วันนี้ ขอมา แชร์เรื่องราว การไปปฏิบัติวิปัสสนา ตามแนวทางของ ท่านอาจารย์โกเอ็นก้า ที่เพิ่งจบคอร์สเมื่อเช้านี้ค่ะ
อ้อ ... ขอแท็กชานเรือน เพราะเป็นประสบการณ์ของคนมีภาระครอบครัวปลีกเวลาไปปฏิบัติธรรมนะคะ
เนื่องจาก ภูมิรู้ ภูมิธรรม ยังอ่อนอยู่ ขอเล่าไปตามภาษาแบบบ้านตามที่รู้สึก และได้สัมผัสมานะคะ
หากมีผู้รู้ท่านใดจะกรุณามาอธิบายขยายความ อธิบายถึงสภาวะ ก็จะขอบพระคุณอย่างยิ่ง
หลายปีก่อน คุณมี้แนน เพื่อนสนิทดิฉัน ได้เคยไปเข้ารับการอบรมวิปัสสนา แบบ ๑๐ วันมานี้แล้ว และได้เชิญชวนให้ดิฉันไปเข้าคอร์สนี้บ้าง
เธอบอกว่า มีประโยชน์ต่อการพัฒนาด้านจิตใจมาก ๆ
ดิฉันเอง ก็แบ่งรับแบ่งสู้ไปหลายครั้ง จำเนียรกาลผ่านไปหลายปี จนคุณมี้แนน เธอไปอบรมมาแล้วหลายต่อหลายครั้ง และก็ได้เชิญชวนอีกหลายครั้ง
จนดิฉันรู้สึกว่า เราเหมือนรับปากไปตั้งหลายปีแล้ว ยังไม่ได้ลงมือทำสักที เห็นทีจะไม่ดีแน่
จนมาเจอ ไดอารี่ Planner เล่มเล็ก ๆ ตั้งไว้ให้หยิบไปได้ฟรี หน้าปกเขียนว่า ครบรอบ ๒๐ ปี ศูนย์ธรรมกมลา (๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕) ตรงกับวันเกิดลูกสาวคนโตพอดี แปลว่า ลูกสาวคนโตเกิดมาตอนศูนย์แห่งนี้ มีอายุครบรอบ ๑๐ ปี เลยคิดว่า เป็นนิมิตอันดีที่จะลองไปปฏิบัติ กอปรกับ คุณมี้แนน อีกนั่นแหละที่บอกว่า ไปที่ศูนย์นี้มา ได้ลองไปปฏิบัติในห้องส่วนตัวเล็ก ๆ เงียบ หรือที่เรียกว่า cell แล้วรู้สึกดีมาก ๆ ใจดิฉัน ก็กระหวัดไปถึง บทสัมภาษณ์ที่เคยได้อ่าน ถึง สุภาพสตรีท่านหนึ่ง ที่เคยไปปฏิบัติธรรมที่ประเทศพม่า และเล่าให้ฟังว่า นั่งปฏิบัติในโพรงเล็ก ๆ ในถ้ำ มันเงียบมากเสียจนเหมือนได้ยินเสียงเลือดไหลเวียน บทสัมภาษณ์นี้ทำให้ดิฉันอดนึกไปไม่ได้ว่า การได้ลองปฏิบัติธรรมแบบนี้จะเป็นอย่างไรหนอ
หลังจากจองล่วงหน้าเป็นเวลาหลายเดือน และพยายามเคลียร์งานให้เรียบร้อย และเลือกวันเวลา ให้ตรงกับช่วงปิดเทอม หรือ ช่วงที่ไม่ต้องมีกิจกรรมพิเศษของลูก ๆ ทั้งสามคน ก็ได้เวลาช่วงวันที่ ๗ - ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
ก่อนไป ก็วิตกกังวลไปหลายเรื่อง เช่น การต้องจากลูก การที่ต้องโดนหม่าม้าวิจารณ์เรื่องจากลูกไปนานถึง ๑๐ วัน การหายจากที่ทำงานไปอาทิตย์กว่า ๆ เต็มไปด้วยข้อกังวลต่าง ๆ มากมาย พร้อมกับ เรื่องสำคัญหลายเรื่องที่ต้องจัดการสอนงาน มอบหมายงาน ให้เรียบร้อยก่อนจะไป
ที่ตลกคือ เห็นการปรุงแต่งของจิตใจอย่างหนักหน่วง คือ ยังไม่ทันได้ไป ก็คิดถึงและห่วงลูกล่วงหน้าก่อนถึงวันไปเป็นอาทิตย์แล้ว
วันไปคือ วันพุธที่ ๗ ไปขึ้นรถบัสที่วัดมหาธาตุบางเขน คุณสามีไปส่งขึ้นรถบัส
ใช้เวลาประมาณสองชั่วโมงกว่า ๆ ก็ถึงศูนย์ปฏิบัติธรรม ธรรมกมลาที่ปราจีนบุรี
ที่นี่ มีกฎระเบียบของการอยู่ปฏิบัติคร่าว ๆ ดังนี้
๑. มีการแบ่งกั้นเขตหญิงชายอย่างชัดเจน คือ อยู่กันคนละเขต กั้นด้วยแนวต้นไม้ และกระดานไวท์บอร์ดในโรงอาหาร ไม่ให้ต้องได้สบตากัน
๒. มีกฏการห้ามพูดคุยกันเองอย่างเด็ดขาด รวมถึง ห้ามถูกเนื้อต้องตัว ห้ามพยายามยิ้ม หรือ สื่อสารกันด้วยวิธีอื่นใดก็ตาม
