พื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง (สพพ.1)
“ปลายสุดตะวันออก คือสุดยอดการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติทางทะเล”
ปลายสุดทางของฝั่งตะวันออก คือสุดยอดการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติทางท้องทะเล “พื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง (สพพ.1)” ของจังหวัดตราด พื้นที่ที่เต็มไปด้วยเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน ลดหลั่นกันอย่างสวยงาม โอบล้อมด้วยท้องฟ้าสีคราม และเสียงดนตรีจากเกลียวคลื่น อีกทั้งยังมีความชื่นมื่นจากสภาพแวดล้อมอันบริสุทธิ์ให้เราได้สัมผัสอีกด้วย
It’s the best island of Eastern Thailand” : ที่สุดของหมู่เกาะฝั่งตะวันออกของไทย
รูปจาก
http://www.ekohchang.com/TH-Koh-Chang/294/
สำหรับหมู่เกาะช้าง จังหวัดตราด ถือเป็นหมู่เกาะที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศไทย รองจากเกาะภูเก็ตในภาคใต้ ซึ่งเขตพื้นที่บนเกาะช้างนั้น มีเนื้อที่ประมาณ 130,937 ไร่ หรือ 209 ตร.กม. สภาพการเส้นทางการเดินทางบนเกาะนั้นส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลาดชันตัดผ่านเขา มีพื้นที่ราบเป็นส่วนน้อย ซึ่งจะอยู่ตามบริเวณชายฝั่งรอบเกาะ มีการแบ่งพื้นที่ออกไปทำการเกษตร สวนยางพารา สวนผลไม้ และสวนมะพร้าวจำนวนมาก ทำให้มีผู้คนนิยมเดินทางมาท่องเที่ยวพักผ่อน ชมธรรมชาติ ดำน้ำดูปะการัง เพราะธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมทางท้องทะเลในบริเวณเกาะช้างแห่งนี้ยังคงมีความสวยงาม และอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างมาก รวมถึงชาวบ้านในแต่ละชุมชนของแต่ละพื้นที่บนเกาะก็ยังเป็นมิตรกับนักท่องเที่ยวเสมอ แต่ด้วยการใช้ชีวิตของนักเดินทางที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน บางกลุ่มอาจจะต้องการที่พักที่พรั่งพร้อมไปด้วยความสะดวกสบาย และมีความหรูหราในด้านของทัศนียภาพในการพักผ่อน ทำให้โรงแรม รีสอร์ทเกิดขึ้นจำนวนมาก ชาวบ้านในชุมชนต่างๆ รวมถึง องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. เล็งเห็นว่าหากมีการก่อสร้างที่พักเช่นนี้มากขึ้นเรื่อยๆ นั้น อาจทำให้ในอนาคตสภาพแวดล้อมบนเกาะอาจถดถอยลงไม่คงสภาพเดิมเป็นแน่
จึงได้ร่วมมือกันปกป้องพื้นที่เพื่อให้พ้นจากการพัฒนาอันจะนำพาไปสู่วิกฤติโลกร้อน และการบ่อนทำลายสภาพแวดล้อม ด้วยการปรับพื้นที่บนเกาะช้าง และเขตพื้นที่เชื่อมโยงทั้งหลายโดยรอบอันได้แก่ เกาะหมาก เกาะกูด และพื้นที่เชื่อมโยงฝั่งเมืองตราด ให้กลายเป็นพื้นที่นำร่องในด้านของการประหยัดพลังงาน ช่วยกันลดโลกร้อน และพัฒนาให้ชาวบ้านในชุมชนได้รู้จักการดำรงชีพอย่างพอเพียง และรู้จักที่จะสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนอย่างยั่งยืนด้วยวัตถุดิบที่มีอยู่รอบตัว ทำให้นักท่องเที่ยวมั่นใจได้เลยว่า การเดินทางมาเที่ยวที่หมู่เกาะช้างแห่งนี้ คุณจะได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดโลกร้อน และประหยัดพลังงานประเทศชาติ ที่สำคัญยังได้เก็บภาพวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านที่อาศัยกันแบบเรียบง่าย และภาพของความสวยงามใต้ท้องทะเลที่เกิดขึ้นจากการสร้างสรรค์จากฝีมือธรรมชาติ
