การส่งเสียงดังถือเป็นความผิดตามกฏหมาย (ทั้งกลางวันและกลางคืน)
ที่มา
http://www.prakard.com/default.aspx?g=posts&t=182008
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข
หมวด 5
เหตุรำคาญ
มาตรา 25 ในกรณีที่มีเหตุอันอาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงหรือผู้ที่ต้องประสบกับเหตุนั้นดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นเหตุรำคาญ
(1) แหล่งน้ำ ทางระบายน้ำ ที่อาบน้ำ ส้วม หรือที่ใส่มูลหรือเถ้า หรือสถานที่อื่นใดซึ่งอยู่ในทำเลไม่เหมาะสม สกปรก มีการสะสมหรือหมักหมมสิ่งของ มีการเททิ้งสิ่งใดเป็นเหตุให้มีกลิ่นเหม็นหรือละอองสารเป็นพิษ หรือเป็นหรือน่าจะเป็นที่เพาะพันธุ์พาหะนำโรค หรือก่อให้เกิดความเสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(2) การเลี้ยง
ในที่หรือโดยวิธีใด หรือมีจำนวนเกินสมควรจนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(3) อาคารอันเป็นที่อยู่ของคนหรือ
โรงงานหรือสถานที่ประกอบการใดไม่มีการระบายอากาศ การระบายน้ำ การกำจัดสิ่งปฏิกูล หรือการควบคุมสารเป็นพิษหรือมีแต่ไม่มีการควบคุมให้ปราศจากกลิ่นเหม็นหรือละอองสารเป็นพิษอย่างพอเพียงจนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(4) การกระทำใด ๆ อันเป็นเหตุให้เกิดกลิ่น แสง รังสี เสียง ความร้อน สิ่งมีพิษ ความสั่นสะเทือน ฝุ่น ละออง เขม่า เถ้า หรือกรณีอื่นใด จนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ(5) เหตุอื่นใดที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 26 ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจห้ามผู้หนึ่งผู้ใดมิให้ก่อเหตุรำคาญในที่หรือทางสาธารณะหรือสถานที่เอกชนรวมทั้งการระงับเหตุรำคาญด้วย ตลอดทั้งการดูแล ปรับปรุง บำรุงรักษา บรรดาถนน ทางบก ทางน้ำ รางระบายน้ำ คู คลอง และสถานที่ต่าง ๆ ในเขตของตนให้ปราศจากเหตุรำคาญ ในการนี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือเพื่อระงับ กำจัดและควบคุมเหตุรำคาญต่าง ๆ ได้
มาตรา 27 ในกรณีที่มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นในที่หรือทางสาธารณะให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้บุคคลซึ่งเป็นต้นเหตุหรือเกี่ยวข้องกับการก่อหรืออาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญนั้น ระงับหรือป้องกันเหตุรำคาญภายในเวลาอันสมควรตามที่ระบุไว้ในคำสั่ง และถ้าเห็นสมควรจะให้กระทำโดยวิธีใดเพื่อระงับหรือป้องกันเหตุรำคาญนั้น หรือสมควรกำหนดวิธีการเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นอีกในอนาคต ให้ระบุไว้ในคำสั่งได้(คอนโดเราถึงมีกฏระเบียบการส่งเสียงดังงัยคะ)
ในกรณีที่ปรากฏแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าไม่มีการปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามวรรคหนึ่ง และเหตุรำคาญที่เกิดขึ้นอาจเกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นระงับเหตุรำคาญนั้น และอาจจัดการตามความจำเป็นเพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุรำคาญนั้นขึ้นอีกโดยบุคคลซึ่งเป็นต้นเหตุหรือเกี่ยวข้องกับการก่อหรืออาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดการนั้น