๓. ต้องฝากโทรศัพท์ ของมีค่า และเครื่องรางของขลัง ไว้ที่ตู้ของศูนย์ โดยผู้ปฏิบัติ จะได้เก็บกุญแจตู้เซฟของตัวเองไว้เอง
๔. ไม่อนุญาตให้อ่านหนังสือ เขียนหนังสือใด ๆ ทั้งสิ้น
๕. ทานอาหารมังสวิรัติที่ทางศูนย์เตรียมไว้ให้ วันละสองมื้อ
๖. หากมีข้อขัดข้องเกี่ยวกับความไม่สะดวกด้านสถานที่ ให้แจ้งกับธรรมะบริกรเท่านั้น และหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการปฏิบัติให้เรียนถามอาจารย์ผู้สอนในเวลาที่กำหนดไว้
๗. ส่วนเสื้อผ้า แต่งตัวอย่างไรก็ได้ ให้สุภาพ ไม่ฉูดฉาด ไม่แนบเนื้อ และไม่บาง
เมื่อเราไปถึงศูนย์ จะได้รับแจก ถาดหลุม ๑ ชุด ในถุงผ้า พร้อม จาน ชาม ช้อนส้อม แก้วน้ำสองใบ และผ้าเช็ดจาน ๑ ผืน และหมายเลขประจำที่นั่งของโต๊ะที่เราต้องนั่งไปตลอด ๑๐ วัน โดย แต่ละคนจะมีโต๊ะเล็ก ๆ คนละตัว และต้องนั่งหันหน้าไปคนละทาง ไม่หันหน้าเข้าหากัน บางคนก็ได้หันออกไปด้านนอก
ส่วนที่พักนั้น แต่ละคน จะอยู่ห้องพักแยก คือ พักห้องละ ๑ คน ห้องมีขนาดประมาณสัก ๒๐ ตรม. กว่า ๆ เห็นจะได้ค่ะ
ในห้องจะมี เตียงเล็ก ๆ ฟูกบาง ๆ พร้อมหมอน ตู้เสื้อผ้า ห้องอาบน้ำในตัว พร้อมสิ่งจำเป็นในการใช้ชีวิต เช่น ไม้แขวนเสื้อ ไม้หนีบผ้า ถังน้ำ ผ้าเช็ดเอนกประสงค์ ไม้ถูพื้น ไม้กวาด ชักโครก ห้องอาบน้ำ อ่างล้างหน้า พร้อมผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ผ้าห่มสะอาดได้ถูกจัดเตรียมไว้ให้แล้ว
หลังจาก เก็บของและจัดการธุระส่วนตัวแล้ว ก็นั่งรอเวลาระฆังเคาะเรียก
คืนนั้น เราสมาทานศีล รับฟังข้อปฏิบัติต่าง ๆ และรอคอยการเริ่มต้น วันที่ ๑ หรือ Day 1 กัน
เช้าวันที่ ๑ ระฆัง ปลุกตอน ตีสี่ ทุกคนตื่นมา ล้างหน้า แปรงฟัน จัดการธุระส่วนตัว และ ไปที่ห้องปฏิบัติรวม นั่งสมาธิดูลมหายใจเข้าออกที่ผ่านตรงปลายจมูก จนถึงเวลา ๐๖.๓๐
ที่นี่ เน้นย้ำก่อนเริ่มปฏิบัติว่า ขอให้ปฏิบัติตามแนวทางของที่นี่อย่างเคร่งครัด ไม่ใช่เพราะ แนวทางอื่นไม่ดี แต่เป็นเพราะอาจารย์โกเอ็นก้า ท่านอยากให้เราได้ลองปฏิบัติตามแบบของที่นี่เพื่อลองดูว่า เหมาะกับเราหรือไม่ ท่านบอกว่า หากครบคอร์สแล้ว เราไม่ชอบ ก็ไม่จำเป็นต้องไปต่อ แต่ขอให้เราลองดูให้เต็มที่และสุดทาง
การสอนของที่นี่ จะเปิดเทปการนำภาวนาของท่านอาจารย์โกเอ็นก้าเป็นภาษาอังกฤษ จากนั้น จะมีภาษาไทยแปลตามมาเป็นระยะ โดยจะมีอาจารย์ผู้ช่วยสองท่าน นั่งนำภาวนาไปด้วย โดยไม่ได้เอ่ยปากสอนอะไร แต่อาจารย์ท่านจะคอยตอบคำถามตามตารางเวลาที่กำหนดเมื่อมีข้อสงสัยในการปฏิบัติ
ช่วงสองชั่วโมงครึ่งในตอนเช้านี้ เราอาจจะนั่งขยับขาได้บ้าง (ถ้าเมื่อยจริง ๆ ) โดยปฏิบัติที่ห้องปฏิบัติรวมก็ได้ หรือ ห้องส่วนตัวก็ได้
หลังจากนั้น หกโมงครึ่งถึง แปดโมง จะเป็นช่วงเวลาทานอาหารเช้า
แปดโมง ถึง เก้าโมง จะเป็นช่วง นั่งภาวนากลุ่มในห้องภาวนารวม โดย การภาวนากลุ่มนี้ ทุกคนจะต้องไปอยู่ในห้องภาวนารวมที่นั่งด้วยกัน
วันหนึ่งจะมีสามครั้ง คือ แปดโมง ถึง เก้าโมง, บ่ายสองครึ่ง ถึง บ่ายสามครึ่ง และ หกโมง ถึง หนึ่งทุ่ม
