Slow life @ Koh Mak
โมเดลการท่องเที่ยวแบบโลว์คาร์บอน
เกาะหมากเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับสามในท้องทะเลตราด รองลงมาจากเกาะช้างและเกาะกูด พื้นที่บนเกาะหมากส่วนใหญ่เป็นที่ราบ มีสวนมะพร้าว สวนยาง โดยรอบมีอ่าวและชายหาดที่สวยงามมากมาย มีน้ำทะเลสีฟ้าใส เช่น บริเวณอ่าวตานิด อ่าวไผ่ อ่าวโปร่ง อ่าวผาด อ่าวลอม อ่าวตาโล่ง อ่าวแดง อ่าวขาว อ่าวพระ อ่าวสวนใหญ่ แหลมตุ๊กตา แหลมสน
นักท่องเที่ยวสามารถเพลิดเพลินกับการท่องเที่ยวทางน้ำในบริเวณหมู่เกาะหมาก ซึ่งประกอบด้วย เกาะหมาก เกาะกระดาด เกาะระยั้งใน เกาะระยั้งนอก เกาะผี เกาะขาม เกาะนก เกาะนอก เกาะใน บริเวณชายฝั่งรอบเกาะและเกาะใกล้เคียงมีแนวปะการังที่สมบูรณ์ และสวยงาม มีปลาที่สีสันสวยงาม ฤดูกาลท่องเที่ยวเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม-พฤษภาคม
มากกว่าความสวยงาม คือ เรื่องราวของเกาะหมากที่มีความเป็นมากว่า 100 ปีชุมชนดั้งเดิมบนเกาะหมากส่วนใหญ่เป็นเขมรเชื้อชาติไทยที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานเมื่อครั้งเมืองประจันตคีรีเขตร หรือเกาะกงเป็นของฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2447 โดยมีหลวงพรหมภักดี ต้นตระกูลตะเวทิกุลเป็นผู้ควบคุมคนจีนบนเกาะกง คนบนเกาะส่วนใหญ่เป็นเครือญาติกัน มีอาชีพเกษตรกรรมทำสวนยางพารา และสวนมะพร้าว จนเกาะหมากได้ชื่อว่าเป็นแหล่งปลูกมะพร้าวที่สำคัญของจังหวัดตราด ต่อมา จึงได้ขยายมาทำธุรกิจด้านการท่องเที่ยว
ทำไม อพท. จึงพัฒนาในแนวทาง Low Carbon
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) หรือ (DASTA) ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2546 เพื่อมุ่งประสาน ส่งเสริมและสนับสนุน ภาคีต่างๆ ในชุมชนและท้องถิ่นเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ภายใต้นโยบายขับเคลื่อนการปฏิบัติงานในกรอบนโยบายหลัก การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ Low Carbon Tourism โดยอพท. ได้พัฒนาชุมชน บนเกาะหมากให้มีการรวมกลุ่มกันเป็น Low Carbon Family ที่มีทั้งภาคธุรกิจ ภาคราชการและประชาชน จำนวน 45 ราย เพื่อลดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ ใน 4 ประเด็น คือ
(1) การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและการใช้พลังงานทางเลือก
(2) การใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
(3) การบริหารจัดการขยะ
(4) รักษาวิถีชีวิตชุมชน
รวมทั้ง ยังได้รับความร่วมมือและความเข้มแข็งของท้องถิ่นในเกาะหมากเองก็มีการลงนามปฏิญญาเกาะหมาก Low Carbon Destination เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2555 ในการร่วมกันดูแลให้เกาะหมากการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ Low Carbon Tourism
ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวแบบ Low Carbon Destination
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) หรือ (DASTA) ร่วมกับ สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) ภาคีเครือข่าย ธุรกิจการท่องเที่ยว ชุมชนเกาะหมาก ร่วมกันสร้างแบรนด์อิมเมจ หรือภาพลักษณ์โลว์คาร์บอนเดสติเนชั่น ดึงนักท่องเที่ยวคุณภาพด้วย แบรนด์ Low Carbon Destination @ Koh Mak เพื่อนำไปสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เพื่อให้เกิดความสมดุลทั้งเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม
