1) ROBOT = TECHNICAL ANALYSIS
Algorithm ที่มีการพัฒนาขึ้นมาไม่จำเป็นต้องใช้หลักการทาง technical analysis เสมอไปครับ
จริงอยู่ว่า algorithm ส่วนใหญ่อาจจะมีการซื้อขายโดยพิจารณาสัญญาณของราคาทางเทคนิคเป็นหลัก แต่ในความเป็นจริงแล้ว ข้อมูลประเภทอื่น ไล่มาตั้งแต่ ข้อมูลเศรษฐศาสตร์มหภาค ค่า GDP อัตราดอกเบี้ย อัตราการส่งออก fund flow มาจนถึงข้อมูลพื้นฐานของบริษัท เช่น ผลประกอบการ หนี้สิน ค่า PE หรือ ROE ก็ล้วนสามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่งของ strategy ได้ ซึ่งในปัจจุบัน บ้านเราก็มีกองทุนซื้อขายอัตโนมัติที่ตัวกลยุทธ์ให้ความสำคัญกับข้อมูลพื้นฐานเหล่านี้อยู่เช่นกัน
2) ROBOT = SPEED
หลายคนเชื่อว่า robot ที่มีการพัฒนาขึ้นมา เป็นระบบที่ใช้สำหรับการซื้อขายเฉพาะใน intraday โดยมี time frame ที่สั้นมากๆ
ความสำเร็จวัดกันที่ความได้เปรียบด้านความเร็วระดับเสี้ยววินาทีและความถี่ในการส่งคำสั่งซื้อขาย ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว High Frequency Trading ถือเป็นเพียงหนึ่งในหลายแนวทางที่ใช้ในระบบการซื้อขายอัตโนมัติ (ทั้งนี้ โอกาสทำกำไรจากส่วนต่างของราคาในตลาดบ้านเรามีค่อนข้างน้อย แนวทางนี้จึงยังไม่เป็นที่นิยม)
นอกเหนือจากแนวทางนี้แล้ว ยังคงมี algorithms อีกมากมาย ที่ซื้อขายใน timeframe รายวัน หรือรายสัปดาห์ ไม่ว่าจะเป็นแนว trend following หรือ mean reversion โดยหลายๆ กองทุนมีช่วงเวลาถือครอง positions อยู่ในหลักรายสัปดาห์บ้าง หรือหลักเดือนบ้าง
3) ROBOT = ETERNITY
นักลงทุนหลายคนยังคงเสาะหา Holy Grail หรือเครื่องมือลับการลงทุนที่เชื่อว่าจะเป็นเครื่องจักรทำเงินให้เขาอย่างสม่ำเสมอตลอดกาล
ในความเป็นจริงแล้ว algorithms ต่างๆ เหล่านี้ สร้างผลกำไรจากการเสาะหาสิ่งที่เรียกว่า ความไม่มีประสิทธิภาพในตลาด (market inefficiency) แล้วใช้จุดนี้ในการสร้างกำไร อย่างไรก็ตาม เมื่อใดที่มีคนหรือ algorithm อีกตัวมาพบและใช้ประโยชน์จากความไม่มีประสิทธิภาพของตลาดตรงนี้เช่นกัน ถึงจุดๆ นั้น ตลาดก็จะเข้าสู่สภาวะสมดุล ซึ่งหมายถึง algorithm นั้นๆ จะไม่สามารถทำกำไรเป็นกอบเป็นกำได้อีกต่อไป
ยกตัวอย่างเช่น ในอดีต กลุ่มนักลงทุนที่ซื้อขายตามแนว Turtle trading ที่มีหลักการง่ายๆ ว่า ซื้อเมื่อราคาวันนี้ทะลุราคาที่เคยขึ้นสูงสุดในรอบ 20 วัน และขายเมื่อราคาวันนี้ต่ำกว่าราคาต่ำสุดในรอบ 20 วัน กลยุทธ์นี้เคยทำกำไรได้มหาศาลในอดีต แต่ในภายหลังเมื่อกลยุทธ์นี้ถูกเปิดเผยออกมา ผลตอบแทนก็ไม่ดีเท่าเดิม
3 ข้อนี้มาเป็นความเชื่อทีผิดที่เจอกันบ่อยๆ ... คราวนี้เราก็รู้กันแล้วนะครับ ตามนั้น
บทความโดย: อาจารย์ Nine (ผศ. ดร.ศุภวัฒน์ สุภัควงศ์) ผู้เขียนหนังสือ "Think ALGO เทรดหุ้นยุคใหม่ให้โรบอททำเงินแทน"
ที่มา :
https://www.stock2morrow.com/article-detail.php?id=897
ท่านๆ ล่ะครับ มีความคิดเห็นอย่างไร อนาคตคงมีการใช้มากขึ้นแน่ ... เตรียมรับมือต่อสู้กับโรบอท / หรือจับมือเดินไปด้วยกัน ?
