สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 7
เอาประสบการณ์ผมนะครับ
ผมเคยเอาเงินเป็นเป้าหมายคิดว่าเงินคือความสุข
ผมเคยหาเงินได้มาก อยากได้อะไรก็ได้ที่เงินซื้อได้ ตามฐานะนะครับไม่ใช่มหาเศรษฐี
แต่เมื่อผมอกหัก เงินไม่ช่วยทำให้ผมมีความสุขได้เลย ผมแค่พลาญเงินไปวันๆ
เที่ยวมันทุกอย่าง แต่มันก็มีความสุขแค่ช่วงนั้น ในใจลึก ผมรู้ว่ามันไม่ใช่
ผมเจอเหตุการณแม่ผมเป็นมะเร็ง ผมต้องดูแลแม่
เงินไม่เห็นจะทำให้แม่ผมหายเจ็บได้เลย.
ไม่ว่าเงินทองมากมายขนาดไหน ความเจ็บแม่ผมก็ไม่ลดลง
สุดท้ายความตายก็มาเยือน แม่ผมจากไปในวันที่น้องผมแต่งงาน
ผมคือคนเดียวในครอบครัวที่อยู่กับแม่ ณ วันสุดท้ายที่แม่ผมอยู่บนโลกใบนี้
ผมดูแม่เป็นเวลาสี่ปีนะครับ
ตอนที่ผมพบวันเวลาแย่ๆ ผมได้พบกับพระธรรม พบกับครูบาอาจารย์
ท่านสอนผมเรื่องการใช้ชีวิตให้ฉลาดและมีความสุข
ความทุกข์ที่คุณพบมานั้นไม่มีใครสร้างให้คุณ มีแต่คุณเท่านั้น
ที่เป็นผู้ปรุงความสุขความทุกข์เหล่านั้น
ไม่มีใครในโลกนี้มีอำนาจมาทำให้คุณสุขหรือทุกข์ได้
ความสุขกับความทุกข์มันอยู่ภายใน.
ที่คนเราทุกข์เพราะว่าเรานั้น มีความรัก หรือชอบในสิ่งใด(ทางศาสนาเรียกว่าตัณหา)
สิ่งใดเป็นที่ตั้งแห่งความสุข สิ่งนั้นย่อมเป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์ด้วย
ส่วนเรื่องรวย นั้นคุณต้องมองข้ามให้ได้ว่าเงินไม่ใช่เป้าหมาย
ถ้าคุณปล่อยให้เงินเป็นเป้าหมายคุณจะเป็นทาสของเงิน
แต่ให้มองว่าเงินนั้นเป็นเครื่องมือในการสร้างความสุข
ความสะดวก สบายชนิดนึง ชีวิตคุณจะง่ายขึ้น
ความสุข ความสะดวก ความสบายหลายๆ อย่างไม่ได้มาได้ด้วยเงิน
แต่มาได้ด้วย มิตรที่ดีบ้าง คนรอบข้างที่ดี
ที่สำคัญมาจากความคิด สติ สมาธิ ปัญญา และจิตใจที่ดีครับ
อาจจะยาวหน่อย
แต่ขอให้เจริญในธรรมนะครับ
ผมเคยเอาเงินเป็นเป้าหมายคิดว่าเงินคือความสุข
ผมเคยหาเงินได้มาก อยากได้อะไรก็ได้ที่เงินซื้อได้ ตามฐานะนะครับไม่ใช่มหาเศรษฐี
แต่เมื่อผมอกหัก เงินไม่ช่วยทำให้ผมมีความสุขได้เลย ผมแค่พลาญเงินไปวันๆ
เที่ยวมันทุกอย่าง แต่มันก็มีความสุขแค่ช่วงนั้น ในใจลึก ผมรู้ว่ามันไม่ใช่
ผมเจอเหตุการณแม่ผมเป็นมะเร็ง ผมต้องดูแลแม่
เงินไม่เห็นจะทำให้แม่ผมหายเจ็บได้เลย.
ไม่ว่าเงินทองมากมายขนาดไหน ความเจ็บแม่ผมก็ไม่ลดลง
สุดท้ายความตายก็มาเยือน แม่ผมจากไปในวันที่น้องผมแต่งงาน
ผมคือคนเดียวในครอบครัวที่อยู่กับแม่ ณ วันสุดท้ายที่แม่ผมอยู่บนโลกใบนี้
ผมดูแม่เป็นเวลาสี่ปีนะครับ
ตอนที่ผมพบวันเวลาแย่ๆ ผมได้พบกับพระธรรม พบกับครูบาอาจารย์
ท่านสอนผมเรื่องการใช้ชีวิตให้ฉลาดและมีความสุข
ความทุกข์ที่คุณพบมานั้นไม่มีใครสร้างให้คุณ มีแต่คุณเท่านั้น
ที่เป็นผู้ปรุงความสุขความทุกข์เหล่านั้น
ไม่มีใครในโลกนี้มีอำนาจมาทำให้คุณสุขหรือทุกข์ได้
ความสุขกับความทุกข์มันอยู่ภายใน.