ความสำคัญของช่วงเวลาภาวนารวมคือ ภายหลังจากผ่านพ้นวันที่สามไป ช่วงภาวนารวม ถือเป็น ชั่วโมงอธิษฐานที่ทุกคนต้องตั้งใจมั่นว่า จะนั่งภาวนาในท่าเดียว (โดยไม่ลุกยืน ลุกนั่ง หรือ เปลี่ยนท่า) จนจบชั่วโมง
หลังจากเก้าโมงไป จะมีพักสั้น ๆ ประมาณสิบนาที จากนั้นกลับมาฟังคำสอน และเริ่มภาวนาต่อจนถึง สิบเอ็ดโมง
พักทานข้าว และ จัดการธุระส่วนตัว (ซักผ้า ถูห้อง หรือ พักผ่อน) จนถึงบ่ายโมง ช่วงเวลานี้ หากผู้ใดมีข้อสงสัยในการปฏิบัติสามารถลงชื่อเพื่อขอเรียนถามอาจารย์ได้
บ่ายโมง ถึง ห้าโมงเย็น เป็นช่วงนั่งสมาธิภาวนา
ห้าโมงเย็น พักดื่มน้ำ ปานะ และพักผ่อนประมาณหนึ่งชั่วโมง
หกโมงเริ่มภาวนาต่อไปจนถึงหนึ่งทุ่ม
จากนั้น จึงฟังธรรมบรรยาย และปฏิบัติภาวนาต่อถึงสามทุ่ม
สามวันแรกที่ไป เป็นการฝึกปฏิบัติแบบ อานาปานสติ หรือ การรู้ลมหายใจแต่เพียงอย่างเดียว โดยให้จดจ่อสังเกต เพ่งความสนใจไปที่บริเวณจมูกเท่านั้น
ที่นี่ จะไม่มีการใช้คำภาวนา จะให้ดูลมหายใจเฉย ๆ โดยไม่แทรกแซง ไม่ว่าเราจะหายใจเร็ว ช้า หยาบ ละเอียด ก็ให้ดูไป ดูไปเรื่อย ๆ
ดิฉันเอง ดูลมหายใจตัวเอง ก็นึกแปลกใจ เคยคิดว่า ตัวเอง หายใจเบา ๆ นุ่ม ๆ ธรรมดา แต่พอลองมานั่งดู พบตัวเอง หายใจในแบบที่ตนคิดว่า สบาย
แต่พอลองพิจารณาใกล้ ๆ เห็นว่า ตัวเองหายใจแรงมาก และอัดลมหายใจเข้าไปอย่างรุนแรง และปล่อยพ่นออกมา เหมือนคนอัดควันบุหรี่เข้าปอดแรง ๆ แล้วพ่นออก การหายใจอาจจะช้าบ้าง เร็วบ้าง แต่ที่แน่ ๆ คือ เป็นคนหายใจแรง หายใจช้า ก็แรง หายใจเร็วก็แรง อันนี้ พอคิดย้อนดู ก็คิดว่า ตลกมากที่คิดว่า ตัวเองหายใจเหมือนคนอัดบุหรี่ เพราะตัวจริงเป็นคนไม่สูบบุหรี่เลยแพ้กลิ่นด้วยซ้ำ
สามวันแรกนี้ ความรู้สึกเจ็บปวดร่างกายก็เริ่มต้นโจมตี
ดิฉันเอง ก็ทุรนทุรายกับการบรรเทาอาการปวดขา ปวดหลังของตัวเอง มีทั้งเพ่งจ้อง บริกรรม จนเบรคแตก (ในใจ) ก่นด่า โน่นนี่ จนปั่นป่วนไปหมด
หลังจบการภาวนา เมื่อมีเบรคสั้น ๆ ทุกครั้ง ดิฉัน จะรีบวิ่งกลับไปที่ห้องล้างหน้า ดื่มน้ำ (เพราะใจกาย มันร้อนรุ่มมาก) ก่อนจะกลับไปนั่งภาวนาต่อ
ตอนหลัง ดิฉัน เริ่มจะพยายามทำความเข้าใจอุเบกขา ก็เลยเปลี่ยนกลยุทธ จากการบริภาษและการกดขี่ออกคำสั่งสังขาร คือ ขาขวา (ตรงข้อต่อกระดูกสะโพก) และหลังที่ปวดมาก ๆ ให้ " ทน ทน ทน ทน ทนให้ได้สิ "
ดิฉันเปลี่ยนเป็น เริ่มพยายามเมตตากับขาตัวเอง แล้วบอกว่า " พี่ขาขวาคะ พี่แผ่นหลังคะ ... เรากำลังภาวนาทำอะไรดี ๆ ร่วมกัน พี่ช่วย ๆ กันหน่อยก็แล้วกันนะคะ จะเจ็บจะปวด ก็ขอให้ออกมาแบบที่หนูจะทนได้ อย่าให้ถึงขั้นว่า หนูจะไปต่อไม่ได้เลย " จะด้วยอุปาทาน หรือ อะไรก็ตาม ชั่วโมงต่อจากนั้น ดิฉัน พอนั่งได้จนเกือบครบเวลาจริง ๆ โดยความเจ็บปวดแบบทนแทบไม่ได้ค่อย ๆ หายไปไหนก็ไม่รู้
ไปเรียนถามอาจารย์ ท่านเมตตา ยิ้มให้แล้วบอกให้ ไม่เพ่งจ้อง และไม่บริกรรม ตลอดจนไม่ต้องพยายามปรุงแต่งคำพูดใด ๆ ออกมาด้วย แต่ให้สังเกตอาการทางร่างกายด้วยใจอุเบกขา