เพื่อสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ Low Carbon Tourism ไปสู่นักท่องเที่ยวจึงพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ อาทิ การขี่จักรยานไปเยี่ยมชมจุดชมวิวต่างๆและเส้นทางชมธรรมชาติต่างๆ การล่องเรือใบไปตามเกาะต่างๆ ฯลฯ
กิจกรรมการท่องเที่ยว อาทิ
1. การสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวแบบ Low Carbon
2. การร่วมกิจกรรมรณรงค์….การเป็นนักท่องเที่ยวโลว์คาร์บอน Low Carbon Tourist
• แคมเปญ “Let’s keep Koh Mak : Counting to 10,000 trees ” รณรงค์ปลูกต้นไม้ 10,000 ต้น
เพื่อการมีส่วนร่วมระหว่างนักท่องเที่ยวและชุมชนท้องถิ่น
พันตรีหญิงจรัสพิมพ์ ธีรลักษณ์ รณรงค์แคมเปญ นับหนึ่ง..สู่หมื่นต้นโดยปลูกต้นหมากต้นแรกเพื่อเป็นสัญลักษณ์การร่วมกันปลูกต้นไม้ สร้างอากาศที่บริสุทธิ์และความสวยงาม ร่มเย็น สดชื่นให้แก่ชุมชน
• แคมเปญ “Eat It Fresh” รณรงค์กินอาหารที่หาได้ในท้องถิ่น ลดการนำอาหารที่มาจากนอกพื้นที่ เพื่อลดการขนส่งจากนอกพื้นที่
3. การร่วมสัมผัสบรรยากาศ…การร่วมมือ ร่วมใจของชุมชนเป็นเจ้าบ้านต้อนรับ..แขกผู้มาเยือน
• งานเกาะหมาก...สำราญบานใจ เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2557 ณ ท่าเรืออ่าวตานิด เกาะหมาก
• การประกวดภาพจำ เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์การท่องเที่ยว
• สร้างประสบการณ์การรับรู้แบรนด์ Brand Experience ผ่านภาพ 3 D
• อพท. เป็นสักขีพยานการเป็น Low Carbon Destination ของเจ้าบ้าน…เกาะหมาก
• การนำเสนอคลิปสั้นๆ นำเสนอเรื่องราวความน่ารัก…ของชุมชนคนเกาะหมาก เพื่อสื่อสาร สร้างการรับรู้ภายนอกหรือกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างประเทศ
• กิจกรรม Famtrip ต้อนรับนายกสมาคมและผู้แทนสมาคม TEATA และคณะสื่อมวลชน ร่วมเปิดสัมผัสประสบการณ์ กิจกรรมการท่องเที่ยว…สไตล์โลว์คาร์บอน
o รับ Welcome Drink และชมพิพิธภัณฑ์เกาะหมาก
• กิจกรรมล่องเรือใบท่องเที่ยวเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวหมู่เกาะช้าง รวมทั้งเปิดตลาดใหม่ๆกลุ่มเรือยอร์ชที่มาจากแถวพัทยา โอเชี่ยนมารีน่า โดยมีเป้าหมายเชื่อมโยงไปเกาะกง ประเทศกัมพูชา
• การเที่ยวชมหมู่เกาะข้างเคียงต่างๆ เกาะกระดาด เกาะขาม
คณะเดินทางไป ณ โรงแรมชินนามอน เพื่อขึ้นเรือเร็วข้ามไปยังเกาะกระดาด โดยความพิเศษของสะพานนี้ คือ การนำพลังงานโซลาเซลมาใช้เป็นกระแสไฟฟ้าเพื่อให้ความสว่างให้แก่สะพานที่ทอดยาวจนสุดตา
คณะเดินทางมาถึงเกาะแรก คือ เกาะกระดาด (Koh Kradad) เป็นเกาะที่ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งใน UNSEEN THAILAND เหตุที่ได้ชื่อว่าเกาะกระดาดเพราะแต่เดิมมีต้นกระดาดขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก อีกทั้งรูปร่างของเกาะมีลักษณะแบนราบเหมือนแผ่นกระดาษ เกาะกระดาดห่างจากเกาะหมากในบริเวณที่ใกล้ที่สุด คือ แหลมสนโดยมีระยะ ทางห่างประมาณ 1 กิโลเมตร อีกหนึ่งไฮไลท์ประจำเกาะกระดาดก็คือ เจ้ากวางน้อยใหญ่ ที่พร้อมใจกันมาเหลียวหน้า เหลียวหลังอวดโฉมเหล่าอาคันตุกะที่ขึ้นมาเยือนเกาะ
เดิมว่ากันว่า บนเกาะนี้มีกวางเพียง 6 ตัว ซึ่งเจ้าของเกาะนำจากเขาเขียวมาเลี้ยงเอาไว้ จนออกลูกหลาน เหลน โหลน มากมาย ปัจจุบันบนเกาะกระดาดมีกวางหลายร้อยตัว จนได้รับฉายาว่าเป็น “ซาฟารีกลางทะเล”
