(บางส่วน)
ที่แท้นั้นคำสอนที่เป็นแกนอภิธรรมนี้ มาจากพระสูตร
อย่างพระสูตรสำคัญ ๆ นี้ ให้ไปดูอย่างพระสูตรเล่ม ๑๖ นี้ ก็แกนของพวกปฏิจจสมุปบาท
เล่ม ๑๖ นี้ ปฏิจจสมุปบาทแทบทั้งเล่มเลย เรียกว่า นิทานวรรค คำว่า "นิทาน" นั้น แปลว่า เหตุ
ไม่ใช่นิทานเรื่องเล่าในภาษาไทย นิทานแปลว่าเหตุ นิทานวรรคก็คือเรื่องปฏิจจสมุปบาท เล่ม ๑๖ นี้ แทบทั้งเล่มเป็นปฏิจจสมุปบาท
เล่ม ๑๗ ก็เรื่องขันธ์ ๕ แทบทั้งเล่มเลย เรียกว่าขันธวารวรรค นี่เรื่องธรรมะในนั้นก็คือตัวหลักธรรมในขั้นปรมัตถ์นี่แหละ
แต่ว่าเริ่มเรื่องก็จะบอกว่าครั้งนั้นพระพุทธเจ้าประทับที่นั่น แล้วก็ใครมา แล้วพระพุทธเจ้าตรัสตอบใคร หรือทรงอธิบายแก่ใคร
แล้วก็ต่อไปเล่ม ๑๘ ก็จะเรื่องอายตนะ อายตนะ๖ ตา หู จมูก ลิ้น กายใจ อะไรพวกนี้
แล้วก็ไปเล่ม ๑๙, เล่ม ๑๙ ก็จะไปอธิบายหลักธรรมที่เป็นภาคปฎิบัติ นี่แหละภาคปฎิบัติ
แต่เป็นตัวเนื้อปฎิบัตินะ เป็นองค์ธรรมในการปฎิบัติ ก็จะเป็นตัวเนื้ออย่างเช่น เรื่องมรรค อย่างนี้ มรรคมีองค์ ๘
เรื่องโพชฌงค์ ๗, เรื่องอิทธิบาท ๔ , เรื่องสติปัฏฐาน ๔, สติปัฏฐาน ๔ ก็อยู่เล่ม ๑๙
นี่ รวมแล้วก็คือหลักธรรมที่เรียกว่า โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ อยู่เล่ม ๑๙
ธรรมะภาคปฎิบัติที่นำไปสู่การตรัสรู้อยู่เล่มนี้หมดเลย
แล้วธรรมะในนี้ เล่ม ๑๖, ๑๗, ๑๘, ๑๙ นี้ เข้าไปเป็นแกนหลักอภิธรรม
ดังนั้น พื้นอภิธรรมแท้ ๆ นี้อยู่ในพระสูตร เสร็จแล้วเวลาจะเอาธรรมะที่ไปเรียนอภิธรรมมาใช้ประโยชน์ ก็ต้องสอนแนวพระสูตร
พระสูตรก็ทั้งเป็นฐานให้แก่อภิธรรม แล้วก็เป็นตัวดึงเนื้ออภิธรรมมาใช้ประโยชน์
-------------
เป็นส่วหนึ่งของธรรมบรรยายอยู่ในชุด
"ถ้ารู้ขั้นนี้ได้ ก็เริ่มถึงเนื้อในของพระพุทธศาสนา"
จากตอบปัญหาพระใหม่ แก่พระนวกะ รุ่นพรรษา ๒๕๔๙ ณ วัดญาณเวศกวัน
http://www.youtube.com/watch?v=S_MEOaLzkjA
อภิธรรม ๆ ได้ยินพูดกันบ่อย ควรรู้จักกันไว้บ้าง - พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) ตอบปัญหาพระใหม่
(บางส่วน)
ที่แท้นั้นคำสอนที่เป็นแกนอภิธรรมนี้ มาจากพระสูตร
อย่างพระสูตรสำคัญ ๆ นี้ ให้ไปดูอย่างพระสูตรเล่ม ๑๖ นี้ ก็แกนของพวกปฏิจจสมุปบาท
เล่ม ๑๖ นี้ ปฏิจจสมุปบาทแทบทั้งเล่มเลย เรียกว่า นิทานวรรค คำว่า "นิทาน" นั้น แปลว่า เหตุ
ไม่ใช่นิทานเรื่องเล่าในภาษาไทย นิทานแปลว่าเหตุ นิทานวรรคก็คือเรื่องปฏิจจสมุปบาท เล่ม ๑๖ นี้ แทบทั้งเล่มเป็นปฏิจจสมุปบาท
เล่ม ๑๗ ก็เรื่องขันธ์ ๕ แทบทั้งเล่มเลย เรียกว่าขันธวารวรรค นี่เรื่องธรรมะในนั้นก็คือตัวหลักธรรมในขั้นปรมัตถ์นี่แหละ
แต่ว่าเริ่มเรื่องก็จะบอกว่าครั้งนั้นพระพุทธเจ้าประทับที่นั่น แล้วก็ใครมา แล้วพระพุทธเจ้าตรัสตอบใคร หรือทรงอธิบายแก่ใคร
แล้วก็ต่อไปเล่ม ๑๘ ก็จะเรื่องอายตนะ อายตนะ๖ ตา หู จมูก ลิ้น กายใจ อะไรพวกนี้
แล้วก็ไปเล่ม ๑๙, เล่ม ๑๙ ก็จะไปอธิบายหลักธรรมที่เป็นภาคปฎิบัติ นี่แหละภาคปฎิบัติ
แต่เป็นตัวเนื้อปฎิบัตินะ เป็นองค์ธรรมในการปฎิบัติ ก็จะเป็นตัวเนื้ออย่างเช่น เรื่องมรรค อย่างนี้ มรรคมีองค์ ๘
เรื่องโพชฌงค์ ๗, เรื่องอิทธิบาท ๔ , เรื่องสติปัฏฐาน ๔, สติปัฏฐาน ๔ ก็อยู่เล่ม ๑๙
นี่ รวมแล้วก็คือหลักธรรมที่เรียกว่า โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ อยู่เล่ม ๑๙
ธรรมะภาคปฎิบัติที่นำไปสู่การตรัสรู้อยู่เล่มนี้หมดเลย
แล้วธรรมะในนี้ เล่ม ๑๖, ๑๗, ๑๘, ๑๙ นี้ เข้าไปเป็นแกนหลักอภิธรรม
ดังนั้น พื้นอภิธรรมแท้ ๆ นี้อยู่ในพระสูตร เสร็จแล้วเวลาจะเอาธรรมะที่ไปเรียนอภิธรรมมาใช้ประโยชน์ ก็ต้องสอนแนวพระสูตร
พระสูตรก็ทั้งเป็นฐานให้แก่อภิธรรม แล้วก็เป็นตัวดึงเนื้ออภิธรรมมาใช้ประโยชน์
-------------
เป็นส่วหนึ่งของธรรมบรรยายอยู่ในชุด "ถ้ารู้ขั้นนี้ได้ ก็เริ่มถึงเนื้อในของพระพุทธศาสนา"
จากตอบปัญหาพระใหม่ แก่พระนวกะ รุ่นพรรษา ๒๕๔๙ ณ วัดญาณเวศกวัน
http://www.youtube.com/watch?v=S_MEOaLzkjA