ที่คนเราทุกข์เพราะว่าเรานั้น มีความรัก หรือชอบในสิ่งใด(ทางศาสนาเรียกว่าตัณหา)
สิ่งใดเป็นที่ตั้งแห่งความสุข สิ่งนั้นย่อมเป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์ด้วย
ส่วนเรื่องรวย นั้นคุณต้องมองข้ามให้ได้ว่าเงินไม่ใช่เป้าหมาย
ถ้าคุณปล่อยให้เงินเป็นเป้าหมายคุณจะเป็นทาสของเงิน
แต่ให้มองว่าเงินนั้นเป็นเครื่องมือในการสร้างความสุข
ความสะดวก สบายชนิดนึง ชีวิตคุณจะง่ายขึ้น
ความสุข ความสะดวก ความสบายหลายๆ อย่างไม่ได้มาได้ด้วยเงิน
แต่มาได้ด้วย มิตรที่ดีบ้าง คนรอบข้างที่ดี
ที่สำคัญมาจากความคิด สติ สมาธิ ปัญญา และจิตใจที่ดีครับ
อาจจะยาวหน่อย
แต่ขอให้เจริญในธรรมนะครับ
ความคิดเห็นที่ 8
เพราะคุณคิด คุณถึงทุกข์...
เวลามีคนเอาของขวัญมาให้คุณ คุณรับของขวัญนั้น ของขวัญชิ้นนั้นเป็นของคุณ
แต่เมื่อ เขาเอาของขวัญมาให้คุณ แต่คุณไม่อยู่ หรือ ไม่รับ ของขวัญชิ้นนั้นก็ไม่ใช่ของคุณ...
มันต่างกันตรง สถานการณ์ และ การกระทำ ทำให้คุณได้เป็นเจ้าของ หรือ ไม่ได้เป็นเจ้าของ....
ถ้าเปรียบเทียบว่า ของขวัญ เป็น ความสับสนหรือความทุกข์ของคุณอยู่ ณ ตอนนี้
สถานการณ์ คือ ความคิดของคุณ และ การกระทำ คือ การเปรียบเทียบตัวคุณกับบุคคลอื่นๆ...
คุณสับสนและเป็นทุกข์ตอนนี้ เพราะคุณคิดมากเกินไป ประกอบกับ คุณเปรียบเทียบตัวคุณกับคนอื่นๆ...
มีอยู่วันหนึ่ง ผมเลี้ยงลูกน้องผมเสียเงินไป 2 พันกว่าบาท ลูกน้องขอบคุณหลังจากทานเสร็จ... แล้วแยกย้ายกันไปทำงาน... ไม่มีอะไรเกิดขึ้น... มันกลายเป็นเรื่องปกติที่ลูกน้องผมได้รับ ผมก็ไม่รู้สึกอะไร...
และ ในวันเดียวกัน ผมให้เงินขอทานเด็ก 100 บาท สีหน้าและแววตาของเขาดู งง งันและนำเงินไปให้แม่
แม่ของเขาก็เป็นขอทาน เข้ามาขอบคุณ หน้าตาเขายิ้มแย้มขึ้น เมื่อเทียบกับ วันก่อนๆที่ผมเคยเห็น...
ผมกลับรู้สึกว่า 100 บาทที่ให้กับขอทานเด็กคนนั้น มันมีค่ากับพวกเขามากมาย แต่กลับลูกน้องที่ทานกันคนละ 400-500 บาท พวกเขากลับเฉยๆ...
มุมมองทางด้านเงิน ขึ้นอยู่กับปริมาณความพึงพอใจ ณ เวลานั้นๆ ยิ่งมีฐานะมากขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งเติมเต็มด้วยเงินเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น
ทำไมขอทาน พึงพอใจกับเงิน 100 บาท เพราะ เขาไม่เคยมีใครให้เขาแบบนี้... เกินความคาดหมาย
ทำไมลูกน้องผม เฉยๆกับการกินข้าวหรูๆ เพราะ เขาเคยได้รับอย่างเคยชิน...
ทำไมคนทำงาน ต้องการได้ปรับเงินเดือนและโบนัส เพราะ เขาต้องการมากขึ้น...
