เรื่อง เสียดายแดด
ที่มา :ประสาท มีแต้ม : manager
“เสียดายแดด” คือเหตุผลของเจ้าของบ้านรายหนึ่งที่ตอบคำถามกับบริษัททำธุรกิจรับติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์ หรือแสงแดดเพื่อผลิตไฟฟ้า เนื่องจากบริษัทมีความจำเป็นต้องทราบความต้องการของลูกค้าเพื่อจะได้ออกแบบให้สอดคล้องต่อความต้องการ แต่แทนที่เจ้าของบ้านรายนี้ซึ่งเป็นอาจารย์ในสถาบันแห่งหนึ่งจะตอบว่าเพื่อนำไฟฟ้ามาใช้ในบ้าน เพื่อขายไฟฟ้า หรือเพื่อลดค่าไฟฟ้า แต่เขากลับตอบอย่างสั้นๆ สะท้อนถึงจิตวิญญาณอย่างลึกซึ้งกินใจว่า เสียดายแดด
ผมจะลำดับบทความนี้ในรูปของการถาม-ตอบเป็นข้อๆ ดังนี้
ข้อหนึ่ง ถาม ถ้าไม่ได้รับการส่งเสริมจากทางราชการ (คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน - กกพ.) หรือทางการไฟฟ้าไม่รับซื้อไฟฟ้าแล้ว การติดตั้งจะคุ้มทุนหรือไม่
ตอบ ทาง กกพ.มีโครงการส่งเสริมตามโครงการ “พลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา” จำนวน 200 เมกะวัตต์ โดยเป็นที่อยู่อาศัย 100 เมกะวัตต์ (ประมาณ 2 หมื่นถึง 1 แสนหลัง จากบ้านเรือนทั้งหมด 22 ล้านหลังทั่วประเทศ) โดยรับซื้อไฟฟ้าหน่วยละ 6.96 บาท (ปกติเราจ่ายค่าไฟฟ้าหน่วยละประมาณ 4 บาท) แต่โครงการดังกล่าวยังไม่ได้เกิดขึ้นจริง เพราะต้องได้รับการอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมก่อน แต่ทาง กกพ.บอกว่า ไม่จำเป็น เพราะไม่ถือว่าเป็นโรงงาน ขณะนี้กำลังรอการตีความจากคณะกรรมการกฤษฎีกา
อย่างไรก็ตาม หากไม่ได้เข้าร่วมโครงการก็ยังมีความคุ้มทุน (เหตุผลจะกล่าวในข้อต่อไป)
อนึ่ง ขออธิบายถึงระบบไฟฟ้าในบ้านนิดหนึ่งครับ ถ้าเราซื้อไฟฟ้าอย่างเดียว เมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านมิเตอร์ หรือหม้อไฟ ถ้าหม้อเป็นระบบจานหมุน จานก็จะหมุนไปเรื่อย ตัวเลขก็จะขึ้นจากหนึ่งหน่วยเป็นหนึ่งจุดหนึ่ง หนึ่งจุดสองหน่วยไปเรื่อยๆ แต่ถ้าเราติดแผงโซลาร์เซลล์ เมื่อแดดออกแผงโซลาร์บนหลังคาก็จะผลิตไฟฟ้าไหลกลับไปสู่ระบบสายของการไฟฟ้า ทำให้จานหมุนถอยหลัง ตัวเลขก็ถอยหลัง พอตอนค่ำเราใช้ไฟฟ้าจานก็จะหมุนเดินหน้าเพิ่มตัวเลขในมิเตอร์ เมื่อครบสิ้นเดือนก็จ่ายค่าไฟฟ้ากันตามตัวเลขที่เหลือ
ผู้สันทัดกรณีเตือนว่า ระวังอย่าให้ตัวเลขในวันที่ถูกบันทึกน้อยกว่าตัวเลขในวันบันทึกครั้งก่อน มิฉะนั้น การไฟฟ้าอาจจะหาเรื่องเอาได้ นอกจากนี้ คุณภาพของอุปกรณ์ก็ต้องได้มาตรฐาน ไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ หากเกิดความเสียหายหากพิสูจน์ได้ว่าเกิดจากเราก็อาจจะมีปัญหาได้
