(บางส่วน)
[๘๒๕] คำว่า นรชนพึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพาน
ความว่า
นรชนบางคนในโลกนี้ให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถกรรม เข้าไปตั้งไว้ซึ่งน้ำดื่มน้ำใช้ กวาดบริเวณ
ไหว้พระเจดีย์ บูชาเครื่องหอมและดอกไม้ที่พระเจดีย์ ทำประทักบิณพระเจดีย์ บำเพ็ญกุศลที่ควรบำเพ็ญอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นไตรธาตุ
ก็ไม่บำเพ็ญ เพราะเหตุแห่งคติ
ไม่บำเพ็ญ เพราะเหตุแห่งอุปบัติ
ไม่บำเพ็ญ เพราะเหตุแห่งปฏิสนธิ
ไม่บำเพ็ญ เพราะเหตุแห่งภพ
ไม่บำเพ็ญ เพราะเหตุแห่งสงสาร
ไม่บำเพ็ญ เพราะเหตุแห่งวัฏฏะ
เป็นผู้มีความประสงค์ในอันพรากออกจากทุกข์ มีใจน้อมโน้มโอนไปในนิพพาน
ย่อมบำเพ็ญกุศลทั้งปวงนั้น แม้เพราะเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า นรชนพึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพาน.
อนึ่ง นรชนบังคับจิตให้กลับจากสังขารธาตุอันเป็นไปในไตรภูมิทั้งปวง น้อมจิตเข้าไปในอมตธาตะว่าธรรมชาติใด
คือ ความสงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสละคืนแห่งอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสำรอกตัณหา ความดับตัณหา
ความออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด ธรรมชาตินี้สงบ ประณีต แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้
จึงชื่อว่า นรชนพึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพาน.
สมจริงดังพระพุทธภาษิตว่า
บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมไม่ให้ทานเพราะเหตุแห่งสุขอันก่อให้เกิดอุปธิ
แต่บัณฑิตเหล่านั้น
ย่อมให้ทานเพื่อความหมดสิ้นอุปธิ เพื่อนิพพานอันไม่มีภพต่อไป โดยส่วนเดียว.
บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมไม่เจริญฌานเพราะเหตุแห่งสุขอันก่อให้เกิดอุปธิ เพื่อภพต่อไป
แต่บัณฑิตเหล่านั้น
ย่อมเจริญฌาน เพื่อความหมดสิ้นอุปธิ เพื่อนิพพานอันไม่มีภพต่อไป โดยส่วนเดียว.
บัณฑิตเหล่านั้น มุ่งนิพพาน มีจิตเอนไปในนิพพานน้อมจิตไปในนิพพาน
ย่อมให้ทาน บัณฑิตเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้มีนิพพานเป็นเบื้องหน้า เหมือนแม่น้ำทั้งหลายไหลไปสู่ทะเล ฉะนั้น.
-----------------------------
อัตตทัณฑสุตตนิทเทสที่ ๑๕
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑
ขุททกนิกาย มหานิทเทส
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ บรรทัดที่ ๙๐๙๔ - ๑๐๑๓๖. หน้าที่ ๓๘๒ - ๔๒๕.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=29&A=9094&Z=10136&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=788
นรชนพึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพาน
[๘๒๕] คำว่า นรชนพึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพาน
ความว่า
นรชนบางคนในโลกนี้ให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถกรรม เข้าไปตั้งไว้ซึ่งน้ำดื่มน้ำใช้ กวาดบริเวณ
ไหว้พระเจดีย์ บูชาเครื่องหอมและดอกไม้ที่พระเจดีย์ ทำประทักบิณพระเจดีย์ บำเพ็ญกุศลที่ควรบำเพ็ญอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นไตรธาตุ
ก็ไม่บำเพ็ญ เพราะเหตุแห่งคติ
ไม่บำเพ็ญ เพราะเหตุแห่งอุปบัติ
ไม่บำเพ็ญ เพราะเหตุแห่งปฏิสนธิ
ไม่บำเพ็ญ เพราะเหตุแห่งภพ
ไม่บำเพ็ญ เพราะเหตุแห่งสงสาร
ไม่บำเพ็ญ เพราะเหตุแห่งวัฏฏะ
เป็นผู้มีความประสงค์ในอันพรากออกจากทุกข์ มีใจน้อมโน้มโอนไปในนิพพาน
ย่อมบำเพ็ญกุศลทั้งปวงนั้น แม้เพราะเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า นรชนพึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพาน.
อนึ่ง นรชนบังคับจิตให้กลับจากสังขารธาตุอันเป็นไปในไตรภูมิทั้งปวง น้อมจิตเข้าไปในอมตธาตะว่าธรรมชาติใด
คือ ความสงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสละคืนแห่งอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสำรอกตัณหา ความดับตัณหา
ความออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด ธรรมชาตินี้สงบ ประณีต แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้
จึงชื่อว่า นรชนพึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพาน.
สมจริงดังพระพุทธภาษิตว่า
บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมไม่ให้ทานเพราะเหตุแห่งสุขอันก่อให้เกิดอุปธิ
แต่บัณฑิตเหล่านั้นย่อมให้ทานเพื่อความหมดสิ้นอุปธิ เพื่อนิพพานอันไม่มีภพต่อไป โดยส่วนเดียว.
บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมไม่เจริญฌานเพราะเหตุแห่งสุขอันก่อให้เกิดอุปธิ เพื่อภพต่อไป
แต่บัณฑิตเหล่านั้น ย่อมเจริญฌาน เพื่อความหมดสิ้นอุปธิ เพื่อนิพพานอันไม่มีภพต่อไป โดยส่วนเดียว.
บัณฑิตเหล่านั้น มุ่งนิพพาน มีจิตเอนไปในนิพพานน้อมจิตไปในนิพพาน
ย่อมให้ทาน บัณฑิตเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้มีนิพพานเป็นเบื้องหน้า เหมือนแม่น้ำทั้งหลายไหลไปสู่ทะเล ฉะนั้น.
-----------------------------
อัตตทัณฑสุตตนิทเทสที่ ๑๕
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑
ขุททกนิกาย มหานิทเทส
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ บรรทัดที่ ๙๐๙๔ - ๑๐๑๓๖. หน้าที่ ๓๘๒ - ๔๒๕.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=29&A=9094&Z=10136&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=788