มาตรา 28 ในกรณีที่มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นในสถานที่เอกชน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่นั้นระงับเหตุรำคาญภายในเวลาอันสมควรตามที่ระบุไว้ในคำสั่ง และถ้าเห็นว่าสมควรจะให้กระทำโดยวิธีใดเพื่อระงับเหตุรำคาญนั้น หรือสมควรกำหนดวิธีการเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นในอนาคตให้ระบุไว้ในคำสั่งได้(ตามกฏระเบียบคอนโดเราก็มีระบุข้อห้ามไว้)
ในกรณีที่ไม่มีการปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามวรรคหนึ่งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจระงับเหตุรำคาญนั้นและอาจจัดการตามความจำเป็นเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นอีก และถ้าเหตุรำคาญเกิดขึ้นจากการกระทำ การละเลย หรือการยินยอมของเจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่นั้น เจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่ดังกล่าวต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการนั้นในกรณีที่ปรากฏแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าเหตุรำคาญที่เกิดขึ้นในสถานที่เอกชนอาจเกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะออกคำสั่งเป็นหนังสือห้ามมิให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองใช้หรือยินยอมให้บุคคลใดใช้สถานที่นั้นทั้งหมดหรือบางส่วน จนกว่าจะเป็นที่พอใจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าได้มีการระงับเหตุรำคาญนั้นแล้วก็ได้
มีอีกมาตราหนึ่งแต่ปรับจนไม่น่าจะทำให้เข็ดได้ เอาเงินฟาดหัวไปก็เรียบร้อยแค่ร้อยเดียว
มาตรา 370 ผู้ใดส่งเสียง ทำให้เกิดเสียงหรือกระทำความอื้ออึง
โดยไม่มีเหตุอันสมควร จนทำให้ประชาชนตกใจหรือเดือดร้อน ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท
คำถามแรก ตำรวจดำเนินการเองไม่ได้หรือ? เช่นมาตรา370 ก็ปรับมันเข้าไป
ทีนี้เมื่อกฏหมายนี้ใช้ไม่ได้ผล คำแนะนำส่วนใหญ่ก็มีแต่ทนกับทน หรือย้ายบ้านหนี ซึ่งฟังดูแล้วมันยุติธรรมหรือ คนบางคนไม่ได้โดนแบบนี้ อาจไม่รู้ หรือคนบางคนอาจมีพฤติกรรมมก่อความรำคาญไม่ว่าจะรูปแบบใด ถามว่ามันใช่หน้าที่หรือ ถ้าแค่นี้ไม่เอากฏหมายมาเป็นข้อบังคับ ปฏิบัติตาม แล้วอย่างนี้จะอยู่กันอย่างสันติได้ยังไง สิทธิส่วนบุคคลก็ไม่จำเป็นต้องอ้างขึ้นมาอีก ถ้ามันบอกว่า"ก็บ้านกู สิทธิของกู" แล้วถามมันว่า สิทธินั้นมันทำให้คนอื่นเดือดร้อน แล้วใช้คำ"ก็บ้านกู สิทธิของกู" อย่างนี้ อย่างนี้มันสมควรหรือ แล้วมาตรานี้ล่ะ จะอธิบายอย่างไรถ้าทุกคนมันอ้างอย่างนั้น
มาตรา 421 การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้น ท่านว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย
ทุกคนเอาแต่วางเฉยต่อกฏหมายนี้ ถ้าเป็นแบบนี้ กฏหมายที่ผมยกขึ้นมา ยุบทิ้งไปดีกว่าออกมาทำซากอะไร กฏหมายอะไรที่ใช้การไม่ได้ก็ควรโละทิ้งไปซะ
ข้อเสียของกฏหมายพวกนี้คือ
1.ก่อความรำคาญได้เรื่อยๆ เพราะค่าปรับมันน้อย จำคุกก็ประกันตัวได้
2.มันเบาจนไม่รู้สิทธิส่วนบุคคลที่แท้จริงของประชาธิปไตย
3.เป็นเรื่องที่แก้ไขไม่ได้
4.ทำให้เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องละเลย หรือเมินต่อคำร้องเรียน