ข้อสอง ถาม ต้องลงทุนเท่าใด ใช้พื้นที่เท่าใด และได้ผลตอบแทนเท่าใด
ตอบ ต้นทุนการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ประกอบด้วย 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ (1) แผงโซลาร์ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงแดดเป็นกระแสไฟฟ้า (กระแสตรง) (2) ตัวเปลี่ยนกระแสตรงเป็นกระแสสลับ (3) อุปกรณ์อื่นๆ และค่าแรงติดตั้ง ต้นทุนของส่วนที่ (1) ประมาณ 60 ถึง 80% ของต้นทุนทั้งหมด โดยราคาแผงจะลดลงปีละประมาณ 10% ส่วนรายการ (2) ราคาลดลงเล็กน้อย และที่สำคัญขึ้นอยู่กับการได้รับรองมาตรฐานหรือไม่
ผมค้นข้อมูลจากหลายบริษัท และหลายแหล่งพบว่า ถ้าติดตั้ง 1 กิโลวัตต์ (ใช้พื้นที่ 7 ตารางเมตร) บริษัทหนึ่งบอกว่าราคา 79,000 บาท (สามารถลดค่าไฟฟ้าได้ปีละ 7,800 บาท หรือผลตอบแทน 9.9% ต่อปี) อีกบริษัทหนึ่งบอกว่า ขนาด 3.36 กิโลวัตต์ ราคา 270,000 บาท
ในกลางปี 2556 กกพ.ระบุว่า ราคากิโลวัตต์ละประมาณ 6 หมื่นบาท (ผลิตไฟฟ้าได้ปีละ 1,300 หน่วย) แต่ในเดือนเมษายน 2557 กระทรวงพลังงานบอกว่า มีโครงการจะติดตั้งบนหลังคาวิทยาลัยอาชีวะ 40 แห่งๆ ละ 40 กิโลวัตต์ ราคาแห่งละ 2 ล้านบาท เฉลี่ยราคา 5 หมื่นบาทต่อกิโลวัตต์
ถ้าแต่ละกิโลวัตต์ผลิตไฟฟ้าได้ปีละ 1,300 หน่วยจริง ราคาหน่วยละ 4.00 บาท (คิดเผื่อราคาใหม่ เพราะราคาเฉลี่ยเดือนมีนาคม 57 จำนวน 141 หน่วย ราคาหน่วยละ 3.88 บาท) ถ้าต้นทุน 6 หมื่นบาท จะได้ผลตอบแทนร้อยละ 10.80 ต่อปี
การจะตัดสินใจว่าจะติดเท่าใดก็ขึ้นอยู่กับว่าเราใช้ไฟฟ้าเดือนละเท่าใด และต้องระวังไม่ให้ติดลบด้วย นอกจากนี้ จำนวนวัตต์ที่ได้ต้องสอดคล้องกับตัวเปลี่ยนกระแส (inverter) ด้วย ซึ่งมีหลายขนาด และราคากระโดดไปตามช่วงของขนาดด้วย
ข้อสาม ถาม หลังคาจะรับน้ำหนักไหวไหม
ตอบ เมื่อติดตั้งเสร็จน้ำหนักของระบบประมาณ 17 กิโลกรัมต่อหนึ่งตารางเมตร จึงไม่น่าจะมีปัญหา
ข้อสี่ ถาม การดูแลรักษาแพงไหม และประสิทธิภาพรวมทั้งอายุการใช้งาน
ตอบ เท่าที่ถามจากผู้มีประสบการณ์บอกว่า ถ้าติดบนหลังคาไม่ต้องดูแลอะไรมาก น้ำฝนจะช่วยชะล้างฝุ่นละอองออกไปเอง ประสิทธิภาพการแปลงพลังงานอาจจะลดลงเล็กน้อยเมื่อนานไป สำหรับอายุการใช้งาน 25 ปี ดังนั้น จากข้อสอง จะคุ้มทุนประมาณ 10 ปี (ถ้าลงทุนด้วยเงินสด) ที่เหลืออีก 15 ปีก็ถือว่าได้ฟรี แต่อย่าลืมว่าค่าไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นตลอด ดังนั้น ระยะเวลาคุ้มทุนจึงต้องลดลงมาอีก นี่คิดบนฐานที่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐเลยนะ
ข้อห้า ถาม งั้นภาครัฐไม่ต้องสนับสนุนก็เป็นไปได้แล้วนี่ จะสนับสนุนไปทำไมอีก