เกาะต่อมา เกาะขาม
ขึ้นชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งไข่มุกมรกตแห่งทะเลตราด ลักษณะเด่นของ เกาะขาม มีธรรมชาติค่อนข้างสมบูรณ์ หาดทรายขาว(สันทราย)ทอดยาวออกไปในทะเลประมาณ 300 ม. และหมู่หินภูเขาไฟตั้งอยู่เรียงรายกับแนวปะการังหลากชนิดรอบๆเกาะ น้ำทะเลใสตลอดปี
• การเยี่ยมชม Energy Park …การจัดการขยะอย่างครบวงจร
แหล่งท่องเที่ยวต่างๆต้องเผชิญกับปัญหาเรื่องขยะที่มาพร้อมกับการท่องเที่ยว ดังนั้น อพท.จึงเข้ามาให้คำแนะนำ ด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและขยะ ศูนย์ Energy Park เพื่อให้มีการจัดการขยะอย่างครบวงจร ตั้งแต่ การใช้เครื่องร่อนคัดแยกขยะที่สามารถนำมาใช้ใหม่ การใช้เทคโนโลยีการผลิตก๊าซเชื้อเพลิงจากขยะชุมชน การใช้เทคโนโลยีการหมักปุ๋ยอินทรีย์ และ การดำเนินการจัดการขยะโดยใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีการแปรรูปขยะ เป็นน้ำมันเชื้อเพลิง วิธีการ pyrolysis
• กิจกรรมพบปะสังสรรค์ กลุ่มผู้ร่วมมือพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวภายใน เกาะหมากให้กลายเป็นการท่องเที่ยวโลวคาร์บอน
• เกาะหมากเป็นเกาะที่มีความโดดเด่นเรื่อง การใช้พลังงานทางเลือก โดยเฉพาะการใช้ระบบโซลาร์เซลล์และการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ในการจ่ายไฟฟ้าให้เครื่องทำน้ำอุ่น ทีวี หลอดไฟ ไปจนถึงระบบน้ำหมุนเวียนของสระว่ายน้ำ คณะได้ไปเยี่ยมชมสระว่ายน้ำของเกาะหมารีสอร์ท
ที่เราได้ไปชมกันถึงระบบ การทำงาน อุปกรณ์ต่างๆอย่างใกล้ชิด
ประเทศไทยมีการท่องเที่ยวแบบโลว์คาร์บอนด้วย ที่เกาะหมาก
โมเดลการท่องเที่ยวแบบโลว์คาร์บอน
เกาะหมากเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับสามในท้องทะเลตราด รองลงมาจากเกาะช้างและเกาะกูด พื้นที่บนเกาะหมากส่วนใหญ่เป็นที่ราบ มีสวนมะพร้าว สวนยาง โดยรอบมีอ่าวและชายหาดที่สวยงามมากมาย มีน้ำทะเลสีฟ้าใส เช่น บริเวณอ่าวตานิด อ่าวไผ่ อ่าวโปร่ง อ่าวผาด อ่าวลอม อ่าวตาโล่ง อ่าวแดง อ่าวขาว อ่าวพระ อ่าวสวนใหญ่ แหลมตุ๊กตา แหลมสน
นักท่องเที่ยวสามารถเพลิดเพลินกับการท่องเที่ยวทางน้ำในบริเวณหมู่เกาะหมาก ซึ่งประกอบด้วย เกาะหมาก เกาะกระดาด เกาะระยั้งใน เกาะระยั้งนอก เกาะผี เกาะขาม เกาะนก เกาะนอก เกาะใน บริเวณชายฝั่งรอบเกาะและเกาะใกล้เคียงมีแนวปะการังที่สมบูรณ์ และสวยงาม มีปลาที่สีสันสวยงาม ฤดูกาลท่องเที่ยวเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม-พฤษภาคม
มากกว่าความสวยงาม คือ เรื่องราวของเกาะหมากที่มีความเป็นมากว่า 100 ปีชุมชนดั้งเดิมบนเกาะหมากส่วนใหญ่เป็นเขมรเชื้อชาติไทยที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานเมื่อครั้งเมืองประจันตคีรีเขตร หรือเกาะกงเป็นของฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2447 โดยมีหลวงพรหมภักดี ต้นตระกูลตะเวทิกุลเป็นผู้ควบคุมคนจีนบนเกาะกง คนบนเกาะส่วนใหญ่เป็นเครือญาติกัน มีอาชีพเกษตรกรรมทำสวนยางพารา และสวนมะพร้าว จนเกาะหมากได้ชื่อว่าเป็นแหล่งปลูกมะพร้าวที่สำคัญของจังหวัดตราด ต่อมา จึงได้ขยายมาทำธุรกิจด้านการท่องเที่ยว
ทำไม อพท. จึงพัฒนาในแนวทาง Low Carbon
