การเงิน - การลงทุน : ถนนนักลงทุน
วันที่ 22 มีนาคม 2552 00:01
จอร์จ โซรอส สารภาพ เซียนยังเกือบเอาชีวิตไม่รอด
โดย : Value Way : วิบูลย์ พึงประเสริฐ
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/investment/20090322/26505/จอร์จ-โซรอส-สารภาพ-เซียนยังเกือบเอาชีวิตไม่รอด.html
เขาเขียนหนังสือเล่มหนึ่งเมื่อเดือนมกราคม 2551 ชื่อ “ยุคใหม่ของตลาดการเงิน” (The New Paradigm for Financial Markets)
แม้เขาจะพยากรณ์วิกฤติการเงินครั้งใหญ่ได้ แต่ในเรื่องการลงทุนกว่าที่โซรอสจะฝ่าพิษวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เรามาดูกันว่าปีที่ผ่านมาเขาลงทุนอะไรบ้าง และให้ผลตอบแทนแก่เขาอย่างไร
โซรอส กล่าวว่า ถึงแม้เขาจะตั้งรับวิกฤติครั้งนี้เป็นอย่างดี แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้เขาขาดทุนมหาศาลก็คือ การที่ตลาดการเงินในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนาไม่ได้แยกออกจากกันอย่างชัดเจน (Decoupling)
ตลาดหุ้นในอินเดียและจีนต่างได้รับผลกระทบมากกว่าตลาดหุ้นในอเมริกาและยุโรปเสียอีก ที่สำคัญเขาไม่ได้ลดการลงทุนในตลาดหุ้นอินเดียเลย ทำให้ปีที่ผ่านมา "ขาดทุน" ในอินเดียมากกว่ากำไรที่เคยได้ในปีก่อนหน้า สำหรับการลงทุนในจีน โชคดีที่ผู้จัดการกองทุนประจำเมืองจีนทำได้ดีในการเลือกหุ้น รวมทั้งการแข็งค่าของค่าเงินหยวนช่วยให้เอาตัวรอดจากการลงทุนในจีนไปได้
การขาดทุนจากอินเดียและผลขาดทุนจากผู้จัดการกองทุนทำให้โซรอสต้องใช้การลงทุนแบบ "มาโคร" (Macro Account) เป็น "ตัวช่วย" ซึ่งเกิดผลเสียอย่างหนึ่งคือเขา "เทรด" มากเกินไปเพื่อลดความเสี่ยง จึงไม่สามารถสวนตลาดมากๆ ได้ และต้องคอยจับจังหวะทีละนิดละหน่อยแทน
พ่อมดการเงิน บอกว่า การเทรดเช่นนี้ทำให้ยากลำบากในการยืมหุ้นมาขาย (Short Position) ถึงแม้จะมีประสบการณ์มากในการช็อตหุ้น แต่ก็ต้องยอมขาดทุนหลายๆ ครั้ง รวมทั้งตกขบวนรถไฟในช่วงที่ตลาดตกต่ำมากที่สุดในช่วงตุลาคม-พฤศจิกายน เมื่อปีที่ผ่านมา
ขณะที่พอร์ตถือหุ้นของเขา (Long Position) ไม่ได้ลดจำนวนหุ้นลงทำให้ขาดทุนอย่างมหาศาล โซรอส รับว่า เขาซื้อหุ้นจำนวนมากของบริษัทผลิตน้ำมันในบราซิลเพราะเชื่อมั่นในการค้นพบหลุมน้ำมันขนาดใหญ่นอกชายฝั่ง หลังจากนั้นราคาหุ้นบริษัทนี้ได้ลดลงถึง 75% นอกเหนือจากนั้นเขายังขาดทุนจากการลงทุนในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในตะวันออกกลางอีกด้วย
แต่โชคยังดีที่ขายหุ้นบริษัทเหมืองแร่ในบราซิลออกไปก่อนที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์จะดิ่งลง รวมทั้งยืมหุ้นบริษัทเหล็กมาขายทำกำไรได้ ถึงอย่างไรเขาก็พลาดโอกาสที่จะลงทุนในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์โดยตรง เพราะประสบการณ์สอนเขาว่า มันยากที่จะซื้อขายในตลาดนี้