ตอบ ไม่ต้องสนับสนุนก็เป็นได้แล้วดังหลักฐานตัวเลขที่ปรากฏ แต่ปัญหาการจัดการไฟฟ้าไม่ได้คิดกันแค่กำไร ขาดทุนเพียงอย่างเดียว ต้องคิดให้เป็นระบบ เช่น ผลกระทบของโรงไฟฟ้าถ่านหินซึ่งทำลายทั้งสุขภาพ และแหล่งทำมาหากินของประชาชนรอบๆโรงไฟฟ้า รวมทั้งผลกระทบของสิ่งแวดล้อมโลกที่เรียกว่าการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วย จากการศึกษาพบว่า ภาคการผลิตไฟฟ้ามีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดในโลก การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงแดดจะช่วยลดภาวะดังกล่าวได้ แต่ถ้าปล่อยให้เป็นไปเอง ไม่มีการสนับสนุน หรือแรงจูงใจไม่มากพอ ปัญหาวิกฤตโลกร้อนก็จะไม่ลดลง ไม่ทันกับวิกฤตที่มากขึ้นซึ่งเห็นได้จากภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ถี่ขึ้นทุกขณะ
แต่การสนับสนุนที่มากเกินไป หรือสนับสนุนเฉพาะกลุ่มของตนเอง หรือกลุ่มที่จ่ายเงินใต้โต๊ะก็ต้องถือว่าเป็นการคอร์รัปชันอีกรูปแบบหนึ่ง
ข้อหก ถาม ช่วยยกตัวอย่างประเทศที่มีการส่งเสริมกันแบบดีๆ ตรงไปตรงมา จนประสบผลสำเร็จให้ดูหน่อย
ตอบ เอาประเทศเยอรมนีก่อนนะ ทั้งๆ ที่มีแดดเข้มน้อยกว่าประเทศไทยมาก ในปี 2546 เยอรมนีผลิตไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์ได้ 313 ล้านหน่วย แต่ภายใต้การส่งเสริมใน 10 ปีต่อมา คือ 2556 เขาสามารถผลิตได้ 29,300 ล้านหน่วย (เพิ่มขึ้น 94 เท่าตัว) ถ้าเทียบกับการใช้ไฟฟ้าในภาคครัวเรือนของคนไทยในปี 2555 ใช้ไฟฟ้าทั้งหมด 36,447 ล้านหน่วย นั่นหมายความว่า ไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์จากเยอรมนีสามารถป้อนครัวเรือนในประเทศไทยได้ถึง 80%
ในตอนแรกๆ เขาอุดหนุนในราคาหน่วยละเกือบ 25 บาท แต่ปัจจุบันราคารับซื้อไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ได้ลดลงมาเหลือไม่กี่บาท เพราะเทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้น คือ ราคาต่ำกว่าที่การไฟฟ้าขายปลีกให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าเสียอีก การไฟฟ้าไม่ได้นำมาขายในราคาขาดทุนนะ เพราะเขาจะคิดค่าสายส่งเข้าไปด้วย สรุปว่าในปัจจุบันปี 2557 ราคารับซื้อไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์หน่วยละ 6.50 บาท โดยที่ราคาไฟฟ้าขายปลีกสำหรับบ้านอยู่อาศัยหน่วยละ 13 บาท คือแม้รับซื้อแพงก็ยังมีกำไรเพราะขายแพงกว่า
ข้อเจ็ด ถาม อะไรคือความแตกต่างที่สำคัญระหว่างการสนับสนุนของไทยกับเยอรมนี
