ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ข่าวสะเทือนใจของน้องแก้ม ด.ญ.วัย 13 ปี หายตัวไป ขณะที่เดินทางมาจาก จ.สุราษฏร์ธานี มุ่งหน้า กรุงเทพมหานคร ซึ่งโดยสารมากับขบวนรถไฟ (ตู้นอนที่3) เที่ยวที่ 174 เมื่อวันที่ 6 ก.ค. ที่ผ่านมา นั้น ซึ่งต่อมานายวันชัย แสงขาว อายุ 22 ปี พนักงานปูเตียงที่ได้รับสารภาพว่าได้ข่มขืนน้องแก้ม และโยนร่างของน้องแก้มลงจากขบวนรถไฟ
เมื่อพลิกดูข้อกฎหมายในกรณีข่มขืนนั้น พบว่ากฎหมายไทยมีการระบุบทลงโทษคดีข่มขืนว่ามีอัตราโทษสูงสุดถึงประหารชีวิต โดยเฉพาะคดีข่มขืนและฆ่า อย่างไรก็ตามการพิจารณาคดีขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาล
สำหรับประเทศไทย มีคดีล่าสุดที่ตัดสินประหารชีวิตในคดีข่มขืน 2 คดี คือ คดีข่มขืนและฆ่าน้องอ้อม สุพรรษา นักเรียนโรงเรียนอนุบาล เมื่อปี 2539 ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ออกตามล่าจนสามารถจับกุมผู้ต้องหาได้ ในชั้นศาล ทั้งนี้ผู้ต้องหาปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา จนกระทั่งพยานแวดล้อม หลักฐานคราบอสุจิและเลือดที่เปื้อนเสื้อ เป็นหลักฐานมัดตัวจนเปิดปากรับสารภาพในที่สุด
คดีของนายพันธุ์ สายทอง มีความน่าสนใจตรงที่ ศาลใช้เวลาในการสอบพยานเพียงวันเดียวและมีความเห็นสั่งฟ้องในวันที่ 16 ก.ค. 2539 และนัดตัดสินพิพากษาในวันรุ่งขึ้น โดยศาลได้ตัดสินประหารชีวิต แม้จะมีการทูลเกล้าถวายฎีกา แต่กระทรวงมหาดไทยเห็นว่านายพันธุ์เคยทำความผิดมาแล้วหลายครั้งและคดีดังกล่าวเป็นคดีอุกฉกรรจ์ โหดเหี้ยม จึงเสนอยกฎีกาและประหารชีวิตในวันที่ 21 มิ.ย. ปี 2542 ด้วยการยิงเป้า
ส่วนอีกคดีข่มขืนที่ผู้ต้องหาได้รับโทษประหารชีวิต คือคดีข่มขืนและฆ่า น้องนุ่น สุกัญญา วัย 4 ขวบ เมื่อปี 2542 ซึ่งจากการสอบสวนพบว่าพ่อเลี้ยงเป็นคนลงมือก่อเหตุ
เมื่อไปดูในต่างประเทศโดยอ้างอิงจากรายงานของของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล หรือ องค์การนิรโทษกรรมสากล ระบุถึงโทษประหารชีวิตโดยรวม (ทุกคดีอาชญากรรมไม่ได้นับเฉพาะคดีข่มขืน) ในปี 2555 มีการรื้อฟื้นการประหารชีวิตในแกมเบีย อินเดีย อินโดนีเซีย คูเวต ไนจีเรีย ปากีสถาน และล่าสุดในเวียดนาม
ขณะที่เมื่อปีที่แล้ว 2556 ศาลอาญาอินเดียได้ตัดสินประหารชีวิตแขวนคอ 4 ผู้ต้องหาคดีข่มขืนนักศึกษาหญิงในกรุงนิวเดลี โดยผู้พิพากษาระบุว่า เป็นคดีสะเทือนขวัญ ที่แทบไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน พร้อมปฏิเสธการยื่นขอลดโทษ โดยกล่าวว่านักศึกษาหญิงถูกทรมานอย่างรุนแรง
อย่างไรก็ตามคดีดังกล่าว ผู้ต้องหายังสามารถอุทธรณ์กันต่อไป