อ้อ ... อีกความรู้สึกที่เป็นในวันแรก ๆ คือ มันเกิดความเศร้าตีขึ้นมาจุกอก เหมือนอยากจะร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุ อาจารย์ท่านแนะนำว่า เวลาใจเริ่มจะสงบ ตะกอนใจต่าง ๆ มันจะเริ่มปรากฎชัดเจนขึ้นให้เห็น อย่าไปกดเอาไว้ แต่ให้รับรู้ ความรู้สึกใด ๆ ก็ตามที่ลอยขึ้นมาด้วยใจที่เป็นอุเบกขา คือ ไม่ยินดี และไม่ยินร้าย (หรือจะพูดตาม ภาษาที่งดงามของ พอจ. ไพศาล วิสาโล ได้ว่า "ไม่ผลักไส ไม่ใฝ่หา")
หรือ บางขณะ ช่วงพัก อยู่ ๆ ใจมันก็เบิกบาน แบบฮัมเพลงขึ้นในใจ ที่ตลกคือ เพลงที่ผุดขึ้นมาในใจเป็นเพลงอะไรทราบไหมคะ
"เดือนเพ็ญสวยเย็น เห็นอร่าม นภาแจ่มนวลดูงาม เย็นชื่นหนอยามเมื่อลมพัดมา" (แหม ... บอกอายุได้ดีจริง ๆ )
เวลาภาวนา สิ่งที่จะรู้สึกได้อย่างหนึ่ง คือ ภาพอะไรต่อมิอะไร มันจะผุด ผุด ผุด ขึ้นมาเหมือนพรายฟองที่ลอยขึ้นมาเต็มไปหมด เป็นเรื่องกลาง ๆ สะอาดบ้าง สกปรกบ้าง ดีบ้าง ร้ายบ้าง ที่ทำให้รู้สึกแย่คือ บางทีก็เผลอไปปรามาสครูบาอาจารย์แบบไม่ได้ตั้งใจ (คือ มันหลุดออกมาเอง แบบเราไม่มีเจตนาเลย) ซึ่งมันทำให้ทรมานใจมาก ใจมันก็ปรุงแต่งไปเรื่อย ๆ ต้องคอยเตือนตัวเองว่า "อุเบกขานะคะ ได้โปรด"
ที่ตลก และอัศจรรย์ ปนสยองคือ เจ้าความคิดของเรานี่มันน่ากลัวจริง ๆ มันคิด มันฟุ้ง มันปรุง มันผุดขึ้นมาได้สารพัดเรื่อง หลายครั้ง เราก็อาจจะไปหลงคิดตามมันจนสติขาดกระจุยกระจาย ต้องเริ่มใหม่เรื่อย ๆ แบบไม่ท้อถอย เหมือนที่ อาจารย์โกเอ็นก้า ท่านจะพูดเสมอว่า " Start again, start again." หรือ เริ่มต้นใหม่อีกครั้ง เริ่มต้นใหม่อีกครั้ง
สิ่งที่ผุดขึ้นมา มีตั้งแต่ภาพในหลวง, ภาพสมเด็จพระเทพ, ภาพเพื่อนสมัยเด็ก ที่ไม่ได้สนิทเล้ย ไม่ได้คิดถึงไม่ผูกพัน แต่มันมาได้ไงหว่า, ภาพคนที่เคยเหมือนเกือบ ๆ จะคบกันตอนสมัยยังสาว ๆ อยู่ในชุดเสื้อเกราะ ใส่หมวกนักรบ, ภาพปะป๊าที่เสียไป, ภาพคนตาโบ๋ ซึ่งโผล่มาหลายชุดมาก จนดิฉันนึกขำ และคิดว่า โห นี่เล่นยกมาทั้ง gallery เลยรึเปล่าเนี่ย
รวมถึงภาพคนที่ไม่รู้จัก และรู้จักอีกมากมาย ในชุดเสื้อผ้าหลากหลาย
ด้วยความที่ดิฉันชอบคิดหาเหตุผล ก็จะฟุ้งไปกับการหาเหตุผลว่า ทำไม ทำไม ทำไม ถึงคิดอย่างนั้น เห็นอย่างนี้
ก็พยายามหาหลักคิดมาอธิบาย
เช่น เห็นภาพในหลวง อาจจะเป็นเพราะเดือนนี้เป็นเดือน มหามงคล มีวันฉัตรมงคล
เห็นภาพปะป๊า อาจจะเป็นเพราะผูกพันกันเพราะเป็นพ่อลูก
เห็นภาพแฟนเก่าคนแรกที่จากกันไปไม่ดี โดยเห็นเขาอยู่ในชุดเด็ก ๆ ดูมอซอ ๆ น่าสงสาร อาจจะเป็นเพราะ เราจากกันไม่ดี ดิฉัน เลยมีภาพแย่ ๆ ของเค้าอยู่ในหัว พร้อมทั้งเราคงรู้สึกว่า เค้าไม่มีวุฒิภาวะด้วยมั้ง เราเลยเห็นเค้าอยู่ในชุดเด็กที่ดูเก่า ๆ น่าสงสาร (มันคงเป็นกลไกในจิตเราที่พยายามจะลดทอนให้เค้าดูแย่)
ที่ตลกที่สุด คือ ใจมันฟุ้ง ไปได้ถึง บทบาทของ กฟผ กับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ อันนี้ ยิ่งคิด ก็ยิ่งฮา ว่า กฟผ มาเกี่ยวอะไรด้วย เราไม่ได้เป็นวิศวกร ไม่ได้เป็นคนรับผิดชอบเรื่องพลังงานของประเทศ ทำไมต้องมาฟุ้งเป็นวรรคเป็นเวรว่า "ทำไม กฟผ ไม่ทำความเข้าใจกับประชาชน โดยการทำอย่างงั้น อย่างงี้ ... อย่างโง้น"
