"สก็อต มาร์เซียล" มอง ประเทศไทย: ประชาธิปไตยในภาวะเสี่ยง/อ่านแล้วผมว่า usa เขารู้จริงใครอ้างว่าเขาไม่รู้ ผมว่าโกหก

กระทู้สนทนา
ใครบอก เมกา อียู ไม่รู้ปัญหาที่แท้จริงในไทย  ผมว่าคนพูด พูดโกหก เผลอๆเขารู้มากรู้ลึกกว่า ปชช.บางส่วนของประเทศเราเสียอีก  จากการที่ผมอ่านคำให้การของ นายสก็อต มาร์เซียล รองผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ฝ่ายกิจการเอเชียตะวันออกและแปซิ  ผมว่าเขารู้จริง  เขายังพูดอีกว่าบางเรื่อง เขาไม่สามารถพูดได้หมดเพราะเวลาไม่พอ

คนที่บอกว่า ต่างชาติ ไม่ว่า อียู หรือเมกา ไม่รู้ความจริงของไทยนั้น  ก็พูดเพื่อลดความน่าเชื่อถือของเขา

แล้วใครที่บอกว่า เมกา ทำเพื่อผลประโยชน์ สร้างภาพพูดเรื่อง ปชต.  ผมเถียงครับ  ถ้าเขาห่วงผลประโยชน์เป็นหลักเป็นใหญ่ เขาจะพูดแบบ ทูตจีน พูดแบบเอาใจ เผด็จการทหาร(ออกไปทางชะเลีย)  และประเทศเขาก็แสดงให้เห็นชัดว่าเขายึดมั่นในระบอบ ปชต.จริง โดยดูจาก ปชช.ของเขาสามารถวิจารณ์ แม้กระทั้งล้อเลียนผู้นำสูงสุดของเขาได้โดยไม่มีกฏหมายปิดปาก สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกในการพูด คิดของ ปชช. ของเขา  

ถ้าเขาสร้างภาพเรื่อง ปชต.เพื่อหลอกเอาผลประโยชน์ประเทศอื่น ผมว่า ประเทศเขาก็จะมีกฏหมายปิดปาก ปชช. เฉกเช่นเดียวกับประเทศสร้างภาพว่ามี ปชต. แต่มีกฏหมายปิดปาก ห้ามนั่นนี่ นั่นแหละคือ ปชต.จอมปลอมครับ  

ผมก็ไม่เข้าใจ ถ้าประเทศไหนไม่อยากใช้ระบอบ ปชต.ทำไมต้องเสแสร้งสร้างภาพ  คุณก็พูดมาตรงๆว่าไม่เอาระบอบนี้ จะเอาระบอบไหนว่ามา  จะมาสร้างภาพ ตะหลบตะแลง แหลหลอกลวงคนในชาติตัวเองและสังคมโลกเขาไปทำไม  ทำแบบนี้ผมมองว่าเป็นประเทศที่ไม่มีความน่าเชื่อถือครับ  แล้วยังหน้าไม่อาย ยังเที่ยวไปใส่ร้ายป้ายสีหาว่าเขา ปชต.จอมปลอมอีก โดยไม่ดูการกระทำของตัวเองเลย  น่าละอาย น่าอดสู และน่าสมเพชจริงๆ

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1403708122

"สก็อต มาร์เซียล" มอง ประเทศไทย: ประชาธิปไตยในภาวะเสี่ยง

(หมายเหตุมติชนออนไลน์ขออนุญาตตัดทอนถ้อยคำหรือข้อความบางส่วนออกไป)

24มิถุนายนพ.ศ.2557

คำให้การของนายสก็อต มาร์เซียล รองผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ฝ่ายกิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกต่อคณะอนุกรรมาธิการการต่างประเทศด้านกิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ

กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.

เรียน ท่านประธานชาบอทและสมาชิกคณะอนุกรรมาธิการฯ

ขอขอบคุณที่เปิดโอกาสให้ผมเข้าพบในวันนี้เพื่อแถลงเกี่ยวกับรัฐประหารในประเทศไทยเมื่อไม่นานมานี้

