มีข่าวข่มขืนฆ่าเกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ พอเกิดทีไรก็มักมีคนออกมาเคลื่อนไหวให้ประหารชีวิต เมื่อวานนี้นายกฯ แสดงความไม่เห็นด้วย บางคนเลยบอกว่าอยากจะให้เกิดกับลูกสาวฝาแฝดของท่าน ผมก็คงแค้นใจถ้าเกิดกับลูกเมียผม แต่ผมก็เห็นเหมือนนายกฯ เพราะนี่ไม่ใช่ทางแก้ เป็นเพียงการตอบสนองทางอารมณ์ จะยิ่งทำให้ปัญหาบานปลาย
ในอดีตเคยเกิดกรณีสลดกว่านี้ ผู้ร้ายคิดคุกราว 10 ปีก็ออกมาหมดแล้ว หากเป็นคนมีฐานะและชื่อเสียง เรื่องก็เงียบ แต่ในกรณี "น้องแก้ม" เกิดกับชายยากจน แถมเสพยาบ้า ความแค้นเคืองก็มีมากขึ้น บ้างก็ว่าปัญหาอยู่ที่ภาพหวิว แต่นางแบบภาพหวิวกลับออกมา เรียกร้องให้ประหารผู้ข่มขืนโดยว่าแม้หญิงจะแต่งหวิว ชายก็ไม่มีสิทธิข่มขืน ซึ่งก็จริง หลักการที่ถูกต้องคือ 'ชายจริงไม่ข่มขืน หญิงแท้ไม่พึงเปิดสรีระ' จนกลายเป็นการกดขี่ทางเพศตัวเอง
ว่าอาชญากรรมทางเพศ
กรณีที่ชายแปลกหน้าข่มขืนหญิงนั้นเป็นส่วนน้อย ถ้าเราขาดข้อมูล เข้าใจไม่ตรงความจริง ก็อาจแก้ไขปัญหาไม่ตรงจุด ปัญหาอาชญากรรมทางเพศในประเทศไทยในปีที่แล้วมีการข่มขืนกันถึง 31,866 ราย (วันละ 87 ราย) และอีกการศึกษาหนึ่งระบุว่า มักเกิดขึ้นโดยคนรู้จัก (60.1%) เกิดในเวลากลางวัน (57.9%) และมักเกิดขึ้นในบ้านของตัวเอง (70.9%)
กรณีที่น่าสลดกรณีหนึ่งก็คือ ข่าวคุณตา น้องชายคุณตาอีก 2 คนและพ่อบังเกิดเกล้า รวม 4 คน ข่มขืนเด็กหญิงมา 5 ปีตั้งแต่เด็กอายุ 9 ขวบ จนกระทั่งเกิดเหตุพ่อกับตาเปิดศึกชิงนาง ใช้มีดไล่ฟันกัน เด็กกลัวมากจึงออกปากบอกแม่ เรื่องจึงแดงขึ้น ความสลับซับซ้อนในการแก้ไขปัญหาจึงเกิดขึ้น เราจะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้ผู้หญิงตกเป็นเครื่องบำบัดความใคร่ทางเพศ
ทางออกของปัญหา
ด้วยภาวะทางอารมณ์จึงมีการรณรงค์ให้ 'ข่มขืน = ประหาร' ซึ่งว่าตามความหนักเบาของการกระทำผิดแล้ว คงไม่ถึงขั้นโทษประหาร แต่หากข่มขืน-ฆ่า หรือแม้ฆ่าอย่างเดียว โทษสูงสุดก็ถึงขั้นประหารอยู่แล้ว หลายฝ่ายออกมาชี้ให้เห็นว่า 'เราต้องมาหาวิธีป้องกันจากต้นเหตุไม่ใช่ปลายเหตุ ตัวบทกฎหมายเรื่องการประหารมีอยู่แล้ว' และบางครั้งก็อาจประหารผิดตัวก็ได้
