ตะลอนเที่ยวเกาะช้างใต้ ท่ามกลางบรรยากาศสบายๆ สไตล์เวนิส
รูปจาก www.Travel.thaiza.com
เกาะช้างไม่ได้มีดีเฉพาะการท่องเที่ยวทางด้านท้องทะเล แต่เมื่อเดินทางไปถึงที่นั่น จะพบว่าสองข้างของถนน รวมทั้งบริเวณโดยรอบนั้นมีระบบนิเวศน์ที่น่าสนใจ ด้วยไม้นานาพันธุ์สลับไปมากับสวนผลไม้ และสวนมะพร้าว ทั้งยังมีการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และการท่องเที่ยวแบบโลว์คาร์บอน (Low Carbon) รวมทั้งการท่องเที่ยวแบบวิถีชุมชน ที่นักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปสัมผัส และใช้ชีวิตกับชาวบ้านในชุมชนได้ ซึ่งพื้นที่บนเกาะช้างถูกแบ่งการปกครองออกเป็น 2 ตำบล 9 หมู่บ้าน และตั้งอยู่ในเขตพื้นที่พิเศษของ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ทั้งหมด ได้แก่ ตำบลเกาะช้าง จะประกอบด้วย 4 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านนนทรี หมู่ที่2 บ้านด่านใหม่ หมู่ที่3 บ้านคลองสน และหมู่ที่ 4 บ้านคลองพร้าว ส่วนอีกหนึ่งตำบลคือ ตำบลเกาะช้างใต้ จะประกอบไปด้วย 5 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่1 บ้านบางเบ้า หมู่ที่2 บ้านสลักเพชร หมู่ที่3 บ้านแจ๊กแบ้ หมู่ที่4 บ้านสลักคอก และหมู่ที่5 หมู่สุดท้ายคือ บ้านสลักเพชรเหนือ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว เมื่อนักท่องเที่ยวเดินทางมาถึงยังเกาะช้างก็มักจะมุ่งหน้าเลี้ยวขวากันไปโดยอัตโนมัติ เพราะทางนั้นเป็นสถานที่พักผ่อนที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นหาดทรายขาว หาดคลองพร้าว และหาดไก่แบ้ ด้วยความที่ชายหาดมีความสวยงามขาวสะอาดทอดยาวขนานท้องทะเล มีรีสอร์ทสวยหรู และสิ่งอำนวยความสะดวก ผับ บาร์มากมาย ทำให้เป็นเป้าหมายของนักท่องเที่ยว แต่หากใครที่ต้องการท่องเที่ยวแบบธรรมชาติ ใช้ชีวิตเรียบง่ายท่ามกลางวิถีชุมชนก็แนะนำว่าหันทิศกลับลงมาทางเกาะช้างใต้รับรองว่าคุณจะได้สัมผัสกับการท่องเที่ยวอีกรูปแบบที่แตกต่างออกไป
รูปจาก
http://www.manager.co.th/
บรรยากาศสบายๆ สไตล์เวนิส หาได้ที่นี่ บ้านสลักคอก หมู่บ้านชาวประมงที่ยังคงรายล้อมไปด้วยธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ บนพื้นที่กว่า 500 ไร่ มีป่าชายเลนอันอุดมสมบูรณ์ที่เป็นเสมือนเครื่องป้องกันการพังทลายของชายฝั่ง เป็นเกราะกำบังแรงลม และยังเป็นแหล่งสมุนไพรพื้นบ้านมากมาย จนทำให้สถานที่แห่งนี้กลายเป็นต้นแบบของแหล่งท่องเที่ยวชุมชนดีเด่นที่ได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียวประจำปี 2553 และกว่า 8 ปีมาแล้วที่ชาวชุมชนสลักคอกได้หันมาใส่ใจในเรื่องการจัดการการท่องเที่ยวในพื้นที่ให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ชาวบ้านในชุมชนเองก็ได้แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวตรงนี้มาจากคำแนะนำขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน องค์การมหาชน (อพท.) ที่ได้ลงพื้นที่เพื่อสำรวจทรัพยากร สิ่งแวดล้อม รวมถึงเส้นทางความเป็นอยู่ของชาวบ้านในชุมชนเพื่อที่จะได้ดูแลจัดการการท่องเที่ยวให้เป็นไปในรูปแบบที่วางไว้ ซึ่งจะเน้นให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสกับธรรมชาติอย่างแท้จริง ภายใต้การบริหารจัดการของคนในชุมชนเอง โดยกิจกรรมการท่องเที่ยวนั้นมีให้เลือกหลากหลาย สไตล์เวนิส ซึ่งที่เรียกว่าเวนิสนั้นก็เนื่องด้วยบรรยากาศป่าชายเลน สองข้างทางเต็มไปด้วยป่าไม้โกงกาง ทำให้มีเส้นทางล่องเรือที่สวยงามคล้ายกับเวนิส ซึ่งชาวบ้านในชุมชนก็การจัดเตรียมเรือไว้รองรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการเที่ยวเชิงระบบนิเวศน์ ได้ชมป่าชายเลน พร้อมทั้งชมแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ โดยมีทั้งเรือมาด หรือเรือกอนโดล่า เรือคายัค เอาไว้ให้บริการ ซึ่งผู้พายเรือก็คือชาวบ้านในชุมชน ทำให้เกิดเป็นรายได้เข้าไปหมุนเวียนกลับเข้าไปในชุมชนอีกด้วย ฉะนั้นการมาท่องเที่ยวที่นี่ก็เหมือนกับว่าเราได้ช่วยสนับสนุนในเรื่องของรายได้ให้กับชุมชนให้พวกเขามีอาชีพเสริมที่นอกเหนือจากการทำประมง