ทำไมคนรวย ไม่เคยบอกว่าตัวเองรวย... เพราะ เมื่อเทียบกับคนอื่นๆ เขายังไม่รวยเท่ากับคนอื่น...
คนรวยอันดับหนึ่งของโลก ทำไมไม่วางมือในการหาเงิน... เพราะ เขาก็ยังกลัวว่าเขาจะไม่เป็นอันดับหนึ่งอีกต่อไป...
ผมกำลังพยายามอธิบายว่า ณ เวลานี้ จขกท กำลังอยู่ในพื้นฐานของคนปกติ ที่กำลังติดกับดักทางความคิดของตนเอง ความสุขไม่ได้อยู่ที่เงินเพียงอย่างเดียว ความสุขไม่ได้อยู่ที่คิด แต่อยู่ที่ไม่คิด...
ขอทาน ไม่คิดว่าจะได้เงิน 100 บาท แต่แล้วก็ได้อย่างไม่ตั้งตัว ... เขามีความสุข
วันต่อมา ขอทานคิดว่า วันนี้น่าจะมีคนใจดีให้เงิน 100 บาท แต่รอทั้งวันก็ไม่ได้... เขามีความทุกข์
ถ้าไม่คิดว่า จะได้เงินเดือนขึ้น แล้ว จู่ๆได้เจ้านายขึ้นเงินเดือนให้ทั้งๆที่ไม่ได้อยู่ในช่วงขึ้นเงินเดือน... คุณจะมีความสุขหรือเปล่า...
คุณมีเงินพอกินพอใช้ ถ้าไม่คิดอะไร คุณก็มีความสุขจากการอยู่อย่างปกติของคุณ
แต่เมื่อคุณคิดเปรียบเทียบ คิดว่าต้องการสิ่งนั้นสิ่งนี้ แล้ว เงินที่มีอยู่ไม่สามารถตอบสนองคุณได้... คุณก็ต้องขวนขวายหามันมา เพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง ถ้าได้ ก็สบายใจ แต่ถ้าไม่ได้ตามที่ต้องการ คุณเองแหละ ที่จะทุกข์...
แค่หยุดคิด หยุดเปรียบเทียบ ผมคิดว่า คุณจะมีความสุข ไม่สับสน ขึ้นมาได้มากเลยครับ...
เวลามีคนเอาของขวัญมาให้คุณ คุณรับของขวัญนั้น ของขวัญชิ้นนั้นเป็นของคุณ
แต่เมื่อ เขาเอาของขวัญมาให้คุณ แต่คุณไม่อยู่ หรือ ไม่รับ ของขวัญชิ้นนั้นก็ไม่ใช่ของคุณ...
มันต่างกันตรง สถานการณ์ และ การกระทำ ทำให้คุณได้เป็นเจ้าของ หรือ ไม่ได้เป็นเจ้าของ....
ถ้าเปรียบเทียบว่า ของขวัญ เป็น ความสับสนหรือความทุกข์ของคุณอยู่ ณ ตอนนี้
สถานการณ์ คือ ความคิดของคุณ และ การกระทำ คือ การเปรียบเทียบตัวคุณกับบุคคลอื่นๆ...
คุณสับสนและเป็นทุกข์ตอนนี้ เพราะคุณคิดมากเกินไป ประกอบกับ คุณเปรียบเทียบตัวคุณกับคนอื่นๆ...
มีอยู่วันหนึ่ง ผมเลี้ยงลูกน้องผมเสียเงินไป 2 พันกว่าบาท ลูกน้องขอบคุณหลังจากทานเสร็จ... แล้วแยกย้ายกันไปทำงาน... ไม่มีอะไรเกิดขึ้น... มันกลายเป็นเรื่องปกติที่ลูกน้องผมได้รับ ผมก็ไม่รู้สึกอะไร...
และ ในวันเดียวกัน ผมให้เงินขอทานเด็ก 100 บาท สีหน้าและแววตาของเขาดู งง งันและนำเงินไปให้แม่
แม่ของเขาก็เป็นขอทาน เข้ามาขอบคุณ หน้าตาเขายิ้มแย้มขึ้น เมื่อเทียบกับ วันก่อนๆที่ผมเคยเห็น...
ผมกลับรู้สึกว่า 100 บาทที่ให้กับขอทานเด็กคนนั้น มันมีค่ากับพวกเขามากมาย แต่กลับลูกน้องที่ทานกันคนละ 400-500 บาท พวกเขากลับเฉยๆ...