แม้แต่หญิงที่จบปริญญาโทและถูกข่มขืนบนรถไฟเมื่อ 15 ปีก่อน ก็ยังไม่เห็นด้วยเพราะแก้ปัญหาไม่ตรงจุด 'คนที่กระทำการข่มขืน ณ ขณะนั้นล้วนขาดสติ. . .(ทางแก้เร่ง) ปรับปรุงระบบคุ้มครองความปลอดภัยของหญิงมากกว่า และควรเน้นรณรงค์การบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้น อาทิ จำคุกตลอดชีวิต. . .เราควรเน้นการแก้ไข ไม่ใช่การแก้แค้น ทั้งนี้สอดคล้องกับคำให้สัมภาษณ์ของเพื่อนบ้าน ที่เห็นว่าคนร้ายที่ข่มขืน 'น้องแก้ม' ปกติเป็นคนเรียบร้อย อัธยาศัยดี และพ่อของคนร้ายก็บอกว่าปกติลูกไม่ตีกระทั่งสุนัข กตัญญู แต่คงเพราะเสพยาบ้า ในแง่หนึ่งพ่ออาจพูดช่วยลูก แต่ในแง่หนึ่ง ยาบ้าน่าจะเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้เกิดการก่อเหตุร้าย
แต่การลงโทษมักไม่สมควรแก่เหตุ
กรณีการฆ่าบนรถไฟนี้ สมควรลงโทษคนร้ายอย่างยิ่ง แต่ที่ผ่านมา เคยมีเหตุการณ์ฆ่าที่***มโหดกว่านี้มามาก แต่สุดท้ายได้รับการลงโทษไม่สมควรแก่เหตุ
1. คดีชาย 30 คนรุมข่มขืนหญิงจนตายแล้วนำร่างไปให้รถไฟทับตาย แต่สุดท้ายผู้ต้องหาที่ถูกฟ้องได้จริงมีแค่ 8-9 คน ติดคุกกันไม่เกิน 10 ปีก็ออกจากคุก
2. คดีที่ก่อทั้งที่มีสติสัมปชัญญะ ไม่ได้เสพยาบ้าสักเม็ดและโดยปัญญาชนแท้ๆ ก็คือ นายเสริม นักศึกษาแพทย์มหิดล และ นพ.วิสุทธิ์ โรงพยาบาลจุฬาฯ ที่ฆ่าแล่เนื้อหั่นศพหญิง ปัจจุบันนี้นายเสริมออกจากคุกแล้ว ส่วน นพ.วิสุทธิ์ คาดว่าจะได้ออกมาภายในปี 2557 โดยทั้งคู่ติดคุกอยู่ประมาณ 13 ปี
3. คดี 'คุณหนุ่ย' ฆาตกรต่อเนื่องฆ่าขืนใจเด็ก 6 ขวบ รวมเหยื่อกว่า 10 ราย (ตาย 4 ราย) สุดท้ายศาลตัดสินประหารชีวิต แต่ลดโทษให้เพราะสารภาพเหลือจำคุกตลอดชีวิต และอาจอยู่ในคุกไม่เกิน 13 ปีเช่นรายข้างต้น
4. ในอีกแง่หนึ่งมักจะมีผู้รอดพ้นคดีโดยสังคมเข้าใจว่าเป็นเพราะมีฐานะดี เช่น คดีลูก ส.ส.จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ข่มขืนสาวพม่าจนไส้แตก ข่มขืนนักศึกษา ฆ่าและพยายามฆ่า มียาเสพติด ฯลฯ ก็ไม่ถูกประหาร และกรณีลูกนักร้องเพลงเพื่อชีวิตก็รอดคดีข่มขืน เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีคดีอาจารย์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ใช้ไม้กอล์ฟตีภริยาจนตาย แต่มีเหตุผล ศาลจึงลงโทษให้รอลงอาญา 3 ปี ไม่ติดคุก กรณีนายพันตรีฆ่าผู้ว่าราชการจังหวัด เหตุเกิดปี 2544 ศาลตัดสินประหารชีวิต ก็ขอพระราชทานอภัยโทษเหลือจำคุกตลอดชีวิต ปี 2550 ได้รับลดโทษอีก 13 ปี และอาจมีการลดอีกระหว่างนี้ และกรณีนายพลตำรวจคดีเพชรซาอุฯ ฆ่าแม่ลูก 2 ศพ ศาลฎีกาพิพากษาให้ประหารชีวิต แต่ติดคุกอยู่ 18 ปี ตอนนี้ก็ออกมาแล้ว