แบ่งปันประสบการณ์ การปฏิบัติธรรมที่ศูนย์ปฏิบัติธรรม ธรรมกมลา (วิปัสสนา สอนโดย ท่านอาจารย์ โกเอ็นก้า)
อ้อ ... ขอแท็กชานเรือน เพราะเป็นประสบการณ์ของคนมีภาระครอบครัวปลีกเวลาไปปฏิบัติธรรมนะคะ
เนื่องจาก ภูมิรู้ ภูมิธรรม ยังอ่อนอยู่ ขอเล่าไปตามภาษาแบบบ้านตามที่รู้สึก และได้สัมผัสมานะคะ
หากมีผู้รู้ท่านใดจะกรุณามาอธิบายขยายความ อธิบายถึงสภาวะ ก็จะขอบพระคุณอย่างยิ่ง
หลายปีก่อน คุณมี้แนน เพื่อนสนิทดิฉัน ได้เคยไปเข้ารับการอบรมวิปัสสนา แบบ ๑๐ วันมานี้แล้ว และได้เชิญชวนให้ดิฉันไปเข้าคอร์สนี้บ้าง
เธอบอกว่า มีประโยชน์ต่อการพัฒนาด้านจิตใจมาก ๆ
ดิฉันเอง ก็แบ่งรับแบ่งสู้ไปหลายครั้ง จำเนียรกาลผ่านไปหลายปี จนคุณมี้แนน เธอไปอบรมมาแล้วหลายต่อหลายครั้ง และก็ได้เชิญชวนอีกหลายครั้ง
จนดิฉันรู้สึกว่า เราเหมือนรับปากไปตั้งหลายปีแล้ว ยังไม่ได้ลงมือทำสักที เห็นทีจะไม่ดีแน่
จนมาเจอ ไดอารี่ Planner เล่มเล็ก ๆ ตั้งไว้ให้หยิบไปได้ฟรี หน้าปกเขียนว่า ครบรอบ ๒๐ ปี ศูนย์ธรรมกมลา (๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕) ตรงกับวันเกิดลูกสาวคนโตพอดี แปลว่า ลูกสาวคนโตเกิดมาตอนศูนย์แห่งนี้ มีอายุครบรอบ ๑๐ ปี เลยคิดว่า เป็นนิมิตอันดีที่จะลองไปปฏิบัติ กอปรกับ คุณมี้แนน อีกนั่นแหละที่บอกว่า ไปที่ศูนย์นี้มา ได้ลองไปปฏิบัติในห้องส่วนตัวเล็ก ๆ เงียบ หรือที่เรียกว่า cell แล้วรู้สึกดีมาก ๆ ใจดิฉัน ก็กระหวัดไปถึง บทสัมภาษณ์ที่เคยได้อ่าน ถึง สุภาพสตรีท่านหนึ่ง ที่เคยไปปฏิบัติธรรมที่ประเทศพม่า และเล่าให้ฟังว่า นั่งปฏิบัติในโพรงเล็ก ๆ ในถ้ำ มันเงียบมากเสียจนเหมือนได้ยินเสียงเลือดไหลเวียน บทสัมภาษณ์นี้ทำให้ดิฉันอดนึกไปไม่ได้ว่า การได้ลองปฏิบัติธรรมแบบนี้จะเป็นอย่างไรหนอ
หลังจากจองล่วงหน้าเป็นเวลาหลายเดือน และพยายามเคลียร์งานให้เรียบร้อย และเลือกวันเวลา ให้ตรงกับช่วงปิดเทอม หรือ ช่วงที่ไม่ต้องมีกิจกรรมพิเศษของลูก ๆ ทั้งสามคน ก็ได้เวลาช่วงวันที่ ๗ - ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
ก่อนไป ก็วิตกกังวลไปหลายเรื่อง เช่น การต้องจากลูก การที่ต้องโดนหม่าม้าวิจารณ์เรื่องจากลูกไปนานถึง ๑๐ วัน การหายจากที่ทำงานไปอาทิตย์กว่า ๆ เต็มไปด้วยข้อกังวลต่าง ๆ มากมาย พร้อมกับ เรื่องสำคัญหลายเรื่องที่ต้องจัดการสอนงาน มอบหมายงาน ให้เรียบร้อยก่อนจะไป
ที่ตลกคือ เห็นการปรุงแต่งของจิตใจอย่างหนักหน่วง คือ ยังไม่ทันได้ไป ก็คิดถึงและห่วงลูกล่วงหน้าก่อนถึงวันไปเป็นอาทิตย์แล้ว
วันไปคือ วันพุธที่ ๗ ไปขึ้นรถบัสที่วัดมหาธาตุบางเขน คุณสามีไปส่งขึ้นรถบัส
ใช้เวลาประมาณสองชั่วโมงกว่า ๆ ก็ถึงศูนย์ปฏิบัติธรรม ธรรมกมลาที่ปราจีนบุรี
ที่นี่ มีกฎระเบียบของการอยู่ปฏิบัติคร่าว ๆ ดังนี้
๑. มีการแบ่งกั้นเขตหญิงชายอย่างชัดเจน คือ อยู่กันคนละเขต กั้นด้วยแนวต้นไม้ และกระดานไวท์บอร์ดในโรงอาหาร ไม่ให้ต้องได้สบตากัน
๒. มีกฏการห้ามพูดคุยกันเองอย่างเด็ดขาด รวมถึง ห้ามถูกเนื้อต้องตัว ห้ามพยายามยิ้ม หรือ สื่อสารกันด้วยวิธีอื่นใดก็ตาม
