บทความหุ้น :หลักการและเหตุผลแนวโมเมนตั้ม
ในตลาดหุ้นมีวลีหนึ่งที่บอกว่า
ถ้าอยากได้เงิน จง buy low and sell high
แต่พวกโมเมนตัมเชื่อว่า ซื้อหุ้นที่ "ขึ้น"
ในช่วงที่ผ่านมาจะมีโอกาสทำเงินมากกว่า
พูดอีกน้ยหนึ่งก็คือ หุ้นยิ่งขึ้นยิ่งน่าซื้อ ยิ่งลงยิ่งน่าขาย
การวิจัยจำนวนมากพบว่า
การเลือกซื้อหุ้นที่เพิ่งจะให้ผลตอบแทนดี
ในช่วงที่ผ่านมา เป็นวิธีที่ให้ผลตอบแทนที่ดี
ไม่ว่าเป็นตลาดหุ้น ตลาดคอมโม
หรือตลาดอัตราแลกเปลี่ยน
และเป็นเช่นนั้นคงเส้นคงวานานมากแล้วด้วย
นับว่าขัดกับความเชื่อเรื่องตลาดมีประสิทธิภาพ
ซึ่งเชื่อว่า การอาศัยข้อมูลราคาในอดีตใดๆ
ย่อมไม่สามารถสร้างผลตอบแทนที่เหนือตลาดอย่างต่อเนื่องได้
ที่สำคัญ การเลือกหุ้นตามแนวโมเมนตัม
ให้ผลตอบแทนที่เหนือตลาดได้อย่างมีนัยสำคัญ
มากกว่าพวก market abnomaly ที่เป็นที่รู้จักทั้งหลาย
อย่างเช่น January Effect ซึ่งเอาชนะตลาดได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ตัวอย่างเช่น การทดลองโดย London School of Economics
ซึ่งซื้อหุ้นที่เป็น top 20 performer ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา
แล้วปรับพอร์ตใหม่ทุกหนึ่งเดือน
จะให้ผลตอบแทนสูงกว่า การใช้วิธีเดียวกัน
แต่เลือก worst 20 performer ถึง 10.3% ต่อปี
เมื่อ back test กับตลาดหุ้นลอนดอนในรอบ 100 ปีที่ผ่านมา
ซึ่งเป็นระดับความแตกต่างที่ไม่น่าเป็นแค่ noise อย่างแน่นอน
กองทุน AQR ได้ทำการทดลองกับข้อมูลตลาดหุ้นอีก 19 ประเทศ
พบว่า 18 ประเทศให้ผลลัพธ์แบบเดียวกันด้วย
ปรากฏการณ์ โมเมนตัม เป็นปรากฏการณ์ที่แปลก
เพราะแม้ว่าปัจจุบันจะมีกองทุนขนาดใหญ่มากมาย
ที่พยายาม exploit ตลาดด้วยวิธีการนี้อยู่
แต่ผลกำไรจากวิธีการนี้ก็ยังไม่หายไป
ราวกับว่ากลไกตลาดไม่สามารถกำจัด bias อันนี้ออกไปได้เลย
มีหลายทฤษฏีที่พยายามอธิบายว่า
abnormal return ของแนวโมเมนตัมเกิดขึ้นจากอะไร
แนวคิดหนึ่งเชื่อว่าอาจมาจาก lag time
ในการปรับ "ความเห็น" ของนักลงทุนเกี่ยวกับหุ้น
เช่นเวลาที่ตลาดมองหุ้นตัวหนึ่งว่าไม่ดีมาตลอด
เมื่อบริษัทดีขึ้นแล้ว พอมีข่าวดีเกิดขึ้น
นักลงทุนจะยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อหุ้นตัวนั้นได้ทันที
เพราะยังยึดติดกับสิ่งที่เคยเชื่ออยู่
จึงมีแนวโน้มที่จะมองว่า ข่าวดีนั้นเป็นแค่เรื่องชั่วคราว
ความช้าอันนี้ก่อให้เกิด trend ในราคาหุ้นขึ้น
เมื่อราคาหุ้นมีลักษณะเป็น trend ก็จะเกิด bandwagon effect ตามมาอีก
เช่น เมื่อหุ้นตัวไหนขึ้นมาตลอด
fund managers ที่อยากแสดงให้ลูกค้าเห็นว่า
ตัวเองก็มีหุ้นเหล่านั้นอยู่ในพอร์ตก็จะซื้อ gainers และขาย losers
ทำให้ trend ยิ่งไปต่อ
หรือ fund manager คนไหนที่เพิ่งทำผลงานได้ดีในช่วงที่ผ่านมา
ก็มักดูดเงินจากลูกค้าได้มากกว่าคนอื่น
เงินจึงไหลเข้าสู่หุ้นตัวเดิมที่พวกเขาเลือกมากขึ้น
ทำให้ trend ย่ิงขยายผลต่อไปอีก เป็นต้น
ทั้งหมดเกิดขึ้นจากความบกพร่องในการตัดสินใจของสมองมนุษย์
