ไปติดเกาะที่เกาะหมาก
ไปท่องเที่ยวสไตล์โลว์คาร์บอน
เที่ยวแบบไม่ซ้ำเติมธรรมชาติ
การท่องเที่ยวในแบบที่โลกจะรักคุณมากขึ้น
ท่องเที่ยวสไตล์โลว์คาร์บอนก็คือการท่องเที่ยวที่เน้นรูปแบบการพักผ่อน ตลอดจนการทำกิจกรรมต่างๆ ที่จะไม่เพิ่มการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์หรือก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ อาทิ ปิดแอร์ ปิดไฟ เมื่อไม่อยู่ห้องพัก หันมาสั่งอาหารเมนูที่หาได้เองจากในท้องถิ่น ซึ่งถ้านักท่องเที่ยวพร้อมใจกันเปลี่ยนค่านิยมตรงนี้ demand เปลี่ยนไป supply ก็พร้อมเปลี่ยนตาม ผู้ให้บริการก็พร้อมใจกันส่งเสริมกิจกรรมยามไม่อยู่ห้อง เปลี่ยนเมนูอาหาร ลดพลังงาน ลดการขนส่งวัตถุดิบจากระยะไกล อย่างถ้าเป็นเกาะก็ไม่ต้องขนส่งจากฝั่ง อาหารทะเลก็จากประมงเล็กๆ รอบเกาะ ไม่ต้องมีห้องเย็น เหล่านี้ก็ลดการใช้น้ำมัน ลดคาร์บอนในที่สุด
ไฟฟ้าบนเกาะนี้หลายๆ ผู้ประกอบการก็หันมาใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ น้ำในสระว่ายน้ำของหลายๆ รีสอร์ทก็ใช้พลังงานจากโซล่าเซลในการทำความสะอาด
กิจกรรมสนุกๆ ต่างๆ บนผิวน้ำก็จะเน้นพลังงานสะอาด ไม่มีสกู๊ตเตอร์เบิ้ลน้ำมัน ไม่มีเจ็ทสกีเบิ้ลน้ำมัน
นอกจากนี้ผู้ประกอบการบนเกาะยังพร้อมใจจัด happy hour เชิญชวนนักท่องเที่ยวปิดแอร์ ปิดไฟ ช่วงบ่ายๆ ออกมาท่องเที่ยวชมเกาะ โดยลดค่าบริการอาหาร เครื่องดื่ม กิจกรรมต่างๆ
การท่องเที่ยวสไตล์โลว์คาร์บอนจะเกิดได้ต้องมาจากความพร้อมใจกันร่วมมือทั้งจากนักท่องเที่ยวเอง ผู้ประกอบการ และคนในชุมชนนั้นๆ
ปัจจุบันเกาะหมากคือต้นแบบ low carbon destination ที่ดำเนินการต่อเนื่องมาถึงปีที่ //ประมาณ 5 แล้วครับ เกาะหมากไม่ได้ต้องการการเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่สิ่งคงทนกว่าคือการเติบโตอย่างยั่งยืน เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ดำเนินกิจกรรมกระทบธรรมชาติให้น้อยที่สุด แหล่งท่องเที่ยวโลว์คาร์บอน
โลกเราร้อนขึ้นทุกปี ทุกคนรู้ดีแล้ว ไทยเราก็ร้อนขึ้นทุกวัน หน้าหนาวแต่ละปีมาเพียงสั้นๆ หยิบเสื้อกันหนาวมาใส่ได้ไม่กี่วันก็เข้าสู่หน้าร้อนทันที ส่วนหน้าฝนวันไหนฝนไม่ตก ก็นับเป็นหน้าร้อนดีดีนี่เอง
ภาวะโลกร้อน ก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์ที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ถูกปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ คือก๊าซอันดับหนึ่งที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก กักกั้นรังสีความร้อนสะท้อนกลับมายังผิวโลก
พวกเราเหล่ามนุษย์ท่องเที่ยว สามารถช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนนี้ได้
มาเป็นนักท่องเที่ยวหัวใจรักษ์โลก
Low Carbon Tourist
อพท. หรือองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยสำนักงานบริหารพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยงและความร่วมมือของ ISMED สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้ริเริ่มแบรนด์ เกาะหมาก Low Carbon Destination ดำเนินกิจกรรมท่องเที่ยวที่สามารถดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ตามหลักการคงความสมดุลของสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม จนส่งผลให้เกิดการท่องเที่ยวที่สามารถลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก และนำไปสู่เป้าหมายการสร้างแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