นอกจากนี้ โซรอส ยังรับว่า "ขาดทุนกำไร" กับค่าเงินดอลลาร์เพราะปิดสถานะพอร์ตก่อนที่ดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้นอย่างมาก แต่ทำกำไรได้ในการลงทุนในประเทศอังกฤษ เพราะคาดว่าดอกเบี้ยระยะสั้นจะลดลงรวมทั้งทำกำไรจากการขายช็อตเงินยูโร และยังทำกำไรจากตลาดเครดิตในช่วงที่ตลาดเงินกำลังล่มสลาย ทั้งนี้ ในช่วงปลายปี 2551 เขาคาดว่าเงินดอลลาร์จะอ่อนค่าลง ทำให้เขาทำกำไรได้จากการขายช็อตเงินดอลลาร์ การลงทุนในดอลลาร์ครั้งนี้ทำให้ผลตอบแทนในปี 2551 กลับมาเป็นบวก 10% หลังจากที่ขาดทุนมาตลอดหลายเดือนก่อนหน้านั้น
จะเห็นว่าแม้แต่นักลงทุนระดับโลกอย่าง จอร์จ โซรอส ถึงแม้เขาจะทำนายการเกิดของวิกฤติได้ล่วงหน้า แต่ยังเกือบเอาตัวเองไม่รอด ถือว่าปีที่ผ่านมาเป็นปี "ปราบเซียน" อย่างแท้จริง
การเงิน - การลงทุน : ถนนนักลงทุน
วันที่ 22 มีนาคม 2552 00:01
จอร์จ โซรอส สารภาพ เซียนยังเกือบเอาชีวิตไม่รอด
โดย : Value Way : วิบูลย์ พึงประเสริฐ
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/investment/20090322/26505/จอร์จ-โซรอส-สารภาพ-เซียนยังเกือบเอาชีวิตไม่รอด.html
จอร์จ โซรอส สารภาพ เซียนยังเกือบเอาชีวิตไม่รอด
วันที่ 22 มีนาคม 2552 00:01
จอร์จ โซรอส สารภาพ เซียนยังเกือบเอาชีวิตไม่รอด
โดย : Value Way : วิบูลย์ พึงประเสริฐ
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/investment/20090322/26505/จอร์จ-โซรอส-สารภาพ-เซียนยังเกือบเอาชีวิตไม่รอด.html
เขาเขียนหนังสือเล่มหนึ่งเมื่อเดือนมกราคม 2551 ชื่อ “ยุคใหม่ของตลาดการเงิน” (The New Paradigm for Financial Markets)
แม้เขาจะพยากรณ์วิกฤติการเงินครั้งใหญ่ได้ แต่ในเรื่องการลงทุนกว่าที่โซรอสจะฝ่าพิษวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เรามาดูกันว่าปีที่ผ่านมาเขาลงทุนอะไรบ้าง และให้ผลตอบแทนแก่เขาอย่างไร
โซรอส กล่าวว่า ถึงแม้เขาจะตั้งรับวิกฤติครั้งนี้เป็นอย่างดี แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้เขาขาดทุนมหาศาลก็คือ การที่ตลาดการเงินในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนาไม่ได้แยกออกจากกันอย่างชัดเจน (Decoupling)
ตลาดหุ้นในอินเดียและจีนต่างได้รับผลกระทบมากกว่าตลาดหุ้นในอเมริกาและยุโรปเสียอีก ที่สำคัญเขาไม่ได้ลดการลงทุนในตลาดหุ้นอินเดียเลย ทำให้ปีที่ผ่านมา "ขาดทุน" ในอินเดียมากกว่ากำไรที่เคยได้ในปีก่อนหน้า สำหรับการลงทุนในจีน โชคดีที่ผู้จัดการกองทุนประจำเมืองจีนทำได้ดีในการเลือกหุ้น รวมทั้งการแข็งค่าของค่าเงินหยวนช่วยให้เอาตัวรอดจากการลงทุนในจีนไปได้
