ในสมัยโบราณ,มีการใช้หม้อจำนวนหลายร้อยใบ, คนเมโสโปเตเมียใช้เก็บเมล็ดข้าว,ขนน้ำ,ขนผลไม้ (ส่วนใหญ่เป็นอินทผลัม) และปรุงสตูบนเตาไฟ เป็นอาหารเย็น.บางครั้งพวกเขาดื่มจากถ้วยดินเผาและกินจากจานที่ปั้น. บางทีฝังคนตายในหม้อ. นักโบราณคดีค้นพบหม้อสองใบนี้ จากประเทศอิรัก
..........................................................
หม้อจากประเทศอิรัก ประมาณ ๔๕๐๐กคศ.(ใบซ้ายมือ)และ ๓๕๐๐กคศ.
..........................................................
ช่างปั้นหม้อ ปั้นหม้อใบหนึ่งในจำนวนหลายใบในปี ๔๕๐๐ กคศ.และอีกใบทำขึ้น ในอีกหนึ่งพันปีต่อมา ประมาณ ปี ๓๕๐๐ กคศ. คุณเดาได้ไหมว่า ใบไหนเป็นใบเก่าและใบไหนเป็นใบใหม่.
น่าแปลกใจไหม, ใบที่ทาสี มีผิวราบเรียบ กว่าอีกใบหนึ่ง (เราเรียกว่า หม้อ เอ )ที่ทำก่อนหม้ออีกใบหนึ่ง(หม้อ บี) แต่สงสัยไหมว่าทำไมหม้อ เอ จึงมีรูปร่างสวยงามน่ามองกว่า ทำได้ละเอียดกว่าหม้อ บี มีความเป็นไปได้ว่า คนที่ทำหม้อ เอ เรียนรู้วิธีการทำจากบิดาของเขา. ช่างปั้นหม้อ เอ ทำด้วยมืออย่างเดียว จนเสร็จสมบูรณ์.
มาดูวิธีทำ หม้อ
อันดับแรก เขาวางดินเหนียวลงในผ้าบาง และสร้างขึ้นมาตามรูปร่างที่เขาต้องการ.จากนั้นใช้ นิ้วของเขาทำให้บางและเรียบ เรียกว่า ทำด้วยมืออย่างเดียว. หลังจากนั้น จะนำหม้อไปลงสีตามรายละเอียดและนำไปเผาในเตาร้อน. ผลผลิตที่ได้ จึงสวยงาม , การทำต้องใช้เวลานาน.
จากนั้นมีคนประดิษฐ์เทคโนโลยีใหม่ –มีวิธีการทำหม้อ ที่แตกต่างออกไป . ทีนี้ มีการใช้วงล้อ ของช่างปั้นหม้อ.พอมีเทคโนโลยีใหม่ ,ช่างฝีมือมารถหมุนก้อนดินเหนียวบนล้อแบนราบ,ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าเขาจะใช้เท้าของเขาเองหมุนวงล้อ.
พอดินเหนียวหมุนไปรอบๆ . ช่างปั้นหม้อสามารถรวบรวมก้อนดินมาไว้ที่อุ้งมือของเขา, จากนั้นกดด้วยนิ้วหัวแม่มือเพื่อทำเป็นรูปชาม. จากนั้นใช้นิ้วมือของเขาแต่ง เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา. ใครทำหม้อเก่งๆ จะสามารถทำหม้อได้เป็นจำนวนมากกว่าแต่ก่อนในเวลาเท่ากัน. หรืออาจจะทำหม้อได้เร็วขึ้น.ช่างปั้นหม้อใช้เวลาทำให้ได้จำนวนหม้อมากขึ้นอย่างเดียว ไม่ได้ใช้เวลาทำให้สวยงามอีกต่อไป.
เราไม่รู้ว่าใครเป็นคนประดิษฐ์วงล้อคนแรก เราไม่รู้ด้วยว่าประดิษฐ์ขึ้นมาเมื่อไรและประดิษฐ์ที่ไหนอีกด้วย. ตอนนั้น ยังไม่มีการประดิษฐ์ตัวอักษร, ดังนั้นจึงยังไม่มีการบันทึก.
..................................................................
ช่างปั้นหม้อมุมล้อนี้ด้วยเท้า ใช้มือที่ว่าง สร้างรูปร่างของหม้อในขณะที่ล้อหมุน
............................................................