ตอบ ที่ตรงกันข้ามเลยก็คือ ประเทศเยอรมนีไม่มีการจำกัดโควตาหรือจำนวน ใครก็ตามที่ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนได้ให้ป้อนเข้าสู่ระบบสายส่งได้ก่อนโดยไม่จำกัดจำนวน แต่ประเทศไทยเรามีการจำกัดจำนวนที่ 100 เมกะวัตต์สำหรับบ้านอยู่อาศัย ทั้งๆ ที่มีคนอยากจะติดจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้เกษียณอายุที่มีเงินก้อนอยู่บ้าง แต่นำไปฝากธนาคารได้ดอกเบี้ยแค่ร้อยละ 4-5% อาจไม่คุ้มค่าเงินเฟ้อด้วยซ้ำ ถ้ามีโครงการนี้เกิดขึ้นก็ถือเป็นการกระจายรายได้
จากสถิติพบว่า ร้อยละ 51 ของเจ้าของโซลาร์เซลล์ในเยอรมนีคือ เจ้าของบ้าน และชาวนา
ข้อแปด ถาม ประเทศอื่นเป็นอย่างไร
ตอบ ในสหรัฐอเมริกา จากสถิติพบว่าปัจจุบันทุกๆ 4 นาทีจะการติดตั้งโซลาร์เซลล์เพิ่มขึ้นหนึ่งหลัง โดยแนวโน้มจะมากขึ้นกว่านี้อีก คือ อีก 2 ปีจะเพิ่มขึ้นทุกๆ 80 วินาที แม้แต่ในทำเนียบก็เพิ่งติดเมื่อต้นเดือนนี้เอง ระบบที่ส่งเสริมเรียกว่าระบบ Net Metering โดยไม่มีการชดเชย เขาเพิ่งมีระบบใหม่ที่เข้ามาแทนที่ระบบเดิมเมื่อต้นปีนี้ คือ “ระบบคุณค่าของโซลาร์ (Value of Solar)” และเพิ่งใช้เป็นครั้งแรกเมื่อต้นปีนี้ในรัฐมินเนโซตา (Minnesota) ซึ่งอยู่ทางส่วนกลางตอนเหนือสุดของสหรัฐอเมริกา และมีความเข้มของแสงแดดน้อยกว่าประเทศไทยเล็กน้อย
แนวคิดของระบบคุณค่าขึ้นอยู่กับ 4 หลักการสำคัญคือ (1) เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้เชื้อเพลิงสกปรก (2) เพื่อหลีกเลี่ยงความจำเป็นที่จะต้องสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ โดยเฉพาะในช่วงพีก หรือช่วงความต้องการไฟฟ้าสูงสุด (ซึ่งประเทศไทยเกิดขึ้นตอนบ่ายสองโมง) (3) ทำให้ราคาไฟฟ้าคงที่นับ 25 ปี และ (4) ลดการสูญเสียไฟฟ้าในสายส่ง (เพราะผลิตที่ไหนก็ใช้ในบริเวณนั้น) รวมถึงในกระบวนการผลิตในโรงไฟฟ้าซึ่งรวมกันประมาณ 25% ของไฟฟ้าที่ได้ใช้จริง ซึ่งต้นทุนทั้ง 4 ประการเหล่านี้รวมกันประมาณ 14.5 เซ็นต์
ในการคิดค่าไฟฟ้าในระบบ Net Metering เขาจะหักลบกันระหว่างจำนวนหน่วยไฟฟ้าที่ใช้กับจำนวนหน่วยไฟฟ้าที่ผลิตได้ในบ้าน แล้วคิดราคากันตามอัตราคือ 0.115 ดอลลาร์ต่อหน่วย แต่ในระบบ Value of Solar เขาจะคิดราคาอัตราไฟฟ้าที่เจ้าของบ้านผลิตได้ในราคาที่สูงกว่า เช่น 0.145 ดอลาร์ต่อหน่วย แล้วไปคิดมูลค่าของแต่ละส่วนแล้วนำมาหักลบกัน ดังตัวอย่างในรูป (10 เซ็นต์เท่ากับ 3.20 บาท)
ปล. ฝากถึงท่านประธาน คสช. เร่งปฏิรูปนโยบายพลังงานทดแทนให้บูรณาการแบบจริงๆจังเหมือนๆกับ อารยประเทศ ไม่อิงประโยชน์ทางธุรกิจแบบที่ผ่านๆมา ส่วนหนึ่งจะช่วยลดการพึงพาพลังงานต้นทุนนำเข้าด้วย