๓. ต้องฝากโทรศัพท์ ของมีค่า และเครื่องรางของขลัง ไว้ที่ตู้ของศูนย์ โดยผู้ปฏิบัติ จะได้เก็บกุญแจตู้เซฟของตัวเองไว้เอง
๔. ไม่อนุญาตให้อ่านหนังสือ เขียนหนังสือใด ๆ ทั้งสิ้น
๕. ทานอาหารมังสวิรัติที่ทางศูนย์เตรียมไว้ให้ วันละสองมื้อ
๖. หากมีข้อขัดข้องเกี่ยวกับความไม่สะดวกด้านสถานที่ ให้แจ้งกับธรรมะบริกรเท่านั้น และหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการปฏิบัติให้เรียนถามอาจารย์ผู้สอนในเวลาที่กำหนดไว้
๗. ส่วนเสื้อผ้า แต่งตัวอย่างไรก็ได้ ให้สุภาพ ไม่ฉูดฉาด ไม่แนบเนื้อ และไม่บาง
เมื่อเราไปถึงศูนย์ จะได้รับแจก ถาดหลุม ๑ ชุด ในถุงผ้า พร้อม จาน ชาม ช้อนส้อม แก้วน้ำสองใบ และผ้าเช็ดจาน ๑ ผืน และหมายเลขประจำที่นั่งของโต๊ะที่เราต้องนั่งไปตลอด ๑๐ วัน โดย แต่ละคนจะมีโต๊ะเล็ก ๆ คนละตัว และต้องนั่งหันหน้าไปคนละทาง ไม่หันหน้าเข้าหากัน บางคนก็ได้หันออกไปด้านนอก
ส่วนที่พักนั้น แต่ละคน จะอยู่ห้องพักแยก คือ พักห้องละ ๑ คน ห้องมีขนาดประมาณสัก ๒๐ ตรม. กว่า ๆ เห็นจะได้ค่ะ
ในห้องจะมี เตียงเล็ก ๆ ฟูกบาง ๆ พร้อมหมอน ตู้เสื้อผ้า ห้องอาบน้ำในตัว พร้อมสิ่งจำเป็นในการใช้ชีวิต เช่น ไม้แขวนเสื้อ ไม้หนีบผ้า ถังน้ำ ผ้าเช็ดเอนกประสงค์ ไม้ถูพื้น ไม้กวาด ชักโครก ห้องอาบน้ำ อ่างล้างหน้า พร้อมผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ผ้าห่มสะอาดได้ถูกจัดเตรียมไว้ให้แล้ว
หลังจาก เก็บของและจัดการธุระส่วนตัวแล้ว ก็นั่งรอเวลาระฆังเคาะเรียก
คืนนั้น เราสมาทานศีล รับฟังข้อปฏิบัติต่าง ๆ และรอคอยการเริ่มต้น วันที่ ๑ หรือ Day 1 กัน
เช้าวันที่ ๑ ระฆัง ปลุกตอน ตีสี่ ทุกคนตื่นมา ล้างหน้า แปรงฟัน จัดการธุระส่วนตัว และ ไปที่ห้องปฏิบัติรวม นั่งสมาธิดูลมหายใจเข้าออกที่ผ่านตรงปลายจมูก จนถึงเวลา ๐๖.๓๐
ที่นี่ เน้นย้ำก่อนเริ่มปฏิบัติว่า ขอให้ปฏิบัติตามแนวทางของที่นี่อย่างเคร่งครัด ไม่ใช่เพราะ แนวทางอื่นไม่ดี แต่เป็นเพราะอาจารย์โกเอ็นก้า ท่านอยากให้เราได้ลองปฏิบัติตามแบบของที่นี่เพื่อลองดูว่า เหมาะกับเราหรือไม่ ท่านบอกว่า หากครบคอร์สแล้ว เราไม่ชอบ ก็ไม่จำเป็นต้องไปต่อ แต่ขอให้เราลองดูให้เต็มที่และสุดทาง
การสอนของที่นี่ จะเปิดเทปการนำภาวนาของท่านอาจารย์โกเอ็นก้าเป็นภาษาอังกฤษ จากนั้น จะมีภาษาไทยแปลตามมาเป็นระยะ โดยจะมีอาจารย์ผู้ช่วยสองท่าน นั่งนำภาวนาไปด้วย โดยไม่ได้เอ่ยปากสอนอะไร แต่อาจารย์ท่านจะคอยตอบคำถามตามตารางเวลาที่กำหนดเมื่อมีข้อสงสัยในการปฏิบัติ
ช่วงสองชั่วโมงครึ่งในตอนเช้านี้ เราอาจจะนั่งขยับขาได้บ้าง (ถ้าเมื่อยจริง ๆ ) โดยปฏิบัติที่ห้องปฏิบัติรวมก็ได้ หรือ ห้องส่วนตัวก็ได้
หลังจากนั้น หกโมงครึ่งถึง แปดโมง จะเป็นช่วงเวลาทานอาหารเช้า
แปดโมง ถึง เก้าโมง จะเป็นช่วง นั่งภาวนากลุ่มในห้องภาวนารวม โดย การภาวนากลุ่มนี้ ทุกคนจะต้องไปอยู่ในห้องภาวนารวมที่นั่งด้วยกัน
วันหนึ่งจะมีสามครั้ง คือ แปดโมง ถึง เก้าโมง, บ่ายสองครึ่ง ถึง บ่ายสามครึ่ง และ หกโมง ถึง หนึ่งทุ่ม