ความสัมพันธ์สหรัฐอเมริกา-ไทย

ปีที่แล้ว สหรัฐฯ ได้จัดงานเพื่อระลึกวาระครบรอบ 180 ปี แห่งมิตรสัมพันธ์กับประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในห้าพันธมิตรตามสนธิสัญญาของสหรัฐฯ ในเอเชีย ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดยิ่ง และความร่วมมือระหว่างสหรัฐฯ กับไทยทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกด้านการบังคับใช้กฎหมาย ด้านการไม่แพร่ขยายอาวุธ และด้านความมั่นคง ก็ดำเนินไปอย่างดีเยี่ยมมาตลอด กองทัพของสหรัฐฯ เข้าร่วมในการฝึกซ้อมร่วมทางทหารที่สำคัญอย่างหลากหลายทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการฝึกซ้อมทางทหารคอบร้าโกลด์ ซึ่งเป็นการฝึกซ้อมร่วมทางทหารประจำปีที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยมีกองกำลังจาก 27 ประเทศเข้าร่วม เช่น สหรัฐฯ ไทย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย สิงคโปร์ ตลอดจนประเทศผู้สังเกตการณ์อีกหลายประเทศ การฝึกซ้อมร่วมเช่นนี้มอบโอกาสอันมีค่าสำหรับกองทัพสหรัฐฯ ในการพัฒนาความสัมพันธ์ที่สำคัญ อีกทั้งเพิ่มพูนการประสานงานและความร่วมมือระหว่างกัน ซึ่งรวมถึงการตอบสนองต่อวิกฤตด้านมนุษยธรรม

ประเทศไทยมีส่วนร่วมอย่างสำคัญในประเด็นและเป้าหมายด้านมนุษยธรรมมามาเป็นเวลาหลายปีโดยได้ให้ที่พักพิงแก่ผู้ลี้ภัยหลายแสนคนช่วงหลังสงครามเวียดนามและทุกวันนี้ยังคงเป็นที่พักพิงของผู้ลี้ภัย140,000คนซึ่งรวมถึงชนกลุ่มน้อยที่มีความอ่อนไหวทางการเมืองและต้องเผชิญกับปัญหาหรือถูกเบียดเบียนในส่วนอื่นของภูมิภาคประเทศไทยดำรงบทบาทที่สร้างสรรค์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมาอย่างยาวนานทั้งในฐานะสมาชิกอาเซียนและเอเปคตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมาสหรัฐฯทำงานร่วมกับชาวไทยอย่างใกล้ชิดในการตอบสนองต่อภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในภูมิภาคอาทิเช่นเหตุการณ์ที่พม่าซึ่งประเทศเพื่อนบ้านของไทยประสบภัยจากพายุไซโคลนครั้งร้ายแรงเมื่อพ.ศ. 2551 นอกจากนี้ สหรัฐฯ และไทยยังร่วมงานกันอย่างใกล้ชิดในด้านสุขภาพซึ่งเป็นหนึ่งในรากฐานสำคัญของความร่วมมือระดับทวิภาคีที่ประสบความสำเร็จของทั้งสองประเทศผ่านการดำเนินงานของหน่วยงานที่สำคัญอาทิศูนย์ควบคุมโรคสหรัฐฯและสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหารไทย-สหรัฐฯในความร่วมมือนี้ประเทศไทยได้ช่วยพัฒนาวัคซีนสำหรับเชื้อเอชไอวี/เอดส์เพียงหนึ่งเดียวที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าให้ผลจริงจากการวิจัยในมนุษย์

ทางด้านการค้าสหรัฐฯคือคู่ค้าที่ใหญ่เป็นอันดับสามของไทยด้วยมูลค่าการค้าระหว่างกันมากกว่า3หมื่น7พันล้านเหรียญสหรัฐทั้งยังเป็นประเทศที่เข้าลงทุนในไทยมากเป็นอันดับสามด้วยมูลค่าการลงทุนโดยตรงสะสมมากกว่า 1หมื่น 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ประเทศไทยมีเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รองจากอินโดนีเซีย และหอการค้าอเมริกันในประเทศไทยได้เป็นตัวแทนของกว่า 800 บริษัทที่ดำเนินธุรกิจอยู่ในเกือบทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจไทย

สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการดำเนินงานของรัฐบาลสหรัฐฯในภูมิภาคนี้ทั้งยังคงเป็นหนึ่งในสถานทูตสหรัฐฯที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียด้วยพนักงานชาวไทยและชาวอเมริกันกว่า3,000คนจากหน่วยงานต่างๆมากกว่า60 หน่วย สหรัฐฯ และไทยดำเนินความสัมพันธ์ระดับประชาชนอย่างใกล้ชิด โดยมีอาสาสมัครหน่วยสันติภาพสหรัฐอเมริกาในประเทศไทยมากกว่า 5,000 คน เข้ามาปฏิบัติงานที่ได้รับผลสำเร็จลุล่วงในประเทศไทยตลอด 52 ปีที่ผ่านมา

ด้วยเหตุผลทั้งหมดข้างต้น สหรัฐฯ ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสัมพันธ์กับประเทศไทยและต่อประชาชนชาวไทย ตลอดหลายปีมานี้ สหรัฐฯ ยินดีที่ได้เห็นประเทศไทยสร้างความเจริญรุ่งเรืองและพัฒนาประชาธิปไตย จนนับว่าเป็นความสำเร็จของภูมิภาคในหลากหลายด้าน ทั้งยังเป็นคู่ความร่วมมือใกล้ชิดของสหรัฐฯ ในประเด็นความสนใจร่วมกันต่างๆ เช่น การต่อต้านการก่อการร้าย การลักลอบค้าสัตว์ป่า อาชญากรรมข้ามชาติ ความมั่นคงทางพลังงาน และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