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) หรือ (DASTA) ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2546 เพื่อมุ่งประสาน ส่งเสริมและสนับสนุน ภาคีต่างๆ ในชุมชนและท้องถิ่นเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ภายใต้นโยบายขับเคลื่อนการปฏิบัติงานในกรอบนโยบายหลัก การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ Low Carbon Tourism โดยอพท. ได้พัฒนาชุมชน บนเกาะหมากให้มีการรวมกลุ่มกันเป็น Low Carbon Family ที่มีทั้งภาคธุรกิจ ภาคราชการและประชาชน จำนวน 45 ราย เพื่อลดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ ใน 4 ประเด็น คือ
(1) การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและการใช้พลังงานทางเลือก
(2) การใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
(3) การบริหารจัดการขยะ
(4) รักษาวิถีชีวิตชุมชน
รวมทั้ง ยังได้รับความร่วมมือและความเข้มแข็งของท้องถิ่นในเกาะหมากเองก็มีการลงนามปฏิญญาเกาะหมาก Low Carbon Destination เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2555 ในการร่วมกันดูแลให้เกาะหมากการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ Low Carbon Tourism
ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวแบบ Low Carbon Destination
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) หรือ (DASTA) ร่วมกับ สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) ภาคีเครือข่าย ธุรกิจการท่องเที่ยว ชุมชนเกาะหมาก ร่วมกันสร้างแบรนด์อิมเมจ หรือภาพลักษณ์โลว์คาร์บอนเดสติเนชั่น ดึงนักท่องเที่ยวคุณภาพด้วย แบรนด์ Low Carbon Destination @ Koh Mak เพื่อนำไปสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เพื่อให้เกิดความสมดุลทั้งเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม
เพื่อสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ Low Carbon Tourism ไปสู่นักท่องเที่ยวจึงพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ อาทิ การขี่จักรยานไปเยี่ยมชมจุดชมวิวต่างๆและเส้นทางชมธรรมชาติต่างๆ การล่องเรือใบไปตามเกาะต่างๆ ฯลฯ
กิจกรรมการท่องเที่ยว อาทิ
1. การสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวแบบ Low Carbon
2. การร่วมกิจกรรมรณรงค์….การเป็นนักท่องเที่ยวโลว์คาร์บอน Low Carbon Tourist
• แคมเปญ “Let’s keep Koh Mak : Counting to 10,000 trees ” รณรงค์ปลูกต้นไม้ 10,000 ต้น
เพื่อการมีส่วนร่วมระหว่างนักท่องเที่ยวและชุมชนท้องถิ่น
พันตรีหญิงจรัสพิมพ์ ธีรลักษณ์ รณรงค์แคมเปญ นับหนึ่ง..สู่หมื่นต้นโดยปลูกต้นหมากต้นแรกเพื่อเป็นสัญลักษณ์การร่วมกันปลูกต้นไม้ สร้างอากาศที่บริสุทธิ์และความสวยงาม ร่มเย็น สดชื่นให้แก่ชุมชน
• แคมเปญ “Eat It Fresh” รณรงค์กินอาหารที่หาได้ในท้องถิ่น ลดการนำอาหารที่มาจากนอกพื้นที่ เพื่อลดการขนส่งจากนอกพื้นที่
3. การร่วมสัมผัสบรรยากาศ…การร่วมมือ ร่วมใจของชุมชนเป็นเจ้าบ้านต้อนรับ..แขกผู้มาเยือน
• งานเกาะหมาก...สำราญบานใจ เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2557 ณ ท่าเรืออ่าวตานิด เกาะหมาก
• การประกวดภาพจำ เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์การท่องเที่ยว
• สร้างประสบการณ์การรับรู้แบรนด์ Brand Experience ผ่านภาพ 3 D
• อพท. เป็นสักขีพยานการเป็น Low Carbon Destination ของเจ้าบ้าน…เกาะหมาก
