รัฐประหาร พ.ศ. 2549
ในวันที่ 19 กันยายน เวลาประมาณ 21.00 น. คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อันมี พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก เป็นหัวหน้าคณะ ทำรัฐประหาร ยึดอำนาจจากรัฐบาล พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ซึ่งอยู่ระหว่างร่วมการประชุมสหประชาชาติ ที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา และเตรียมเสนอชื่อ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ
และต่อไปนี้ขอนำเสนอลำดับเหตุการณ์สำคัญขณะทำการรัฐประหาร 19 ก.ย. 49
พล.อ.สนธิ บุญกลิน ผู้บัญชการทหารบก ผู้นำคณะปฏิรูปการปกครองฯ
ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองฯ ฉบับที่ 3 : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 สิ้นสุด
ตามที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ได้ทำการยึดอำนาจปกครองประเทศไว้เรียบร้อยแล้วนั้น เพื่อความสงบเรียบร้อยในการปกครองประเทศ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข จึงให้
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 สิ้นสุดลง
2. วุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรี และศาลรัฐธรรมนูญ สิ้นสุดลงพร้อมกับรัฐธรรมนูญ
3. องคมนตรี คงดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่ต่อไป
4. ศาลทั้งหลาย นอกจากศาลรัฐธรรมนูญ คงมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีตามบทกฎหมาย และตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข
ประกาศ ณ วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549
ลงชื่อ พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข
จากนั้นคณะปฏิรูปการปกครองฯ ได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 4 ความว่า
ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองฯ ฉบับที่ 4 : หัวหน้าคณะปฏิรูปฯ เป็นนายกฯ
ประกาศ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 4
เรื่องอำนาจบริหารราชการแผ่นดิน โดยที่ได้มีกฎหมายบางฉบับ ถึงอำนาจหน้าที่ ของนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี ในอันที่จะปฏิบัติตามกฎหมายได้ และเพื่อประโยชน์แก่การปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
1. ในระหว่างที่ยังไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ให้บรรดาอำนาจหน้าที่ ที่กฎหมายได้บัญญัติว่า เป็นอำนาจหน้าที่ ของนายกรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรี ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่ง ผู้ซึ่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้รับมอบหมาย
2. ระหว่างที่ยังไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ให้บรรดาอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติว่า เป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีกระทรวงใดก็ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของปลัดกระทรวงนั้น เว้นแต่หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
ประกาศ ณ วันที่ 19 กันยายน พุทธศักราช 2549
พล.อ.สนธิ บุณยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ที่มา
http://w3.manager.co.th/
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯ ในเขตกรุงเทพมหานคร ตั้งบัดนี้เป็นต้นไป พร้อมสั่งปลด พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ออกจากตำแหน่ง ผบ.ทบ. ไปช่วยราชการสำนักนายกรัฐมนตรี และแต่งตั้ง พล.อ.เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นหัวหน้าผู้ปฏิบัติหน้าที่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน
เมื่อเวลาประมาณ 22.22 น. วันที่ 19 ก.ย. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี อ่านแถลงการณ์ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทางสถานีวิทยุและโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ว่า เพื่อให้การดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นไปอย่างเหมาะสมและทันท่วงที อาศัยอำนาจตามมาตรา 11 (4) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ประกอบกับมาตรา 11 วรรค 2 (6) แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 จึงให้ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก มาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี และให้รายงานตัวต่อ พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รักษาการนายกรัฐมนตรี ณ บัดนี้ ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ 19 ก.ย. 2549
