  การทำแผนปฏิบัติการ
5.  การทำรายงานสรุปความเสี่ยง

ดังนั่น  การบริหารจัดการความเสี่ยงที่เป็นระบบจะต้องรับความร่วมมือจากบุคลากรทุกคน  ทุกฝ่ายในหน่วยงาน ต้องถือเป็นกิจกกรมทุกคนในองค์กร  ผู้บริหารต้องสร้างความเข้าใจให้ทุกคนตระหนักถึงภัยวิกฤต  ความเสี่ยง  ทุกคนต้องทำเป็นประจำและต่อเนื่องเป็นระบบ มีรูปแบบที่ชัดเจน

     หลักการบริหารความเสี่ยง  ประกอบด้วย

        1.  การวางแผนกลยุทธ์
        2.  การวิเคราะห์ความเสี่ยง
        3.  การควบคุมความเสี่ยง


  แด่ความสำเร็จของคุณเอง
    ท่านดาวิด อัลอาตัส
(seri tuanku david  alartas)
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่