มุมมองทางด้านเงิน ขึ้นอยู่กับปริมาณความพึงพอใจ ณ เวลานั้นๆ ยิ่งมีฐานะมากขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งเติมเต็มด้วยเงินเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น
ทำไมขอทาน พึงพอใจกับเงิน 100 บาท เพราะ เขาไม่เคยมีใครให้เขาแบบนี้... เกินความคาดหมาย
ทำไมลูกน้องผม เฉยๆกับการกินข้าวหรูๆ เพราะ เขาเคยได้รับอย่างเคยชิน...
ทำไมคนทำงาน ต้องการได้ปรับเงินเดือนและโบนัส เพราะ เขาต้องการมากขึ้น...
ทำไมคนรวย ไม่เคยบอกว่าตัวเองรวย... เพราะ เมื่อเทียบกับคนอื่นๆ เขายังไม่รวยเท่ากับคนอื่น...
คนรวยอันดับหนึ่งของโลก ทำไมไม่วางมือในการหาเงิน... เพราะ เขาก็ยังกลัวว่าเขาจะไม่เป็นอันดับหนึ่งอีกต่อไป...
ผมกำลังพยายามอธิบายว่า ณ เวลานี้ จขกท กำลังอยู่ในพื้นฐานของคนปกติ ที่กำลังติดกับดักทางความคิดของตนเอง ความสุขไม่ได้อยู่ที่เงินเพียงอย่างเดียว ความสุขไม่ได้อยู่ที่คิด แต่อยู่ที่ไม่คิด...
ขอทาน ไม่คิดว่าจะได้เงิน 100 บาท แต่แล้วก็ได้อย่างไม่ตั้งตัว ... เขามีความสุข
วันต่อมา ขอทานคิดว่า วันนี้น่าจะมีคนใจดีให้เงิน 100 บาท แต่รอทั้งวันก็ไม่ได้... เขามีความทุกข์
ถ้าไม่คิดว่า จะได้เงินเดือนขึ้น แล้ว จู่ๆได้เจ้านายขึ้นเงินเดือนให้ทั้งๆที่ไม่ได้อยู่ในช่วงขึ้นเงินเดือน... คุณจะมีความสุขหรือเปล่า...
คุณมีเงินพอกินพอใช้ ถ้าไม่คิดอะไร คุณก็มีความสุขจากการอยู่อย่างปกติของคุณ
แต่เมื่อคุณคิดเปรียบเทียบ คิดว่าต้องการสิ่งนั้นสิ่งนี้ แล้ว เงินที่มีอยู่ไม่สามารถตอบสนองคุณได้... คุณก็ต้องขวนขวายหามันมา เพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง ถ้าได้ ก็สบายใจ แต่ถ้าไม่ได้ตามที่ต้องการ คุณเองแหละ ที่จะทุกข์...
แค่หยุดคิด หยุดเปรียบเทียบ ผมคิดว่า คุณจะมีความสุข ไม่สับสน ขึ้นมาได้มากเลยครับ...
ความคิดเห็นที่ 9
สมัยอายุซัก 20 ผมก็คิดเหมือน จขกท. ครับ (ปัจจุบันผมอายุ 23 ย่าง 24 นะครับ)
เพราะผมเริ่มจากความผิดหวังในชีวิตจากเรื่องบางเรื่องก่อน ช่วงนั้นเครียดมากครับ จึงเริ่มหันหน้าเข้าศึกษาธรรมะ
ตอนศึกษาธรรมะแรกๆ ก็คิดว่าเงินไม่ใช่สิ่งที่จำเป็น เราสามารถอยู่แบบเรียบง่ายก็ได้นี่ จะไปทำชีวิตให้ยุ่งยากทำไม
ตอนนั้น ผมคิดว่า ผมไปตีความหมาย ธรรมะ = การอยู่แบบเรียบง่าย โดยไม่ต้องดิ้นรน ไม่ต้องพัฒนา
ซึ่งภายหลัง ผมคิดว่า ตอนนั้น ผมตีความหมายผิดครับ
แท้จริงแล้ว ธรรมะ ควรจะเป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง บนรากฐานของความมั่นคง และพอเหมาะพอดีกับความรู้ของเราในขณะนั้นๆครับ
ซึ่งก็คือหลักอิทธิบาท 4 นั่นเอง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
คนที่บวช ก็ต้องหมั่นศึกษาธรรมะ ไม่ใช่เอาแต่นั่งกินนอนกินอยู่ในวัดเหมือนพระบางส่วน แล้วบอกว่า ฉันละทางโลกได้
มีพระหลายรูป ที่บวชเพราะพ่ายแพ้ต่อชีวิตทางโลก พอไปบวชก็ไม่หมั่นศึกษาธรรมะ ทำให้พ่ายแพ้ชีวิตในทางธรรมไปอีก