พ.ต.ท.ทักษิณ แถลงต่อว่า นอกจากนี้มีคำสั่งผู้กำกับการปฏิบัติงานตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เรื่องแต่งตั้ง หัวหน้าผู้รับผิดชอบและมอบอำนาจในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ตามที่ได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตกรุงเทพมหานคร แล้วนั้น อาศัยอำนาจตามมาตรา 7 วรรค 4 และวรรค 6 และมาตรา 10 แห่งพระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ผู้กำกับการปฏิบัติงานตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน จึงมีคำสั่งดังนี้ ให้ พล.อ.เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขในสถานการณ์ฉุกเฉินมีอำนาจในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ตามที่กำหนดไว้ในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ดังนี้ 1. บังคับบัญชาและสั่งการส่วนราชการและข้าราชการที่เกี่ยวข้องรวมทั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติงานให้เป็นตามกฎหมายที่กำหนด 2. ดำเนินการอื่นๆ ตามที่รองนายกรัฐมนตรี หรือ รัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้มีอำนาจในการกำกับปฏิบัติงานตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินกำหนด หรือ มอบหมาย ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ที่มา
http://w3.manager.co.th/
อย่างไรก็ตามโทรทัศน์อัลจาซีร่าห์ในตะวันออกกลางได้อ้างคำกล่าวของ น.พ.บุญ วนาสิน ระบุว่า ผู้บัญชาการทหารบกกับผู้บัญชาการทหารเรือได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมิได้ระบุเวลาและผลจากการเข้าเฝ้าฯ
การรัฐประหารครั้งนี้เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่ดำเนินมายาวนานนับตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2548 คณะรัฐประหารได้ยกเลิกการเลือกตั้งในเดือนตุลาคม ยกเลิกรัฐธรรมนูญ สั่งยุบสภา สั่งห้ามการประท้วงและกิจกรรมทางการเมือง ยับยั้งและเซ็นเซอร์สื่อ ประกาศใช้กฎอัยการศึก และจับกุมสมาชิกคณะรัฐมนตรีหลายคน ได้แก่ พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ และนายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช
เป็นไงครับตอนที่ 3 เข้มไหมครับ ต่อไป ตอนที่ 4 พบกับการเข้ามาของอำนาจศาล และคดีแปลกๆ มีแค่ประเทศไทยเท่านั้น
วิกฤตการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน (2548-2557) ตอนที่ 3 รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 วันเปลี่ยนแปลงประเทศ
ในวันที่ 19 กันยายน เวลาประมาณ 21.00 น. คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อันมี พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก เป็นหัวหน้าคณะ ทำรัฐประหาร ยึดอำนาจจากรัฐบาล พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ซึ่งอยู่ระหว่างร่วมการประชุมสหประชาชาติ ที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา และเตรียมเสนอชื่อ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ
และต่อไปนี้ขอนำเสนอลำดับเหตุการณ์สำคัญขณะทำการรัฐประหาร 19 ก.ย. 49
พล.อ.สนธิ บุญกลิน ผู้บัญชการทหารบก ผู้นำคณะปฏิรูปการปกครองฯ
ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองฯ ฉบับที่ 3 : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 สิ้นสุด
ตามที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ได้ทำการยึดอำนาจปกครองประเทศไว้เรียบร้อยแล้วนั้น เพื่อความสงบเรียบร้อยในการปกครองประเทศ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข จึงให้
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 สิ้นสุดลง
2. วุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรี และศาลรัฐธรรมนูญ สิ้นสุดลงพร้อมกับรัฐธรรมนูญ
3. องคมนตรี คงดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่ต่อไป
4. ศาลทั้งหลาย นอกจากศาลรัฐธรรมนูญ คงมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีตามบทกฎหมาย และตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข
ประกาศ ณ วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549
ลงชื่อ พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข
จากนั้นคณะปฏิรูปการปกครองฯ ได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 4 ความว่า
ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองฯ ฉบับที่ 4 : หัวหน้าคณะปฏิรูปฯ เป็นนายกฯ
ประกาศ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 4
เรื่องอำนาจบริหารราชการแผ่นดิน โดยที่ได้มีกฎหมายบางฉบับ ถึงอำนาจหน้าที่ ของนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี ในอันที่จะปฏิบัติตามกฎหมายได้ และเพื่อประโยชน์แก่การปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
