(บางส่วน)
[๒๔๐] ครั้งนั้น โดยล่วงราตรีนั้นแล้ว
พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อคืนนี้
เทวบุตรนามว่าตายนะ ผู้เป็นเจ้าลัทธิ ยังเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างเข้ามาหาเราถึงที่อยู่
ครั้นแล้ว ก็อภิวาทเราแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ตายนเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว
ได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ในสำนักของเราว่า
ท่านจงพยายามตัดกระแสตัณหา จงบรรเทากามเสียเถิดพราหมณ์ มุนีไม่ละกาม ย่อมไม่เข้าถึงความที่จิตแน่วแน่ได้ ฯ
ถ้าบุคคลจะพึงทำความเพียร พึงทำความเพียรนั้นจริง ๆ พึงบากบั่นทำความเพียรนั้นให้มั่น
เพราะว่าการบรรพชาที่ปฏิบัติย่อหย่อน ยิ่งเรี่ยรายโทษดุจธุลี ฯ
ความชั่ว ไม่ทำเสียเลยประเสริฐกว่า ความชั่วย่อมเผาผลาญในภายหลัง ฯ
ก็กรรมใดทำแล้วไม่เดือดร้อนในภายหลัง กรรมนั้นเป็นความดี ทำแล้วประเสริฐกว่า
หญ้าคาอันบุคคลจับไม่ดี ย่อมบาดมือนั่นเอง ฉันใด ฯ
ความเป็นสมณะ อันบุคคลปฏิบัติไม่ดี ย่อมฉุดเข้าไปเพื่อเกิดในนรก ฉันนั้น ฯ
กรรมอันย่อหย่อนอย่างใดอย่างหนึ่ง วัตรอันใดที่เศร้าหมอง และพรหมจรรย์ที่น่ารังเกียจ ทั้งสามอย่างนั้น ไม่มีผลมาก ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ตายนเทวบุตรครั้นได้กล่าวดังนี้แล้ว ก็อภิวาทเรา ทำประทักษิณแล้วอันตรธานไปในที่นั้นเอง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลาย จงศึกษา จงเล่าเรียน จงทรงจำตายนคาถาไว้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ตายนคาถา ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ฯ
------------------
ตายนสูตรที่ ๘
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๑๕๐๕ - ๑๕๕๒. หน้าที่ ๖๘ - ๗๐.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=15&A=1505&Z=1552&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=238
เธอทั้งหลาย จงศึกษา จงเล่าเรียน จงทรงจำตายนคาถาไว้
[๒๔๐] ครั้งนั้น โดยล่วงราตรีนั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อคืนนี้ เทวบุตรนามว่าตายนะ ผู้เป็นเจ้าลัทธิ ยังเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างเข้ามาหาเราถึงที่อยู่
ครั้นแล้ว ก็อภิวาทเราแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ตายนเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว
ได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ในสำนักของเราว่า
ท่านจงพยายามตัดกระแสตัณหา จงบรรเทากามเสียเถิดพราหมณ์ มุนีไม่ละกาม ย่อมไม่เข้าถึงความที่จิตแน่วแน่ได้ ฯ
ถ้าบุคคลจะพึงทำความเพียร พึงทำความเพียรนั้นจริง ๆ พึงบากบั่นทำความเพียรนั้นให้มั่น
เพราะว่าการบรรพชาที่ปฏิบัติย่อหย่อน ยิ่งเรี่ยรายโทษดุจธุลี ฯ
ความชั่ว ไม่ทำเสียเลยประเสริฐกว่า ความชั่วย่อมเผาผลาญในภายหลัง ฯ
ก็กรรมใดทำแล้วไม่เดือดร้อนในภายหลัง กรรมนั้นเป็นความดี ทำแล้วประเสริฐกว่า
หญ้าคาอันบุคคลจับไม่ดี ย่อมบาดมือนั่นเอง ฉันใด ฯ
ความเป็นสมณะ อันบุคคลปฏิบัติไม่ดี ย่อมฉุดเข้าไปเพื่อเกิดในนรก ฉันนั้น ฯ
กรรมอันย่อหย่อนอย่างใดอย่างหนึ่ง วัตรอันใดที่เศร้าหมอง และพรหมจรรย์ที่น่ารังเกียจ ทั้งสามอย่างนั้น ไม่มีผลมาก ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ตายนเทวบุตรครั้นได้กล่าวดังนี้แล้ว ก็อภิวาทเรา ทำประทักษิณแล้วอันตรธานไปในที่นั้นเอง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลาย จงศึกษา จงเล่าเรียน จงทรงจำตายนคาถาไว้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ตายนคาถา ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ฯ
------------------
ตายนสูตรที่ ๘
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๑๕๐๕ - ๑๕๕๒. หน้าที่ ๖๘ - ๗๐.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=15&A=1505&Z=1552&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=238