คงต้องปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมของไทย เพราะหากเป็นในยุโรปและอเมริกา โทษของนักโทษเด็ดขาดก็ไม่มีการลดแล้วลดอีก สารภาพลดครึ่ง ฯลฯ ในยุคสมัยใหม่ อารยประเทศไม่ใช้การประหารชีวิต แต่ลำพังแค่โทษจำคุกตลอดชีวิตหรือ 50 ปีโดยไม่มีการลดโทษ ก็ทำให้คนคิดก่ออาชญากรรม จะได้เตือนตนอยู่ตลอดเวลาก่อนเข้าสู่ภาวะขาดสติ เรายังต้องสร้างคุกเพิ่มเพื่อเก็บอาชญากรไว้ ไม่ใช่พ้นโทษข่มขืนออกมา 10 เดือนก็ก่ออาชญากรรมอีก
ปม: ทุจริตและกระจายทรัพยากร
เราอยู่ในสังคมแห่งการเอารัดเอาเปรียบที่ 'รวยกระจุก จนกระจาย' อาชญากรรมและความรุนแรงเป็นผลพวงของความยากจน ประชาชนจึงต่าง 'ปากกัดตีนถีบ' พ่อแม่ก็ไม่ค่อยได้ดูแลลูก จนบางครั้งก็ 'ด้านได้อายอด' กระทั่งทำผิดบาปเมื่อเทียบกับ 'คนดี' ผู้มีอันจะกินที่สุขสบายไม่ต้องดิ้นรน การใช้ยาเสพติด การ 'หากินแนวนอน' ก็เพื่อบำบัดความขาดแคลน แต่เป็นการกดขี่ทางเพศ ทำให้หญิงกลายเป็นแค่เครื่องบำบัดความใคร่
ชายไทยโดยเฉพาะที่ยากจน และเป็นปุถุชนที่ถูกจับได้ว่ากระทำความผิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งความผิดทางเพศ จะถูกประณามด้วยความโกรธแค้นจากสังคม ยิ่งหากเสพยา ก็ยิ่งถูกประณามหนักข้อยิ่งขึ้น แต่สังคมก็ไม่ค่อยกล้าไปตอแยกับคนรวยหรือผู้มีอิทธิพลที่กระทำผิดมากนัก และส่วนมากมักกลายเป็นคลื่นกระทบฝั่งไปในที่สุด เงินไขกุญแจได้ทุกดอก ด้วยเหตุนี้เองการทุจริตและประพฤติมิชอบจึงกระจายไปทุกหย่อมหญ้า
ถ้าประชาชนมีฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้นโดยเฉพาะจากการค้าขาย อุตสาหกรรม การส่งออก การท่องเที่ยว การเกษตรและอื่น ๆ โจรผู้ร้ายก็จะลดลง สังคมก็จะผาสุก แต่ถ้าบ้านเมืองเรายากจนลง ไม่มีใครคบค้า ถูกกีดกัน ประเทศชาติก็จะยิ่งเสื่อมทรุดลง ดูอย่างเมียนมาที่ปิดประเทศไปหลายสิบปี กลับกลายเป็นประเทศยากจนที่สุดประเทศหนึ่ง ทั้งที่เคยรุ่งเรืองกว่าประเทศไทยเมื่อ 60 ปีที่แล้ว
ถ้าหัวไม่ส่าย หางก็ไม่กระดิก ถ้าผู้เป็นใหญ่ตั้งใจปราบยาบ้าและทุจริตจริงจังดังเช่นในอดีต และกระจายทรัพยากรถึงมือประชาชนจริงๆ อาชญากรรม (ทางเพศ) ก็จะลด เรื่องสะเทือนใจก็จะน้อยลง
