ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ศาสตราจารย์ชาวอเมริกัน ดับเบิลยู สกอตต์ ธอมป์สัน ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เขียนบทความตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ลอสแองเจลิสไทมส์ ตบหน้ารัฐบาลสหรัฐฯที่ประณามการรัฐประหารยึดอำนาจในประเทศไทย และเรียกร้องให้จัดการเลือกตั้งในทันที โดยอ้างว่าเป็นหนทางไปสู่ประชาธิปไตย ทั้งนี้ศาสตราจารย์ผู้นี้ ระบุว่า การให้ระบอบทักษิณปกครองประเทศต่อไป ก็คือ การรับประกันให้ประชาธิปไตยในไทยต้องตายดับสูญไปภายในอนาคตอันใกล้นั่นเอง ขณะที่การสนับสนุนการก่อรัฐประหารยึดอำนาจของฝ่ายทหาร อาจจะเป็นเพียงหนทางเดียวเท่านั้นที่จะสามารถฟื้นฟูประชาธิปไตยให้กลับคืนมาได้
นักวิชาการชื่อดังมะกัน “ตบหน้า” รัฐบาลสหรัฐฯ ระบุปล่อยให้ “ระบอบทักษิณ” คงอยู่ คือ ความตายของประชาธิปไตยไทย
ดับเบิลยู สกอตต์ ธอมป์สัน ศาสตราจารย์กิตติคุณทางด้านการเมืองระหว่างประเทศ แห่งวิทยาลัยนิติศาสตร์และการทูตเฟลตเชอร์ มหาวิทยาลัยทัฟต์ส
ในบทความเรื่อง “Thai coup holds promise of democracy” (รัฐประหารในไทยให้ความหวังแก่ประชาธิปไตย) ดับเบิลยู สกอตต์ ธอมป์สัน (W Scott Thompson) ศาสตราจารย์กิตติคุณทางด้านการเมืองระหว่างประเทศ แห่งวิทยาลัยนิติศาสตร์และการทูตเฟลตเชอร์ (Fletcher School of Law and Diplomacy) มหาวิทยาลัยทัฟต์ส (Tufts University) กล่าวสรุปถึงการรัฐประหารครั้งล่าสุดว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และฝ่ายทหาร ได้บังคับขับไสผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรีให้ออกจากอำนาจ โดยผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรีผู้นั้นได้เข้าทำหน้าที่นี้หลังจากศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยุติการดำรงตำแหน่ง เนื่องจากมีความผิดในข้อหาใช้อำนาจโดยมิชอบ ทั้งนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ นั้น ในระหว่างที่เธอปกครองประเทศอยู่ ก็คอยรับคำสั่งต่างๆ จากพี่ชายของเธอ -- จอมเผด็จการและอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผู้ซึ่งหลบหนีไปลี้ภัยอยู่ในต่างแดน
บทความซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ลอสแองเจลิสไทมส์ เมื่อวันที่ 27 พ.ค. และได้รับการตีพิมพ์ซ้ำต่อๆ มา เป็นต้นว่าในเว็บไซต์กัลฟ์นิวส์ (gulfnews.com) ในวันอาทิตย์ (1 มิ.ย.) ชิ้นนี้ ชี้ว่าประเทศไทยได้ตกอยู่ท่ามกลางความสับสนวุ่นวายในการประท้วงทางการเมืองยาวนานแรมเดือนระหว่าง “เสื้อเหลือง” -- ซึ่งเป็นคนไทยในเขตชุมชนเมืองผู้สนับสนุนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และกลุ่มผลประโยชน์ชนชั้นนำผู้ต้องการให้รัฐบาลที่ครองอำนาจอยู่ออกจากตำแหน่งไป กับ “เสื้อแดง” -- ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประชาชนผู้ยากจนกว่าที่พำนักอยู่ในเขตต่างจังหวัด โดยผู้คนเหล่านี้สนับสนุนทักษิณและหาทางให้เขากลับคืนสู่อำนาจ