แน่นอนวงล้อของช่างปั้นหม้อสมัยแรกสุด ส่วนใหญ่ทำมาจากไม้. ไม้เข้ากันไม่ได้กับดิน พอตกลงดิน จะผุพังไปตามกาลเวลา. จึงไม่มีวงล้อไม้หลงเหลืออีกเลย. เรารู้ว่าการคิดประดิษฐ์วงล้อไม้เริ่มขึ้นประมาณปี ๓๕๐๐ กคศ. เพราะตัวหม้อจะบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตัวของมันเองให้เราทราบ
สิ่งที่ปรากฏให้เห็นบนหม้อบางลูก, แต่ไม่เห็นในหม้อใบอื่น. เมื่อหม้อหมุนบนวงล้อ, นิ้วของช่างจะทำให้ปรากฏเป็นรูปแบบที่ไม่สามารถพบได้ในหม้อที่ปั้นด้วยมืออย่างเดียว ปริศนาที่ทิ้งไว้ให้เราคิดต่อ คือช่างปั้นหม้อใช้อะไรตัดหม้อที่ปั้นเสร็จออกจากวงล้อที่กำลังหมุน. เชือก/สายนั้น ยังปรากฏร่องรอยบนดินเหนียว.
นักโบราณคดี พบหม้อของชาวเมโสโปเตเมีย ที่ทำกัน ประมาณ ปี ๓๕๐๐ กคศ. พอตรวจอย่างละเอียด พบเครื่องหมายบนหม้อ ที่เชื่อว่าทำขึ้นบนวงล้อ. ยังพิสูจน์ด้วยว่า ช่างปั้นหม้อเริ่มต้นใช้วงล้อปี ๓๕๐๐.กคศ. การทดสอบทางเคมี ยังให้ข้อมูลอีกด้วยว่า หม้อสร้างขึ้นเมื่อใด.นักวิทยาศาสตร์สามารถคำนวณอายุของตัวหม้อเองและจากอาหารที่ยังเหลืออยู่ในหม้อ.
ช่างปั้นหม้อ ที่ใช้วงล้อไม้ จะประหยัดเวลาปั้นหม้อ เป็นการผลิตที่ไม่ประณีตมาก เน้นปริมาณอย่างเดียว อาจจะใช้เวลาทำการเกษตรน้อยลงไปด้วย เพราะจะนำเวลาจากการทำเกษตรกรรมมาปั้นหม้อ. และลูกค้าของช่างปั้นหม้อก็คือชาวนา, ดังนั้น ช่างปั้นหม้อ จึงนำหม้อไปแลกกับอาหาร.
ชาวนาก็เช่นเดียวกัน มีเทคโนโลยี ใหม่ ทำให้ชีวิตของพวกเขาสบายมากขึ้นเช่นเดียวกัน: พวกเขามีไถ,เครื่องมือเพื่อใช้ตัด,ทำให้แตกและพลิกพื้นดินเพื่อเตรียมปลูกพืช. การปรับปรุงวิธีการปลูกพืชจึงหมายความว่าชาวนาสามารถปลูกพืชอย่างเพียงพอ ไม่เพียงแต่ ตัวของเขาเอง,แต่ยังขายหรือค้ากับคนอื่นได้อีกด้วย.
นักโบราณคดีเชื่อว่า ไถได้รับการประดิษฐ์ขึ้นในเวลาเดียวกับวงล้อของช่างปั้นหม้อ. – อยู่ระหว่างปี๓๘๐๐ ถึงปี ๓๑๐๐ กคศ. แต่เนื่องจากไถ ทำจากไม้,จึงไม่มีไถหลงเหลืออยู่. ก่อนที่ชาวนาจะคิดประดิษฐ์ไถ ขึ้นมา พวกเขาใช้เศษไม้ธรรมดา เพื่อทำให้พื้นดินแตก. ไถชิ้นแรกสุดเป็นเพียงไม้คมๆ ที่ติดกับโครง ทำด้วยไม้ ,ที่วัวลากไปตามไร่. แต่ไถไม้แตกหักอย่างง่ายๆ กับดินบริเวณเมโสโปเตเมียที่แข็งและเหนียว.ชาวนาต้องการอะไรที่แข็งแรงกว่า. แร่ทองแดงถ้านำไปทำต่างหูและกำไร ละก็ยอดเยี่ยม แต่ถ้ามาทำไถ คงไปไม่รอด.
โลกตะวันออกใกล้โบราณ: ช่างปั้นหม้อ และหม้อ,คนไถนาและคันไถ(3)
..........................................................
หม้อจากประเทศอิรัก ประมาณ ๔๕๐๐กคศ.(ใบซ้ายมือ)และ ๓๕๐๐กคศ.
..........................................................
ช่างปั้นหม้อ ปั้นหม้อใบหนึ่งในจำนวนหลายใบในปี ๔๕๐๐ กคศ.และอีกใบทำขึ้น ในอีกหนึ่งพันปีต่อมา ประมาณ ปี ๓๕๐๐ กคศ. คุณเดาได้ไหมว่า ใบไหนเป็นใบเก่าและใบไหนเป็นใบใหม่.
น่าแปลกใจไหม, ใบที่ทาสี มีผิวราบเรียบ กว่าอีกใบหนึ่ง (เราเรียกว่า หม้อ เอ )ที่ทำก่อนหม้ออีกใบหนึ่ง(หม้อ บี) แต่สงสัยไหมว่าทำไมหม้อ เอ จึงมีรูปร่างสวยงามน่ามองกว่า ทำได้ละเอียดกว่าหม้อ บี มีความเป็นไปได้ว่า คนที่ทำหม้อ เอ เรียนรู้วิธีการทำจากบิดาของเขา. ช่างปั้นหม้อ เอ ทำด้วยมืออย่างเดียว จนเสร็จสมบูรณ์.
มาดูวิธีทำ หม้อ
อันดับแรก เขาวางดินเหนียวลงในผ้าบาง และสร้างขึ้นมาตามรูปร่างที่เขาต้องการ.จากนั้นใช้ นิ้วของเขาทำให้บางและเรียบ เรียกว่า ทำด้วยมืออย่างเดียว. หลังจากนั้น จะนำหม้อไปลงสีตามรายละเอียดและนำไปเผาในเตาร้อน. ผลผลิตที่ได้ จึงสวยงาม , การทำต้องใช้เวลานาน.
จากนั้นมีคนประดิษฐ์เทคโนโลยีใหม่ –มีวิธีการทำหม้อ ที่แตกต่างออกไป . ทีนี้ มีการใช้วงล้อ ของช่างปั้นหม้อ.พอมีเทคโนโลยีใหม่ ,ช่างฝีมือมารถหมุนก้อนดินเหนียวบนล้อแบนราบ,ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าเขาจะใช้เท้าของเขาเองหมุนวงล้อ.
พอดินเหนียวหมุนไปรอบๆ . ช่างปั้นหม้อสามารถรวบรวมก้อนดินมาไว้ที่อุ้งมือของเขา, จากนั้นกดด้วยนิ้วหัวแม่มือเพื่อทำเป็นรูปชาม. จากนั้นใช้นิ้วมือของเขาแต่ง เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา. ใครทำหม้อเก่งๆ จะสามารถทำหม้อได้เป็นจำนวนมากกว่าแต่ก่อนในเวลาเท่ากัน. หรืออาจจะทำหม้อได้เร็วขึ้น.ช่างปั้นหม้อใช้เวลาทำให้ได้จำนวนหม้อมากขึ้นอย่างเดียว ไม่ได้ใช้เวลาทำให้สวยงามอีกต่อไป.
เราไม่รู้ว่าใครเป็นคนประดิษฐ์วงล้อคนแรก เราไม่รู้ด้วยว่าประดิษฐ์ขึ้นมาเมื่อไรและประดิษฐ์ที่ไหนอีกด้วย. ตอนนั้น ยังไม่มีการประดิษฐ์ตัวอักษร, ดังนั้นจึงยังไม่มีการบันทึก.
..................................................................
ช่างปั้นหม้อมุมล้อนี้ด้วยเท้า ใช้มือที่ว่าง สร้างรูปร่างของหม้อในขณะที่ล้อหมุน
............................................................