ไปๆมาๆ ก็เลยต้องบวชไปตลอดชีวิต เพราะถ้าสึกออกไป ก็คงไม่เหลืออะไรกันพอดี เพราะทำอะไรก็ไม่เคยสำเร็จ
ส่วนพระที่บวช แล้วหมั่นศึกษาธรรมะ ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ อันนี้ขออนุโมทนาครับ
ส่วนคนที่เป็นนักเรียน นักศึกษา มนุษย์เงินเดือน หรือทำธุรกิจ ก็ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่องบนรากฐานที่มั่นคง ทำอะไรให้พอเหมาะพอควร
พอผมคิดต่อไปว่า
สมมติถ้าพรุ่งนี้ตื่นมา เราไม่มีเงินเหลือซักบาท เราจะทำอย่างไร
ถ้าเราไม่มีเงินเพียงพอในการป้องกันความเสี่ยงให้กับชีวิต เราจะทำอย่างไร
จึงเริ่มเกิดคำถามอีกหลายๆอย่างในชีวิตขึ้นมาครับ
พอซักอายุ 21-22 ได้มีโอกาสศึกษาหนังสือเกี่ยวกับการบริหารเงิน การลงทุน ไม่ว่าจะเป็นหุ้น กองทุนรวม ตราสารหนี้ ธุรกิจ หรืออื่นๆ
ผมกลับพบความพอดี และพบว่า "ธรรมะ" นี่หละครับ คือพื้นฐานของการบริหารเงินที่ดีที่สุด
เพราะเมื่อเราบริหารความต้องการภายในจิตใจได้ ก็จะทำให้เรามีเงินเหลือมากขึ้น
พอเงินเหลือมากขึ้น เราก็จะสามารถออมได้มากขึ้น ลงทุนได้มากขึ้น
และมีโอกาสที่จะมี "อิสรภาพทางการเงิน" ได้มากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การมีโอกาสที่จะมี "อิสรภาพในชีวิต" ได้มากขึ้นครับ
เมื่อมีอิสรภาพในชีวิต เราก็จะหมดห่วงในหลายๆเรื่องที่เคยห่วง หมดกังวลในหลายๆเรื่องที่เคยกังวล
แล้วสามารถทุ่มเทเวลาที่เหลืออยู่ทั้งชีวิต ไปทำในสิ่งที่เรารักได้ โดยไร้ซึ่งความกังวลครับ
ผมว่าเราสามารถรวยเงินทองได้ โดยที่ไม่ต้องฟุ้งเฟ้อตามทรัพย์สินที่มากขึ้นได้ครับ เรายังสามารถใช้ชีวิตให้เรียบง่ายและมีความสุขได้อยู่
แต่เป็นการรวยเงินทองไว้เพื่อให้เรามีอิสรภาพจากพันธนาการต่างๆในสังคม เพื่อป้องกันความเสี่ยงในชีวิต
เพื่อดูแลคนที่เรารัก และไว้เพื่อทำประโยชน์ให้สังคมครับ
ดูตัวอย่างได้จากมหาเศรษฐีนักลงทุนในธุรกิจมหาชนสองท่านนี้ คือ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร และ วอเรน บัฟเฟต ครับ
สองท่านนี้รวยมาก แต่ก็ยังคงใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายและมีความสุข และยังคงทำประโยชน์ให้กับสังคมเสมอมา
มี 1,000,000 ใช้ 50,000 เหลือส่วนเผื่อเพื่อป้องกันความเสี่ยงในชีวิตไว้ 950,000
ย่อมดีกว่า
มี 50,000 ใช้ 50,000 หรือ มี 200,000 ใช้ 50,000 แน่นอน
แต่การรวยนี้ จะต้องมาจากการรวยด้วยการทำมาหากินหรือการลงทุนโดยสุจริตครับ
เงินไม่ใช่ทุกอย่างก็จริง แต่ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญสำหรับการป้องกันความเสี่ยงในเส้นทางชีวิตอันยาวไกลครับ
สุดท้ายนี้ อยากจะบอกว่า
ความรวยหรือจน ไม่ได้แปรผันตรงหรือแปรผกผันกับความสุขและทุกข์เสมอไปครับ
คนรวย ก็สุขได้ ทุกข์ได้ ในขณะที่คนจน ก็สุขได้ ทุกข์ได้
แต่สิ่งที่ดีและประเสริฐที่สุด คือการเป็นคนรวยที่มีความสุขแล้วทำประโยชน์ให้กับคนรอบข้างและสังคมครับ