• การนำเสนอคลิปสั้นๆ นำเสนอเรื่องราวความน่ารัก…ของชุมชนคนเกาะหมาก เพื่อสื่อสาร สร้างการรับรู้ภายนอกหรือกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างประเทศ
• กิจกรรม Famtrip ต้อนรับนายกสมาคมและผู้แทนสมาคม TEATA และคณะสื่อมวลชน ร่วมเปิดสัมผัสประสบการณ์ กิจกรรมการท่องเที่ยว…สไตล์โลว์คาร์บอน
o รับ Welcome Drink และชมพิพิธภัณฑ์เกาะหมาก
• กิจกรรมล่องเรือใบท่องเที่ยวเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวหมู่เกาะช้าง รวมทั้งเปิดตลาดใหม่ๆกลุ่มเรือยอร์ชที่มาจากแถวพัทยา โอเชี่ยนมารีน่า โดยมีเป้าหมายเชื่อมโยงไปเกาะกง ประเทศกัมพูชา
• การเที่ยวชมหมู่เกาะข้างเคียงต่างๆ เกาะกระดาด เกาะขาม
คณะเดินทางไป ณ โรงแรมชินนามอน เพื่อขึ้นเรือเร็วข้ามไปยังเกาะกระดาด โดยความพิเศษของสะพานนี้ คือ การนำพลังงานโซลาเซลมาใช้เป็นกระแสไฟฟ้าเพื่อให้ความสว่างให้แก่สะพานที่ทอดยาวจนสุดตา
คณะเดินทางมาถึงเกาะแรก คือ เกาะกระดาด (Koh Kradad) เป็นเกาะที่ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งใน UNSEEN THAILAND เหตุที่ได้ชื่อว่าเกาะกระดาดเพราะแต่เดิมมีต้นกระดาดขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก อีกทั้งรูปร่างของเกาะมีลักษณะแบนราบเหมือนแผ่นกระดาษ เกาะกระดาดห่างจากเกาะหมากในบริเวณที่ใกล้ที่สุด คือ แหลมสนโดยมีระยะ ทางห่างประมาณ 1 กิโลเมตร อีกหนึ่งไฮไลท์ประจำเกาะกระดาดก็คือ เจ้ากวางน้อยใหญ่ ที่พร้อมใจกันมาเหลียวหน้า เหลียวหลังอวดโฉมเหล่าอาคันตุกะที่ขึ้นมาเยือนเกาะ
เดิมว่ากันว่า บนเกาะนี้มีกวางเพียง 6 ตัว ซึ่งเจ้าของเกาะนำจากเขาเขียวมาเลี้ยงเอาไว้ จนออกลูกหลาน เหลน โหลน มากมาย ปัจจุบันบนเกาะกระดาดมีกวางหลายร้อยตัว จนได้รับฉายาว่าเป็น “ซาฟารีกลางทะเล”
เกาะต่อมา เกาะขาม
ขึ้นชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งไข่มุกมรกตแห่งทะเลตราด ลักษณะเด่นของ เกาะขาม มีธรรมชาติค่อนข้างสมบูรณ์ หาดทรายขาว(สันทราย)ทอดยาวออกไปในทะเลประมาณ 300 ม. และหมู่หินภูเขาไฟตั้งอยู่เรียงรายกับแนวปะการังหลากชนิดรอบๆเกาะ น้ำทะเลใสตลอดปี
• การเยี่ยมชม Energy Park …การจัดการขยะอย่างครบวงจร
แหล่งท่องเที่ยวต่างๆต้องเผชิญกับปัญหาเรื่องขยะที่มาพร้อมกับการท่องเที่ยว ดังนั้น อพท.จึงเข้ามาให้คำแนะนำ ด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและขยะ ศูนย์ Energy Park เพื่อให้มีการจัดการขยะอย่างครบวงจร ตั้งแต่ การใช้เครื่องร่อนคัดแยกขยะที่สามารถนำมาใช้ใหม่ การใช้เทคโนโลยีการผลิตก๊าซเชื้อเพลิงจากขยะชุมชน การใช้เทคโนโลยีการหมักปุ๋ยอินทรีย์ และ การดำเนินการจัดการขยะโดยใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีการแปรรูปขยะ เป็นน้ำมันเชื้อเพลิง วิธีการ pyrolysis
• กิจกรรมพบปะสังสรรค์ กลุ่มผู้ร่วมมือพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวภายใน เกาะหมากให้กลายเป็นการท่องเที่ยวโลวคาร์บอน
• เกาะหมากเป็นเกาะที่มีความโดดเด่นเรื่อง การใช้พลังงานทางเลือก โดยเฉพาะการใช้ระบบโซลาร์เซลล์และการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ในการจ่ายไฟฟ้าให้เครื่องทำน้ำอุ่น ทีวี หลอดไฟ ไปจนถึงระบบน้ำหมุนเวียนของสระว่ายน้ำ คณะได้ไปเยี่ยมชมสระว่ายน้ำของเกาะหมารีสอร์ท
ที่เราได้ไปชมกันถึงระบบ การทำงาน อุปกรณ์ต่างๆอย่างใกล้ชิด