มิตรภาพสหรัฐฯ-ไทยด้านความมั่นคง

มิตรภาพสหรัฐฯ-ไทยด้านความมั่นค

           สหรัฐฯ สนับสนุนความพยายามอย่างต่อเนื่องของไทยในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลและสิทธิมนุษยชน และอนุรักษ์วัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์และอธิปไตยของไทย ความเป็นหุ้นส่วนของสหรัฐฯ และไทยครอบคลุมกว้างไกลไปกว่าความสัมพันธ์ทวิภาคีและส่งผลเชิงบวกต่อภูมิภาคโดยรวม สหรัฐฯ ยังส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประเทศไทยในการสร้างความมั่นคงระดับภูมิภาคและระดับโลกอย่างต่อเนื่องและแข็งขัน ตลอดจนสนับสนุนความพยายามของไทยในการช่วยเหลือประเทศที่กำลังพัฒนาอื่น ๆ ผ่านข้อริเริ่มลุ่มน้ำโขงตอนล่าง (Lower Mekong Initiative: LMI)

           สหรัฐฯ ช่วยประเทศไทยปกป้องชายแดนและสร้างอนาคตที่ปลอดภัยและรุ่งเรืองยิ่งขึ้นให้แก่ชาวไทย นับตั้งแต่ปี 2506 เป็นต้นมา สำนักงานปราบปรามยาเสพติดสหรัฐฯ (DEA) ได้สนับสนุนรัฐบาลไทยในการหยุดยั้งการลักลอบขนสารที่ต้องควบคุมเข้าสู่ประเทศไทย สหรัฐฯ และตลาดระหว่างประเทศ สำนักงานสอบสวนกลาง กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา และกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ต่างดำเนินงานในส่วนของตนเพื่อต่อสู้กับการค้ามนุษย์และการลักลอบค้าสัตว์ป่า ตลอดจนรักษาความมั่นคงตามแนวชายแดนไทย ในปี 2562

           รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ไมเคิล ปอมเปโอ ประกาศให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมอีก 14 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติและการลักลอบค้ามนุษย์และสิ่งผิดกฎหมายในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง นอกจากนี้ กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ยังทำงานใกล้ชิดกับพันธมิตรด้านความมั่นคงของไทยในภูมิภาคนี้เพื่อฝึกอบรม เตรียมความพร้อม และเพิ่มพูนศักยภาพของไทยในการตรวจจับ ยับยั้ง และรับมือกับภัยคุกคามข้ามชาติในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

           ประเทศไทยและสหรัฐฯ เป็นพันธมิตรทางสนธิสัญญาป้องกันประเทศนับตั้งแต่การลงนามในสนธิสัญญาการป้องกันร่วมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Collective Defense Treaty) ในปี 2497 หรือที่เรียกว่า กติกามะนิลา (Manila Pact) สัญลักษณ์ที่ประจักษ์แจ้งที่สุดของความเป็นพันธมิตรด้านการป้องกันประเทศระหว่างสหรัฐฯ และไทย คือ การฝึกคอบร้า โกลด์ ซึ่งเป็นการฝึกซ้อมทางทหารระดับพหุภาคีที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย- แปซิฟิก นอกจากการฝึกคอบร้า โกลด์แล้ว ความเป็นพันธมิตรด้านการป้องกันประเทศระหว่างสหรัฐฯ และไทยยังรวมถึงการฝึกซ้อมทางการทหารอีกกว่า 60 ครั้ง การมาเยือนของอากาศยานกว่า 900 ครั้ง

            การมาเยือนของเรือรบกว่า 40 ครั้งในแต่ละปีเพื่อรับมือกับความท้าทายด้านความมั่นคงที่มีร่วมกัน และเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการทำงานร่วมกันและสอดคล้องกันของสหรัฐฯ และไทย โดยความสัมพันธ์ทางการทหารที่แน่นแฟ้นระหว่างสหรัฐฯ และไทยยังเห็นได้จากโครงการช่วยเหลือทางการทหาร (Foreign Military Sales) โครงการการศึกษาและฝึกอบรมทางการทหารที่มีความแข็งแกร่ง และความร่วมมือด้านความมั่นคงในรูปแบบอื่น ๆ ที่ยังประโยชน์ร่วมกัน

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่