[CR] “ปลายสุดตะวันออก คือสุดยอดการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติทางทะเล”
“ปลายสุดตะวันออก คือสุดยอดการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติทางทะเล”
ปลายสุดทางของฝั่งตะวันออก คือสุดยอดการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติทางท้องทะเล “พื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง (สพพ.1)” ของจังหวัดตราด พื้นที่ที่เต็มไปด้วยเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน ลดหลั่นกันอย่างสวยงาม โอบล้อมด้วยท้องฟ้าสีคราม และเสียงดนตรีจากเกลียวคลื่น อีกทั้งยังมีความชื่นมื่นจากสภาพแวดล้อมอันบริสุทธิ์ให้เราได้สัมผัสอีกด้วย
It’s the best island of Eastern Thailand” : ที่สุดของหมู่เกาะฝั่งตะวันออกของไทย
รูปจาก http://www.ekohchang.com/TH-Koh-Chang/294/
สำหรับหมู่เกาะช้าง จังหวัดตราด ถือเป็นหมู่เกาะที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศไทย รองจากเกาะภูเก็ตในภาคใต้ ซึ่งเขตพื้นที่บนเกาะช้างนั้น มีเนื้อที่ประมาณ 130,937 ไร่ หรือ 209 ตร.กม. สภาพการเส้นทางการเดินทางบนเกาะนั้นส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลาดชันตัดผ่านเขา มีพื้นที่ราบเป็นส่วนน้อย ซึ่งจะอยู่ตามบริเวณชายฝั่งรอบเกาะ มีการแบ่งพื้นที่ออกไปทำการเกษตร สวนยางพารา สวนผลไม้ และสวนมะพร้าวจำนวนมาก ทำให้มีผู้คนนิยมเดินทางมาท่องเที่ยวพักผ่อน ชมธรรมชาติ ดำน้ำดูปะการัง เพราะธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมทางท้องทะเลในบริเวณเกาะช้างแห่งนี้ยังคงมีความสวยงาม และอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างมาก รวมถึงชาวบ้านในแต่ละชุมชนของแต่ละพื้นที่บนเกาะก็ยังเป็นมิตรกับนักท่องเที่ยวเสมอ แต่ด้วยการใช้ชีวิตของนักเดินทางที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน บางกลุ่มอาจจะต้องการที่พักที่พรั่งพร้อมไปด้วยความสะดวกสบาย และมีความหรูหราในด้านของทัศนียภาพในการพักผ่อน ทำให้โรงแรม รีสอร์ทเกิดขึ้นจำนวนมาก ชาวบ้านในชุมชนต่างๆ รวมถึง องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. เล็งเห็นว่าหากมีการก่อสร้างที่พักเช่นนี้มากขึ้นเรื่อยๆ นั้น อาจทำให้ในอนาคตสภาพแวดล้อมบนเกาะอาจถดถอยลงไม่คงสภาพเดิมเป็นแน่
จึงได้ร่วมมือกันปกป้องพื้นที่เพื่อให้พ้นจากการพัฒนาอันจะนำพาไปสู่วิกฤติโลกร้อน และการบ่อนทำลายสภาพแวดล้อม ด้วยการปรับพื้นที่บนเกาะช้าง และเขตพื้นที่เชื่อมโยงทั้งหลายโดยรอบอันได้แก่ เกาะหมาก เกาะกูด และพื้นที่เชื่อมโยงฝั่งเมืองตราด ให้กลายเป็นพื้นที่นำร่องในด้านของการประหยัดพลังงาน ช่วยกันลดโลกร้อน และพัฒนาให้ชาวบ้านในชุมชนได้รู้จักการดำรงชีพอย่างพอเพียง และรู้จักที่จะสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนอย่างยั่งยืนด้วยวัตถุดิบที่มีอยู่รอบตัว ทำให้นักท่องเที่ยวมั่นใจได้เลยว่า การเดินทางมาเที่ยวที่หมู่เกาะช้างแห่งนี้ คุณจะได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดโลกร้อน และประหยัดพลังงานประเทศชาติ ที่สำคัญยังได้เก็บภาพวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านที่อาศัยกันแบบเรียบง่าย และภาพของความสวยงามใต้ท้องทะเลที่เกิดขึ้นจากการสร้างสรรค์จากฝีมือธรรมชาติ