เพราะผมเริ่มจากความผิดหวังในชีวิตจากเรื่องบางเรื่องก่อน ช่วงนั้นเครียดมากครับ จึงเริ่มหันหน้าเข้าศึกษาธรรมะ
ตอนศึกษาธรรมะแรกๆ ก็คิดว่าเงินไม่ใช่สิ่งที่จำเป็น เราสามารถอยู่แบบเรียบง่ายก็ได้นี่ จะไปทำชีวิตให้ยุ่งยากทำไม
ตอนนั้น ผมคิดว่า ผมไปตีความหมาย ธรรมะ = การอยู่แบบเรียบง่าย โดยไม่ต้องดิ้นรน ไม่ต้องพัฒนา
ซึ่งภายหลัง ผมคิดว่า ตอนนั้น ผมตีความหมายผิดครับ
แท้จริงแล้ว ธรรมะ ควรจะเป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง บนรากฐานของความมั่นคง และพอเหมาะพอดีกับความรู้ของเราในขณะนั้นๆครับ
ซึ่งก็คือหลักอิทธิบาท 4 นั่นเอง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
คนที่บวช ก็ต้องหมั่นศึกษาธรรมะ ไม่ใช่เอาแต่นั่งกินนอนกินอยู่ในวัดเหมือนพระบางส่วน แล้วบอกว่า ฉันละทางโลกได้
มีพระหลายรูป ที่บวชเพราะพ่ายแพ้ต่อชีวิตทางโลก พอไปบวชก็ไม่หมั่นศึกษาธรรมะ ทำให้พ่ายแพ้ชีวิตในทางธรรมไปอีก
ไปๆมาๆ ก็เลยต้องบวชไปตลอดชีวิต เพราะถ้าสึกออกไป ก็คงไม่เหลืออะไรกันพอดี เพราะทำอะไรก็ไม่เคยสำเร็จ
ส่วนพระที่บวช แล้วหมั่นศึกษาธรรมะ ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ อันนี้ขออนุโมทนาครับ
ส่วนคนที่เป็นนักเรียน นักศึกษา มนุษย์เงินเดือน หรือทำธุรกิจ ก็ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่องบนรากฐานที่มั่นคง ทำอะไรให้พอเหมาะพอควร
พอผมคิดต่อไปว่า
สมมติถ้าพรุ่งนี้ตื่นมา เราไม่มีเงินเหลือซักบาท เราจะทำอย่างไร
ถ้าเราไม่มีเงินเพียงพอในการป้องกันความเสี่ยงให้กับชีวิต เราจะทำอย่างไร
จึงเริ่มเกิดคำถามอีกหลายๆอย่างในชีวิตขึ้นมาครับ
พอซักอายุ 21-22 ได้มีโอกาสศึกษาหนังสือเกี่ยวกับการบริหารเงิน การลงทุน ไม่ว่าจะเป็นหุ้น กองทุนรวม ตราสารหนี้ ธุรกิจ หรืออื่นๆ
ผมกลับพบความพอดี และพบว่า "ธรรมะ" นี่หละครับ คือพื้นฐานของการบริหารเงินที่ดีที่สุด
เพราะเมื่อเราบริหารความต้องการภายในจิตใจได้ ก็จะทำให้เรามีเงินเหลือมากขึ้น
พอเงินเหลือมากขึ้น เราก็จะสามารถออมได้มากขึ้น ลงทุนได้มากขึ้น
และมีโอกาสที่จะมี "อิสรภาพทางการเงิน" ได้มากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การมีโอกาสที่จะมี "อิสรภาพในชีวิต" ได้มากขึ้นครับ
เมื่อมีอิสรภาพในชีวิต เราก็จะหมดห่วงในหลายๆเรื่องที่เคยห่วง หมดกังวลในหลายๆเรื่องที่เคยกังวล
แล้วสามารถทุ่มเทเวลาที่เหลืออยู่ทั้งชีวิต ไปทำในสิ่งที่เรารักได้ โดยไร้ซึ่งความกังวลครับ
ผมว่าเราสามารถรวยเงินทองได้ โดยที่ไม่ต้องฟุ้งเฟ้อตามทรัพย์สินที่มากขึ้นได้ครับ เรายังสามารถใช้ชีวิตให้เรียบง่ายและมีความสุขได้อยู่
แต่เป็นการรวยเงินทองไว้เพื่อให้เรามีอิสรภาพจากพันธนาการต่างๆในสังคม เพื่อป้องกันความเสี่ยงในชีวิต
เพื่อดูแลคนที่เรารัก และไว้เพื่อทำประโยชน์ให้สังคมครับ