กระนั้นคดีดังกล่าวนำมาสู่การแก้ไขกฎหมาย ที่จะลงโทษผู้กระทำผิดที่แสดงพฤติกรรมสอดแนม ถ้ำมอง และการก่ออาชญากรรมทางเพศ รวมถึงโทษประหารชีวิตสำหรับผู้ที่กระทำผิดในคดีดังกล่าวซ้ำสอง หรือคดีการข่มขืนที่เหยื่อเสียชีวิต
แม้หลายประเทศจะยกเลิกการลงโทษตัดสินคดีประหารชีวิตไปไม่น้อย แต่ก็ยังมีบางประเทศที่ไม่ได้ยกเลิก เช่น สหรัฐอเมริกา ยังคงมีการตัดสินโทษประหารชีวิตสำหรับความผิดคดีข่มขืน อาทิ ศาลสูงรัฐฟลอริด้า เพิ่งลงมติตัดสินให้ประหารชีวิตนักโทษคดีข่มขืนไปเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2557 ที่ผ่านมา โดยผู้ต้องหา คือนายเอ็ดดี้ เวยน์ เดวิส ได้กระทำการข่มขืนและฆ่าเด็กหญิงวัย 11 ปี ตั้งแต่ปี 2537 และถูกจับกุมคุมขังในเรือนจำมาตั้งแต่นั้น กระทั่งเพิ่งมีการตัดสินลงโทษไม่นานมานี้
หรือกรณีเมื่อต้นปี 2557 สหรัฐอเมริกาก็ใช้วิธีการฉีดยาเพื่อประหารชีวิตนักโทษคดีข่มขืนเช่นกันที่รัฐโอไฮโอ
ขณะที่เกาหลีใต้ เลือกใช้วิธีลงโทษผู้ต้องหาคดีข่มขืนร้ายแรงด้วยวิธีการฉีดยาที่มีฤทธิ์ทำให้อัณฑะฝ่อต่อนักโทษคดีข่มขืน เป็นวิธีการที่ผ่านร่างกฎหมายเกาหลีใต้ตั้งแต่ปี 2553 แล้ว อาทิ การฉีดยาดังกล่าวกับนายปาร์ค นักโทษข่มขืนต่อเนื่อง วัย 45 ปี เป็นรายแรก หลังจากที่เขาถูกตัดสินว่าข่มขืนเหยื่อ 4 ราย และพยายามข่มขืนเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี
ขณะที่องค์กรนิรโทษกรรมสากล ออกรายงานระบุว่า งานวิจัยมากมายจากนานาประเทศได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าโทษประหารชีวิตไม่มีความเชื่อมโยงใดๆ กับการเพิ่มขึ้น หรือลดลงของอาชญากรรม โดยประเทศต่าง ๆ ที่ยังคงประหารชีวิตอยู่ก็เป็นเพียงแค่ประเทศส่วนน้อย เพราะ 140 ประเทศทั่วโลกได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตไปแล้ว ทั้งในทางกฎหมายหรือในทางปฏิบัติ เนื่องจากไม่มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือว่าการรื้อฟื้นการประหารชีวิตจะสามารถควบคุมหรือลดการเกิดอาชญากรรมลงได้
โทษ "ประหารชีวิต" ควรจะมีหรือไม่ เป็นประเด็นโลกแตกที่ถกเถียงกันมานาน ขณะนี้ประเทศต่าง ๆ ในโลกใบนี้มีทั้งที่ยกเลิกการประหารชีวิตไปแล้ว และยังมีประเทศจำนวนไม่น้อยหรืออาจจะมากกว่าเสียด้วยซ้ำที่ยังคงโทษประหารชีวิตเอาไว้อยู่ บางแห่งก็ยังทำการประหารชีวิตนักโทษ โดยการแขวนคอ หรือยิงเป้า หรือยิงข้างกำแพงในที่สาธารณะท่ามกลางการมุงดูของผู้คน เพื่อให้เป็นที่เกรงกลัวต่อการกระทำความผิด
เรียบเรียงโดยประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ว่าด้วย "โทษประหารชีวิต" ในคดีข่มขืน ประเทศอื่นเป็นอย่างไร!?