สังคมเราต้องทนอยู่อย่างนี้จริงๆใช่ไหม ต้องเฉยจนเป็นโรคประสาทไปเลยหรือ มองในแง่มนุษย์ธรรมแล้ว ถ้ามนุษย์เรามันแตะนิดแตะหน่อยด้วยกฏหมายไม่ได้ ก็ไม่ต้องมีกฏหมาย ความจริงแล้วกฏหมายเมื่อออกมา ถ้าทำผิดมันก็ต้องได้รับโทษตามกฏหมาย ทุกคนต้องทำตามไม่ใช่หรือ เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานไม่มีสิทธิ์เอาหูไปนาเอาตาไปไร่ แต่ทำไมทุกคนกลับเห็นเป็นเรื่องเล็กน้อยจนกฏหมายนี้ไม่มีความสำคัญอะไรเลย ไม่น่ากลัวแม้แต่น้อย
ถ้าเสนอข้อกฏหมายต่อ ค.ส.ช.ได้นะ ควรเพิ่มบทลงโทษคือค่าปรับ เช่นจาก 100฿ ทำอีก ก็ 1000฿ ทำอีกก็ 10000 ฿ เพิ่มต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเข็ด
ใครว่าโหดร้ายละก็ ผมว่ามันเบาครับ เพราะไม่ใช่เรื่องที่จะเอาชีวิต
ฝากถึงผู้ก่อความรำคาญ หรือ เดือดร้อน แก่ผู้อื่นทุกกรณีด้วยนะครับ มีสามัญสำนึกซะบ้าง อย่าคิดว่าตัวเองมีอำนาจเหนือคนทั้งโลกแล้วจะเที่ยวก่อความเกือดร้อนได้ อะไรที่มันละเมิดสิทธิของผู้อื่น ก็หยุดทำซะ แล้วขอร้องคนไทยทุกท่าน อย่าทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ในข้อนี้ ถ้าแค่นี้ยังทำตามกฏหมายไม่ได้ ยังดิ้นเป็นน้ำร้อนลวกก้น ก็ไปชุมนุมให้ยุบกฏปัญญาอ่อนนี่ไปซะ กฏหมายที่สร้างความหวังเหมือนปลากระดี่ได้น้ำแบบนี้ มันทำให้คนเดือดร้อนช้ำใจครับ
และพวกที่ก่อความรำคาญเดือดร้อนทั้งหลาย จงรู้ไว้เถอะมันไม่ใช่หน้าที่อะไรที่คนอย่างพวกเราต้องทน ถ้าโดนละเมิดสิทธิ์บ้างพวกคุณก็ดิ้นเหมือนกัน กฏหมายปกป้องพวกคุณมากเกินไปด้วยซ้ำ แต่กฏหมายบางกฏช่วยคนเดือดร้อนไม่ได้ไม่ได้
ป.ล. เลือกเอาละกัน เจ้าหน้าที่จะปรับปรุงตัวหรือ ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้
ป.ป.ล. มาตราที่ผมยกมา จะปรับปรุง หรือจะยุบ
กฎหมายนี้ ตำรวจทำได้แค่ตักเตือนผู้ก่อความรำคาญเท่านั้นหรือ?
ที่มา http://www.prakard.com/default.aspx?g=posts&t=182008
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข
หมวด 5
เหตุรำคาญ
มาตรา 25 ในกรณีที่มีเหตุอันอาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงหรือผู้ที่ต้องประสบกับเหตุนั้นดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นเหตุรำคาญ
(1) แหล่งน้ำ ทางระบายน้ำ ที่อาบน้ำ ส้วม หรือที่ใส่มูลหรือเถ้า หรือสถานที่อื่นใดซึ่งอยู่ในทำเลไม่เหมาะสม สกปรก มีการสะสมหรือหมักหมมสิ่งของ มีการเททิ้งสิ่งใดเป็นเหตุให้มีกลิ่นเหม็นหรือละอองสารเป็นพิษ หรือเป็นหรือน่าจะเป็นที่เพาะพันธุ์พาหะนำโรค หรือก่อให้เกิดความเสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(2) การเลี้ยงในที่หรือโดยวิธีใด หรือมีจำนวนเกินสมควรจนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(3) อาคารอันเป็นที่อยู่ของคนหรือ โรงงานหรือสถานที่ประกอบการใดไม่มีการระบายอากาศ การระบายน้ำ การกำจัดสิ่งปฏิกูล หรือการควบคุมสารเป็นพิษหรือมีแต่ไม่มีการควบคุมให้ปราศจากกลิ่นเหม็นหรือละอองสารเป็นพิษอย่างพอเพียงจนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(4) การกระทำใด ๆ อันเป็นเหตุให้เกิดกลิ่น แสง รังสี เสียง ความร้อน สิ่งมีพิษ ความสั่นสะเทือน ฝุ่น ละออง เขม่า เถ้า หรือกรณีอื่นใด จนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ(5) เหตุอื่นใดที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 26 ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจห้ามผู้หนึ่งผู้ใดมิให้ก่อเหตุรำคาญในที่หรือทางสาธารณะหรือสถานที่เอกชนรวมทั้งการระงับเหตุรำคาญด้วย ตลอดทั้งการดูแล ปรับปรุง บำรุงรักษา บรรดาถนน ทางบก ทางน้ำ รางระบายน้ำ คู คลอง และสถานที่ต่าง ๆ ในเขตของตนให้ปราศจากเหตุรำคาญ ในการนี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือเพื่อระงับ กำจัดและควบคุมเหตุรำคาญต่าง ๆ ได้