เสียดายแดด
เรื่อง เสียดายแดด
ที่มา :ประสาท มีแต้ม : manager
“เสียดายแดด” คือเหตุผลของเจ้าของบ้านรายหนึ่งที่ตอบคำถามกับบริษัททำธุรกิจรับติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์ หรือแสงแดดเพื่อผลิตไฟฟ้า เนื่องจากบริษัทมีความจำเป็นต้องทราบความต้องการของลูกค้าเพื่อจะได้ออกแบบให้สอดคล้องต่อความต้องการ แต่แทนที่เจ้าของบ้านรายนี้ซึ่งเป็นอาจารย์ในสถาบันแห่งหนึ่งจะตอบว่าเพื่อนำไฟฟ้ามาใช้ในบ้าน เพื่อขายไฟฟ้า หรือเพื่อลดค่าไฟฟ้า แต่เขากลับตอบอย่างสั้นๆ สะท้อนถึงจิตวิญญาณอย่างลึกซึ้งกินใจว่า เสียดายแดด
ผมจะลำดับบทความนี้ในรูปของการถาม-ตอบเป็นข้อๆ ดังนี้
ข้อหนึ่ง ถาม ถ้าไม่ได้รับการส่งเสริมจากทางราชการ (คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน - กกพ.) หรือทางการไฟฟ้าไม่รับซื้อไฟฟ้าแล้ว การติดตั้งจะคุ้มทุนหรือไม่
ตอบ ทาง กกพ.มีโครงการส่งเสริมตามโครงการ “พลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา” จำนวน 200 เมกะวัตต์ โดยเป็นที่อยู่อาศัย 100 เมกะวัตต์ (ประมาณ 2 หมื่นถึง 1 แสนหลัง จากบ้านเรือนทั้งหมด 22 ล้านหลังทั่วประเทศ) โดยรับซื้อไฟฟ้าหน่วยละ 6.96 บาท (ปกติเราจ่ายค่าไฟฟ้าหน่วยละประมาณ 4 บาท) แต่โครงการดังกล่าวยังไม่ได้เกิดขึ้นจริง เพราะต้องได้รับการอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมก่อน แต่ทาง กกพ.บอกว่า ไม่จำเป็น เพราะไม่ถือว่าเป็นโรงงาน ขณะนี้กำลังรอการตีความจากคณะกรรมการกฤษฎีกา
อย่างไรก็ตาม หากไม่ได้เข้าร่วมโครงการก็ยังมีความคุ้มทุน (เหตุผลจะกล่าวในข้อต่อไป)
อนึ่ง ขออธิบายถึงระบบไฟฟ้าในบ้านนิดหนึ่งครับ ถ้าเราซื้อไฟฟ้าอย่างเดียว เมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านมิเตอร์ หรือหม้อไฟ ถ้าหม้อเป็นระบบจานหมุน จานก็จะหมุนไปเรื่อย ตัวเลขก็จะขึ้นจากหนึ่งหน่วยเป็นหนึ่งจุดหนึ่ง หนึ่งจุดสองหน่วยไปเรื่อยๆ แต่ถ้าเราติดแผงโซลาร์เซลล์ เมื่อแดดออกแผงโซลาร์บนหลังคาก็จะผลิตไฟฟ้าไหลกลับไปสู่ระบบสายของการไฟฟ้า ทำให้จานหมุนถอยหลัง ตัวเลขก็ถอยหลัง พอตอนค่ำเราใช้ไฟฟ้าจานก็จะหมุนเดินหน้าเพิ่มตัวเลขในมิเตอร์ เมื่อครบสิ้นเดือนก็จ่ายค่าไฟฟ้ากันตามตัวเลขที่เหลือ
ผู้สันทัดกรณีเตือนว่า ระวังอย่าให้ตัวเลขในวันที่ถูกบันทึกน้อยกว่าตัวเลขในวันบันทึกครั้งก่อน มิฉะนั้น การไฟฟ้าอาจจะหาเรื่องเอาได้ นอกจากนี้ คุณภาพของอุปกรณ์ก็ต้องได้มาตรฐาน ไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ หากเกิดความเสียหายหากพิสูจน์ได้ว่าเกิดจากเราก็อาจจะมีปัญหาได้
