คุณ "ศรอรชุน" เข็มขัดสั้นคาดไม่ถึง ถูกคุณ "ใบตองจาน" น็อคคากระทู้ ประเด็น องค์กรอิสระที่ทหารแต่งตั้ง

กระทู้สนทนา




แฟ้มบุคคลขอตบมือให้คุณ ใบตองจาน ครับ






อ้างอิง
1. +++ เสื้อแดงครับ จะรีบแก้รัฐธรรมนูญ ไปทำไมครับ ... by ศรอรชุน +++
http://ppantip.com/topic/30431410

2. ยินดีที่ได้แลกเปลี่ยนความคิดกับคุณศร อย่างสร้างสรรค์
http://ppantip.com/topic/30432730




รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
หมวด ๑๑ องค์กรตามรัฐธรรมนูญ
ส่วนที่ ๑ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
๑. คณะกรรมการการเลือกตั้ง
๒. ผู้ตรวจการแผ่นดิน
๓. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
๔. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

ส่วนที่ ๒ องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ
๑. องค์กรอัยการ
๒. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
๓. สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ




ประกาศ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๓

ตามที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ได้ทำการยึดอำนาจปกครองประเทศไว้เรียบร้อยแล้วนั้น เพื่อความสงบเรียบร้อยในการปกครองประเทศ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข จึงให้

๑.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๐ สิ้นสุดลง
๒.วุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรี และศาลรัฐธรรมนูญ สิ้นสุดลงพร้อมกับรัฐธรรมนูญ
๓.องคมนตรี คงดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่ต่อไป
๔.ศาลทั้งหลาย นอกจากศาลรัฐธรรมนูญ คงมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีตามบทกฎหมาย และตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข


ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙

พลเอก สนธิ บุณยรัตกลิน
หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข




ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๑๒

เรื่อง ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญบางฉบับมีผลบังคับใช้ต่อไป

เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดินเป็นไปอย่างต่อเนื่อง สมควรปรับปรุงพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้มีผลใช้บังคับต่อไป คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงมีประกาศดังต่อไปนี้

ข้อ ๒ ให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๙ คงอยู่ในตำแน่งต่อไป จนกว่าจะมีประกาศเป็นอย่างอื่น




ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๑๓

เรื่อง ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญบางฉบับมีผลใช้บังคับต่อไป

ข้อ ๔ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกอบด้วย
(๑)     นายอภิชาต     สุขัคคานนท์     ประธานกรรมการ
(๒)     นายประพันธ์     นัยโกวิท     กรรมการ
(๓)     นางสดศรี     สัตยธรรม     กรรมการ
(๔)     นายสมชัย     จึงประเสริฐ     กรรมการ
(๕)     นายสุเมธ     อุปนิสากร     กรรมการ

ทั้งนี้ จนกว่าจะประกาศเป็นอย่างอื่น




ประกาศ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๑๙

เรื่อง ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญบางฉบับมีผลใช้บังคับต่อไป

ข้อ ๓ ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ ประกอบด้วย
(๑) นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานกรรมการ
(๒) นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการ
(๓) นายใจเด็ด พรไชยา กรรมการ
(๔) นายประสาท พงษ์ศิวาภัย กรรมการ
(๕) ศาสตราจารย์ภักดี โพธิศิริ กรรมการ
(๖) ศาสตราจารย์เมธี ครองแก้ว กรรมการ
(๗) นายวิชา มหาคุณ กรรมการ
(๘) นายวิชัย วิวิตเสวี กรรมการ
(๙) นางสาวสมลักษณ์ จัดกระบวนพล กรรมการ




ประกาศ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๒๓

เรื่อง การตรวจสอบทรัพย์สิน

ข้อ ๑ ให้มีคณะกรรมการตรวจสอบคณะหนึ่ง ประกอบด้วย
(๑) นายสวัสดิ์ โชติพานิช เป็นประธานกรรมการ
(๒) ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นกรรมการ
(๓) อัยการสูงสุดหรือผู้แทน เป็นกรรมการ
(๔) กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือผู้แทน เป็นเลขาธิการคณะกรรมการ
(๕) กรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินหรือผู้แทน เป็นเลขาธิการคณะกรรมการ
(๖) เจ้ากรมพระธรรมนูญ เป็นกรรมการหรือผู้แทน
(๗) ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยหรือผู้แทน เป็นกรรมการ
(๘) เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือผู้แทน เป็นกรรมการ




ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๓๐
เรื่อง การตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความสูญเสียแก่รัฐ

ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๒๓ เรื่อง การตรวจสอบทรัพย์สิน ลงวันที่ ๒๔ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙

ข้อ ๒ ให้มีคณะกรรมการตรวจสอบคณะหนึ่ง ประกอบด้วย
(๑)     นายกล้าณรงค์     จักทิก     เป็นกรรมการ
(๒)     นายแก้วสรร     อติโพธิ     เป็นกรรมการ
(๓)     คุณหญิงจารุวรรณ     เมณฑกา     เป็นกรรมการ
(๔)     นายจิรนิติ     หะวานนท์     เป็นกรรมการ
(๕)     นายนาม     ยิ้มแย้ม     เป็นกรรมการ
(๖)     นายบรรเจิต     สิงคะเนติ     เป็นกรรมการ
(๗)     นายวิโรจน์     เลาหะพันธ์     เป็นกรรมการ
(๘)     นายสวัสดิ์     โชติพานิจ     เป็นกรรมการ
(๙)     นายสัก     กอแสงเรือง     เป็นกรรมการ
(๑๐)     นางเสาวนีย์     อัศวโรจน์     เป็นกรรมการ
(๑๑)     นายอุดม     เฟื่องฟุ้ง     เป็นกรรมการ
(๑๒)     นายอำนวย     ธันธรา     เป็นกรรมการ




ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๓๔
เรื่อง อนุญาตให้ข้าราชการอัยการลาออกจากราชการ

ตามคำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ ๒๗/๒๕๔๙ ให้อนุญาตให้ นายใจเด็ด พรไชยา อัยการอาวุโส สำนักงานอัยการสูงสุด ลาออกจากราชการ เพื่อไปดำรงตำแหน่งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๙ เป็นต้นไป




รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙

มาตรา ๓๕

บรรดาการใดที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ หรือเมื่อมีปัญหาว่ากฎหมายใดขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ให้เป็นอำนาจของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ซึ่งประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา เป็นประธาน ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นรองประธาน ผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกาโดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวนห้าคน เป็นตุลาการรัฐธรรมนูญ และตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดโดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวนสองคน เป็นตุลาการรัฐธรรมนูญ

ให้สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญตามกฎหมายว่าด้วยสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญทำหน้าที่ธุรการ และการอื่นใดตามที่ประธานคณะตุลาการรัฐธรรมนูญมอบหมาย

องค์คณะในการพิจารณาพิพากษา วิธีพิจารณา และการทำคำวินิจฉัย ให้เป็นไปตามที่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

บรรดาอรรถคดีหรือการใดที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการของศาลรัฐธรรมนูญก่อนวันที่ ๑๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ ให้โอนมาอยู่ในอำนาจและความรับผิดชอบของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ






ปล. สิงห์ขอเกาะแข้งเกาะขาคุณใบตองจานสักหนึ่งกระทู้คงไม่ว่ากันนะครับ อิอิ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่