ความเชื่อที่ผิด 3 ประการกับ ROBOT
Algorithm ที่มีการพัฒนาขึ้นมาไม่จำเป็นต้องใช้หลักการทาง technical analysis เสมอไปครับ
จริงอยู่ว่า algorithm ส่วนใหญ่อาจจะมีการซื้อขายโดยพิจารณาสัญญาณของราคาทางเทคนิคเป็นหลัก แต่ในความเป็นจริงแล้ว ข้อมูลประเภทอื่น ไล่มาตั้งแต่ ข้อมูลเศรษฐศาสตร์มหภาค ค่า GDP อัตราดอกเบี้ย อัตราการส่งออก fund flow มาจนถึงข้อมูลพื้นฐานของบริษัท เช่น ผลประกอบการ หนี้สิน ค่า PE หรือ ROE ก็ล้วนสามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่งของ strategy ได้ ซึ่งในปัจจุบัน บ้านเราก็มีกองทุนซื้อขายอัตโนมัติที่ตัวกลยุทธ์ให้ความสำคัญกับข้อมูลพื้นฐานเหล่านี้อยู่เช่นกัน
2) ROBOT = SPEED
หลายคนเชื่อว่า robot ที่มีการพัฒนาขึ้นมา เป็นระบบที่ใช้สำหรับการซื้อขายเฉพาะใน intraday โดยมี time frame ที่สั้นมากๆ
ความสำเร็จวัดกันที่ความได้เปรียบด้านความเร็วระดับเสี้ยววินาทีและความถี่ในการส่งคำสั่งซื้อขาย ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว High Frequency Trading ถือเป็นเพียงหนึ่งในหลายแนวทางที่ใช้ในระบบการซื้อขายอัตโนมัติ (ทั้งนี้ โอกาสทำกำไรจากส่วนต่างของราคาในตลาดบ้านเรามีค่อนข้างน้อย แนวทางนี้จึงยังไม่เป็นที่นิยม)
นอกเหนือจากแนวทางนี้แล้ว ยังคงมี algorithms อีกมากมาย ที่ซื้อขายใน timeframe รายวัน หรือรายสัปดาห์ ไม่ว่าจะเป็นแนว trend following หรือ mean reversion โดยหลายๆ กองทุนมีช่วงเวลาถือครอง positions อยู่ในหลักรายสัปดาห์บ้าง หรือหลักเดือนบ้าง
3) ROBOT = ETERNITY
นักลงทุนหลายคนยังคงเสาะหา Holy Grail หรือเครื่องมือลับการลงทุนที่เชื่อว่าจะเป็นเครื่องจักรทำเงินให้เขาอย่างสม่ำเสมอตลอดกาล
ในความเป็นจริงแล้ว algorithms ต่างๆ เหล่านี้ สร้างผลกำไรจากการเสาะหาสิ่งที่เรียกว่า ความไม่มีประสิทธิภาพในตลาด (market inefficiency) แล้วใช้จุดนี้ในการสร้างกำไร อย่างไรก็ตาม เมื่อใดที่มีคนหรือ algorithm อีกตัวมาพบและใช้ประโยชน์จากความไม่มีประสิทธิภาพของตลาดตรงนี้เช่นกัน ถึงจุดๆ นั้น ตลาดก็จะเข้าสู่สภาวะสมดุล ซึ่งหมายถึง algorithm นั้นๆ จะไม่สามารถทำกำไรเป็นกอบเป็นกำได้อีกต่อไป
ยกตัวอย่างเช่น ในอดีต กลุ่มนักลงทุนที่ซื้อขายตามแนว Turtle trading ที่มีหลักการง่ายๆ ว่า ซื้อเมื่อราคาวันนี้ทะลุราคาที่เคยขึ้นสูงสุดในรอบ 20 วัน และขายเมื่อราคาวันนี้ต่ำกว่าราคาต่ำสุดในรอบ 20 วัน กลยุทธ์นี้เคยทำกำไรได้มหาศาลในอดีต แต่ในภายหลังเมื่อกลยุทธ์นี้ถูกเปิดเผยออกมา ผลตอบแทนก็ไม่ดีเท่าเดิม
3 ข้อนี้มาเป็นความเชื่อทีผิดที่เจอกันบ่อยๆ ... คราวนี้เราก็รู้กันแล้วนะครับ ตามนั้น
บทความโดย: อาจารย์ Nine (ผศ. ดร.ศุภวัฒน์ สุภัควงศ์) ผู้เขียนหนังสือ "Think ALGO เทรดหุ้นยุคใหม่ให้โรบอททำเงินแทน"
ที่มา : https://www.stock2morrow.com/article-detail.php?id=897
ท่านๆ ล่ะครับ มีความคิดเห็นอย่างไร อนาคตคงมีการใช้มากขึ้นแน่ ... เตรียมรับมือต่อสู้กับโรบอท / หรือจับมือเดินไปด้วยกัน ?