“ดังนั้น เมื่อมีนายพลผู้มาดมั่นทะเยอทะยานและมีความสามารถผู้หนึ่ง พยายามที่จะทำให้ประเทศชาติมีเสถียรภาพ -- โดยที่ในขณะนี้เขาก็ได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้เข้าดำรงตำแหน่งด้วย – มันจึงมีความเป็นไปได้อย่างครบถ้วนบริบูรณ์ว่า เขาจะพิสูจน์ให้เห็นว่าการรัฐประหารทั้งหลายนั้นใช่ว่าจะเลวร้ายไปเสียทั้งหมด” ศาสตราจารย์ชาวอเมริกันวัย 72 ปีผู้นี้ระบุ
ดับเบิลยู สกอตต์ ธอมป์สัน ซึ่งเคยทำงานอยู่ในคณะรัฐบาลอเมริกัน ทั้งของประธานาธิบดี เจอรัลด์ ฟอร์ด และของประธานาธิบดี โรนัลด์ เรแกน โดยที่เคยดำรงตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรีกลาโหมของสหรัฐฯด้วย ชี้ว่า ความปั่นป่วนสับสนทางการเมืองในประเทศไทยนั้นมีรากเหง้าที่ลึกซึ้ง
ในบทความนี้ เขาชี้ว่า ประเทศไทยต้องประสบโชคร้าย เฉกเช่นเดียวกับเยอรมันในยุคทศวรรษ 1930 และอิตาลีในยุคทศวรรษ 1920 ทำให้ได้นักหลอกล่อฉวยโอกาสทางการเมืองซึ่งเที่ยวให้สัญญาต่างๆ มากมาย เข้าครองอำนาจปกครองประเทศ
นักวิชาการชื่อดังมะกัน “ตบหน้า” รัฐบาลสหรัฐฯ ระบุปล่อยให้ “ระบอบทักษิณ” คงอยู่ คือ ความตายของประชาธิปไตยไทย
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการกองทัพบก และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
“ทักษิณนั้นทำเงินได้เป็นพันๆ หมื่นๆ ล้านในอุตสาหกรรมโทรศัพท์มือถือ และได้เริ่มซื้อเหล่านักหนังสือพิมพ์ตลอดจนนักการเมืองทางภาคเหนือมาเป็นพวก เขาชนะการเลือกตั้งในปี 2001 อย่างถล่มทลาย และก็เริ่มแสดงให้เห็นถึงธาตุแท้ของเขา เขาดำเนินการปิดกั้นส่วนต่างๆ ของสื่อมวลชนซึ่งเขายังไม่สามารถควบคุมได้ นอกจากนั้น มีรายงานว่ามีผู้ค้ายาเสพติดรายย่อยๆ 3,000 คน ถูกฆ่าตายในสงครามปราบปรามยาเสพติดของเขา อีกทั้งแสดงให้เห็นอย่างเต็มตาว่าเขาจะยังครองอำนาจต่อไปอีกยาวนาน” บทความชิ้นนี้กล่าว
“ทฤษฎีเรื่องประชาธิปไตยนั้นไม่เคยเลยที่จะหมายความอย่างง่ายๆ เพียงแค่ว่า การปกครองโดยคนส่วนใหญ่ แน่นอนทีเดียวว่าทักษิณก็ใช้กลไกด้านการตรวจสอบและการคานอำนาจด้วย แต่เป็นชนิดที่แตกต่างออกไป โดยที่เขานำมาใช้เพื่อกระชับฐานอำนาจของเขาให้เข้มแข็ง ทั้งในกิจการตำรวจ และก็ในกองทัพด้วย ถึงแม้มีหลักฐานว่าเขาประสบความสำเร็จน้อยกว่า …”
ศาสตราจารย์อเมริกันผู้นี้ กล่าวว่า “เป็นเรื่องยากลำบากเสมอที่จะอ้างเหตุผลความชอบธรรมให้แก่การทำรัฐประหาร แม้กระทั่งในกรณีที่เป็นการเข้าแทนที่ระบอบปกครองที่ย่ำแย่เต็มที”