*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*
ที่มา:
http://www.area.co.th/thai/area_announce/area_press.php?strquey=press_announcement1467.htm
ดร.โสภณยัน นายกฯ พูดถูกที่ไม่ประหารชีวิตคนข่มขืนฆ่า
ในอดีตเคยเกิดกรณีสลดกว่านี้ ผู้ร้ายคิดคุกราว 10 ปีก็ออกมาหมดแล้ว หากเป็นคนมีฐานะและชื่อเสียง เรื่องก็เงียบ แต่ในกรณี "น้องแก้ม" เกิดกับชายยากจน แถมเสพยาบ้า ความแค้นเคืองก็มีมากขึ้น บ้างก็ว่าปัญหาอยู่ที่ภาพหวิว แต่นางแบบภาพหวิวกลับออกมา เรียกร้องให้ประหารผู้ข่มขืนโดยว่าแม้หญิงจะแต่งหวิว ชายก็ไม่มีสิทธิข่มขืน ซึ่งก็จริง หลักการที่ถูกต้องคือ 'ชายจริงไม่ข่มขืน หญิงแท้ไม่พึงเปิดสรีระ' จนกลายเป็นการกดขี่ทางเพศตัวเอง
ว่าอาชญากรรมทางเพศ
กรณีที่ชายแปลกหน้าข่มขืนหญิงนั้นเป็นส่วนน้อย ถ้าเราขาดข้อมูล เข้าใจไม่ตรงความจริง ก็อาจแก้ไขปัญหาไม่ตรงจุด ปัญหาอาชญากรรมทางเพศในประเทศไทยในปีที่แล้วมีการข่มขืนกันถึง 31,866 ราย (วันละ 87 ราย) และอีกการศึกษาหนึ่งระบุว่า มักเกิดขึ้นโดยคนรู้จัก (60.1%) เกิดในเวลากลางวัน (57.9%) และมักเกิดขึ้นในบ้านของตัวเอง (70.9%)
กรณีที่น่าสลดกรณีหนึ่งก็คือ ข่าวคุณตา น้องชายคุณตาอีก 2 คนและพ่อบังเกิดเกล้า รวม 4 คน ข่มขืนเด็กหญิงมา 5 ปีตั้งแต่เด็กอายุ 9 ขวบ จนกระทั่งเกิดเหตุพ่อกับตาเปิดศึกชิงนาง ใช้มีดไล่ฟันกัน เด็กกลัวมากจึงออกปากบอกแม่ เรื่องจึงแดงขึ้น ความสลับซับซ้อนในการแก้ไขปัญหาจึงเกิดขึ้น เราจะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้ผู้หญิงตกเป็นเครื่องบำบัดความใคร่ทางเพศ
ทางออกของปัญหา
ด้วยภาวะทางอารมณ์จึงมีการรณรงค์ให้ 'ข่มขืน = ประหาร' ซึ่งว่าตามความหนักเบาของการกระทำผิดแล้ว คงไม่ถึงขั้นโทษประหาร แต่หากข่มขืน-ฆ่า หรือแม้ฆ่าอย่างเดียว โทษสูงสุดก็ถึงขั้นประหารอยู่แล้ว หลายฝ่ายออกมาชี้ให้เห็นว่า 'เราต้องมาหาวิธีป้องกันจากต้นเหตุไม่ใช่ปลายเหตุ ตัวบทกฎหมายเรื่องการประหารมีอยู่แล้ว' และบางครั้งก็อาจประหารผิดตัวก็ได้