สถานการณ์ทางการเมืองและรัฐประหารในประเทศไทย

อย่างไรก็ตาม ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องผจญกับการถกเถียงโต้แย้งว่าด้วยการเมืองภายในประเทศ ซึ่งไม่เพียงทวีความแตกแยกในชั้นการเมืองเท่านั้น แต่ยังส่งผลถึงสังคมโดยรวมอีกด้วย หากจะให้บรรยายการโต้เถียงที่ซับซ้อนนี้คงต้องใช้เวลามากเกินกว่าที่เรามีในวันนี้ แต่โดยพื้นฐานแล้ว นี่เป็นเรื่องระหว่างฝ่ายสนับสนุนกับฝ่ายต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ผู้ซึ่งมีแนวทางทางการเมืองและการปกครองที่สร้างอิทธิพลอย่างมาก ทว่าก็ทำให้เขากลายเป็นบุคคลที่ก่อให้เกิดการแบ่งแยกเป็นฝักฝ่าย การถกเถียงโต้แย้งนี้ยังสะท้อนปัญหาความขัดแย้งที่ร้าวลึกมากยิ่งขึ้นระหว่างฝ่ายต่างๆ ในสังคมบนพื้นฐานของทั้งสถานภาพทางสังคมเศรษฐกิจและภูมิศาสตร์ ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา การเมืองไทยเต็มไปด้วยการถกเถียงโต้แย้ง การชุมนุมประท้วง หรือแม้กระทั่งความรุนแรงในบางครั้ง ระหว่างกลุ่มต่างๆ ที่ประชันกันแย่งชิงอิทธิพลทางการเมือง ความแตกแยกเช่นนี้นำไปสู่เหตุการณ์รัฐประหารเมื่อพ.ศ. 2549 และอีกครั้งหนึ่งเมื่อเดือนที่แล้ว


รัฐประหารครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในช่วงสิ้นสุดการต่อสู้ดิ้นรนทางการเมืองอย่างร้อนแรงกว่าหกเดือนระหว่างกลุ่มที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกันจนนำมาซึ่งการชุมนุมนานหลายเดือนบนท้องถนนของกรุงเทพมหานครรวมถึงการเข้ายึดอาคารสถานที่ราชการความพยายามประนีประนอมไม่ประสบผลสำเร็จและในวันที่22พฤษภาคมกองทัพก็ได้ก่อรัฐประหารบรรดาผู้นำกองทัพให้เหตุผลว่า รัฐประหารครั้งนี้เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรง ยุติภาวะอัมพาตทางการเมือง และสร้างเงื่อนไขปัจจัยสู่ประชาธิปไตยที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น

ตลอดช่วงทศวรรษแห่งความปั่นป่วนนี้โดยเฉพาะระหว่างช่วงหกเดือนอันวุ่นวายที่เพิ่งผ่านมาจุดยืนของสหรัฐฯคือหลีกเลี่ยงการเลือกข้างในการชิงชัยทางการเมืองภายในของประเทศไทยขณะที่ยังคงเน้นย้ำสนับสนุนหลักการประชาธิปไตยและยึดมั่นในความสัมพันธ์กับประเทศไทยอย่างต่อเนื่องสหรัฐฯแสดงความไม่เห็นด้วยต่อรัฐประหารหรือการกระทำนอกรัฐธรรมนูญอื่นๆ ในหลายโอกาสทั้งที่เปิดเผยและไม่ได้เปิดเผยสู่สาธารณะ สหรัฐฯ ได้เน้นย้ำว่า วิถีทางประชาธิปไตยหนึ่งเดียวที่จะแก้ไขปัญหาได้คือการให้ประชาชนเลือกผู้นำและนโยบายที่พวกเขาพึงพอใจผ่านการเลือกตั้งสหรัฐฯสื่อสารดังกล่าวโดยตรงไปยังเจ้าหน้าที่ระดับสูงของทางการไทยมาโดยตลอดผ่านเอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำประเทศไทยรวมถึงระหว่างการเยือนไทยโดยเจ้าหน้าอาวุโสของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯตลอดจนผ่านช่องทางการทหารทั้งระดับสูงและระดับปฏิบัติงาน

