สื่อนอกระบุไทยเป็นประเทศเดียว คัดค้านสนธิสัญญาด้านแรงงานฉบับใหม่ ของหน่วยงานย่อยภายใต้ยูเอ็น ซึ่งมีเป้าหมายหยุดยั้งการใช้แรงงานผิดกฎหมาย...
เมื่อวันที่ 13 มิ.ย. สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า วันที่ 11 มิ.ย. รัฐบาลไทยออกเสียงคัดค้านสนธิสัญญาใหม่ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอโอเอล) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้การดูแลของสหประชาชาติ ในการประชุมประจำปีขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่ออกเสียงคัดค้านสนธิสัญญาใหม่ฉบับนี้
ทั้งนี้ สนธิสัญญาใหม่ของไอโอแอลดังกล่าว ที่บรรลุข้อตกลง จากการประชุมใหญ่ประจำปีระดับรัฐมนตรีของไอโอแอล ระบุว่า ผู้กระทำผิดฐานบังคับใช้แรงงานผิดกฎหมาย ราว 21 ล้านคนทั่วโลก จะถูกลงโทษในประเทศส่วนใหญ่ กว่าครึ่งของเหยื่อประมาณ 21 ล้านคน ที่ถูกบังคับให้ใช้แรงงาน เป็นผู้หญิงและเด็กหญิง ซึ่งผู้บังคับใช้แรงงานได้รับผลกำไรอย่างผิดกฎหมาย ประเมินมูลค่าได้ 150,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในภาคการเกษตร การประมง ธุรกิจเหมืองแร่ การก่อสร้าง คนใช้ในครัวเรือน และอุตสาหกรรมขายบริการทางเพศ
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานต่อไปว่า สนธิสัญญาฉบับใหม่นี่ เป็นพิธีสารต่อท้าย อนุสัญญาบังคับใช้แรงงานปี พ.ศ. 2473 ของ ไอแอลโอ มีเป้าหมายเพื่อหยุดยั้งการใช้แรงงานผิดกฎหมาย โดยกำหนดให้รัฐบาลประเทศต่างๆ ที่ร่วมตกลงและให้สัตยาบัน ระบุและเปิดเผยตัวตนผู้ตกเป็นเหยื่อ รวมทั้งรับประกันว่าเหยื่อจะได้รับค่าชดเชย และผู้กระทำผิดต้องได้รับการลงโทษ
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าไทยจะเป็นประเทศเดียวที่ออกเสียงคัดค้าน กลุ่มประเทศอาหรับที่ไม่เห็นด้วยกับการใช้สนธิสัญญาใหม่ เช่น บาห์เรน บรูไน อิหร่าน คูเวต โอมาน กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย ได้งดออกเสียงเพื่อแสดงการคัดค้านเช่นกัน.
สื่อนอกระบุไทยเป็นประเทศเดียว คัดค้านสนธิสัญญาด้านแรงงานฉบับใหม่
เมื่อวันที่ 13 มิ.ย. สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า วันที่ 11 มิ.ย. รัฐบาลไทยออกเสียงคัดค้านสนธิสัญญาใหม่ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอโอเอล) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้การดูแลของสหประชาชาติ ในการประชุมประจำปีขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่ออกเสียงคัดค้านสนธิสัญญาใหม่ฉบับนี้
ทั้งนี้ สนธิสัญญาใหม่ของไอโอแอลดังกล่าว ที่บรรลุข้อตกลง จากการประชุมใหญ่ประจำปีระดับรัฐมนตรีของไอโอแอล ระบุว่า ผู้กระทำผิดฐานบังคับใช้แรงงานผิดกฎหมาย ราว 21 ล้านคนทั่วโลก จะถูกลงโทษในประเทศส่วนใหญ่ กว่าครึ่งของเหยื่อประมาณ 21 ล้านคน ที่ถูกบังคับให้ใช้แรงงาน เป็นผู้หญิงและเด็กหญิง ซึ่งผู้บังคับใช้แรงงานได้รับผลกำไรอย่างผิดกฎหมาย ประเมินมูลค่าได้ 150,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในภาคการเกษตร การประมง ธุรกิจเหมืองแร่ การก่อสร้าง คนใช้ในครัวเรือน และอุตสาหกรรมขายบริการทางเพศ
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานต่อไปว่า สนธิสัญญาฉบับใหม่นี่ เป็นพิธีสารต่อท้าย อนุสัญญาบังคับใช้แรงงานปี พ.ศ. 2473 ของ ไอแอลโอ มีเป้าหมายเพื่อหยุดยั้งการใช้แรงงานผิดกฎหมาย โดยกำหนดให้รัฐบาลประเทศต่างๆ ที่ร่วมตกลงและให้สัตยาบัน ระบุและเปิดเผยตัวตนผู้ตกเป็นเหยื่อ รวมทั้งรับประกันว่าเหยื่อจะได้รับค่าชดเชย และผู้กระทำผิดต้องได้รับการลงโทษ
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าไทยจะเป็นประเทศเดียวที่ออกเสียงคัดค้าน กลุ่มประเทศอาหรับที่ไม่เห็นด้วยกับการใช้สนธิสัญญาใหม่ เช่น บาห์เรน บรูไน อิหร่าน คูเวต โอมาน กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย ได้งดออกเสียงเพื่อแสดงการคัดค้านเช่นกัน.