1. ในระหว่างที่ยังไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ให้บรรดาอำนาจหน้าที่ ที่กฎหมายได้บัญญัติว่า เป็นอำนาจหน้าที่ ของนายกรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรี ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่ง ผู้ซึ่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้รับมอบหมาย
2. ระหว่างที่ยังไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ให้บรรดาอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติว่า เป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีกระทรวงใดก็ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของปลัดกระทรวงนั้น เว้นแต่หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
ประกาศ ณ วันที่ 19 กันยายน พุทธศักราช 2549
พล.อ.สนธิ บุณยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ที่มา http://w3.manager.co.th/
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯ ในเขตกรุงเทพมหานคร ตั้งบัดนี้เป็นต้นไป พร้อมสั่งปลด พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ออกจากตำแหน่ง ผบ.ทบ. ไปช่วยราชการสำนักนายกรัฐมนตรี และแต่งตั้ง พล.อ.เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นหัวหน้าผู้ปฏิบัติหน้าที่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน
เมื่อเวลาประมาณ 22.22 น. วันที่ 19 ก.ย. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี อ่านแถลงการณ์ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทางสถานีวิทยุและโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ว่า เพื่อให้การดำเนินการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นไปอย่างเหมาะสมและทันท่วงที อาศัยอำนาจตามมาตรา 11 (4) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ประกอบกับมาตรา 11 วรรค 2 (6) แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 จึงให้ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก มาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี และให้รายงานตัวต่อ พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รักษาการนายกรัฐมนตรี ณ บัดนี้ ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ 19 ก.ย. 2549
พ.ต.ท.ทักษิณ แถลงต่อว่า นอกจากนี้มีคำสั่งผู้กำกับการปฏิบัติงานตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เรื่องแต่งตั้ง หัวหน้าผู้รับผิดชอบและมอบอำนาจในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ตามที่ได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตกรุงเทพมหานคร แล้วนั้น อาศัยอำนาจตามมาตรา 7 วรรค 4 และวรรค 6 และมาตรา 10 แห่งพระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ผู้กำกับการปฏิบัติงานตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน จึงมีคำสั่งดังนี้ ให้ พล.อ.เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขในสถานการณ์ฉุกเฉินมีอำนาจในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ตามที่กำหนดไว้ในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ดังนี้ 1. บังคับบัญชาและสั่งการส่วนราชการและข้าราชการที่เกี่ยวข้องรวมทั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติงานให้เป็นตามกฎหมายที่กำหนด 2. ดำเนินการอื่นๆ ตามที่รองนายกรัฐมนตรี หรือ รัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้มีอำนาจในการกำกับปฏิบัติงานตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินกำหนด หรือ มอบหมาย ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ที่มา http://w3.manager.co.th/
อย่างไรก็ตามโทรทัศน์อัลจาซีร่าห์ในตะวันออกกลางได้อ้างคำกล่าวของ น.พ.บุญ วนาสิน ระบุว่า ผู้บัญชาการทหารบกกับผู้บัญชาการทหารเรือได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมิได้ระบุเวลาและผลจากการเข้าเฝ้าฯ
การรัฐประหารครั้งนี้เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่ดำเนินมายาวนานนับตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2548 คณะรัฐประหารได้ยกเลิกการเลือกตั้งในเดือนตุลาคม ยกเลิกรัฐธรรมนูญ สั่งยุบสภา สั่งห้ามการประท้วงและกิจกรรมทางการเมือง ยับยั้งและเซ็นเซอร์สื่อ ประกาศใช้กฎอัยการศึก และจับกุมสมาชิกคณะรัฐมนตรีหลายคน ได้แก่ พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ และนายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช
เป็นไงครับตอนที่ 3 เข้มไหมครับ ต่อไป ตอนที่ 4 พบกับการเข้ามาของอำนาจศาล และคดีแปลกๆ มีแค่ประเทศไทยเท่านั้น