ข้อสอง ถาม ต้องลงทุนเท่าใด ใช้พื้นที่เท่าใด และได้ผลตอบแทนเท่าใด
ตอบ ต้นทุนการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ประกอบด้วย 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ (1) แผงโซลาร์ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงแดดเป็นกระแสไฟฟ้า (กระแสตรง) (2) ตัวเปลี่ยนกระแสตรงเป็นกระแสสลับ (3) อุปกรณ์อื่นๆ และค่าแรงติดตั้ง ต้นทุนของส่วนที่ (1) ประมาณ 60 ถึง 80% ของต้นทุนทั้งหมด โดยราคาแผงจะลดลงปีละประมาณ 10% ส่วนรายการ (2) ราคาลดลงเล็กน้อย และที่สำคัญขึ้นอยู่กับการได้รับรองมาตรฐานหรือไม่
ผมค้นข้อมูลจากหลายบริษัท และหลายแหล่งพบว่า ถ้าติดตั้ง 1 กิโลวัตต์ (ใช้พื้นที่ 7 ตารางเมตร) บริษัทหนึ่งบอกว่าราคา 79,000 บาท (สามารถลดค่าไฟฟ้าได้ปีละ 7,800 บาท หรือผลตอบแทน 9.9% ต่อปี) อีกบริษัทหนึ่งบอกว่า ขนาด 3.36 กิโลวัตต์ ราคา 270,000 บาท
ในกลางปี 2556 กกพ.ระบุว่า ราคากิโลวัตต์ละประมาณ 6 หมื่นบาท (ผลิตไฟฟ้าได้ปีละ 1,300 หน่วย) แต่ในเดือนเมษายน 2557 กระทรวงพลังงานบอกว่า มีโครงการจะติดตั้งบนหลังคาวิทยาลัยอาชีวะ 40 แห่งๆ ละ 40 กิโลวัตต์ ราคาแห่งละ 2 ล้านบาท เฉลี่ยราคา 5 หมื่นบาทต่อกิโลวัตต์
ถ้าแต่ละกิโลวัตต์ผลิตไฟฟ้าได้ปีละ 1,300 หน่วยจริง ราคาหน่วยละ 4.00 บาท (คิดเผื่อราคาใหม่ เพราะราคาเฉลี่ยเดือนมีนาคม 57 จำนวน 141 หน่วย ราคาหน่วยละ 3.88 บาท) ถ้าต้นทุน 6 หมื่นบาท จะได้ผลตอบแทนร้อยละ 10.80 ต่อปี
การจะตัดสินใจว่าจะติดเท่าใดก็ขึ้นอยู่กับว่าเราใช้ไฟฟ้าเดือนละเท่าใด และต้องระวังไม่ให้ติดลบด้วย นอกจากนี้ จำนวนวัตต์ที่ได้ต้องสอดคล้องกับตัวเปลี่ยนกระแส (inverter) ด้วย ซึ่งมีหลายขนาด และราคากระโดดไปตามช่วงของขนาดด้วย
ข้อสาม ถาม หลังคาจะรับน้ำหนักไหวไหม
ตอบ เมื่อติดตั้งเสร็จน้ำหนักของระบบประมาณ 17 กิโลกรัมต่อหนึ่งตารางเมตร จึงไม่น่าจะมีปัญหา
ข้อสี่ ถาม การดูแลรักษาแพงไหม และประสิทธิภาพรวมทั้งอายุการใช้งาน
ตอบ เท่าที่ถามจากผู้มีประสบการณ์บอกว่า ถ้าติดบนหลังคาไม่ต้องดูแลอะไรมาก น้ำฝนจะช่วยชะล้างฝุ่นละอองออกไปเอง ประสิทธิภาพการแปลงพลังงานอาจจะลดลงเล็กน้อยเมื่อนานไป สำหรับอายุการใช้งาน 25 ปี ดังนั้น จากข้อสอง จะคุ้มทุนประมาณ 10 ปี (ถ้าลงทุนด้วยเงินสด) ที่เหลืออีก 15 ปีก็ถือว่าได้ฟรี แต่อย่าลืมว่าค่าไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นตลอด ดังนั้น ระยะเวลาคุ้มทุนจึงต้องลดลงมาอีก นี่คิดบนฐานที่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐเลยนะ
ข้อห้า ถาม งั้นภาครัฐไม่ต้องสนับสนุนก็เป็นไปได้แล้วนี่ จะสนับสนุนไปทำไมอีก
ตอบ ไม่ต้องสนับสนุนก็เป็นได้แล้วดังหลักฐานตัวเลขที่ปรากฏ แต่ปัญหาการจัดการไฟฟ้าไม่ได้คิดกันแค่กำไร ขาดทุนเพียงอย่างเดียว ต้องคิดให้เป็นระบบ เช่น ผลกระทบของโรงไฟฟ้าถ่านหินซึ่งทำลายทั้งสุขภาพ และแหล่งทำมาหากินของประชาชนรอบๆโรงไฟฟ้า รวมทั้งผลกระทบของสิ่งแวดล้อมโลกที่เรียกว่าการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วย จากการศึกษาพบว่า ภาคการผลิตไฟฟ้ามีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดในโลก การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงแดดจะช่วยลดภาวะดังกล่าวได้ แต่ถ้าปล่อยให้เป็นไปเอง ไม่มีการสนับสนุน หรือแรงจูงใจไม่มากพอ ปัญหาวิกฤตโลกร้อนก็จะไม่ลดลง ไม่ทันกับวิกฤตที่มากขึ้นซึ่งเห็นได้จากภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ถี่ขึ้นทุกขณะ
แต่การสนับสนุนที่มากเกินไป หรือสนับสนุนเฉพาะกลุ่มของตนเอง หรือกลุ่มที่จ่ายเงินใต้โต๊ะก็ต้องถือว่าเป็นการคอร์รัปชันอีกรูปแบบหนึ่ง
ข้อหก ถาม ช่วยยกตัวอย่างประเทศที่มีการส่งเสริมกันแบบดีๆ ตรงไปตรงมา จนประสบผลสำเร็จให้ดูหน่อย
ตอบ เอาประเทศเยอรมนีก่อนนะ ทั้งๆ ที่มีแดดเข้มน้อยกว่าประเทศไทยมาก ในปี 2546 เยอรมนีผลิตไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์ได้ 313 ล้านหน่วย แต่ภายใต้การส่งเสริมใน 10 ปีต่อมา คือ 2556 เขาสามารถผลิตได้ 29,300 ล้านหน่วย (เพิ่มขึ้น 94 เท่าตัว) ถ้าเทียบกับการใช้ไฟฟ้าในภาคครัวเรือนของคนไทยในปี 2555 ใช้ไฟฟ้าทั้งหมด 36,447 ล้านหน่วย นั่นหมายความว่า ไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์จากเยอรมนีสามารถป้อนครัวเรือนในประเทศไทยได้ถึง 80%
ในตอนแรกๆ เขาอุดหนุนในราคาหน่วยละเกือบ 25 บาท แต่ปัจจุบันราคารับซื้อไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ได้ลดลงมาเหลือไม่กี่บาท เพราะเทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้น คือ ราคาต่ำกว่าที่การไฟฟ้าขายปลีกให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าเสียอีก การไฟฟ้าไม่ได้นำมาขายในราคาขาดทุนนะ เพราะเขาจะคิดค่าสายส่งเข้าไปด้วย สรุปว่าในปัจจุบันปี 2557 ราคารับซื้อไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์หน่วยละ 6.50 บาท โดยที่ราคาไฟฟ้าขายปลีกสำหรับบ้านอยู่อาศัยหน่วยละ 13 บาท คือแม้รับซื้อแพงก็ยังมีกำไรเพราะขายแพงกว่า
ข้อเจ็ด ถาม อะไรคือความแตกต่างที่สำคัญระหว่างการสนับสนุนของไทยกับเยอรมนี
