พพ. เร่ง “รูฟท็อป” แผนยาวแก้ไฟฟ้าพีค
นายอำนวย ทองสถิตย์ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เปิดเผยว่า นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้สั่งการให้ พพ.เร่งศึกษาโครงการติดตั้งโซลาร์เซลล์ผลิตไฟฟ้าบนหลังคาบ้าน (รูฟท็อป) ให้กับประชาชน เพื่อให้ภาคครัวเรือนสามารถผลิตไฟฟ้าใช้ได้เอง โดยเฉพาะในช่วงกลางวันที่ประเทศเกิดการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (พีคไฟฟ้า) ซึ่งภาคครัวเรือนสามารถช่วยลดพีคด้วยการดึงไฟฟ้าที่ผลิตจากรูฟท็อปมาใช้แทนการซื้อไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) อีกทั้งยังสามารถขายไฟฟ้าคืนให้กับ กฟน.หรือ กฟภ.ได้ด้วย โดยคาดว่าโครงการดังกล่าวจะนำร่องในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลก่อน เนื่องจากชาวบ้านที่สนใจติดตั้งรูฟท็อปต้องใช้เงินลงทุนซื้อแผงโซลาร์เซลล์ และติดตั้งระบบประมาณ 2 แสนบาทต่อหลัง ซึ่งมีกำลังการติดตั้งไม่น้อยกว่า 5 กิโลวัตต์ จึงจะครอบคลุมเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปที่มีตามบ้านเรือน อาทิ เครื่องปรับอากาศ พัดลม เตารีด ตู้เย็น และทีวี เป็นต้น
ทั้งนี้ พพ.กำลังจัดทำหลักเกณฑ์การช่วยเหลือทางการเงินแก่ชาวบ้านที่สนใจติดตั้งรูฟท็อป โดยเบื้องต้นมี 2 แนวคิด คือ 1.ให้เงินสนับสนุนส่วนหนึ่งเพียงครั้งเดียว หรือ 2.ให้เงินสนับสนุนเป็นรายปี ประมาณ 20% ของต้นทุนทั้งหมด และเมื่อบ้านหลังใดผลิตไฟฟ้าขายเข้าระบบได้แล้วจะต้องนำรายได้ส่วนหนึ่งจ่าย คืนกองทุนเพื่อการอนุรักษ์พลังงานทุกเดือน เพื่อนำกองทุนฯ ดังกล่าวไปสนับสนุนชาวบ้านรายอื่นๆ ต่อไป นอกจากจะกำหนดหลักเกณฑ์ด้านเงินช่วยเหลือแล้ว พพ.เตรียมกำหนดหลักเกณฑ์คุณสมบัติของเทคโนโลยีรวมถึงรูปแบบเซลล์แสงอาทิตย์ให้กับผู้ใช้ และหลักเกณฑ์การนำไปใช้ลดหย่อนภาษีด้วย คาดว่าจะออกหลักเกณฑ์ได้ภายในปี 2556 และเริ่มของบประมาณกองทุนเพื่อการอนุรักษ์พลังงานและเปิดโครงการได้ในปี 2557
“โครงการรูฟท็อป เป็นโครงการภาคสมัครใจ ซึ่งประชาชนต้องมีความพร้อมด้านการเงิน เพราะต้องใช้เงินลงทุนกว่า 2 แสนบาทต่อหลัง ดังนั้น พพ.จะเข้าไปช่วยสนับสนุนเงินส่วนหนึ่งเบื้องต้นคาดว่าประมาณ 4 หมื่นบาทต่อหลัง ในการติดตั้งรูฟท็อป ทั้งนี้ พพ.อยากให้รูฟท็อปเป็นเสมือนเฟอร์นิเจอร์ชิ้นหนึ่งของบ้าน แม้จะมีราคาแพงแต่ก็คุ้มค่าในอนาคต”
นายอำนวย กล่าวว่า สำหรับโครงการติดตั้งโซลาร์โฮมของ กฟภ. ที่แจกจ่ายให้กับชาวบ้านต่างจังหวัดกว่า 1 แสนเครื่อง ตั้งแต่ 10 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้งานไม่ได้แล้ว เพราะเป็นโครงการที่แจกจ่ายให้ประชาชน โดยไม่มีระบบติดตามดูแลรักษาต่อเนื่อง ปัจจุบันอุปกรณ์แบตเตอรี่เสียหาย รวมทั้งปริมาณไฟฟ้าที่มีขนาด 120 วัตต์ ไม่เพียงพอต่อการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้า ทำให้โซล่าร์โฮมพังเสียหาย ทั้งนี้พพ.ได้หารือกับ กฟภ. เพื่อเตรียมนำแผงโซลาร์โฮมดังกล่าวกลับมารวมเป็นแผงที่ใหญ่ขึ้นและซ่อมแซม สำหรับแจกจ่ายให้กับโรงเรียนต่างจังหวัด หรือสถานที่บริการสาธารณะต่อไป
อย่างไรก็ตาม สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ยังขอความร่วมมือ พพ.ช่วยเข้ามาดูแลแผงโซลาร์เซลล์ในโครงการศึกษาวิจัยของ สวทช. ที่ไปติดตั้งให้กับสถาบันการศึกษากว่า 30 เครื่อง กำลังการผลิต 1.5 กิโลวัตต์ต่อเครื่อง มีความเสียหายมาก
Cr.: www.banmuang.co.th
อยากถามว่า แล้วบริษัทไหนมีความสามารถให้บริการติดตั้งแบบ นี้ได้บ้าง ?