เกาะหมาก โลว์คาร์บอน
เกาะที่ไม่ถูกตามใจ
Unspoiled Island
กลางเมษา ฮาวาย high season ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสตามใจตัวเองอีกครั้ง ด้วยการกลับมาที่นี่เป็นครั้งที่ 3 ในรอบ 10 เดือน สู่เกาะหมาก เกาะที่ไม่ถูกตามใจ มาในฐานะ 1ใน10 บล็อกเกอร์อาสารักษ์โลก
กลับมายืนที่เดิม กับมุมเดิมๆ ที่เริ่มรู้สึกเหมือนเกาะนี้เป็นบ้านอีกหลังหนึ่ง บ้านของธรรมชาติและผู้คนที่คุ้นเคย
People come as quest ... come back as friends
ครั้งนี้เดินทางมาในฐานะทราเวลบล็อกเกอร์อีกครั้ง ตามคำเชิญชวนของอพท.อีกหน กับ
ภารกิจติดเกาะ
Low Carbon Castaway
ปะ ปะ ไปกัน ขึ้นเกาะ พร้อมกันที่แหลมงอบ ตรงท่าเรือกรมหลวงชุมพรฯ นั่งสปีดโบ๊ท 50 นาทีถึงเกาะหมาก
เรือเร็วมีวันละ 16 เที่ยว ไป 8 เที่ยว กลับ 8 เที่ยว
เรือเร็วขาไปเที่ยวแรกสุด 10.30 เที่ยวสุดท้าย 16.00
เรือเร็วขากลับเที่ยวแรกสุด 8.00 เที่ยวสุดท้าย 13.30
เรือมี 4 บริษัท สลับกันออกตามตารางเวลา ดูตารางเวลาในแผนที่ข้างล่าง
เรือลีลาวดี ขึ้นเกาะที่ท่าหน้ามากะธานีรีสอร์ท (สีแดง)
เรือปาหนัน ขึ้นเกาะที่ท่าหน้าเกาะหมากรีสอร์ท (สีเหลือง)
เรือสวนสุข และเรือSeatales ขึ้นเกาะที่ท่าเรืออ่าวนิด
ในหน้าโลว์ หรือ Green season เรือทุกลำขึ้นเกาะที่ท่าเรืออ่าวนิด
รายละเอียดเรือ ดูเพิ่มเติมได้ที่เวป ilovekohmak อีกที่หนึ่ง >>
http://goo.gl/ucRP6v
ส่วนเรือ Seatales สามารถเช็ครายละเอียดได้ที่เพจ
https://www.facebook.com/seataleskohmak/
หรือโทร
ลีลาวดี 095-707-7036
ปาหนัน 087-614-7641
สวนสุข 06-1428-8048
Sea Tales 091-010-6455
[SR] ไปติดเกาะที่เกาะหมาก เกาะโลว์คาร์บอน ไปล้อเล่นลมชมแสงสุดท้าย
ไปท่องเที่ยวสไตล์โลว์คาร์บอน
เที่ยวแบบไม่ซ้ำเติมธรรมชาติ
การท่องเที่ยวในแบบที่โลกจะรักคุณมากขึ้น
ท่องเที่ยวสไตล์โลว์คาร์บอนก็คือการท่องเที่ยวที่เน้นรูปแบบการพักผ่อน ตลอดจนการทำกิจกรรมต่างๆ ที่จะไม่เพิ่มการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์หรือก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ อาทิ ปิดแอร์ ปิดไฟ เมื่อไม่อยู่ห้องพัก หันมาสั่งอาหารเมนูที่หาได้เองจากในท้องถิ่น ซึ่งถ้านักท่องเที่ยวพร้อมใจกันเปลี่ยนค่านิยมตรงนี้ demand เปลี่ยนไป supply ก็พร้อมเปลี่ยนตาม ผู้ให้บริการก็พร้อมใจกันส่งเสริมกิจกรรมยามไม่อยู่ห้อง เปลี่ยนเมนูอาหาร ลดพลังงาน ลดการขนส่งวัตถุดิบจากระยะไกล อย่างถ้าเป็นเกาะก็ไม่ต้องขนส่งจากฝั่ง อาหารทะเลก็จากประมงเล็กๆ รอบเกาะ ไม่ต้องมีห้องเย็น เหล่านี้ก็ลดการใช้น้ำมัน ลดคาร์บอนในที่สุด
ไฟฟ้าบนเกาะนี้หลายๆ ผู้ประกอบการก็หันมาใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ น้ำในสระว่ายน้ำของหลายๆ รีสอร์ทก็ใช้พลังงานจากโซล่าเซลในการทำความสะอาด
กิจกรรมสนุกๆ ต่างๆ บนผิวน้ำก็จะเน้นพลังงานสะอาด ไม่มีสกู๊ตเตอร์เบิ้ลน้ำมัน ไม่มีเจ็ทสกีเบิ้ลน้ำมัน
นอกจากนี้ผู้ประกอบการบนเกาะยังพร้อมใจจัด happy hour เชิญชวนนักท่องเที่ยวปิดแอร์ ปิดไฟ ช่วงบ่ายๆ ออกมาท่องเที่ยวชมเกาะ โดยลดค่าบริการอาหาร เครื่องดื่ม กิจกรรมต่างๆ
การท่องเที่ยวสไตล์โลว์คาร์บอนจะเกิดได้ต้องมาจากความพร้อมใจกันร่วมมือทั้งจากนักท่องเที่ยวเอง ผู้ประกอบการ และคนในชุมชนนั้นๆ