ตอบ ที่ตรงกันข้ามเลยก็คือ ประเทศเยอรมนีไม่มีการจำกัดโควตาหรือจำนวน ใครก็ตามที่ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนได้ให้ป้อนเข้าสู่ระบบสายส่งได้ก่อนโดยไม่จำกัดจำนวน แต่ประเทศไทยเรามีการจำกัดจำนวนที่ 100 เมกะวัตต์สำหรับบ้านอยู่อาศัย ทั้งๆ ที่มีคนอยากจะติดจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้เกษียณอายุที่มีเงินก้อนอยู่บ้าง แต่นำไปฝากธนาคารได้ดอกเบี้ยแค่ร้อยละ 4-5% อาจไม่คุ้มค่าเงินเฟ้อด้วยซ้ำ ถ้ามีโครงการนี้เกิดขึ้นก็ถือเป็นการกระจายรายได้
จากสถิติพบว่า ร้อยละ 51 ของเจ้าของโซลาร์เซลล์ในเยอรมนีคือ เจ้าของบ้าน และชาวนา
ข้อแปด ถาม ประเทศอื่นเป็นอย่างไร
ตอบ ในสหรัฐอเมริกา จากสถิติพบว่าปัจจุบันทุกๆ 4 นาทีจะการติดตั้งโซลาร์เซลล์เพิ่มขึ้นหนึ่งหลัง โดยแนวโน้มจะมากขึ้นกว่านี้อีก คือ อีก 2 ปีจะเพิ่มขึ้นทุกๆ 80 วินาที แม้แต่ในทำเนียบก็เพิ่งติดเมื่อต้นเดือนนี้เอง ระบบที่ส่งเสริมเรียกว่าระบบ Net Metering โดยไม่มีการชดเชย เขาเพิ่งมีระบบใหม่ที่เข้ามาแทนที่ระบบเดิมเมื่อต้นปีนี้ คือ “ระบบคุณค่าของโซลาร์ (Value of Solar)” และเพิ่งใช้เป็นครั้งแรกเมื่อต้นปีนี้ในรัฐมินเนโซตา (Minnesota) ซึ่งอยู่ทางส่วนกลางตอนเหนือสุดของสหรัฐอเมริกา และมีความเข้มของแสงแดดน้อยกว่าประเทศไทยเล็กน้อย
แนวคิดของระบบคุณค่าขึ้นอยู่กับ 4 หลักการสำคัญคือ (1) เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้เชื้อเพลิงสกปรก (2) เพื่อหลีกเลี่ยงความจำเป็นที่จะต้องสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ โดยเฉพาะในช่วงพีก หรือช่วงความต้องการไฟฟ้าสูงสุด (ซึ่งประเทศไทยเกิดขึ้นตอนบ่ายสองโมง) (3) ทำให้ราคาไฟฟ้าคงที่นับ 25 ปี และ (4) ลดการสูญเสียไฟฟ้าในสายส่ง (เพราะผลิตที่ไหนก็ใช้ในบริเวณนั้น) รวมถึงในกระบวนการผลิตในโรงไฟฟ้าซึ่งรวมกันประมาณ 25% ของไฟฟ้าที่ได้ใช้จริง ซึ่งต้นทุนทั้ง 4 ประการเหล่านี้รวมกันประมาณ 14.5 เซ็นต์
ในการคิดค่าไฟฟ้าในระบบ Net Metering เขาจะหักลบกันระหว่างจำนวนหน่วยไฟฟ้าที่ใช้กับจำนวนหน่วยไฟฟ้าที่ผลิตได้ในบ้าน แล้วคิดราคากันตามอัตราคือ 0.115 ดอลลาร์ต่อหน่วย แต่ในระบบ Value of Solar เขาจะคิดราคาอัตราไฟฟ้าที่เจ้าของบ้านผลิตได้ในราคาที่สูงกว่า เช่น 0.145 ดอลาร์ต่อหน่วย แล้วไปคิดมูลค่าของแต่ละส่วนแล้วนำมาหักลบกัน ดังตัวอย่างในรูป (10 เซ็นต์เท่ากับ 3.20 บาท)
ปล. ฝากถึงท่านประธาน คสช. เร่งปฏิรูปนโยบายพลังงานทดแทนให้บูรณาการแบบจริงๆจังเหมือนๆกับ อารยประเทศ ไม่อิงประโยชน์ทางธุรกิจแบบที่ผ่านๆมา ส่วนหนึ่งจะช่วยลดการพึงพาพลังงานต้นทุนนำเข้าด้วย