[CR] ตะลอนเที่ยวเกาะช้างใต้ ท่ามกลางบรรยากาศสบายๆ สไตล์เวนิส
รูปจาก www.Travel.thaiza.com
เกาะช้างไม่ได้มีดีเฉพาะการท่องเที่ยวทางด้านท้องทะเล แต่เมื่อเดินทางไปถึงที่นั่น จะพบว่าสองข้างของถนน รวมทั้งบริเวณโดยรอบนั้นมีระบบนิเวศน์ที่น่าสนใจ ด้วยไม้นานาพันธุ์สลับไปมากับสวนผลไม้ และสวนมะพร้าว ทั้งยังมีการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และการท่องเที่ยวแบบโลว์คาร์บอน (Low Carbon) รวมทั้งการท่องเที่ยวแบบวิถีชุมชน ที่นักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปสัมผัส และใช้ชีวิตกับชาวบ้านในชุมชนได้ ซึ่งพื้นที่บนเกาะช้างถูกแบ่งการปกครองออกเป็น 2 ตำบล 9 หมู่บ้าน และตั้งอยู่ในเขตพื้นที่พิเศษของ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ทั้งหมด ได้แก่ ตำบลเกาะช้าง จะประกอบด้วย 4 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านนนทรี หมู่ที่2 บ้านด่านใหม่ หมู่ที่3 บ้านคลองสน และหมู่ที่ 4 บ้านคลองพร้าว ส่วนอีกหนึ่งตำบลคือ ตำบลเกาะช้างใต้ จะประกอบไปด้วย 5 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่1 บ้านบางเบ้า หมู่ที่2 บ้านสลักเพชร หมู่ที่3 บ้านแจ๊กแบ้ หมู่ที่4 บ้านสลักคอก และหมู่ที่5 หมู่สุดท้ายคือ บ้านสลักเพชรเหนือ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว เมื่อนักท่องเที่ยวเดินทางมาถึงยังเกาะช้างก็มักจะมุ่งหน้าเลี้ยวขวากันไปโดยอัตโนมัติ เพราะทางนั้นเป็นสถานที่พักผ่อนที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นหาดทรายขาว หาดคลองพร้าว และหาดไก่แบ้ ด้วยความที่ชายหาดมีความสวยงามขาวสะอาดทอดยาวขนานท้องทะเล มีรีสอร์ทสวยหรู และสิ่งอำนวยความสะดวก ผับ บาร์มากมาย ทำให้เป็นเป้าหมายของนักท่องเที่ยว แต่หากใครที่ต้องการท่องเที่ยวแบบธรรมชาติ ใช้ชีวิตเรียบง่ายท่ามกลางวิถีชุมชนก็แนะนำว่าหันทิศกลับลงมาทางเกาะช้างใต้รับรองว่าคุณจะได้สัมผัสกับการท่องเที่ยวอีกรูปแบบที่แตกต่างออกไป
รูปจาก http://www.manager.co.th/
บรรยากาศสบายๆ สไตล์เวนิส หาได้ที่นี่ บ้านสลักคอก หมู่บ้านชาวประมงที่ยังคงรายล้อมไปด้วยธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ บนพื้นที่กว่า 500 ไร่ มีป่าชายเลนอันอุดมสมบูรณ์ที่เป็นเสมือนเครื่องป้องกันการพังทลายของชายฝั่ง เป็นเกราะกำบังแรงลม และยังเป็นแหล่งสมุนไพรพื้นบ้านมากมาย จนทำให้สถานที่แห่งนี้กลายเป็นต้นแบบของแหล่งท่องเที่ยวชุมชนดีเด่นที่ได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียวประจำปี 2553 และกว่า 8 ปีมาแล้วที่ชาวชุมชนสลักคอกได้หันมาใส่ใจในเรื่องการจัดการการท่องเที่ยวในพื้นที่ให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ชาวบ้านในชุมชนเองก็ได้แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวตรงนี้มาจากคำแนะนำขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน องค์การมหาชน (อพท.) ที่ได้ลงพื้นที่เพื่อสำรวจทรัพยากร สิ่งแวดล้อม รวมถึงเส้นทางความเป็นอยู่ของชาวบ้านในชุมชนเพื่อที่จะได้ดูแลจัดการการท่องเที่ยวให้เป็นไปในรูปแบบที่วางไว้ ซึ่งจะเน้นให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสกับธรรมชาติอย่างแท้จริง ภายใต้การบริหารจัดการของคนในชุมชนเอง โดยกิจกรรมการท่องเที่ยวนั้นมีให้เลือกหลากหลาย สไตล์เวนิส ซึ่งที่เรียกว่าเวนิสนั้นก็เนื่องด้วยบรรยากาศป่าชายเลน สองข้างทางเต็มไปด้วยป่าไม้โกงกาง ทำให้มีเส้นทางล่องเรือที่สวยงามคล้ายกับเวนิส ซึ่งชาวบ้านในชุมชนก็การจัดเตรียมเรือไว้รองรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการเที่ยวเชิงระบบนิเวศน์ ได้ชมป่าชายเลน พร้อมทั้งชมแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ โดยมีทั้งเรือมาด หรือเรือกอนโดล่า เรือคายัค เอาไว้ให้บริการ ซึ่งผู้พายเรือก็คือชาวบ้านในชุมชน ทำให้เกิดเป็นรายได้เข้าไปหมุนเวียนกลับเข้าไปในชุมชนอีกด้วย ฉะนั้นการมาท่องเที่ยวที่นี่ก็เหมือนกับว่าเราได้ช่วยสนับสนุนในเรื่องของรายได้ให้กับชุมชนให้พวกเขามีอาชีพเสริมที่นอกเหนือจากการทำประมง