ปัจจุบันเกาะหมากคือต้นแบบ low carbon destination ที่ดำเนินการต่อเนื่องมาถึงปีที่ //ประมาณ 5 แล้วครับ เกาะหมากไม่ได้ต้องการการเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่สิ่งคงทนกว่าคือการเติบโตอย่างยั่งยืน เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ดำเนินกิจกรรมกระทบธรรมชาติให้น้อยที่สุด แหล่งท่องเที่ยวโลว์คาร์บอน
ภาวะโลกร้อน ก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์ที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ถูกปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ คือก๊าซอันดับหนึ่งที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก กักกั้นรังสีความร้อนสะท้อนกลับมายังผิวโลก
พวกเราเหล่ามนุษย์ท่องเที่ยว สามารถช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนนี้ได้
มาเป็นนักท่องเที่ยวหัวใจรักษ์โลก
Low Carbon Tourist
อพท. หรือองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยสำนักงานบริหารพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยงและความร่วมมือของ ISMED สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้ริเริ่มแบรนด์ เกาะหมาก Low Carbon Destination ดำเนินกิจกรรมท่องเที่ยวที่สามารถดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ตามหลักการคงความสมดุลของสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม จนส่งผลให้เกิดการท่องเที่ยวที่สามารถลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก และนำไปสู่เป้าหมายการสร้างแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
เกาะหมาก โลว์คาร์บอน
เกาะที่ไม่ถูกตามใจ
Unspoiled Island
กลางเมษา ฮาวาย high season ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสตามใจตัวเองอีกครั้ง ด้วยการกลับมาที่นี่เป็นครั้งที่ 3 ในรอบ 10 เดือน สู่เกาะหมาก เกาะที่ไม่ถูกตามใจ มาในฐานะ 1ใน10 บล็อกเกอร์อาสารักษ์โลก
กลับมายืนที่เดิม กับมุมเดิมๆ ที่เริ่มรู้สึกเหมือนเกาะนี้เป็นบ้านอีกหลังหนึ่ง บ้านของธรรมชาติและผู้คนที่คุ้นเคย
People come as quest ... come back as friends
ครั้งนี้เดินทางมาในฐานะทราเวลบล็อกเกอร์อีกครั้ง ตามคำเชิญชวนของอพท.อีกหน กับ
ภารกิจติดเกาะ
Low Carbon Castaway
ปะ ปะ ไปกัน ขึ้นเกาะ พร้อมกันที่แหลมงอบ ตรงท่าเรือกรมหลวงชุมพรฯ นั่งสปีดโบ๊ท 50 นาทีถึงเกาะหมาก
เรือเร็วมีวันละ 16 เที่ยว ไป 8 เที่ยว กลับ 8 เที่ยว
เรือเร็วขาไปเที่ยวแรกสุด 10.30 เที่ยวสุดท้าย 16.00
เรือเร็วขากลับเที่ยวแรกสุด 8.00 เที่ยวสุดท้าย 13.30
เรือมี 4 บริษัท สลับกันออกตามตารางเวลา ดูตารางเวลาในแผนที่ข้างล่าง
เรือลีลาวดี ขึ้นเกาะที่ท่าหน้ามากะธานีรีสอร์ท (สีแดง)
เรือปาหนัน ขึ้นเกาะที่ท่าหน้าเกาะหมากรีสอร์ท (สีเหลือง)
เรือสวนสุข และเรือSeatales ขึ้นเกาะที่ท่าเรืออ่าวนิด
ในหน้าโลว์ หรือ Green season เรือทุกลำขึ้นเกาะที่ท่าเรืออ่าวนิด
รายละเอียดเรือ ดูเพิ่มเติมได้ที่เวป ilovekohmak อีกที่หนึ่ง >> http://goo.gl/ucRP6v
ส่วนเรือ Seatales สามารถเช็ครายละเอียดได้ที่เพจ https://www.facebook.com/seataleskohmak/
หรือโทร
ลีลาวดี 095-707-7036
ปาหนัน 087-614-7641
สวนสุข 06-1428-8048
Sea Tales 091-010-6455