แม้แต่หญิงที่จบปริญญาโทและถูกข่มขืนบนรถไฟเมื่อ 15 ปีก่อน ก็ยังไม่เห็นด้วยเพราะแก้ปัญหาไม่ตรงจุด 'คนที่กระทำการข่มขืน ณ ขณะนั้นล้วนขาดสติ. . .(ทางแก้เร่ง) ปรับปรุงระบบคุ้มครองความปลอดภัยของหญิงมากกว่า และควรเน้นรณรงค์การบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้น อาทิ จำคุกตลอดชีวิต. . .เราควรเน้นการแก้ไข ไม่ใช่การแก้แค้น ทั้งนี้สอดคล้องกับคำให้สัมภาษณ์ของเพื่อนบ้าน ที่เห็นว่าคนร้ายที่ข่มขืน 'น้องแก้ม' ปกติเป็นคนเรียบร้อย อัธยาศัยดี และพ่อของคนร้ายก็บอกว่าปกติลูกไม่ตีกระทั่งสุนัข กตัญญู แต่คงเพราะเสพยาบ้า ในแง่หนึ่งพ่ออาจพูดช่วยลูก แต่ในแง่หนึ่ง ยาบ้าน่าจะเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้เกิดการก่อเหตุร้าย
แต่การลงโทษมักไม่สมควรแก่เหตุ
กรณีการฆ่าบนรถไฟนี้ สมควรลงโทษคนร้ายอย่างยิ่ง แต่ที่ผ่านมา เคยมีเหตุการณ์ฆ่าที่***มโหดกว่านี้มามาก แต่สุดท้ายได้รับการลงโทษไม่สมควรแก่เหตุ
1. คดีชาย 30 คนรุมข่มขืนหญิงจนตายแล้วนำร่างไปให้รถไฟทับตาย แต่สุดท้ายผู้ต้องหาที่ถูกฟ้องได้จริงมีแค่ 8-9 คน ติดคุกกันไม่เกิน 10 ปีก็ออกจากคุก
2. คดีที่ก่อทั้งที่มีสติสัมปชัญญะ ไม่ได้เสพยาบ้าสักเม็ดและโดยปัญญาชนแท้ๆ ก็คือ นายเสริม นักศึกษาแพทย์มหิดล และ นพ.วิสุทธิ์ โรงพยาบาลจุฬาฯ ที่ฆ่าแล่เนื้อหั่นศพหญิง ปัจจุบันนี้นายเสริมออกจากคุกแล้ว ส่วน นพ.วิสุทธิ์ คาดว่าจะได้ออกมาภายในปี 2557 โดยทั้งคู่ติดคุกอยู่ประมาณ 13 ปี
3. คดี 'คุณหนุ่ย' ฆาตกรต่อเนื่องฆ่าขืนใจเด็ก 6 ขวบ รวมเหยื่อกว่า 10 ราย (ตาย 4 ราย) สุดท้ายศาลตัดสินประหารชีวิต แต่ลดโทษให้เพราะสารภาพเหลือจำคุกตลอดชีวิต และอาจอยู่ในคุกไม่เกิน 13 ปีเช่นรายข้างต้น
4. ในอีกแง่หนึ่งมักจะมีผู้รอดพ้นคดีโดยสังคมเข้าใจว่าเป็นเพราะมีฐานะดี เช่น คดีลูก ส.ส.จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ข่มขืนสาวพม่าจนไส้แตก ข่มขืนนักศึกษา ฆ่าและพยายามฆ่า มียาเสพติด ฯลฯ ก็ไม่ถูกประหาร และกรณีลูกนักร้องเพลงเพื่อชีวิตก็รอดคดีข่มขืน เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีคดีอาจารย์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ใช้ไม้กอล์ฟตีภริยาจนตาย แต่มีเหตุผล ศาลจึงลงโทษให้รอลงอาญา 3 ปี ไม่ติดคุก กรณีนายพันตรีฆ่าผู้ว่าราชการจังหวัด เหตุเกิดปี 2544 ศาลตัดสินประหารชีวิต ก็ขอพระราชทานอภัยโทษเหลือจำคุกตลอดชีวิต ปี 2550 ได้รับลดโทษอีก 13 ปี และอาจมีการลดอีกระหว่างนี้ และกรณีนายพลตำรวจคดีเพชรซาอุฯ ฆ่าแม่ลูก 2 ศพ ศาลฎีกาพิพากษาให้ประหารชีวิต แต่ติดคุกอยู่ 18 ปี ตอนนี้ก็ออกมาแล้ว
