ทฤษฎีกบต้ม เป็นทฤษฎีที่นักวิชาการาวไอริชผู้หนึ่งชื่อ Tichyand Sherman (1993) ได้เสนอแนวคิดทฤษฎีโดยการทดลองนำกบมาต้มในอ่างน้ำ 2 อ่าง เพื่อศึกษาการเปรียบเทียบปฏิกิริยาตอบสนองของกบ
อ่าง น้ำที่ชาวไอริชนำมาใช้ทดลองนั้น ใส่น้ำต่างกัน ใบแรกเป็นอ่างน้ำร้อนจัด ใบที่สองเป็นอ่างน้ำที่อุ่นสบายๆ และทำให้ค่อยๆ อุ่นขึ้นจนเดือด ได้ทดลองนำกบมา 2 ตัว ตัวแรกใส่ในอ่างน้ำที่ร้อนจัด ส่วนตัวที่สองใส่ในอ่างน้ำอุ่น ที่ทำให้อุ่นขึ้นจนเดือด โดยผู้ทดลองต้องการศึกษาว่า กบตัวไหนจะตายก่อน หรือตัวไหนจะรอดชีวิต
ผลการทดลองปรากฏว่า กบที่ใส่ในอ่างแรก คือ อ่างน้ำเดือด ปรากฏว่ากบรอดชีวิต แต่กบที่ใส่ในอ่างน้ำอุ่นที่ค่อย ๆ ร้อนขึ้นกลับตาย ที่เป็นเช่นนี้เพราะเหตุใด เหตุผลคือ กบในอ่างน้ำเดือดจะรู้ว่าน้ำร้อน จึงรีบกระโดดออกมาหลังสัมผัสน้ำเดือดทันที แต่กบที่อยู่ในน้ำอุ่นจะรู้สึกสบาย แม้ว่าน้ำจะค่อย ๆ อุ่นขึ้นก็ไม่ยอมกระโดดออกมา ยังคงอยู่ในอ่างน้ำจนกระทั่งน้ำเดือดจึงตาย
ด้วยสัญชาติญาณของการเอาตัวรอด กบจะรอดได้ต้องไวต่อความเปลี่ยนแปลงโดยเร็ว เรื่องต้มกบ หรือ กบต้ม เป็นการทดลองที่บ่งบอกให้เราต้องรู้จัก ปรับตัวต่อความเปลี่ยนแปลงโดยเร็ว บ่อยครั้งที่เรามักจะเฉื่อยชาต่อความเปลี่ยนแปลงใดๆที่เกิดขึ้น ซึ่งมักจะค่อยๆเปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อย แต่มันก็เป็นสัญญาณเตือนให้ระวัง จงอย่าตายใจในสิ่งที่เปลี่ยนแปลงนะครับ
ยกตัวอย่างเช่น ในทุกๆปี น้ำที่กักเก็บลดลงทีละนิ้ว สองนิ้ว เราก็จะรู้สึกว่า “ไม่เป็นไร” เพราะมันยังมีน้ำอยู่ น้ำพร่องไปหน่อย ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าจู่ๆ น้ำที่กักเก็บรั่วหายไปหมดล่ะ จะรู้สึกอย่างไร เป็นอุทาหรณ์ให้รู้ว่า ต้องหมั่นสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆตัวเราและอย่า “เฉื่อยชา” ต่อสิ่งที่กำลังเปลี่ยน
.
.
.
. ไมรู้สิ เห็นสถานการณ์บ้านเมืองตั้งแต่ปีที่แล้วมาจนประกาศกฏอัยการศึกวันนี้และอะไรที่จะเกิดขึ้นก็ไม่รู้ในวันข้างหน้า มันเหมือนทฤษฎีนี้จริงๆ
รึใครว่าไงคะ
ทฤษฏีกบต้มกับประชาชนคนไทย
อ่าง น้ำที่ชาวไอริชนำมาใช้ทดลองนั้น ใส่น้ำต่างกัน ใบแรกเป็นอ่างน้ำร้อนจัด ใบที่สองเป็นอ่างน้ำที่อุ่นสบายๆ และทำให้ค่อยๆ อุ่นขึ้นจนเดือด ได้ทดลองนำกบมา 2 ตัว ตัวแรกใส่ในอ่างน้ำที่ร้อนจัด ส่วนตัวที่สองใส่ในอ่างน้ำอุ่น ที่ทำให้อุ่นขึ้นจนเดือด โดยผู้ทดลองต้องการศึกษาว่า กบตัวไหนจะตายก่อน หรือตัวไหนจะรอดชีวิต
ผลการทดลองปรากฏว่า กบที่ใส่ในอ่างแรก คือ อ่างน้ำเดือด ปรากฏว่ากบรอดชีวิต แต่กบที่ใส่ในอ่างน้ำอุ่นที่ค่อย ๆ ร้อนขึ้นกลับตาย ที่เป็นเช่นนี้เพราะเหตุใด เหตุผลคือ กบในอ่างน้ำเดือดจะรู้ว่าน้ำร้อน จึงรีบกระโดดออกมาหลังสัมผัสน้ำเดือดทันที แต่กบที่อยู่ในน้ำอุ่นจะรู้สึกสบาย แม้ว่าน้ำจะค่อย ๆ อุ่นขึ้นก็ไม่ยอมกระโดดออกมา ยังคงอยู่ในอ่างน้ำจนกระทั่งน้ำเดือดจึงตาย
ด้วยสัญชาติญาณของการเอาตัวรอด กบจะรอดได้ต้องไวต่อความเปลี่ยนแปลงโดยเร็ว เรื่องต้มกบ หรือ กบต้ม เป็นการทดลองที่บ่งบอกให้เราต้องรู้จัก ปรับตัวต่อความเปลี่ยนแปลงโดยเร็ว บ่อยครั้งที่เรามักจะเฉื่อยชาต่อความเปลี่ยนแปลงใดๆที่เกิดขึ้น ซึ่งมักจะค่อยๆเปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อย แต่มันก็เป็นสัญญาณเตือนให้ระวัง จงอย่าตายใจในสิ่งที่เปลี่ยนแปลงนะครับ
ยกตัวอย่างเช่น ในทุกๆปี น้ำที่กักเก็บลดลงทีละนิ้ว สองนิ้ว เราก็จะรู้สึกว่า “ไม่เป็นไร” เพราะมันยังมีน้ำอยู่ น้ำพร่องไปหน่อย ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าจู่ๆ น้ำที่กักเก็บรั่วหายไปหมดล่ะ จะรู้สึกอย่างไร เป็นอุทาหรณ์ให้รู้ว่า ต้องหมั่นสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆตัวเราและอย่า “เฉื่อยชา” ต่อสิ่งที่กำลังเปลี่ยน
.
.
.
. ไมรู้สิ เห็นสถานการณ์บ้านเมืองตั้งแต่ปีที่แล้วมาจนประกาศกฏอัยการศึกวันนี้และอะไรที่จะเกิดขึ้นก็ไม่รู้ในวันข้างหน้า มันเหมือนทฤษฎีนี้จริงๆ
รึใครว่าไงคะ