ความสำคัญของช่วงเวลาภาวนารวมคือ ภายหลังจากผ่านพ้นวันที่สามไป ช่วงภาวนารวม ถือเป็น ชั่วโมงอธิษฐานที่ทุกคนต้องตั้งใจมั่นว่า จะนั่งภาวนาในท่าเดียว (โดยไม่ลุกยืน ลุกนั่ง หรือ เปลี่ยนท่า) จนจบชั่วโมง
หลังจากเก้าโมงไป จะมีพักสั้น ๆ ประมาณสิบนาที จากนั้นกลับมาฟังคำสอน และเริ่มภาวนาต่อจนถึง สิบเอ็ดโมง
พักทานข้าว และ จัดการธุระส่วนตัว (ซักผ้า ถูห้อง หรือ พักผ่อน) จนถึงบ่ายโมง ช่วงเวลานี้ หากผู้ใดมีข้อสงสัยในการปฏิบัติสามารถลงชื่อเพื่อขอเรียนถามอาจารย์ได้
บ่ายโมง ถึง ห้าโมงเย็น เป็นช่วงนั่งสมาธิภาวนา
ห้าโมงเย็น พักดื่มน้ำ ปานะ และพักผ่อนประมาณหนึ่งชั่วโมง
หกโมงเริ่มภาวนาต่อไปจนถึงหนึ่งทุ่ม
จากนั้น จึงฟังธรรมบรรยาย และปฏิบัติภาวนาต่อถึงสามทุ่ม
สามวันแรกที่ไป เป็นการฝึกปฏิบัติแบบ อานาปานสติ หรือ การรู้ลมหายใจแต่เพียงอย่างเดียว โดยให้จดจ่อสังเกต เพ่งความสนใจไปที่บริเวณจมูกเท่านั้น
ที่นี่ จะไม่มีการใช้คำภาวนา จะให้ดูลมหายใจเฉย ๆ โดยไม่แทรกแซง ไม่ว่าเราจะหายใจเร็ว ช้า หยาบ ละเอียด ก็ให้ดูไป ดูไปเรื่อย ๆ
ดิฉันเอง ดูลมหายใจตัวเอง ก็นึกแปลกใจ เคยคิดว่า ตัวเอง หายใจเบา ๆ นุ่ม ๆ ธรรมดา แต่พอลองมานั่งดู พบตัวเอง หายใจในแบบที่ตนคิดว่า สบาย
แต่พอลองพิจารณาใกล้ ๆ เห็นว่า ตัวเองหายใจแรงมาก และอัดลมหายใจเข้าไปอย่างรุนแรง และปล่อยพ่นออกมา เหมือนคนอัดควันบุหรี่เข้าปอดแรง ๆ แล้วพ่นออก การหายใจอาจจะช้าบ้าง เร็วบ้าง แต่ที่แน่ ๆ คือ เป็นคนหายใจแรง หายใจช้า ก็แรง หายใจเร็วก็แรง อันนี้ พอคิดย้อนดู ก็คิดว่า ตลกมากที่คิดว่า ตัวเองหายใจเหมือนคนอัดบุหรี่ เพราะตัวจริงเป็นคนไม่สูบบุหรี่เลยแพ้กลิ่นด้วยซ้ำ
สามวันแรกนี้ ความรู้สึกเจ็บปวดร่างกายก็เริ่มต้นโจมตี
ดิฉันเอง ก็ทุรนทุรายกับการบรรเทาอาการปวดขา ปวดหลังของตัวเอง มีทั้งเพ่งจ้อง บริกรรม จนเบรคแตก (ในใจ) ก่นด่า โน่นนี่ จนปั่นป่วนไปหมด
หลังจบการภาวนา เมื่อมีเบรคสั้น ๆ ทุกครั้ง ดิฉัน จะรีบวิ่งกลับไปที่ห้องล้างหน้า ดื่มน้ำ (เพราะใจกาย มันร้อนรุ่มมาก) ก่อนจะกลับไปนั่งภาวนาต่อ
ตอนหลัง ดิฉัน เริ่มจะพยายามทำความเข้าใจอุเบกขา ก็เลยเปลี่ยนกลยุทธ จากการบริภาษและการกดขี่ออกคำสั่งสังขาร คือ ขาขวา (ตรงข้อต่อกระดูกสะโพก) และหลังที่ปวดมาก ๆ ให้ " ทน ทน ทน ทน ทนให้ได้สิ "
ดิฉันเปลี่ยนเป็น เริ่มพยายามเมตตากับขาตัวเอง แล้วบอกว่า " พี่ขาขวาคะ พี่แผ่นหลังคะ ... เรากำลังภาวนาทำอะไรดี ๆ ร่วมกัน พี่ช่วย ๆ กันหน่อยก็แล้วกันนะคะ จะเจ็บจะปวด ก็ขอให้ออกมาแบบที่หนูจะทนได้ อย่าให้ถึงขั้นว่า หนูจะไปต่อไม่ได้เลย " จะด้วยอุปาทาน หรือ อะไรก็ตาม ชั่วโมงต่อจากนั้น ดิฉัน พอนั่งได้จนเกือบครบเวลาจริง ๆ โดยความเจ็บปวดแบบทนแทบไม่ได้ค่อย ๆ หายไปไหนก็ไม่รู้
ไปเรียนถามอาจารย์ ท่านเมตตา ยิ้มให้แล้วบอกให้ ไม่เพ่งจ้อง และไม่บริกรรม ตลอดจนไม่ต้องพยายามปรุงแต่งคำพูดใด ๆ ออกมาด้วย แต่ให้สังเกตอาการทางร่างกายด้วยใจอุเบกขา