แน่นอนวงล้อของช่างปั้นหม้อสมัยแรกสุด ส่วนใหญ่ทำมาจากไม้. ไม้เข้ากันไม่ได้กับดิน พอตกลงดิน จะผุพังไปตามกาลเวลา. จึงไม่มีวงล้อไม้หลงเหลืออีกเลย. เรารู้ว่าการคิดประดิษฐ์วงล้อไม้เริ่มขึ้นประมาณปี ๓๕๐๐ กคศ. เพราะตัวหม้อจะบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตัวของมันเองให้เราทราบ
สิ่งที่ปรากฏให้เห็นบนหม้อบางลูก, แต่ไม่เห็นในหม้อใบอื่น. เมื่อหม้อหมุนบนวงล้อ, นิ้วของช่างจะทำให้ปรากฏเป็นรูปแบบที่ไม่สามารถพบได้ในหม้อที่ปั้นด้วยมืออย่างเดียว ปริศนาที่ทิ้งไว้ให้เราคิดต่อ คือช่างปั้นหม้อใช้อะไรตัดหม้อที่ปั้นเสร็จออกจากวงล้อที่กำลังหมุน. เชือก/สายนั้น ยังปรากฏร่องรอยบนดินเหนียว.
นักโบราณคดี พบหม้อของชาวเมโสโปเตเมีย ที่ทำกัน ประมาณ ปี ๓๕๐๐ กคศ. พอตรวจอย่างละเอียด พบเครื่องหมายบนหม้อ ที่เชื่อว่าทำขึ้นบนวงล้อ. ยังพิสูจน์ด้วยว่า ช่างปั้นหม้อเริ่มต้นใช้วงล้อปี ๓๕๐๐.กคศ. การทดสอบทางเคมี ยังให้ข้อมูลอีกด้วยว่า หม้อสร้างขึ้นเมื่อใด.นักวิทยาศาสตร์สามารถคำนวณอายุของตัวหม้อเองและจากอาหารที่ยังเหลืออยู่ในหม้อ.
ช่างปั้นหม้อ ที่ใช้วงล้อไม้ จะประหยัดเวลาปั้นหม้อ เป็นการผลิตที่ไม่ประณีตมาก เน้นปริมาณอย่างเดียว อาจจะใช้เวลาทำการเกษตรน้อยลงไปด้วย เพราะจะนำเวลาจากการทำเกษตรกรรมมาปั้นหม้อ. และลูกค้าของช่างปั้นหม้อก็คือชาวนา, ดังนั้น ช่างปั้นหม้อ จึงนำหม้อไปแลกกับอาหาร.
ชาวนาก็เช่นเดียวกัน มีเทคโนโลยี ใหม่ ทำให้ชีวิตของพวกเขาสบายมากขึ้นเช่นเดียวกัน: พวกเขามีไถ,เครื่องมือเพื่อใช้ตัด,ทำให้แตกและพลิกพื้นดินเพื่อเตรียมปลูกพืช. การปรับปรุงวิธีการปลูกพืชจึงหมายความว่าชาวนาสามารถปลูกพืชอย่างเพียงพอ ไม่เพียงแต่ ตัวของเขาเอง,แต่ยังขายหรือค้ากับคนอื่นได้อีกด้วย.
นักโบราณคดีเชื่อว่า ไถได้รับการประดิษฐ์ขึ้นในเวลาเดียวกับวงล้อของช่างปั้นหม้อ. – อยู่ระหว่างปี๓๘๐๐ ถึงปี ๓๑๐๐ กคศ. แต่เนื่องจากไถ ทำจากไม้,จึงไม่มีไถหลงเหลืออยู่. ก่อนที่ชาวนาจะคิดประดิษฐ์ไถ ขึ้นมา พวกเขาใช้เศษไม้ธรรมดา เพื่อทำให้พื้นดินแตก. ไถชิ้นแรกสุดเป็นเพียงไม้คมๆ ที่ติดกับโครง ทำด้วยไม้ ,ที่วัวลากไปตามไร่. แต่ไถไม้แตกหักอย่างง่ายๆ กับดินบริเวณเมโสโปเตเมียที่แข็งและเหนียว.ชาวนาต้องการอะไรที่แข็งแรงกว่า. แร่ทองแดงถ้านำไปทำต่างหูและกำไร ละก็ยอดเยี่ยม แต่ถ้ามาทำไถ คงไปไม่รอด.