ปรากฏการณ์โมเมนตัมทำให้เกิดกลยุทธ์ที่เป็นที่นิยมมากมาย
ที่มุ่งหวังจะใช้ประโยชน์จากปรากฏการณ์อันนี้
ตัวอย่างที่ง่ายๆ ก็เช่น เลือกหุ้นที่เส้น 20 วันอยู่เหนือ 200 วัน
ซึ่งแสดงว่ากำลังเป็นเทรนด์ขาขึ้นอยู่นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม มีเรื่องต้องระวังอย่างมาก
เกี่ยวกับการหาประโยชน์จากโมเมนตัม คือเรื่องของ time frame
เราพบว่า กลยุทธ์โมเมนตัมที่เล่นสั้นเกินไปมักไม่ได้ผล
เนื่องจากในช่วงเวลาที่สั้นมากๆ
เช่น intraday ราคาหุ้นมี noise มากเกินไป
จึงบดบัง trend แทบทั้งหมด
หรือกลยุทธ์ที่มี time frame ที่ยาวมากเกินไป เช่น 3 ปี
ก็มักใช้ไม่ได้ผลด้วย
เพราะเทรนด์ส่วนมากมักไม่กินเวลายาวนานมากขนาดนั้น เป็นต้น
(นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ momentum มักได้ผลดีในระยะสั้น
แต่ value มักได้ผลดีในระยะยาว)
ดังนั้นแนวโมเมนตัมก็ยังไม่ง่ายเสียทีเดียว
เพราะยังขึ้นอยู่กับความสามารถของเรา
ที่จะเลือก time frame ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งยังไม่มีสูตรตายตัว
สรุปย่อจาก "Momentum in Financial Market", the Economist, Jan 6, 20011 เห็นว่ามีประโยชน์กับนักลงทุนเลยหยิบมาฝากกันนะครับ)
credit : นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์
http://portal.settrade.com/blog/1001ii/2011/01/14/973
www.thaitfstock.com วิธีเล่นหุ้นพื้นฐานผสานเทคนิค
หลักการและเหตุผลแนวโมเมนตั้ม : นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์
ในตลาดหุ้นมีวลีหนึ่งที่บอกว่า
ถ้าอยากได้เงิน จง buy low and sell high
แต่พวกโมเมนตัมเชื่อว่า ซื้อหุ้นที่ "ขึ้น"
ในช่วงที่ผ่านมาจะมีโอกาสทำเงินมากกว่า
พูดอีกน้ยหนึ่งก็คือ หุ้นยิ่งขึ้นยิ่งน่าซื้อ ยิ่งลงยิ่งน่าขาย
การวิจัยจำนวนมากพบว่า
การเลือกซื้อหุ้นที่เพิ่งจะให้ผลตอบแทนดี
ในช่วงที่ผ่านมา เป็นวิธีที่ให้ผลตอบแทนที่ดี
ไม่ว่าเป็นตลาดหุ้น ตลาดคอมโม
หรือตลาดอัตราแลกเปลี่ยน
และเป็นเช่นนั้นคงเส้นคงวานานมากแล้วด้วย
นับว่าขัดกับความเชื่อเรื่องตลาดมีประสิทธิภาพ
ซึ่งเชื่อว่า การอาศัยข้อมูลราคาในอดีตใดๆ
ย่อมไม่สามารถสร้างผลตอบแทนที่เหนือตลาดอย่างต่อเนื่องได้
ที่สำคัญ การเลือกหุ้นตามแนวโมเมนตัม
ให้ผลตอบแทนที่เหนือตลาดได้อย่างมีนัยสำคัญ
มากกว่าพวก market abnomaly ที่เป็นที่รู้จักทั้งหลาย
อย่างเช่น January Effect ซึ่งเอาชนะตลาดได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ตัวอย่างเช่น การทดลองโดย London School of Economics
ซึ่งซื้อหุ้นที่เป็น top 20 performer ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา
แล้วปรับพอร์ตใหม่ทุกหนึ่งเดือน
จะให้ผลตอบแทนสูงกว่า การใช้วิธีเดียวกัน
แต่เลือก worst 20 performer ถึง 10.3% ต่อปี
เมื่อ back test กับตลาดหุ้นลอนดอนในรอบ 100 ปีที่ผ่านมา
ซึ่งเป็นระดับความแตกต่างที่ไม่น่าเป็นแค่ noise อย่างแน่นอน
กองทุน AQR ได้ทำการทดลองกับข้อมูลตลาดหุ้นอีก 19 ประเทศ
พบว่า 18 ประเทศให้ผลลัพธ์แบบเดียวกันด้วย
ปรากฏการณ์ โมเมนตัม เป็นปรากฏการณ์ที่แปลก
เพราะแม้ว่าปัจจุบันจะมีกองทุนขนาดใหญ่มากมาย
ที่พยายาม exploit ตลาดด้วยวิธีการนี้อยู่
แต่ผลกำไรจากวิธีการนี้ก็ยังไม่หายไป
ราวกับว่ากลไกตลาดไม่สามารถกำจัด bias อันนี้ออกไปได้เลย
มีหลายทฤษฏีที่พยายามอธิบายว่า
abnormal return ของแนวโมเมนตัมเกิดขึ้นจากอะไร
แนวคิดหนึ่งเชื่อว่าอาจมาจาก lag time
ในการปรับ "ความเห็น" ของนักลงทุนเกี่ยวกับหุ้น
เช่นเวลาที่ตลาดมองหุ้นตัวหนึ่งว่าไม่ดีมาตลอด
เมื่อบริษัทดีขึ้นแล้ว พอมีข่าวดีเกิดขึ้น
นักลงทุนจะยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อหุ้นตัวนั้นได้ทันที
เพราะยังยึดติดกับสิ่งที่เคยเชื่ออยู่
จึงมีแนวโน้มที่จะมองว่า ข่าวดีนั้นเป็นแค่เรื่องชั่วคราว
ความช้าอันนี้ก่อให้เกิด trend ในราคาหุ้นขึ้น
เมื่อราคาหุ้นมีลักษณะเป็น trend ก็จะเกิด bandwagon effect ตามมาอีก
เช่น เมื่อหุ้นตัวไหนขึ้นมาตลอด
fund managers ที่อยากแสดงให้ลูกค้าเห็นว่า
ตัวเองก็มีหุ้นเหล่านั้นอยู่ในพอร์ตก็จะซื้อ gainers และขาย losers
ทำให้ trend ยิ่งไปต่อ
หรือ fund manager คนไหนที่เพิ่งทำผลงานได้ดีในช่วงที่ผ่านมา
ก็มักดูดเงินจากลูกค้าได้มากกว่าคนอื่น
เงินจึงไหลเข้าสู่หุ้นตัวเดิมที่พวกเขาเลือกมากขึ้น
ทำให้ trend ย่ิงขยายผลต่อไปอีก เป็นต้น
ทั้งหมดเกิดขึ้นจากความบกพร่องในการตัดสินใจของสมองมนุษย์
ปรากฏการณ์โมเมนตัมทำให้เกิดกลยุทธ์ที่เป็นที่นิยมมากมาย
ที่มุ่งหวังจะใช้ประโยชน์จากปรากฏการณ์อันนี้
ตัวอย่างที่ง่ายๆ ก็เช่น เลือกหุ้นที่เส้น 20 วันอยู่เหนือ 200 วัน
ซึ่งแสดงว่ากำลังเป็นเทรนด์ขาขึ้นอยู่นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม มีเรื่องต้องระวังอย่างมาก
เกี่ยวกับการหาประโยชน์จากโมเมนตัม คือเรื่องของ time frame
เราพบว่า กลยุทธ์โมเมนตัมที่เล่นสั้นเกินไปมักไม่ได้ผล
เนื่องจากในช่วงเวลาที่สั้นมากๆ
เช่น intraday ราคาหุ้นมี noise มากเกินไป
จึงบดบัง trend แทบทั้งหมด
หรือกลยุทธ์ที่มี time frame ที่ยาวมากเกินไป เช่น 3 ปี
ก็มักใช้ไม่ได้ผลด้วย
เพราะเทรนด์ส่วนมากมักไม่กินเวลายาวนานมากขนาดนั้น เป็นต้น
(นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ momentum มักได้ผลดีในระยะสั้น
แต่ value มักได้ผลดีในระยะยาว)
ดังนั้นแนวโมเมนตัมก็ยังไม่ง่ายเสียทีเดียว
เพราะยังขึ้นอยู่กับความสามารถของเรา
ที่จะเลือก time frame ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งยังไม่มีสูตรตายตัว
สรุปย่อจาก "Momentum in Financial Market", the Economist, Jan 6, 20011 เห็นว่ามีประโยชน์กับนักลงทุนเลยหยิบมาฝากกันนะครับ)
credit : นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์
http://portal.settrade.com/blog/1001ii/2011/01/14/973
www.thaitfstock.com วิธีเล่นหุ้นพื้นฐานผสานเทคนิค