การขาดทุนจากอินเดียและผลขาดทุนจากผู้จัดการกองทุนทำให้โซรอสต้องใช้การลงทุนแบบ "มาโคร" (Macro Account) เป็น "ตัวช่วย" ซึ่งเกิดผลเสียอย่างหนึ่งคือเขา "เทรด" มากเกินไปเพื่อลดความเสี่ยง จึงไม่สามารถสวนตลาดมากๆ ได้ และต้องคอยจับจังหวะทีละนิดละหน่อยแทน
พ่อมดการเงิน บอกว่า การเทรดเช่นนี้ทำให้ยากลำบากในการยืมหุ้นมาขาย (Short Position) ถึงแม้จะมีประสบการณ์มากในการช็อตหุ้น แต่ก็ต้องยอมขาดทุนหลายๆ ครั้ง รวมทั้งตกขบวนรถไฟในช่วงที่ตลาดตกต่ำมากที่สุดในช่วงตุลาคม-พฤศจิกายน เมื่อปีที่ผ่านมา
ขณะที่พอร์ตถือหุ้นของเขา (Long Position) ไม่ได้ลดจำนวนหุ้นลงทำให้ขาดทุนอย่างมหาศาล โซรอส รับว่า เขาซื้อหุ้นจำนวนมากของบริษัทผลิตน้ำมันในบราซิลเพราะเชื่อมั่นในการค้นพบหลุมน้ำมันขนาดใหญ่นอกชายฝั่ง หลังจากนั้นราคาหุ้นบริษัทนี้ได้ลดลงถึง 75% นอกเหนือจากนั้นเขายังขาดทุนจากการลงทุนในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในตะวันออกกลางอีกด้วย
แต่โชคยังดีที่ขายหุ้นบริษัทเหมืองแร่ในบราซิลออกไปก่อนที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์จะดิ่งลง รวมทั้งยืมหุ้นบริษัทเหล็กมาขายทำกำไรได้ ถึงอย่างไรเขาก็พลาดโอกาสที่จะลงทุนในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์โดยตรง เพราะประสบการณ์สอนเขาว่า มันยากที่จะซื้อขายในตลาดนี้
นอกจากนี้ โซรอส ยังรับว่า "ขาดทุนกำไร" กับค่าเงินดอลลาร์เพราะปิดสถานะพอร์ตก่อนที่ดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้นอย่างมาก แต่ทำกำไรได้ในการลงทุนในประเทศอังกฤษ เพราะคาดว่าดอกเบี้ยระยะสั้นจะลดลงรวมทั้งทำกำไรจากการขายช็อตเงินยูโร และยังทำกำไรจากตลาดเครดิตในช่วงที่ตลาดเงินกำลังล่มสลาย ทั้งนี้ ในช่วงปลายปี 2551 เขาคาดว่าเงินดอลลาร์จะอ่อนค่าลง ทำให้เขาทำกำไรได้จากการขายช็อตเงินดอลลาร์ การลงทุนในดอลลาร์ครั้งนี้ทำให้ผลตอบแทนในปี 2551 กลับมาเป็นบวก 10% หลังจากที่ขาดทุนมาตลอดหลายเดือนก่อนหน้านั้น
จะเห็นว่าแม้แต่นักลงทุนระดับโลกอย่าง จอร์จ โซรอส ถึงแม้เขาจะทำนายการเกิดของวิกฤติได้ล่วงหน้า แต่ยังเกือบเอาตัวเองไม่รอด ถือว่าปีที่ผ่านมาเป็นปี "ปราบเซียน" อย่างแท้จริง
การเงิน - การลงทุน : ถนนนักลงทุน
วันที่ 22 มีนาคม 2552 00:01
จอร์จ โซรอส สารภาพ เซียนยังเกือบเอาชีวิตไม่รอด
โดย : Value Way : วิบูลย์ พึงประเสริฐ
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/investment/20090322/26505/จอร์จ-โซรอส-สารภาพ-เซียนยังเกือบเอาชีวิตไม่รอด.html