ดูตัวอย่างได้จากมหาเศรษฐีนักลงทุนในธุรกิจมหาชนสองท่านนี้ คือ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร และ วอเรน บัฟเฟต ครับ
สองท่านนี้รวยมาก แต่ก็ยังคงใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายและมีความสุข และยังคงทำประโยชน์ให้กับสังคมเสมอมา
มี 1,000,000 ใช้ 50,000 เหลือส่วนเผื่อเพื่อป้องกันความเสี่ยงในชีวิตไว้ 950,000
ย่อมดีกว่า
มี 50,000 ใช้ 50,000 หรือ มี 200,000 ใช้ 50,000 แน่นอน
แต่การรวยนี้ จะต้องมาจากการรวยด้วยการทำมาหากินหรือการลงทุนโดยสุจริตครับ
เงินไม่ใช่ทุกอย่างก็จริง แต่ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญสำหรับการป้องกันความเสี่ยงในเส้นทางชีวิตอันยาวไกลครับ
สุดท้ายนี้ อยากจะบอกว่า
ความรวยหรือจน ไม่ได้แปรผันตรงหรือแปรผกผันกับความสุขและทุกข์เสมอไปครับ
คนรวย ก็สุขได้ ทุกข์ได้ ในขณะที่คนจน ก็สุขได้ ทุกข์ได้
แต่สิ่งที่ดีและประเสริฐที่สุด คือการเป็นคนรวยที่มีความสุขแล้วทำประโยชน์ให้กับคนรอบข้างและสังคมครับ
ความคิดเห็นที่ 2
แนะนำให้ฟังธรรมเยอะๆครับ แรกๆอาจจะไม่เข้าใจ ฟังไปเรื่อยๆค่อยๆพัฒนาปัญญาของตัวเองไปเรื่อยๆครับ
สักวัน จะเห็นว่าโลกนี้มันไม่ได้มีอะไรน่ายินดีเลย ทุกคนต่างวิ่งหาความสุข แต่ก็ไม่เคยเจอความสุขกันเลย
ผมเองอายุแค่ 16 มองไปรอบตัวก็เจอแต่เพื่อนๆ ที่ยังสนุกสนานรื่นเริง ไม่นึกถึงความตาย
ลืมเนื้อลืมตัวกันไปหมด เพลิดเพลินไปกับโลกมายา ดิ้นรนกันไม่หยุด เพื่อที่จะหาความสุข
สุดท้ายก็ต้องกลับมาดูตัวเอง บางทีก็อดรู้สึกสงสารไม่ได้
จขกท ลองถามตัวเองนะครับ ว่าความสุขของ จขกท คืออะไร
ลองฟังธรรม แล้วนำธรรมะมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันนะครับ อาจจะทำให้ จขกท มีความสุขมากขึ้น
ความสุขของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่ความสุขที่แท้จริง ไม่เจือปนไปด้วยทุกข์นั้นคืออะไรกันแน่ครับ
เว็ปฟังธรรมะครับ ลองเลือกฟังดูนะครับ
http://ppantip.com/topic/32079934
สักวัน จะเห็นว่าโลกนี้มันไม่ได้มีอะไรน่ายินดีเลย ทุกคนต่างวิ่งหาความสุข แต่ก็ไม่เคยเจอความสุขกันเลย
ผมเองอายุแค่ 16 มองไปรอบตัวก็เจอแต่เพื่อนๆ ที่ยังสนุกสนานรื่นเริง ไม่นึกถึงความตาย
ลืมเนื้อลืมตัวกันไปหมด เพลิดเพลินไปกับโลกมายา ดิ้นรนกันไม่หยุด เพื่อที่จะหาความสุข
สุดท้ายก็ต้องกลับมาดูตัวเอง บางทีก็อดรู้สึกสงสารไม่ได้
จขกท ลองถามตัวเองนะครับ ว่าความสุขของ จขกท คืออะไร
ลองฟังธรรม แล้วนำธรรมะมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันนะครับ อาจจะทำให้ จขกท มีความสุขมากขึ้น
ความสุขของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่ความสุขที่แท้จริง ไม่เจือปนไปด้วยทุกข์นั้นคืออะไรกันแน่ครับ
เว็ปฟังธรรมะครับ ลองเลือกฟังดูนะครับ
http://ppantip.com/topic/32079934
ความคิดเห็นที่ 5