Solar Roof
นายอำนวย ทองสถิตย์ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เปิดเผยว่า นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้สั่งการให้ พพ.เร่งศึกษาโครงการติดตั้งโซลาร์เซลล์ผลิตไฟฟ้าบนหลังคาบ้าน (รูฟท็อป) ให้กับประชาชน เพื่อให้ภาคครัวเรือนสามารถผลิตไฟฟ้าใช้ได้เอง โดยเฉพาะในช่วงกลางวันที่ประเทศเกิดการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (พีคไฟฟ้า) ซึ่งภาคครัวเรือนสามารถช่วยลดพีคด้วยการดึงไฟฟ้าที่ผลิตจากรูฟท็อปมาใช้แทนการซื้อไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) อีกทั้งยังสามารถขายไฟฟ้าคืนให้กับ กฟน.หรือ กฟภ.ได้ด้วย โดยคาดว่าโครงการดังกล่าวจะนำร่องในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลก่อน เนื่องจากชาวบ้านที่สนใจติดตั้งรูฟท็อปต้องใช้เงินลงทุนซื้อแผงโซลาร์เซลล์ และติดตั้งระบบประมาณ 2 แสนบาทต่อหลัง ซึ่งมีกำลังการติดตั้งไม่น้อยกว่า 5 กิโลวัตต์ จึงจะครอบคลุมเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปที่มีตามบ้านเรือน อาทิ เครื่องปรับอากาศ พัดลม เตารีด ตู้เย็น และทีวี เป็นต้น
ทั้งนี้ พพ.กำลังจัดทำหลักเกณฑ์การช่วยเหลือทางการเงินแก่ชาวบ้านที่สนใจติดตั้งรูฟท็อป โดยเบื้องต้นมี 2 แนวคิด คือ 1.ให้เงินสนับสนุนส่วนหนึ่งเพียงครั้งเดียว หรือ 2.ให้เงินสนับสนุนเป็นรายปี ประมาณ 20% ของต้นทุนทั้งหมด และเมื่อบ้านหลังใดผลิตไฟฟ้าขายเข้าระบบได้แล้วจะต้องนำรายได้ส่วนหนึ่งจ่าย คืนกองทุนเพื่อการอนุรักษ์พลังงานทุกเดือน เพื่อนำกองทุนฯ ดังกล่าวไปสนับสนุนชาวบ้านรายอื่นๆ ต่อไป นอกจากจะกำหนดหลักเกณฑ์ด้านเงินช่วยเหลือแล้ว พพ.เตรียมกำหนดหลักเกณฑ์คุณสมบัติของเทคโนโลยีรวมถึงรูปแบบเซลล์แสงอาทิตย์ให้กับผู้ใช้ และหลักเกณฑ์การนำไปใช้ลดหย่อนภาษีด้วย คาดว่าจะออกหลักเกณฑ์ได้ภายในปี 2556 และเริ่มของบประมาณกองทุนเพื่อการอนุรักษ์พลังงานและเปิดโครงการได้ในปี 2557
“โครงการรูฟท็อป เป็นโครงการภาคสมัครใจ ซึ่งประชาชนต้องมีความพร้อมด้านการเงิน เพราะต้องใช้เงินลงทุนกว่า 2 แสนบาทต่อหลัง ดังนั้น พพ.จะเข้าไปช่วยสนับสนุนเงินส่วนหนึ่งเบื้องต้นคาดว่าประมาณ 4 หมื่นบาทต่อหลัง ในการติดตั้งรูฟท็อป ทั้งนี้ พพ.อยากให้รูฟท็อปเป็นเสมือนเฟอร์นิเจอร์ชิ้นหนึ่งของบ้าน แม้จะมีราคาแพงแต่ก็คุ้มค่าในอนาคต”
นายอำนวย กล่าวว่า สำหรับโครงการติดตั้งโซลาร์โฮมของ กฟภ. ที่แจกจ่ายให้กับชาวบ้านต่างจังหวัดกว่า 1 แสนเครื่อง ตั้งแต่ 10 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้งานไม่ได้แล้ว เพราะเป็นโครงการที่แจกจ่ายให้ประชาชน โดยไม่มีระบบติดตามดูแลรักษาต่อเนื่อง ปัจจุบันอุปกรณ์แบตเตอรี่เสียหาย รวมทั้งปริมาณไฟฟ้าที่มีขนาด 120 วัตต์ ไม่เพียงพอต่อการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้า ทำให้โซล่าร์โฮมพังเสียหาย ทั้งนี้พพ.ได้หารือกับ กฟภ. เพื่อเตรียมนำแผงโซลาร์โฮมดังกล่าวกลับมารวมเป็นแผงที่ใหญ่ขึ้นและซ่อมแซม สำหรับแจกจ่ายให้กับโรงเรียนต่างจังหวัด หรือสถานที่บริการสาธารณะต่อไป
อย่างไรก็ตาม สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ยังขอความร่วมมือ พพ.ช่วยเข้ามาดูแลแผงโซลาร์เซลล์ในโครงการศึกษาวิจัยของ สวทช. ที่ไปติดตั้งให้กับสถาบันการศึกษากว่า 30 เครื่อง กำลังการผลิต 1.5 กิโลวัตต์ต่อเครื่อง มีความเสียหายมาก
Cr.: www.banmuang.co.th
อยากถามว่า แล้วบริษัทไหนมีความสามารถให้บริการติดตั้งแบบ นี้ได้บ้าง ?