ข่าวสะเทือนใจของน้องแก้ม ด.ญ.วัย 13 ปี หายตัวไป ขณะที่เดินทางมาจาก จ.สุราษฏร์ธานี มุ่งหน้า กรุงเทพมหานคร ซึ่งโดยสารมากับขบวนรถไฟ (ตู้นอนที่3) เที่ยวที่ 174 เมื่อวันที่ 6 ก.ค. ที่ผ่านมา นั้น ซึ่งต่อมานายวันชัย แสงขาว อายุ 22 ปี พนักงานปูเตียงที่ได้รับสารภาพว่าได้ข่มขืนน้องแก้ม และโยนร่างของน้องแก้มลงจากขบวนรถไฟ
เมื่อพลิกดูข้อกฎหมายในกรณีข่มขืนนั้น พบว่ากฎหมายไทยมีการระบุบทลงโทษคดีข่มขืนว่ามีอัตราโทษสูงสุดถึงประหารชีวิต โดยเฉพาะคดีข่มขืนและฆ่า อย่างไรก็ตามการพิจารณาคดีขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาล
สำหรับประเทศไทย มีคดีล่าสุดที่ตัดสินประหารชีวิตในคดีข่มขืน 2 คดี คือ คดีข่มขืนและฆ่าน้องอ้อม สุพรรษา นักเรียนโรงเรียนอนุบาล เมื่อปี 2539 ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ออกตามล่าจนสามารถจับกุมผู้ต้องหาได้ ในชั้นศาล ทั้งนี้ผู้ต้องหาปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา จนกระทั่งพยานแวดล้อม หลักฐานคราบอสุจิและเลือดที่เปื้อนเสื้อ เป็นหลักฐานมัดตัวจนเปิดปากรับสารภาพในที่สุด
คดีของนายพันธุ์ สายทอง มีความน่าสนใจตรงที่ ศาลใช้เวลาในการสอบพยานเพียงวันเดียวและมีความเห็นสั่งฟ้องในวันที่ 16 ก.ค. 2539 และนัดตัดสินพิพากษาในวันรุ่งขึ้น โดยศาลได้ตัดสินประหารชีวิต แม้จะมีการทูลเกล้าถวายฎีกา แต่กระทรวงมหาดไทยเห็นว่านายพันธุ์เคยทำความผิดมาแล้วหลายครั้งและคดีดังกล่าวเป็นคดีอุกฉกรรจ์ โหดเหี้ยม จึงเสนอยกฎีกาและประหารชีวิตในวันที่ 21 มิ.ย. ปี 2542 ด้วยการยิงเป้า
ส่วนอีกคดีข่มขืนที่ผู้ต้องหาได้รับโทษประหารชีวิต คือคดีข่มขืนและฆ่า น้องนุ่น สุกัญญา วัย 4 ขวบ เมื่อปี 2542 ซึ่งจากการสอบสวนพบว่าพ่อเลี้ยงเป็นคนลงมือก่อเหตุ
เมื่อไปดูในต่างประเทศโดยอ้างอิงจากรายงานของของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล หรือ องค์การนิรโทษกรรมสากล ระบุถึงโทษประหารชีวิตโดยรวม (ทุกคดีอาชญากรรมไม่ได้นับเฉพาะคดีข่มขืน) ในปี 2555 มีการรื้อฟื้นการประหารชีวิตในแกมเบีย อินเดีย อินโดนีเซีย คูเวต ไนจีเรีย ปากีสถาน และล่าสุดในเวียดนาม
ขณะที่เมื่อปีที่แล้ว 2556 ศาลอาญาอินเดียได้ตัดสินประหารชีวิตแขวนคอ 4 ผู้ต้องหาคดีข่มขืนนักศึกษาหญิงในกรุงนิวเดลี โดยผู้พิพากษาระบุว่า เป็นคดีสะเทือนขวัญ ที่แทบไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน พร้อมปฏิเสธการยื่นขอลดโทษ โดยกล่าวว่านักศึกษาหญิงถูกทรมานอย่างรุนแรง