อย่างไรก็ตาม เขาระบุว่า “ถ้าหากจะให้เหตุผลความชอบธรรมแก่การต่อต้านการรัฐประหารคราวนี้ ก็จำเป็นจะต้องไปให้ความสนับสนุนต่อทักษิณ บุรุษผู้ซึ่งจะไม่ยอมอดทนต่อการคัดค้านใดๆ ทั้งสิ้น แม้กระทั่งจากสถาบัน และเป็นผู้ซึ่งจะปกครองด้วยกำปั้นเหล็กตราบเท่าที่เขา - หรือผู้ที่เขาคัดเลือกให้มาสืบทอดต่อจากเขา ยังมีชีวิตอยู่”
“โดยส่วนตัวแล้ว ผมมีความประหลาดใจว่า นายพลผู้นี้ (พล.อ.ประยุทธ์ ) ได้รอคอยมาเป็นเวลายาวนานถึงขนาดนี้ เขาเดินหมากของเขาด้วยความระมัดระวังมาก ด้วยการประกาศใช้กฎอัยการศึกอย่างเป็นกลางๆ ในวันหนึ่ง แล้วจึงเข้ายึดอำนาจในอีกวันหนึ่ง กองทัพไทยไม่ได้ผลิตนายพลที่มีความสามารถอันเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางขนาดนี้เลยในรอบครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา”
ดับเบิลยู สกอตต์ ธอมป์สัน กล่าวในตอนสรุปบทความของเขาว่า “การเลือกให้ระบอบทักษิณปกครองประเทศต่อไป ก็คือการรับประกันให้ประชาธิปไตยในไทยตายดับสูญไปภายในอนาคตอันใกล้ ขณะที่การสนับสนุนการก่อรัฐประหารยึดอำนาจของฝ่ายทหาร อาจจะ (แค่อาจจะ) เป็นเพียงหนทางเดียวเท่านั้นที่จะสามารถฟื้นฟูประชาธิปไตยให้กลับคืนมาได้ ความจริงทางประวัติศาสตร์ทั่วๆ ไปนั้นมีอยู่ว่า ระบอบปกครองต่างๆ ที่นำมาซึ่งระเบียบเรียบร้อย อย่างน้อยที่สุดก็ทำให้มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย ขณะที่แทบไม่ปรากฏเลยว่าระบอบปกครองในทางตรงกันข้ามจะสามารถทำอะไรเช่นนี้ได้ ทั้งนี้ระบอบปกครองที่ปล่อยให้ทำอะไรตามใจนั้น มีความโน้มเอียงที่จะนำไปสู่การปราบปรามอย่างรุนแรง ซึ่งกลายเป็นการสร้างความย่อยยับให้แก่การปกครองอันเรืองปัญญา”
http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9570000061705
ถ้าชอบอ้าง USA ก็ควรรับฟังอีกด้านด้วย
นักวิชาการชื่อดังมะกัน “ตบหน้า” รัฐบาลสหรัฐฯ ระบุปล่อยให้ “ระบอบทักษิณ” คงอยู่ คือ ความตายของประชาธิปไตยไทย
ดับเบิลยู สกอตต์ ธอมป์สัน ศาสตราจารย์กิตติคุณทางด้านการเมืองระหว่างประเทศ แห่งวิทยาลัยนิติศาสตร์และการทูตเฟลตเชอร์ มหาวิทยาลัยทัฟต์ส
ในบทความเรื่อง “Thai coup holds promise of democracy” (รัฐประหารในไทยให้ความหวังแก่ประชาธิปไตย) ดับเบิลยู สกอตต์ ธอมป์สัน (W Scott Thompson) ศาสตราจารย์กิตติคุณทางด้านการเมืองระหว่างประเทศ แห่งวิทยาลัยนิติศาสตร์และการทูตเฟลตเชอร์ (Fletcher School of Law and Diplomacy) มหาวิทยาลัยทัฟต์ส (Tufts University) กล่าวสรุปถึงการรัฐประหารครั้งล่าสุดว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และฝ่ายทหาร ได้บังคับขับไสผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรีให้ออกจากอำนาจ โดยผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรีผู้นั้นได้เข้าทำหน้าที่นี้หลังจากศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยุติการดำรงตำแหน่ง เนื่องจากมีความผิดในข้อหาใช้อำนาจโดยมิชอบ ทั้งนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ นั้น ในระหว่างที่เธอปกครองประเทศอยู่ ก็คอยรับคำสั่งต่างๆ จากพี่ชายของเธอ -- จอมเผด็จการและอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผู้ซึ่งหลบหนีไปลี้ภัยอยู่ในต่างแดน
บทความซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ลอสแองเจลิสไทมส์ เมื่อวันที่ 27 พ.ค. และได้รับการตีพิมพ์ซ้ำต่อๆ มา เป็นต้นว่าในเว็บไซต์กัลฟ์นิวส์ (gulfnews.com) ในวันอาทิตย์ (1 มิ.ย.) ชิ้นนี้ ชี้ว่าประเทศไทยได้ตกอยู่ท่ามกลางความสับสนวุ่นวายในการประท้วงทางการเมืองยาวนานแรมเดือนระหว่าง “เสื้อเหลือง” -- ซึ่งเป็นคนไทยในเขตชุมชนเมืองผู้สนับสนุนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และกลุ่มผลประโยชน์ชนชั้นนำผู้ต้องการให้รัฐบาลที่ครองอำนาจอยู่ออกจากตำแหน่งไป กับ “เสื้อแดง” -- ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประชาชนผู้ยากจนกว่าที่พำนักอยู่ในเขตต่างจังหวัด โดยผู้คนเหล่านี้สนับสนุนทักษิณและหาทางให้เขากลับคืนสู่อำนาจ
“ดังนั้น เมื่อมีนายพลผู้มาดมั่นทะเยอทะยานและมีความสามารถผู้หนึ่ง พยายามที่จะทำให้ประเทศชาติมีเสถียรภาพ -- โดยที่ในขณะนี้เขาก็ได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้เข้าดำรงตำแหน่งด้วย – มันจึงมีความเป็นไปได้อย่างครบถ้วนบริบูรณ์ว่า เขาจะพิสูจน์ให้เห็นว่าการรัฐประหารทั้งหลายนั้นใช่ว่าจะเลวร้ายไปเสียทั้งหมด” ศาสตราจารย์ชาวอเมริกันวัย 72 ปีผู้นี้ระบุ
ดับเบิลยู สกอตต์ ธอมป์สัน ซึ่งเคยทำงานอยู่ในคณะรัฐบาลอเมริกัน ทั้งของประธานาธิบดี เจอรัลด์ ฟอร์ด และของประธานาธิบดี โรนัลด์ เรแกน โดยที่เคยดำรงตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรีกลาโหมของสหรัฐฯด้วย ชี้ว่า ความปั่นป่วนสับสนทางการเมืองในประเทศไทยนั้นมีรากเหง้าที่ลึกซึ้ง
ในบทความนี้ เขาชี้ว่า ประเทศไทยต้องประสบโชคร้าย เฉกเช่นเดียวกับเยอรมันในยุคทศวรรษ 1930 และอิตาลีในยุคทศวรรษ 1920 ทำให้ได้นักหลอกล่อฉวยโอกาสทางการเมืองซึ่งเที่ยวให้สัญญาต่างๆ มากมาย เข้าครองอำนาจปกครองประเทศ
นักวิชาการชื่อดังมะกัน “ตบหน้า” รัฐบาลสหรัฐฯ ระบุปล่อยให้ “ระบอบทักษิณ” คงอยู่ คือ ความตายของประชาธิปไตยไทย
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการกองทัพบก และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