ความพอดีของแต่ละคนก็ไม่เท่ากัน บางครั้งทุกข์หรือสุขก็ต่างกันแค่วิธีคิด
บางคนแค่มีเงินพอใช้ พอเหลือเก็บบ้างก็มีความสุข
บางคนมีพอใช้ มีพอเหลือเก็บแต่ก็ไม่มีความสุข เพราะคอยเปรียบเทียบแข่งขันกับคนอื่น เห็นใครมีมากกว่าก็ทุกข์
รู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ เลยต้องพยายามดิ้นรนหาเพิ่มเพื่อให้ตัวเองมีมากกว่าคนอื่นอยู่เสมอ
บางคนก็เอาความกลัวอนาคตมาทำให้ชีวิตปัจจุบันไม่มีความสุข กลัวจะไม่มีเงินรักษาตัวตอนแก่ ทำงานหนักซะจนร่างกายเสื่อมโทรม ป่วยตายไปก่อนแก่
บางคนชีวิตในปัจจุบันก็มีความสุขดี และมีการวางแผนถึงอนาคตอย่างมีสติ ไม่ทุกข์ไปล่วงหน้ากับอนาคตที่มองไม่เห็น
เก็บเงินไว้จำนวนหนึ่งสำหรับรักษาตัวตอนแก่ แต่ถ้าเงินนั้นไม่พอรักษาก็ไม่เป็นไร ไม่มีคนดูแลก็ไม่เป้นไร ก็แค่ปล่อยให้ตายๆไปก็เท่านั้น ยอมรับความเป็นจริง ยังไงทุกคนก็ต้องตาย
จะตายตอนหนุ่มหรือแก่ ตายแบบอนาถาไร้คนเหลียวแล หรือตายแบบไฮโซ นอนโรงพยาบาลหรูมีลูกหลานดูแลสิบคน สุดท้ายก็หนีไม่พ้นความตายอยู่ดี
บางคนแค่มีเงินพอใช้ พอเหลือเก็บบ้างก็มีความสุข
บางคนมีพอใช้ มีพอเหลือเก็บแต่ก็ไม่มีความสุข เพราะคอยเปรียบเทียบแข่งขันกับคนอื่น เห็นใครมีมากกว่าก็ทุกข์
รู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ เลยต้องพยายามดิ้นรนหาเพิ่มเพื่อให้ตัวเองมีมากกว่าคนอื่นอยู่เสมอ
บางคนก็เอาความกลัวอนาคตมาทำให้ชีวิตปัจจุบันไม่มีความสุข กลัวจะไม่มีเงินรักษาตัวตอนแก่ ทำงานหนักซะจนร่างกายเสื่อมโทรม ป่วยตายไปก่อนแก่
บางคนชีวิตในปัจจุบันก็มีความสุขดี และมีการวางแผนถึงอนาคตอย่างมีสติ ไม่ทุกข์ไปล่วงหน้ากับอนาคตที่มองไม่เห็น
เก็บเงินไว้จำนวนหนึ่งสำหรับรักษาตัวตอนแก่ แต่ถ้าเงินนั้นไม่พอรักษาก็ไม่เป็นไร ไม่มีคนดูแลก็ไม่เป้นไร ก็แค่ปล่อยให้ตายๆไปก็เท่านั้น ยอมรับความเป็นจริง ยังไงทุกคนก็ต้องตาย
จะตายตอนหนุ่มหรือแก่ ตายแบบอนาถาไร้คนเหลียวแล หรือตายแบบไฮโซ นอนโรงพยาบาลหรูมีลูกหลานดูแลสิบคน สุดท้ายก็หนีไม่พ้นความตายอยู่ดี
แสดงความคิดเห็น
บางทีก็คิดว่าจะต้องรวยให้มากๆ บางทีก็คิดว่าไม่รู้จะรวยไปทำไม ทำยังไง
เวลาไปเจอสังคมภายนอกก็อยากได้อยากมีให้มากกว่าคนอื่น แต่บางทีก็มีความรู้สึกว่าไม่รู้จะแข่งขันกันไปทำไม ทำไมต้องเยอะแยะวุ่นวายอะไรมากมาย อยากใช้ชีวิตเรียบง่ายไม่จำเป็นต้องมีอะไร แต่คิดไปคิดมาก็คงอยู่ไม่ได้
รู้สึกโลกสวยไป ส่วนตัวคิดว่ายังไงเงินก็ต้องจำเป็นอยู่ดี ไม่ว่าจะอยู่ในสังคมแบบไหน ขนาดสังคมทุกวันนี้คนเห็นวัตถุเห็นเงินสำคัญกันขนาดนี้ แล้วอนาคตถ้าไม่รวยจะอยู่ยังไง จะเรียบง่ายแล้วเอาอะไรมารักษาตัวเองยามแก่ ไม่มีเงินใครจะมาดูแล
รู้สึกสับสนตัวเองจังเลยครับ มีใครเป็นแบบผมบ้าง อะไรคือความพอดี ผมควรจะทำยังไง หรือผมคิดมากไป บางทีก็เบื่อทุกสิ่งทุกอย่างไปหมด ไม่อยากจะไปแข่งขันวุ่นวายกับใครเลยครับ เกิดเป็นมนุษย์นี้มันลำบากจริงๆ