มาตรา 27 ในกรณีที่มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นในที่หรือทางสาธารณะให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้บุคคลซึ่งเป็นต้นเหตุหรือเกี่ยวข้องกับการก่อหรืออาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญนั้น ระงับหรือป้องกันเหตุรำคาญภายในเวลาอันสมควรตามที่ระบุไว้ในคำสั่ง และถ้าเห็นสมควรจะให้กระทำโดยวิธีใดเพื่อระงับหรือป้องกันเหตุรำคาญนั้น หรือสมควรกำหนดวิธีการเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นอีกในอนาคต ให้ระบุไว้ในคำสั่งได้(คอนโดเราถึงมีกฏระเบียบการส่งเสียงดังงัยคะ)
ในกรณีที่ปรากฏแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าไม่มีการปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามวรรคหนึ่ง และเหตุรำคาญที่เกิดขึ้นอาจเกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นระงับเหตุรำคาญนั้น และอาจจัดการตามความจำเป็นเพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุรำคาญนั้นขึ้นอีกโดยบุคคลซึ่งเป็นต้นเหตุหรือเกี่ยวข้องกับการก่อหรืออาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดการนั้น
มาตรา 28 ในกรณีที่มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นในสถานที่เอกชน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่นั้นระงับเหตุรำคาญภายในเวลาอันสมควรตามที่ระบุไว้ในคำสั่ง และถ้าเห็นว่าสมควรจะให้กระทำโดยวิธีใดเพื่อระงับเหตุรำคาญนั้น หรือสมควรกำหนดวิธีการเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นในอนาคตให้ระบุไว้ในคำสั่งได้(ตามกฏระเบียบคอนโดเราก็มีระบุข้อห้ามไว้)
ในกรณีที่ไม่มีการปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามวรรคหนึ่งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจระงับเหตุรำคาญนั้นและอาจจัดการตามความจำเป็นเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นอีก และถ้าเหตุรำคาญเกิดขึ้นจากการกระทำ การละเลย หรือการยินยอมของเจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่นั้น เจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่ดังกล่าวต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการนั้นในกรณีที่ปรากฏแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าเหตุรำคาญที่เกิดขึ้นในสถานที่เอกชนอาจเกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะออกคำสั่งเป็นหนังสือห้ามมิให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองใช้หรือยินยอมให้บุคคลใดใช้สถานที่นั้นทั้งหมดหรือบางส่วน จนกว่าจะเป็นที่พอใจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าได้มีการระงับเหตุรำคาญนั้นแล้วก็ได้
มีอีกมาตราหนึ่งแต่ปรับจนไม่น่าจะทำให้เข็ดได้ เอาเงินฟาดหัวไปก็เรียบร้อยแค่ร้อยเดียว