“ทักษิณนั้นทำเงินได้เป็นพันๆ หมื่นๆ ล้านในอุตสาหกรรมโทรศัพท์มือถือ และได้เริ่มซื้อเหล่านักหนังสือพิมพ์ตลอดจนนักการเมืองทางภาคเหนือมาเป็นพวก เขาชนะการเลือกตั้งในปี 2001 อย่างถล่มทลาย และก็เริ่มแสดงให้เห็นถึงธาตุแท้ของเขา เขาดำเนินการปิดกั้นส่วนต่างๆ ของสื่อมวลชนซึ่งเขายังไม่สามารถควบคุมได้ นอกจากนั้น มีรายงานว่ามีผู้ค้ายาเสพติดรายย่อยๆ 3,000 คน ถูกฆ่าตายในสงครามปราบปรามยาเสพติดของเขา อีกทั้งแสดงให้เห็นอย่างเต็มตาว่าเขาจะยังครองอำนาจต่อไปอีกยาวนาน” บทความชิ้นนี้กล่าว
“ทฤษฎีเรื่องประชาธิปไตยนั้นไม่เคยเลยที่จะหมายความอย่างง่ายๆ เพียงแค่ว่า การปกครองโดยคนส่วนใหญ่ แน่นอนทีเดียวว่าทักษิณก็ใช้กลไกด้านการตรวจสอบและการคานอำนาจด้วย แต่เป็นชนิดที่แตกต่างออกไป โดยที่เขานำมาใช้เพื่อกระชับฐานอำนาจของเขาให้เข้มแข็ง ทั้งในกิจการตำรวจ และก็ในกองทัพด้วย ถึงแม้มีหลักฐานว่าเขาประสบความสำเร็จน้อยกว่า …”
ศาสตราจารย์อเมริกันผู้นี้ กล่าวว่า “เป็นเรื่องยากลำบากเสมอที่จะอ้างเหตุผลความชอบธรรมให้แก่การทำรัฐประหาร แม้กระทั่งในกรณีที่เป็นการเข้าแทนที่ระบอบปกครองที่ย่ำแย่เต็มที”
อย่างไรก็ตาม เขาระบุว่า “ถ้าหากจะให้เหตุผลความชอบธรรมแก่การต่อต้านการรัฐประหารคราวนี้ ก็จำเป็นจะต้องไปให้ความสนับสนุนต่อทักษิณ บุรุษผู้ซึ่งจะไม่ยอมอดทนต่อการคัดค้านใดๆ ทั้งสิ้น แม้กระทั่งจากสถาบัน และเป็นผู้ซึ่งจะปกครองด้วยกำปั้นเหล็กตราบเท่าที่เขา - หรือผู้ที่เขาคัดเลือกให้มาสืบทอดต่อจากเขา ยังมีชีวิตอยู่”
“โดยส่วนตัวแล้ว ผมมีความประหลาดใจว่า นายพลผู้นี้ (พล.อ.ประยุทธ์ ) ได้รอคอยมาเป็นเวลายาวนานถึงขนาดนี้ เขาเดินหมากของเขาด้วยความระมัดระวังมาก ด้วยการประกาศใช้กฎอัยการศึกอย่างเป็นกลางๆ ในวันหนึ่ง แล้วจึงเข้ายึดอำนาจในอีกวันหนึ่ง กองทัพไทยไม่ได้ผลิตนายพลที่มีความสามารถอันเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางขนาดนี้เลยในรอบครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา”
ดับเบิลยู สกอตต์ ธอมป์สัน กล่าวในตอนสรุปบทความของเขาว่า “การเลือกให้ระบอบทักษิณปกครองประเทศต่อไป ก็คือการรับประกันให้ประชาธิปไตยในไทยตายดับสูญไปภายในอนาคตอันใกล้ ขณะที่การสนับสนุนการก่อรัฐประหารยึดอำนาจของฝ่ายทหาร อาจจะ (แค่อาจจะ) เป็นเพียงหนทางเดียวเท่านั้นที่จะสามารถฟื้นฟูประชาธิปไตยให้กลับคืนมาได้ ความจริงทางประวัติศาสตร์ทั่วๆ ไปนั้นมีอยู่ว่า ระบอบปกครองต่างๆ ที่นำมาซึ่งระเบียบเรียบร้อย อย่างน้อยที่สุดก็ทำให้มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตย ขณะที่แทบไม่ปรากฏเลยว่าระบอบปกครองในทางตรงกันข้ามจะสามารถทำอะไรเช่นนี้ได้ ทั้งนี้ระบอบปกครองที่ปล่อยให้ทำอะไรตามใจนั้น มีความโน้มเอียงที่จะนำไปสู่การปราบปรามอย่างรุนแรง ซึ่งกลายเป็นการสร้างความย่อยยับให้แก่การปกครองอันเรืองปัญญา”
http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9570000061705