อ้อ ... อีกความรู้สึกที่เป็นในวันแรก ๆ คือ มันเกิดความเศร้าตีขึ้นมาจุกอก เหมือนอยากจะร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุ อาจารย์ท่านแนะนำว่า เวลาใจเริ่มจะสงบ ตะกอนใจต่าง ๆ มันจะเริ่มปรากฎชัดเจนขึ้นให้เห็น อย่าไปกดเอาไว้ แต่ให้รับรู้ ความรู้สึกใด ๆ ก็ตามที่ลอยขึ้นมาด้วยใจที่เป็นอุเบกขา คือ ไม่ยินดี และไม่ยินร้าย (หรือจะพูดตาม ภาษาที่งดงามของ พอจ. ไพศาล วิสาโล ได้ว่า "ไม่ผลักไส ไม่ใฝ่หา")
หรือ บางขณะ ช่วงพัก อยู่ ๆ ใจมันก็เบิกบาน แบบฮัมเพลงขึ้นในใจ ที่ตลกคือ เพลงที่ผุดขึ้นมาในใจเป็นเพลงอะไรทราบไหมคะ
"เดือนเพ็ญสวยเย็น เห็นอร่าม นภาแจ่มนวลดูงาม เย็นชื่นหนอยามเมื่อลมพัดมา" (แหม ... บอกอายุได้ดีจริง ๆ )
เวลาภาวนา สิ่งที่จะรู้สึกได้อย่างหนึ่ง คือ ภาพอะไรต่อมิอะไร มันจะผุด ผุด ผุด ขึ้นมาเหมือนพรายฟองที่ลอยขึ้นมาเต็มไปหมด เป็นเรื่องกลาง ๆ สะอาดบ้าง สกปรกบ้าง ดีบ้าง ร้ายบ้าง ที่ทำให้รู้สึกแย่คือ บางทีก็เผลอไปปรามาสครูบาอาจารย์แบบไม่ได้ตั้งใจ (คือ มันหลุดออกมาเอง แบบเราไม่มีเจตนาเลย) ซึ่งมันทำให้ทรมานใจมาก ใจมันก็ปรุงแต่งไปเรื่อย ๆ ต้องคอยเตือนตัวเองว่า "อุเบกขานะคะ ได้โปรด"
ที่ตลก และอัศจรรย์ ปนสยองคือ เจ้าความคิดของเรานี่มันน่ากลัวจริง ๆ มันคิด มันฟุ้ง มันปรุง มันผุดขึ้นมาได้สารพัดเรื่อง หลายครั้ง เราก็อาจจะไปหลงคิดตามมันจนสติขาดกระจุยกระจาย ต้องเริ่มใหม่เรื่อย ๆ แบบไม่ท้อถอย เหมือนที่ อาจารย์โกเอ็นก้า ท่านจะพูดเสมอว่า " Start again, start again." หรือ เริ่มต้นใหม่อีกครั้ง เริ่มต้นใหม่อีกครั้ง
สิ่งที่ผุดขึ้นมา มีตั้งแต่ภาพในหลวง, ภาพสมเด็จพระเทพ, ภาพเพื่อนสมัยเด็ก ที่ไม่ได้สนิทเล้ย ไม่ได้คิดถึงไม่ผูกพัน แต่มันมาได้ไงหว่า, ภาพคนที่เคยเหมือนเกือบ ๆ จะคบกันตอนสมัยยังสาว ๆ อยู่ในชุดเสื้อเกราะ ใส่หมวกนักรบ, ภาพปะป๊าที่เสียไป, ภาพคนตาโบ๋ ซึ่งโผล่มาหลายชุดมาก จนดิฉันนึกขำ และคิดว่า โห นี่เล่นยกมาทั้ง gallery เลยรึเปล่าเนี่ย รวมถึงภาพคนที่ไม่รู้จัก และรู้จักอีกมากมาย ในชุดเสื้อผ้าหลากหลาย
ด้วยความที่ดิฉันชอบคิดหาเหตุผล ก็จะฟุ้งไปกับการหาเหตุผลว่า ทำไม ทำไม ทำไม ถึงคิดอย่างนั้น เห็นอย่างนี้
ก็พยายามหาหลักคิดมาอธิบาย
เช่น เห็นภาพในหลวง อาจจะเป็นเพราะเดือนนี้เป็นเดือน มหามงคล มีวันฉัตรมงคล
เห็นภาพปะป๊า อาจจะเป็นเพราะผูกพันกันเพราะเป็นพ่อลูก
เห็นภาพแฟนเก่าคนแรกที่จากกันไปไม่ดี โดยเห็นเขาอยู่ในชุดเด็ก ๆ ดูมอซอ ๆ น่าสงสาร อาจจะเป็นเพราะ เราจากกันไม่ดี ดิฉัน เลยมีภาพแย่ ๆ ของเค้าอยู่ในหัว พร้อมทั้งเราคงรู้สึกว่า เค้าไม่มีวุฒิภาวะด้วยมั้ง เราเลยเห็นเค้าอยู่ในชุดเด็กที่ดูเก่า ๆ น่าสงสาร (มันคงเป็นกลไกในจิตเราที่พยายามจะลดทอนให้เค้าดูแย่)
ที่ตลกที่สุด คือ ใจมันฟุ้ง ไปได้ถึง บทบาทของ กฟผ กับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ อันนี้ ยิ่งคิด ก็ยิ่งฮา ว่า กฟผ มาเกี่ยวอะไรด้วย เราไม่ได้เป็นวิศวกร ไม่ได้เป็นคนรับผิดชอบเรื่องพลังงานของประเทศ ทำไมต้องมาฟุ้งเป็นวรรคเป็นเวรว่า "ทำไม กฟผ ไม่ทำความเข้าใจกับประชาชน โดยการทำอย่างงั้น อย่างงี้ ... อย่างโง้น"