อย่างไรก็ตามคดีดังกล่าว ผู้ต้องหายังสามารถอุทธรณ์กันต่อไป
กระนั้นคดีดังกล่าวนำมาสู่การแก้ไขกฎหมาย ที่จะลงโทษผู้กระทำผิดที่แสดงพฤติกรรมสอดแนม ถ้ำมอง และการก่ออาชญากรรมทางเพศ รวมถึงโทษประหารชีวิตสำหรับผู้ที่กระทำผิดในคดีดังกล่าวซ้ำสอง หรือคดีการข่มขืนที่เหยื่อเสียชีวิต
แม้หลายประเทศจะยกเลิกการลงโทษตัดสินคดีประหารชีวิตไปไม่น้อย แต่ก็ยังมีบางประเทศที่ไม่ได้ยกเลิก เช่น สหรัฐอเมริกา ยังคงมีการตัดสินโทษประหารชีวิตสำหรับความผิดคดีข่มขืน อาทิ ศาลสูงรัฐฟลอริด้า เพิ่งลงมติตัดสินให้ประหารชีวิตนักโทษคดีข่มขืนไปเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2557 ที่ผ่านมา โดยผู้ต้องหา คือนายเอ็ดดี้ เวยน์ เดวิส ได้กระทำการข่มขืนและฆ่าเด็กหญิงวัย 11 ปี ตั้งแต่ปี 2537 และถูกจับกุมคุมขังในเรือนจำมาตั้งแต่นั้น กระทั่งเพิ่งมีการตัดสินลงโทษไม่นานมานี้
หรือกรณีเมื่อต้นปี 2557 สหรัฐอเมริกาก็ใช้วิธีการฉีดยาเพื่อประหารชีวิตนักโทษคดีข่มขืนเช่นกันที่รัฐโอไฮโอ
ขณะที่เกาหลีใต้ เลือกใช้วิธีลงโทษผู้ต้องหาคดีข่มขืนร้ายแรงด้วยวิธีการฉีดยาที่มีฤทธิ์ทำให้อัณฑะฝ่อต่อนักโทษคดีข่มขืน เป็นวิธีการที่ผ่านร่างกฎหมายเกาหลีใต้ตั้งแต่ปี 2553 แล้ว อาทิ การฉีดยาดังกล่าวกับนายปาร์ค นักโทษข่มขืนต่อเนื่อง วัย 45 ปี เป็นรายแรก หลังจากที่เขาถูกตัดสินว่าข่มขืนเหยื่อ 4 ราย และพยายามข่มขืนเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี
ขณะที่องค์กรนิรโทษกรรมสากล ออกรายงานระบุว่า งานวิจัยมากมายจากนานาประเทศได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าโทษประหารชีวิตไม่มีความเชื่อมโยงใดๆ กับการเพิ่มขึ้น หรือลดลงของอาชญากรรม โดยประเทศต่าง ๆ ที่ยังคงประหารชีวิตอยู่ก็เป็นเพียงแค่ประเทศส่วนน้อย เพราะ 140 ประเทศทั่วโลกได้ยกเลิกโทษประหารชีวิตไปแล้ว ทั้งในทางกฎหมายหรือในทางปฏิบัติ เนื่องจากไม่มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือว่าการรื้อฟื้นการประหารชีวิตจะสามารถควบคุมหรือลดการเกิดอาชญากรรมลงได้
โทษ "ประหารชีวิต" ควรจะมีหรือไม่ เป็นประเด็นโลกแตกที่ถกเถียงกันมานาน ขณะนี้ประเทศต่าง ๆ ในโลกใบนี้มีทั้งที่ยกเลิกการประหารชีวิตไปแล้ว และยังมีประเทศจำนวนไม่น้อยหรืออาจจะมากกว่าเสียด้วยซ้ำที่ยังคงโทษประหารชีวิตเอาไว้อยู่ บางแห่งก็ยังทำการประหารชีวิตนักโทษ โดยการแขวนคอ หรือยิงเป้า หรือยิงข้างกำแพงในที่สาธารณะท่ามกลางการมุงดูของผู้คน เพื่อให้เป็นที่เกรงกลัวต่อการกระทำความผิด
เรียบเรียงโดยประชาชาติธุรกิจออนไลน์