อย่างไรก็ดีเมื่อเกิดรัฐประหารเราได้แสดงการตอบโต้ทันทีตามหลักการของเราด้วยการแสดงความไม่เห็นด้วยต่อการใช้กำลังทหารเข้าแทรกแซง เริ่มด้วยคำแถลงของรัฐมนตรีแคร์รีเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ซึ่งเราได้กล่าวตำหนิการทำรัฐประหารมาอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับได้เรียกร้องให้มีการจัดตั้งรัฐบาลพลเรือน ให้ประเทศไทยกลับสู่ระบอบประชาธิปไตยตลอดจนการเคารพสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ซึ่งรวมถึงเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมอย่างสงบ เราได้แจ้งกับเจ้าหน้าที่ของไทยว่า เราเข้าใจดีถึงความอึดอัดใจกับปัญหาการเมืองที่มีมายาวนาน แต่ได้เน้นว่า การทำรัฐประหารนั้นนอกจากจะไม่ใช่การแก้ไขปัญหาแล้ว ยังเป็นการก้าวถอยหลังด้วยซ้ำไป


ในช่วงแรก เรายังมีความหวังว่า การรัฐประหารครั้งนี้จะคล้ายกับรัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 กล่าวคือ ฝ่ายทหารจะโอนถ่ายอำนาจสู่รัฐบาลพลเรือนอย่างรวดเร็วและเดินหน้าจัดการเลือกตั้งที่เสรีและเที่ยงธรรม อย่างไรก็ดี เหตุการณ์ในช่วงที่ผ่านมานี้ได้บ่งชี้ว่า คณะรัฐประหารครั้งนี้ ... มีแนวโน้มว่าจะอยู่ในอำนาจนานกว่า ...


รัฐบาลทหารได้กล่าวว่าจะจัดตั้งคณะรัฐบาลชั่วคราวภายในเดือนกันยายน และได้กำหนดเวลาอย่างไม่ชัดเจนนักว่า จะจัดให้มีการเลือกตั้งภายในเวลาประมาณ 15 เดือน วัตถุประสงค์ในช่วงการบริหารประเทศภายใต้กฎอัยการศึกตามที่คสช. ได้ระบุไว้คือ ลดความขัดแย้งและการแบ่งฝ่ายในสังคมเพื่อแผ้วทางให้เกิดบรรยากาศทางการเมืองที่กลมเกลียวกันกว่านี้เมื่อรัฐบาลพลเรือนเข้ามาบริหารประเทศในระหว่างนี้คณะรัฐบาลทหารได้เริ่มดำเนินการโยกย้ายข้าราชการที่พิจารณาเห็นว่าจงรักภักดีกับรัฐบาลชุดก่อนคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ56แห่งซึ่งรวมถึงประธานคณะกรรมการ(ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับการแต่งตั้งโดยอดีตนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร และอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร) ถูกกระตุ้นให้ลาออกเพื่อเปิดทางให้บุคคลที่ฝ่ายทหารเลือกเข้ามาดำรงตำแหน่งแทน ขณะนี้ กำลังมีการเสนอให้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและครอบคลุมในภาคพลังงานและแรงงาน ตลอดจนการพิจารณาข้อจำกัดด้านการลงทุนจากต่างประเทศในบางภาคอุตสาหกรรมเช่น โทรคมนาคม

อย่างไรก็ดี ... ความเห็นแตกต่างทางการเมืองที่ฝังรากลึกมานานอันเป็นสาเหตุแห่งความแตกแยกนี้จะสามารถแก้ไขได้โดยประชาชนและผ่านกระบวนการประชาธิปไตยเท่านั้นเรามีความรู้สึกเหมือนคนไทยส่วนใหญ่คือต้องการเห็นไทยก้าวไปสู่อุดมการณ์ประชาธิปไตยของประเทศเสริมสร้างสถาบันประชาธิปไตยให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นและกลับสู่การปกครองแบบประชาธิปไตยผ่านการเลือกตั้งได้อย่างสันติ

ปกป้องผลประโยชน์ของเราและพิทักษ์ประชาธิปไตย

ผลประโยชน์ของเรารวมถึงการรักษาความสงบและประชาธิปไตยในประเทศไทย ตลอดจนคงความร่วมมือที่สำคัญระหว่างสหรัฐฯ กับไทยในระยะยาว เรายังคงมุ่งมั่นที่จะเห็นประชาชนไทยอยู่ดีมีสุขและประเทศไทยกลับไปสู่ตำแหน่งผู้นำในภูมิภาค และเราเชื่อว่า หนทางที่ดีที่สุดในการบรรลุซึ่งเป้าหมายดังกล่าวคือการกลับไปสู่การปกครองที่มีรัฐบาลมาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย


*อ่านต่อตามลิงค์ มติชน*   (ผมก็อปมาให้อ่านบางส่วน เพราะมันยาว พื้นที่หน้าตั้งกระทู้ไม่พอใครอยากอ่านเต็มก็ตามลิ้งค์เลยครับ)
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่