มาตรา 370 ผู้ใดส่งเสียง ทำให้เกิดเสียงหรือกระทำความอื้ออึง โดยไม่มีเหตุอันสมควร จนทำให้ประชาชนตกใจหรือเดือดร้อน ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท
คำถามแรก ตำรวจดำเนินการเองไม่ได้หรือ? เช่นมาตรา370 ก็ปรับมันเข้าไป
ทีนี้เมื่อกฏหมายนี้ใช้ไม่ได้ผล คำแนะนำส่วนใหญ่ก็มีแต่ทนกับทน หรือย้ายบ้านหนี ซึ่งฟังดูแล้วมันยุติธรรมหรือ คนบางคนไม่ได้โดนแบบนี้ อาจไม่รู้ หรือคนบางคนอาจมีพฤติกรรมมก่อความรำคาญไม่ว่าจะรูปแบบใด ถามว่ามันใช่หน้าที่หรือ ถ้าแค่นี้ไม่เอากฏหมายมาเป็นข้อบังคับ ปฏิบัติตาม แล้วอย่างนี้จะอยู่กันอย่างสันติได้ยังไง สิทธิส่วนบุคคลก็ไม่จำเป็นต้องอ้างขึ้นมาอีก ถ้ามันบอกว่า"ก็บ้านกู สิทธิของกู" แล้วถามมันว่า สิทธินั้นมันทำให้คนอื่นเดือดร้อน แล้วใช้คำ"ก็บ้านกู สิทธิของกู" อย่างนี้ อย่างนี้มันสมควรหรือ แล้วมาตรานี้ล่ะ จะอธิบายอย่างไรถ้าทุกคนมันอ้างอย่างนั้น
มาตรา 421 การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้น ท่านว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย
ทุกคนเอาแต่วางเฉยต่อกฏหมายนี้ ถ้าเป็นแบบนี้ กฏหมายที่ผมยกขึ้นมา ยุบทิ้งไปดีกว่าออกมาทำซากอะไร กฏหมายอะไรที่ใช้การไม่ได้ก็ควรโละทิ้งไปซะ
ข้อเสียของกฏหมายพวกนี้คือ
1.ก่อความรำคาญได้เรื่อยๆ เพราะค่าปรับมันน้อย จำคุกก็ประกันตัวได้
2.มันเบาจนไม่รู้สิทธิส่วนบุคคลที่แท้จริงของประชาธิปไตย
3.เป็นเรื่องที่แก้ไขไม่ได้
4.ทำให้เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องละเลย หรือเมินต่อคำร้องเรียน
สังคมเราต้องทนอยู่อย่างนี้จริงๆใช่ไหม ต้องเฉยจนเป็นโรคประสาทไปเลยหรือ มองในแง่มนุษย์ธรรมแล้ว ถ้ามนุษย์เรามันแตะนิดแตะหน่อยด้วยกฏหมายไม่ได้ ก็ไม่ต้องมีกฏหมาย ความจริงแล้วกฏหมายเมื่อออกมา ถ้าทำผิดมันก็ต้องได้รับโทษตามกฏหมาย ทุกคนต้องทำตามไม่ใช่หรือ เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานไม่มีสิทธิ์เอาหูไปนาเอาตาไปไร่ แต่ทำไมทุกคนกลับเห็นเป็นเรื่องเล็กน้อยจนกฏหมายนี้ไม่มีความสำคัญอะไรเลย ไม่น่ากลัวแม้แต่น้อย
ถ้าเสนอข้อกฏหมายต่อ ค.ส.ช.ได้นะ ควรเพิ่มบทลงโทษคือค่าปรับ เช่นจาก 100฿ ทำอีก ก็ 1000฿ ทำอีกก็ 10000 ฿ เพิ่มต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเข็ด
ใครว่าโหดร้ายละก็ ผมว่ามันเบาครับ เพราะไม่ใช่เรื่องที่จะเอาชีวิต
ฝากถึงผู้ก่อความรำคาญ หรือ เดือดร้อน แก่ผู้อื่นทุกกรณีด้วยนะครับ มีสามัญสำนึกซะบ้าง อย่าคิดว่าตัวเองมีอำนาจเหนือคนทั้งโลกแล้วจะเที่ยวก่อความเกือดร้อนได้ อะไรที่มันละเมิดสิทธิของผู้อื่น ก็หยุดทำซะ แล้วขอร้องคนไทยทุกท่าน อย่าทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ในข้อนี้ ถ้าแค่นี้ยังทำตามกฏหมายไม่ได้ ยังดิ้นเป็นน้ำร้อนลวกก้น ก็ไปชุมนุมให้ยุบกฏปัญญาอ่อนนี่ไปซะ กฏหมายที่สร้างความหวังเหมือนปลากระดี่ได้น้ำแบบนี้ มันทำให้คนเดือดร้อนช้ำใจครับ
และพวกที่ก่อความรำคาญเดือดร้อนทั้งหลาย จงรู้ไว้เถอะมันไม่ใช่หน้าที่อะไรที่คนอย่างพวกเราต้องทน ถ้าโดนละเมิดสิทธิ์บ้างพวกคุณก็ดิ้นเหมือนกัน กฏหมายปกป้องพวกคุณมากเกินไปด้วยซ้ำ แต่กฏหมายบางกฏช่วยคนเดือดร้อนไม่ได้ไม่ได้
ป.ล. เลือกเอาละกัน เจ้าหน้าที่จะปรับปรุงตัวหรือ ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้
ป.ป.ล. มาตราที่ผมยกมา จะปรับปรุง หรือจะยุบ