คงต้องปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมของไทย เพราะหากเป็นในยุโรปและอเมริกา โทษของนักโทษเด็ดขาดก็ไม่มีการลดแล้วลดอีก สารภาพลดครึ่ง ฯลฯ ในยุคสมัยใหม่ อารยประเทศไม่ใช้การประหารชีวิต แต่ลำพังแค่โทษจำคุกตลอดชีวิตหรือ 50 ปีโดยไม่มีการลดโทษ ก็ทำให้คนคิดก่ออาชญากรรม จะได้เตือนตนอยู่ตลอดเวลาก่อนเข้าสู่ภาวะขาดสติ เรายังต้องสร้างคุกเพิ่มเพื่อเก็บอาชญากรไว้ ไม่ใช่พ้นโทษข่มขืนออกมา 10 เดือนก็ก่ออาชญากรรมอีก
ปม: ทุจริตและกระจายทรัพยากร
เราอยู่ในสังคมแห่งการเอารัดเอาเปรียบที่ 'รวยกระจุก จนกระจาย' อาชญากรรมและความรุนแรงเป็นผลพวงของความยากจน ประชาชนจึงต่าง 'ปากกัดตีนถีบ' พ่อแม่ก็ไม่ค่อยได้ดูแลลูก จนบางครั้งก็ 'ด้านได้อายอด' กระทั่งทำผิดบาปเมื่อเทียบกับ 'คนดี' ผู้มีอันจะกินที่สุขสบายไม่ต้องดิ้นรน การใช้ยาเสพติด การ 'หากินแนวนอน' ก็เพื่อบำบัดความขาดแคลน แต่เป็นการกดขี่ทางเพศ ทำให้หญิงกลายเป็นแค่เครื่องบำบัดความใคร่
ชายไทยโดยเฉพาะที่ยากจน และเป็นปุถุชนที่ถูกจับได้ว่ากระทำความผิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งความผิดทางเพศ จะถูกประณามด้วยความโกรธแค้นจากสังคม ยิ่งหากเสพยา ก็ยิ่งถูกประณามหนักข้อยิ่งขึ้น แต่สังคมก็ไม่ค่อยกล้าไปตอแยกับคนรวยหรือผู้มีอิทธิพลที่กระทำผิดมากนัก และส่วนมากมักกลายเป็นคลื่นกระทบฝั่งไปในที่สุด เงินไขกุญแจได้ทุกดอก ด้วยเหตุนี้เองการทุจริตและประพฤติมิชอบจึงกระจายไปทุกหย่อมหญ้า
ถ้าประชาชนมีฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้นโดยเฉพาะจากการค้าขาย อุตสาหกรรม การส่งออก การท่องเที่ยว การเกษตรและอื่น ๆ โจรผู้ร้ายก็จะลดลง สังคมก็จะผาสุก แต่ถ้าบ้านเมืองเรายากจนลง ไม่มีใครคบค้า ถูกกีดกัน ประเทศชาติก็จะยิ่งเสื่อมทรุดลง ดูอย่างเมียนมาที่ปิดประเทศไปหลายสิบปี กลับกลายเป็นประเทศยากจนที่สุดประเทศหนึ่ง ทั้งที่เคยรุ่งเรืองกว่าประเทศไทยเมื่อ 60 ปีที่แล้ว
ถ้าหัวไม่ส่าย หางก็ไม่กระดิก ถ้าผู้เป็นใหญ่ตั้งใจปราบยาบ้าและทุจริตจริงจังดังเช่นในอดีต และกระจายทรัพยากรถึงมือประชาชนจริงๆ อาชญากรรม (ทางเพศ) ก็จะลด เรื่องสะเทือนใจก็จะน้อยลง
*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*
ที่มา: http://www.area.co.th/thai/area_announce/area_press.php?strquey=press_announcement1467.htm